การนับนาทีของไทยโบราณนับจากอะไรครับ

พอดีว่าผมไปหาอ่านเรื่องการนับเวลาสมัยก่อน ไทยจะแบ่งเป็นหนึ่งวันมี 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง นำมาสู่การตีบอกเวลาเป็น ตี โมง บ่าย ทุ่ม ต่าง ๆ แล้วผมสงสัยอยู่ 2 เรื่อง
1. หนึ่งชั่วโมงคือ 1 นาฬิกา หมายถึง 1 ชั่วกะลาจม วัดจากการเอากะลามะพร้าวเจาะรูแล้วให้กะลาค่อย ๆ จม ซึ่งไม่มีมาตรฐานอะไรเท่าไรเพราะผมหาอ่านก็ไม่มีใครบอกว่ากะลาต้องขนาดเท่าไร เจาะรูกว้างเท่าไร แล้วมันไปใกล้เคียงกับของตะวันตกอย่างไม่น่าเชื่อจนทำให้ 1 วันมี 24 ชั่วโมงได้ อันนี้เป็นความสงสัยแรกของผมว่าการเจาะกะลานี้มีมาตรฐานไหมและไปเท่ากับ 1 ชั่วโมงของตะวันตกได้อย่างไร
2. แค่หน่วยชั่วโมงก็เริ่มเพี้ยนกันแล้ว ผมเลยสงสัยว่าแล้วหน่วยเล็กกว่านั้น คือ นาที กับ วินาที เกิดขึ้นในประเทศไทยสมัยไหนและเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ถ้ามาพร้อมกับการเข้ามาของตะวันตกอันนี้พอเข้าใจได้ว่าทำไม 1 ชั่วโมงถึงแบ่งเป็น 60 นาที และ 1 นาทีแบ่งเป็น 60 วินาที เพราะเขาเริ่มมีการแบ่งเวลาเป็นฐานหน่วย 60 ตั้งแต่สมัยโน้น มีกลไกนาฬิกาตั้งแต่สมัยยุคกลาง อาจมีเพี้ยนบ้างแต่ก็อยู่ในขอบเขตที่รับได้ วินาทีก็เพิ่งมีมาตรฐานในช่วงหลังสงครามเย็นมานี้เองจากการค้นพบนาฬิกาอะตอม แต่ถ้าคำว่านาทีและวินาทีเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นก็น่าสงสัยจริง ๆ ว่าคนไทยนับนาทีจากอะไรทั้งที่ไม่มีนาฬิกา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่