ไทย ควรทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ โลมาน้ำจืด หายไปจากบ้านเรา

ไม่นานมานี้ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลประเทศลาว WWF-Laos ได้เผยความเสียใจต่อการสูญเสียโลมาอิรวดีตัวสุดท้ายของลาว
 โดย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา มีการพบซากโลมาอริวดีตายในแม่น้ำโขงพรมแดนระหว่างลาวและกัมพูชา 
โดยรายงานพบว่าสาเหตุจากอาการบาดเจ็บการติดอวนประมง ซึ่งการตายครั้งนี้หมายถึงการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี หรือที่เรียกว่าปลาข่าของประเทศลาว 

 โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาที่มีหัวกลมและไม่มีจงอย 
   โลมาชนิดนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในเมียนมา จึงเป็นที่มาของชื่อนี้ 
ปัจจุบันพบมากในแหล่งน้ำลึก 9 แห่ง ตลอดช่วงราว 190 กิโลเมตรของลำน้ำโขง
 และแม้จะได้ชื่อว่าเป็นขวัญใจของชาวกัมพูชาแต่พวกมันก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างมาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ 
การจับปลาผิดกฎหมายโดยใช้ไฟฟ้าช็อต ยาพิษ หรือระเบิด ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 40 ปีมานี้ 
ส่งผลให้ประชากรปลา และโลมาถูกจับ หรือถูกฆ่าจากการโดนลูกหลง เช่นเดียวกับการจับปลาอย่างถูกกฎหมายที่ใช้ตาข่ายไนลอนตาเล็กถี่ 
สร้างปัญหาให้กับสัตว์เหล่านี้ไม่ต่างกัน ทั้งการตกปลาที่มากเกินความจำเป็นโดยไม่มีการตรวจสอบ ทำให้สูญเสียประชากรปลาเพื่อเป็นอาหารมากขึ้น

โลมาอิรวดี /โลมาหัวบาตร (Irrawaddy Dolphin) เป็นโลมาที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered)
 และปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย มีลักษณะเด่นคือหัวที่มนกลม ลำตัวสีเทาเข้ม และมีครีบหลังเล็กๆ 
เป็นโลมาที่อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด เป็นโลมาชายฝั่ง และโลมาประจำถิ่นของประเทศไทยพบในแม่น้ำเช่นแม่น้ำโขง อ่าวไทย ทะเลสาบเขมร ทะเลสาบสงขลา ทะเลอันดามัน และในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภัยคุกคามมีหลายด้านอย่างการติดอวนประมง และมลพิษของเสียในน้ำ
.
สำหรับโลมาอิรวดีในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง มีการสำรวจประชากรของโลกมาอิรวดี ล่าสุดเดือนมิถุนายน 2563 คาดว่าประชากรของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา มีจำนวนประมาณ 14 ตัว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่