คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ต้องดูบริบทของคำพูดด้วยว่าเขาพูดไว้เมื่อไร ปัจจุบันยังใช้ได้ไหมในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
บางคนเกิดมาในยุคหลังที่เริ่มสบายแล้ว ถึงกับต่อว่าชาวนาว่าเป็นตัวถ่วงความเจริญของชาติก็เคยเห็นมาแล้ว
พวกนี้ก็เหมือนใบอ่อนบนยอดไม้ที่ไม่เคยรู้ว่าตัวเองเป็นต้นอะไร ไม่รู้ว่าที่มียอดอ่อนได้เพราะระบบรากค้ำลำต้นไว้ให้
เรื่องบุญคุณของชาวนา จิตร ภูมิศักดิ์ (2473-2509) ก็เคยเขียนเป็นบทกวีที่โด่งดัง (เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณฯ)
จิตรเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงสงครามโลก ผ่านยุคข้าวยากหมากแพง ย่อมมีมุมมองในขณะที่ประพันธ์ไม่เหมือนยุคนี้
เช่นเดียวกับบุญคุณของชาวนาก็น่าจะเริ่มมาจากราวๆ ปี 2500 ในภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ สงครามโลกและต่อด้วยสงครามเย็น
การทำนาถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไม่ใช่เพราะอวยยศเว่อวังให้ชาวนา แต่เพราะขณะนั้นมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เนื่องจากการทำนาคือหลักประกันความมั่นคงของชาติทั้งชาติ คนจะรวยแค่ไหนก็ต้องกิน จนแค่ไหนก็ต้องดิ้นรนหากิน
ถ้าคนกินไม่อิ่มก็ย่อมเกิดความไม่สงบ แตกเป็นก๊กเป็นเหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทหารจะขาดเสบียงไม่ได้
ที่บอกว่าต้องดูบริบทอีกตัวอย่างหนึ่งคือ "เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง" (ม.จ.สิทธิพร กฤดากร 2426-2491)
ลองมาพูดให้เด็กสมัยได้ยิน คงจะขำกันตัวโยน เพราะสมัยนี้มีเงินก็ไปซื้อมา เงินซื้อได้แทบทุกอย่าง
ถ้าหิวก็เอานิ้วลูบกระจก แค่นี้ก็มีคนเอาข้าวปลามาส่งถึงบ้าน เงินทองสิของจริง (โดยเฉพาะบิทคอยน์ยิ่งของจริงเข้าไปใหญ่)
จะรู้ว่าคำพูดดังกล่าวเป็นอมตะเมื่อเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ นั่นแหละ มีเงินทองก็ซื้อหาไม่ได้ ปลูกข้าวเองก็ไม่เป็น
บางคนเกิดมาในยุคหลังที่เริ่มสบายแล้ว ถึงกับต่อว่าชาวนาว่าเป็นตัวถ่วงความเจริญของชาติก็เคยเห็นมาแล้ว
พวกนี้ก็เหมือนใบอ่อนบนยอดไม้ที่ไม่เคยรู้ว่าตัวเองเป็นต้นอะไร ไม่รู้ว่าที่มียอดอ่อนได้เพราะระบบรากค้ำลำต้นไว้ให้
เรื่องบุญคุณของชาวนา จิตร ภูมิศักดิ์ (2473-2509) ก็เคยเขียนเป็นบทกวีที่โด่งดัง (เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณฯ)
จิตรเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงสงครามโลก ผ่านยุคข้าวยากหมากแพง ย่อมมีมุมมองในขณะที่ประพันธ์ไม่เหมือนยุคนี้
เช่นเดียวกับบุญคุณของชาวนาก็น่าจะเริ่มมาจากราวๆ ปี 2500 ในภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ สงครามโลกและต่อด้วยสงครามเย็น
การทำนาถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไม่ใช่เพราะอวยยศเว่อวังให้ชาวนา แต่เพราะขณะนั้นมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เนื่องจากการทำนาคือหลักประกันความมั่นคงของชาติทั้งชาติ คนจะรวยแค่ไหนก็ต้องกิน จนแค่ไหนก็ต้องดิ้นรนหากิน
ถ้าคนกินไม่อิ่มก็ย่อมเกิดความไม่สงบ แตกเป็นก๊กเป็นเหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทหารจะขาดเสบียงไม่ได้
ที่บอกว่าต้องดูบริบทอีกตัวอย่างหนึ่งคือ "เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง" (ม.จ.สิทธิพร กฤดากร 2426-2491)
ลองมาพูดให้เด็กสมัยได้ยิน คงจะขำกันตัวโยน เพราะสมัยนี้มีเงินก็ไปซื้อมา เงินซื้อได้แทบทุกอย่าง
ถ้าหิวก็เอานิ้วลูบกระจก แค่นี้ก็มีคนเอาข้าวปลามาส่งถึงบ้าน เงินทองสิของจริง (โดยเฉพาะบิทคอยน์ยิ่งของจริงเข้าไปใหญ่)
จะรู้ว่าคำพูดดังกล่าวเป็นอมตะเมื่อเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ นั่นแหละ มีเงินทองก็ซื้อหาไม่ได้ ปลูกข้าวเองก็ไม่เป็น
แสดงความคิดเห็น
ทำไมชาวนาถึงมีบุญคุณกับเรา?
เมื่อก่อนจนถึงตอนนี้ จขกท. ก็ยังคิดตลอดๆว่า กินข้าวให้หมด อย่าเหลือแม้แต้เม็ดเดียวเพราะกว่าชาวนาจะได้มา ต้องหลังขดหลังแข็ง คือจขกท.ถูกสอนมาแบบนี้ค่ะ ว่าชาวนามีบุญคุณกับเรา เราต้องกินข้าวอย่าให้เหลือ
พอวันนี้ขับผ่าน จู่ๆก็แว้บขึ้นมาในสมองว่า แต่ชาวนาก็ได้เงินไปนะ เราไม่ได้ขอมาฟรีๆ ทำไมต้องถือเป็นบุญคุณ เพราะมันอาชีพของเขาที่เขาเลือก ทำไมถึงถูกสอนมาแบบนี้นะ แบบนี้คนอื่นๆ ขายหมูขายไก่ขายอะไรก็ตามก็มีบุญคุณกับเราสิ
สับสนเลยค่ะ
หรือเป็นแค่คำสอนให้เด็กไม่กินข้าวเหลือเฉยๆคะ?
หรือเป็นบุญคุณจริงๆ?
ปล.จขกท.แค่สงสัยนะคะ เพราะมันแว้บมาในหัวเฉยๆ
ปล2.ขออภัยหากแท็กผิด