ปัจจุบัน กระแส Woke ซึ่งเริ่มต้นจากประเทศอเมริกา กำลังขยายไปหลายๆ ที่ทั่วโลก ทำให้เกิดการเรียกร้องความเป็นธรรมในหลายหัวข้อ เช่นการปฏิบัติทางเพศ, การใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐ, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ฯลฯ
เจตนาของ Woke ที่มองว่าตนเอง “ตื่น” และจะไม่ปล่อยให้สังคมถูกกดทับอีกต่อไปดูเป็นเรื่องดี แต่ขณะเดียวกัน การกระทำหลายอย่างกลับทำให้ผู้คนหมั่นไส้มากขึ้น แม้แต่ฝ่ายเสรีนิยมด้วยกัน (Woke ถือเป็นกระแสการเมืองเสรีนิยมสายหนึ่ง)
ต่อไปนี้คือสิ่งที่กลุ่ม Woke ได้ทำลงไป และกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้โดนกระแสสวนกลับมาบ่อยครั้ง จนการเรียกร้องบางอย่างมีกำลังอ่อนลงอย่างน่าใจหาย เปรียบเหมือนกับสนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน...
*** กลายเป็นคนที่ตัวเองเกลียด ***
แม้กลุ่ม Woke จะมีเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ขจัดความไม่เท่าเทียม แต่บางทีก็ยังเผลอติดหล่มความสุดโต่งบ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่นกลุ่ม Social Justice Warrior หรือ SJW
แรกสุด SJW ถือเป็นคำชมของผู้ที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ความหมายเริ่มเปลี่ยนไปในทางลบช่วง 2010s กลายเป็นคำที่เอาไว้ประชด เนื่องจากกลุ่ม SJW มักใช้ cancel culture หรือ call-out culture ที่แปลแบบไทยๆ ได้ว่า “การล่าแม่มด” ในการโจมตีบุคคลที่ตนเองไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง
ภาพแนบ: เจ. เค. โรว์ลิง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ เคยวิจารณ์ LGBTQ ทำให้โดนแอนตี้หนัก และถูกเปิดเผยที่อยู่ส่วนตัวเพื่อก่อกวน
บางครั้งกลุ่ม SJW ก็ถึงขั้นแฉข้อมูลส่วนตัว เช่นที่อยู่ ที่ทำงาน เบอร์โทรศัพท์ ของคนที่ตนไม่ชอบ เพื่อให้มีคนไปก่อกวน ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย จนหลายคนต้องหมดอนาคตในอาชีพการงาน หรือเสียโอกาสทางสังคม ทั้งที่ยังไม่มีการหาข้อมูลหลักฐานอย่างจริงจัง
...จึงเกิดคำถามว่านี่เป็นการเรียกร้องความยุติธรรม โดยการลัดกระบวนการยุติธรรมหรือเปล่า?
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ จอร์จ วอชิงตัน โดนปาสีใส่
*** เปลี่ยนอดีต-สร้างอนาคต? ***
หนึ่งในประเด็นที่ Woke โดนมองในแง่ลบคือ “การพยายามลบประวัติศาสตร์”
ในที่นี้ขอกล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่ก่อตั้งอเมริกาที่เรียกว่า Founding Fathers ซึ่งปกติถูกนับถือเป็นวีรบุรุษของชาติ
แต่ไม่กี่ปีมานี้กลับมีกระแสต่อต้านพวกเขา เพราะกลุ่มผู้ก่อตั้งประเทศมักมีทาสในครอบครอง ถึงไม่ได้เป็นสิ่งผิดในสมัยนั้น แต่ประชากรบางส่วนของอเมริกา โดยเฉพาะคนผิวดำ มองย้อนไปด้วยสายตาของคนปัจจุบันแล้วรับไม่ได้
คนเหล่านั้นบอกว่า กลุ่มผู้ก่อตั้งฯ เหยียดชนชาติ ทำให้อัตลักษณ์ของคนผิวดำจางหาย จึงมีการพยายามทำลาย, กดดันให้รัฐรื้อถอนรูปปั้น และการเปลี่ยนชื่อสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาพแนบ: รูปโลหะเจฟเฟอร์สัน
กรณีล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2021 คือการถอดถอนรูปหล่อโลหะของโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในอาคารว่าการรัฐนิวยอร์ก ซึ่งทำขึ้นมาตั้งแต่ปี 1833 อนึ่งเจฟเฟอร์สันเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอเมริกา และประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศ แต่ถูกลบหลู่ด้วยเหตุผลว่าเขามีทาสไว้ในครอบครอง
เป็นเรื่องน่าคิดว่าการทำลายหลักฐานในอดีตที่เราไม่ชอบเป็นสิ่งที่ควรทำได้ไหม? ในเมื่อค่ายกักกันเอาชวิตซ์ที่ฝั่งยุโรป ก็ยังถูกเก็บไว้บอกเล่าประวัติศาสตร์อันดำมืดได้?
ภาพแนบ: ส่วนหนึ่งในห้องเรียนของไกป์
*** ข้อถกเถียงเรื่องการศึกษา ***
เรื่องการเรียนก็เป็นอีกหัวข้อที่กลุ่ม Woke เข้าไปมีอิทธิพลกันมาก และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง ยกตัวอย่างเช่น...
เกเบรียล ไกป์ อาจารย์โรงเรียนมัธยมปลายใน แคลิฟอร์เนีย เขาได้ใช้สิทธิความเป็นครูแขวนรูปของเหมาเจ๋อตง และธงแอนติฟา (กลุ่มสังคมนิยมต่อต้านฟาสซิสต์ ที่หลังๆ ถูกจัดไว้เป็นพวกซ้ายสุดโต่ง) ไว้ในห้องเรียน
เมื่อนักเรียนบอกว่าเห็นแล้วไม่สบายใจ ไกป์ก็ตอบไปว่า ธงนี้มีไว้เพื่อทำให้พวกฟาสซิสต์ไม่สบายใจ ถ้านักเรียนรู้สึกอย่างนั้น ก็ไม่รู้จะพูดยังไง
ภาพแนบ: เกเบรียล ไกป์
นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนให้นักเรียนไปร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านฝั่งขวา โดยจะโพสต์รูปปฏิทินรายอาทิตย์ว่ามีงานไหนเมื่อไหร่บ้าง โดยหากนักเรียนไปตาม, ถ่ายรูป, เขียนบรรยายความรู้สึก เขาจะเพิ่มคะแนนพิเศษให้
ผู้ปกครองรู้สึกไม่สบายใจกับการกระทำนี้ เลยเรียกร้องให้มีการสอบสวน ปรากฏว่านอกจากการตกแต่งห้องด้วยสัญลักษณ์แอนติฟาและรูปเหมาแล้ว เขายังสอนเรื่องสังคมนิยมสุดโต่ง และมีการตรวจการบ้านโดยใช้แสตมป์เป็นรูปผู้นำคอมมิวนิสต์ เช่น โจเซฟ สตาลิน, ฟิเดล คาสโตร, รวมไปถึง คิม จอง อึน แห่งเกาหลีเหนือด้วย…
ภาพแนบ: UCLA
เรื่องต่อมา หลังเกิดเหตุการณ์ฆาตกรรมจอร์จ ฟลอยด์ ช่วงพ.ค. 2020 ขึ้นเพียงสัปดาห์นิดๆ กอร์ดอน ไคลน์ ศาสตราจารย์ประจำคณะบัญชีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (UCLA) ได้รับเมลจากนักศึกษาผิวดำคนหนึ่ง ใจความว่า... ขอให้อาจารย์มอบเกรดดีๆ ให้นักศึกษาผิวดำ เพื่อโต้ตอบความไม่ยุติธรรมในสังคม
ศ.ไคลน์เป็นงง ความยุติธรรมแบบไหนกัน? ถ้าจะให้คะแนนกับนักศึกษาผิวดำดีๆ แล้วนักศึกษาเชื้อชาติอื่นๆ ล่ะ?
ภาพแนบ: กอร์ดอน ไคลน์
ปรากฏว่าพอแสดงความเห็นไปแบบนี้ ศ.ไคลน์กลับโดนนักศึกษาประท้วงและตราหน้าว่าเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติทันที ทั้งถูกคณะสอบสวนและสั่งพักงานในที่สุด พร้อมมีการสำทับว่าอาจถูกไล่ออกด้วย
เรื่องนี้ทำให้ศ.ไคลน์เสียชื่อเสียงและรายได้อย่างมาก (เขาเป็นที่ปรึกษาบัญชีให้กับอีกหลายบริษัทด้วย ซึ่งบริษัทเหล่านี้เลิกจ้างเขาเมื่อเกิดเรื่อง) แถมยังโดนส่งเมลข่มขู่มากมาย โดยหนึ่งในเมลเหล่านั้น ได้พูดจากระทบเชื้อชาติยิวของเขาด้วยว่า “แย่ที่เยอรมันไม่จับพวกแกเข้าห้องรมแก๊ส”
ภาพแนบ: โปสเตอร์ละครเวทีเรื่อง Show Boat
*** ความหลากหลาย (?) ในสื่อบันเทิง ***
วงการบันเทิงในอเมริกา เริ่มตั้งไข่จากการแสดงสดช่วงหลังสงครามกลางเมือง (1861-1865) แต่สมัยก่อนมักมีเพียงคนผิวขาวแสดง คนดำต้องแยกไป (อนึ่งหากเกิดมีบทคนดำ ก็ใช้คนทาตัวดำเล่นแทนเอา)
กว่าคนต่างสีผิวจะมาแสดงร่วมเวทีกันได้ ก็คือปี 1927 ในละครเพลงเรื่อง Show Boat ซึ่งผู้สร้างตั้งใจสื่อเรื่องราวทางสังคมโดยเฉพาะ ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของวงการบันเทิงในอเมริกา

กระนั้นบทของคนผิวดำรวมทั้งชนกลุ่มอื่นๆ ก็ยังจำกัดจำเขี่ยมาตลอดหลายสิบปีในสื่อต่างๆ หากเทียบกับคนขาว
ดังนี้เองในช่วงหลังๆ ถึงมีการเรียกร้องให้ “เพิ่มความหลากหลาย” ให้มากขึ้น ซึ่งวงการบันเทิงก็ให้การตอบรับ เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงนั้น ก็สร้างข้อสงสัยตามมาว่าทำแบบนี้ดีจริงๆ หรือ?
ภาพแนบ: ฮัลลี ไบลีย์
เริ่มต้นจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างดิสนีย์ ที่เตรียมจะสร้างหนังนางเงือกน้อย The Little Mermaid ฉบับคนแสดงขึ้นมา
ในปี 2019 ทางบริษัทได้ประกาศนักแสดงนำที่จะมารับบทของแอเรียลคือ ฮัลลี ไบลีย์ นักร้องวัยรุ่นผิวสีชื่อดังจากวง Chloe x Halle (คนละคนกับ ฮัลลี เบอร์รี ที่แสดงเป็นสตรอมใน X-Men นะครับ)
เรื่องนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากย์วิจารณ์อย่างหลากหลาย มีทั้งคนที่ออกมาชม “ความกล้า” ของดิสนีย์ เช่นศิลปินดัง มาราย์ แคร์รี และนางแบบสาว คริสซี ทีเกน
ส่วนคนที่ไม่พอใจในตัวเลือกนี้ก็มีไม่น้อย จนเกิดเป็นแฮชแท็ก NotMyAriel และ NotMyMermaid ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เพราะตามเรื่องแล้ว แอเรียลผิวขาว ตาฟ้า ผมแดง แถมยังมีมีต้นแบบมาจากเทพนิยายเดนมาร์ก
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า: “ทุกคนบอกว่า ‘เธอต้องเป็นพวกเหยียดผิวแน่ๆ เลยต่อต้านคนผิวดำมารับบทแอเรียล’ เอ่อออ ไม่ใช่! จะมาโทษที่คนอยากเห็นตัวละครหลักเหมือนต้นฉบับไม่ได้! ฉันก็คงหัวร้อนเหมือนกันแหละถ้าเขาทำโพคาฮอนทัสหรือเทียนา (เจ้าหญิงกบ) ตัวขาวออกมา”
ภาพแนบ: โจดี เทอร์เนอร์-สมิธ ในบท แอนน์ โบลีน
นอกจากนี้ทางยุโรปก็มีกรณีคล้ายๆ กันคือ ช่วงกลางปี 2021 มีการสร้างละครอิงประวัติศาสตร์ชื่อ Anne Boleyn ขึ้นทางช่อง Channel 5 ของอังกฤษ โดยเลือกผู้รับบทแอนน์ โบลีน เป็นดาราผิวดำมากความสามารถชื่อ โจดี เทอร์เนอร์-สมิธ (Without Remorse) มาเล่น
แม้จะไม่มีใครสงสัยในฝีมือ แต่คนจำนวนหนึ่งก็อดขมวดคิ้วไม่ได้ ที่การทำละคร “อิงประวัติศาสตร์” ไม่ต้องเหมือนประวัติศาสตร์ก็ได้หรอ? ทำไมคนผิวดำเล่นเป็นคนผิวขาวในประวัติศาสตร์ได้ แต่ทำไมคนผิวขาวเล่นเป็นคนผิวสีอื่นๆ ไม่ได้? ทั้งๆ ที่ก็ไม่จำเป็นต้องทาตัวเป็นเชิงล้อเลียนด้วยซ้ำ?
ภาพแนบ: สการ์เล็ต โยฮันสัน ใน Ghost in the Shell
ทางผู้จัดทำละครออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาใช้หลัก identity-conscious casting แบบเดียวกับที่ละครเวทีมักใช้ ที่ไม่ว่าใคร จะชาติไหน คนดำ ลาติน เอเชีย ฯลฯ ขอแค่ความสามารถเหมาะกับบทก็เล่นได้
จริงๆ การวัดคนด้วยความสามารถก็ก็ฟังดูมีเหตุผล แต่ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าใช้หลักการเดียวกันนี้ ก็ไม่ควรจะมีดราม่าเวลาคนผิวขาวรับบทคนชาติอื่น (เช่น สการ์เล็ต โยฮันสัน รับบทผู้พันคุซานางิ โมโตโกะ ใน Ghost in the Shell ปี 2017) เช่นกันหรือไม่?

*** เปิดกว้าง (?) วงการกีฬา ***
เรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ และเป็นที่โต้เถียงกันในวงการกีฬามายาวนาน เพราะมันถูกมองได้จากหลายๆ มุม
กลุ่มบุคคลแปลงเพศก็อยากได้สิทธิ “เท่าเทียม” เช่นหญิงแท้ แต่คนเป็นหญิงแท้ก็รู้สึกว่านี่คือความ “ไม่เท่าเทียม” ทางกายภาพ โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้กำลัง เช่น ยกน้ำหนัก หรือกีฬาการต่อสู้
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** สนิมเหล็ก เกิดแต่เนื้อในตน Woke Edition ***
เจตนาของ Woke ที่มองว่าตนเอง “ตื่น” และจะไม่ปล่อยให้สังคมถูกกดทับอีกต่อไปดูเป็นเรื่องดี แต่ขณะเดียวกัน การกระทำหลายอย่างกลับทำให้ผู้คนหมั่นไส้มากขึ้น แม้แต่ฝ่ายเสรีนิยมด้วยกัน (Woke ถือเป็นกระแสการเมืองเสรีนิยมสายหนึ่ง)
ต่อไปนี้คือสิ่งที่กลุ่ม Woke ได้ทำลงไป และกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้โดนกระแสสวนกลับมาบ่อยครั้ง จนการเรียกร้องบางอย่างมีกำลังอ่อนลงอย่างน่าใจหาย เปรียบเหมือนกับสนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน...
*** กลายเป็นคนที่ตัวเองเกลียด ***
แม้กลุ่ม Woke จะมีเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ขจัดความไม่เท่าเทียม แต่บางทีก็ยังเผลอติดหล่มความสุดโต่งบ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่นกลุ่ม Social Justice Warrior หรือ SJW
แรกสุด SJW ถือเป็นคำชมของผู้ที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ความหมายเริ่มเปลี่ยนไปในทางลบช่วง 2010s กลายเป็นคำที่เอาไว้ประชด เนื่องจากกลุ่ม SJW มักใช้ cancel culture หรือ call-out culture ที่แปลแบบไทยๆ ได้ว่า “การล่าแม่มด” ในการโจมตีบุคคลที่ตนเองไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง
ภาพแนบ: เจ. เค. โรว์ลิง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ เคยวิจารณ์ LGBTQ ทำให้โดนแอนตี้หนัก และถูกเปิดเผยที่อยู่ส่วนตัวเพื่อก่อกวน
บางครั้งกลุ่ม SJW ก็ถึงขั้นแฉข้อมูลส่วนตัว เช่นที่อยู่ ที่ทำงาน เบอร์โทรศัพท์ ของคนที่ตนไม่ชอบ เพื่อให้มีคนไปก่อกวน ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย จนหลายคนต้องหมดอนาคตในอาชีพการงาน หรือเสียโอกาสทางสังคม ทั้งที่ยังไม่มีการหาข้อมูลหลักฐานอย่างจริงจัง
...จึงเกิดคำถามว่านี่เป็นการเรียกร้องความยุติธรรม โดยการลัดกระบวนการยุติธรรมหรือเปล่า?
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ จอร์จ วอชิงตัน โดนปาสีใส่
*** เปลี่ยนอดีต-สร้างอนาคต? ***
หนึ่งในประเด็นที่ Woke โดนมองในแง่ลบคือ “การพยายามลบประวัติศาสตร์”
ในที่นี้ขอกล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่ก่อตั้งอเมริกาที่เรียกว่า Founding Fathers ซึ่งปกติถูกนับถือเป็นวีรบุรุษของชาติ
แต่ไม่กี่ปีมานี้กลับมีกระแสต่อต้านพวกเขา เพราะกลุ่มผู้ก่อตั้งประเทศมักมีทาสในครอบครอง ถึงไม่ได้เป็นสิ่งผิดในสมัยนั้น แต่ประชากรบางส่วนของอเมริกา โดยเฉพาะคนผิวดำ มองย้อนไปด้วยสายตาของคนปัจจุบันแล้วรับไม่ได้
คนเหล่านั้นบอกว่า กลุ่มผู้ก่อตั้งฯ เหยียดชนชาติ ทำให้อัตลักษณ์ของคนผิวดำจางหาย จึงมีการพยายามทำลาย, กดดันให้รัฐรื้อถอนรูปปั้น และการเปลี่ยนชื่อสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาพแนบ: รูปโลหะเจฟเฟอร์สัน
กรณีล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2021 คือการถอดถอนรูปหล่อโลหะของโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในอาคารว่าการรัฐนิวยอร์ก ซึ่งทำขึ้นมาตั้งแต่ปี 1833 อนึ่งเจฟเฟอร์สันเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอเมริกา และประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศ แต่ถูกลบหลู่ด้วยเหตุผลว่าเขามีทาสไว้ในครอบครอง
เป็นเรื่องน่าคิดว่าการทำลายหลักฐานในอดีตที่เราไม่ชอบเป็นสิ่งที่ควรทำได้ไหม? ในเมื่อค่ายกักกันเอาชวิตซ์ที่ฝั่งยุโรป ก็ยังถูกเก็บไว้บอกเล่าประวัติศาสตร์อันดำมืดได้?
ภาพแนบ: ส่วนหนึ่งในห้องเรียนของไกป์
*** ข้อถกเถียงเรื่องการศึกษา ***
เรื่องการเรียนก็เป็นอีกหัวข้อที่กลุ่ม Woke เข้าไปมีอิทธิพลกันมาก และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง ยกตัวอย่างเช่น...
เกเบรียล ไกป์ อาจารย์โรงเรียนมัธยมปลายใน แคลิฟอร์เนีย เขาได้ใช้สิทธิความเป็นครูแขวนรูปของเหมาเจ๋อตง และธงแอนติฟา (กลุ่มสังคมนิยมต่อต้านฟาสซิสต์ ที่หลังๆ ถูกจัดไว้เป็นพวกซ้ายสุดโต่ง) ไว้ในห้องเรียน
เมื่อนักเรียนบอกว่าเห็นแล้วไม่สบายใจ ไกป์ก็ตอบไปว่า ธงนี้มีไว้เพื่อทำให้พวกฟาสซิสต์ไม่สบายใจ ถ้านักเรียนรู้สึกอย่างนั้น ก็ไม่รู้จะพูดยังไง
ภาพแนบ: เกเบรียล ไกป์
นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนให้นักเรียนไปร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านฝั่งขวา โดยจะโพสต์รูปปฏิทินรายอาทิตย์ว่ามีงานไหนเมื่อไหร่บ้าง โดยหากนักเรียนไปตาม, ถ่ายรูป, เขียนบรรยายความรู้สึก เขาจะเพิ่มคะแนนพิเศษให้
ผู้ปกครองรู้สึกไม่สบายใจกับการกระทำนี้ เลยเรียกร้องให้มีการสอบสวน ปรากฏว่านอกจากการตกแต่งห้องด้วยสัญลักษณ์แอนติฟาและรูปเหมาแล้ว เขายังสอนเรื่องสังคมนิยมสุดโต่ง และมีการตรวจการบ้านโดยใช้แสตมป์เป็นรูปผู้นำคอมมิวนิสต์ เช่น โจเซฟ สตาลิน, ฟิเดล คาสโตร, รวมไปถึง คิม จอง อึน แห่งเกาหลีเหนือด้วย…
ภาพแนบ: UCLA
เรื่องต่อมา หลังเกิดเหตุการณ์ฆาตกรรมจอร์จ ฟลอยด์ ช่วงพ.ค. 2020 ขึ้นเพียงสัปดาห์นิดๆ กอร์ดอน ไคลน์ ศาสตราจารย์ประจำคณะบัญชีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (UCLA) ได้รับเมลจากนักศึกษาผิวดำคนหนึ่ง ใจความว่า... ขอให้อาจารย์มอบเกรดดีๆ ให้นักศึกษาผิวดำ เพื่อโต้ตอบความไม่ยุติธรรมในสังคม
ศ.ไคลน์เป็นงง ความยุติธรรมแบบไหนกัน? ถ้าจะให้คะแนนกับนักศึกษาผิวดำดีๆ แล้วนักศึกษาเชื้อชาติอื่นๆ ล่ะ?
ภาพแนบ: กอร์ดอน ไคลน์
ปรากฏว่าพอแสดงความเห็นไปแบบนี้ ศ.ไคลน์กลับโดนนักศึกษาประท้วงและตราหน้าว่าเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติทันที ทั้งถูกคณะสอบสวนและสั่งพักงานในที่สุด พร้อมมีการสำทับว่าอาจถูกไล่ออกด้วย
เรื่องนี้ทำให้ศ.ไคลน์เสียชื่อเสียงและรายได้อย่างมาก (เขาเป็นที่ปรึกษาบัญชีให้กับอีกหลายบริษัทด้วย ซึ่งบริษัทเหล่านี้เลิกจ้างเขาเมื่อเกิดเรื่อง) แถมยังโดนส่งเมลข่มขู่มากมาย โดยหนึ่งในเมลเหล่านั้น ได้พูดจากระทบเชื้อชาติยิวของเขาด้วยว่า “แย่ที่เยอรมันไม่จับพวกแกเข้าห้องรมแก๊ส”
ภาพแนบ: โปสเตอร์ละครเวทีเรื่อง Show Boat
*** ความหลากหลาย (?) ในสื่อบันเทิง ***
วงการบันเทิงในอเมริกา เริ่มตั้งไข่จากการแสดงสดช่วงหลังสงครามกลางเมือง (1861-1865) แต่สมัยก่อนมักมีเพียงคนผิวขาวแสดง คนดำต้องแยกไป (อนึ่งหากเกิดมีบทคนดำ ก็ใช้คนทาตัวดำเล่นแทนเอา)
กว่าคนต่างสีผิวจะมาแสดงร่วมเวทีกันได้ ก็คือปี 1927 ในละครเพลงเรื่อง Show Boat ซึ่งผู้สร้างตั้งใจสื่อเรื่องราวทางสังคมโดยเฉพาะ ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของวงการบันเทิงในอเมริกา
กระนั้นบทของคนผิวดำรวมทั้งชนกลุ่มอื่นๆ ก็ยังจำกัดจำเขี่ยมาตลอดหลายสิบปีในสื่อต่างๆ หากเทียบกับคนขาว
ดังนี้เองในช่วงหลังๆ ถึงมีการเรียกร้องให้ “เพิ่มความหลากหลาย” ให้มากขึ้น ซึ่งวงการบันเทิงก็ให้การตอบรับ เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงนั้น ก็สร้างข้อสงสัยตามมาว่าทำแบบนี้ดีจริงๆ หรือ?
ภาพแนบ: ฮัลลี ไบลีย์
เริ่มต้นจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างดิสนีย์ ที่เตรียมจะสร้างหนังนางเงือกน้อย The Little Mermaid ฉบับคนแสดงขึ้นมา
ในปี 2019 ทางบริษัทได้ประกาศนักแสดงนำที่จะมารับบทของแอเรียลคือ ฮัลลี ไบลีย์ นักร้องวัยรุ่นผิวสีชื่อดังจากวง Chloe x Halle (คนละคนกับ ฮัลลี เบอร์รี ที่แสดงเป็นสตรอมใน X-Men นะครับ)
เรื่องนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากย์วิจารณ์อย่างหลากหลาย มีทั้งคนที่ออกมาชม “ความกล้า” ของดิสนีย์ เช่นศิลปินดัง มาราย์ แคร์รี และนางแบบสาว คริสซี ทีเกน
ส่วนคนที่ไม่พอใจในตัวเลือกนี้ก็มีไม่น้อย จนเกิดเป็นแฮชแท็ก NotMyAriel และ NotMyMermaid ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เพราะตามเรื่องแล้ว แอเรียลผิวขาว ตาฟ้า ผมแดง แถมยังมีมีต้นแบบมาจากเทพนิยายเดนมาร์ก
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า: “ทุกคนบอกว่า ‘เธอต้องเป็นพวกเหยียดผิวแน่ๆ เลยต่อต้านคนผิวดำมารับบทแอเรียล’ เอ่อออ ไม่ใช่! จะมาโทษที่คนอยากเห็นตัวละครหลักเหมือนต้นฉบับไม่ได้! ฉันก็คงหัวร้อนเหมือนกันแหละถ้าเขาทำโพคาฮอนทัสหรือเทียนา (เจ้าหญิงกบ) ตัวขาวออกมา”
ภาพแนบ: โจดี เทอร์เนอร์-สมิธ ในบท แอนน์ โบลีน
นอกจากนี้ทางยุโรปก็มีกรณีคล้ายๆ กันคือ ช่วงกลางปี 2021 มีการสร้างละครอิงประวัติศาสตร์ชื่อ Anne Boleyn ขึ้นทางช่อง Channel 5 ของอังกฤษ โดยเลือกผู้รับบทแอนน์ โบลีน เป็นดาราผิวดำมากความสามารถชื่อ โจดี เทอร์เนอร์-สมิธ (Without Remorse) มาเล่น
แม้จะไม่มีใครสงสัยในฝีมือ แต่คนจำนวนหนึ่งก็อดขมวดคิ้วไม่ได้ ที่การทำละคร “อิงประวัติศาสตร์” ไม่ต้องเหมือนประวัติศาสตร์ก็ได้หรอ? ทำไมคนผิวดำเล่นเป็นคนผิวขาวในประวัติศาสตร์ได้ แต่ทำไมคนผิวขาวเล่นเป็นคนผิวสีอื่นๆ ไม่ได้? ทั้งๆ ที่ก็ไม่จำเป็นต้องทาตัวเป็นเชิงล้อเลียนด้วยซ้ำ?
ภาพแนบ: สการ์เล็ต โยฮันสัน ใน Ghost in the Shell
ทางผู้จัดทำละครออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาใช้หลัก identity-conscious casting แบบเดียวกับที่ละครเวทีมักใช้ ที่ไม่ว่าใคร จะชาติไหน คนดำ ลาติน เอเชีย ฯลฯ ขอแค่ความสามารถเหมาะกับบทก็เล่นได้
จริงๆ การวัดคนด้วยความสามารถก็ก็ฟังดูมีเหตุผล แต่ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าใช้หลักการเดียวกันนี้ ก็ไม่ควรจะมีดราม่าเวลาคนผิวขาวรับบทคนชาติอื่น (เช่น สการ์เล็ต โยฮันสัน รับบทผู้พันคุซานางิ โมโตโกะ ใน Ghost in the Shell ปี 2017) เช่นกันหรือไม่?
*** เปิดกว้าง (?) วงการกีฬา ***
เรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ และเป็นที่โต้เถียงกันในวงการกีฬามายาวนาน เพราะมันถูกมองได้จากหลายๆ มุม
กลุ่มบุคคลแปลงเพศก็อยากได้สิทธิ “เท่าเทียม” เช่นหญิงแท้ แต่คนเป็นหญิงแท้ก็รู้สึกว่านี่คือความ “ไม่เท่าเทียม” ทางกายภาพ โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้กำลัง เช่น ยกน้ำหนัก หรือกีฬาการต่อสู้
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***