JJNY : ผวากม.อียูคุมคาร์บอน│วิกฤติพลังงานจีนลามไทย│ยะลาวิกฤติ โควิดพุ่งสูง เตียงไม่พอ│พนังชำรุด น้ำท่วมหมู่บ้าน อ.จังหาร

ผวา กฎหมายอียู คุมคาร์บอน CBAM ฉุดส่งออกปุ๋ย-เหล็ก-อะลูมิเนียม-ซีเมนต์
https://www.prachachat.net/economy/news-780904
  
อียูงัด กฎหมายใหม่ “CBAM” ตั้งการ์ดคุมเข้มสินค้าไม่รักษ์โลก บีบผู้นำเข้าแจงรายละเอียดการปล่อยคาร์บอน 5 สินค้า ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า ซีเมนต์ ดีเดย์ 1 ม.ค. 66 ก่อนไต่ระดับบี้เก็บ “ค่าปล่อยคาร์บอน” ปี’69 ด้าน ส.อ.ท.หวั่นกระทบตลาดส่งออก 2 หมื่นตัน ขอเวลาปรับตัว 5 ปี เตรียมระดมสมองรับมือ พ.ย.นี้ วอนรัฐหนุน
 
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะต้องช่วยผู้ประกอบการเตรียมพร้อมกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) บังคับใช้กฎหมายควบคุมการปล่อยคาร์บอน ในสินค้านำเข้า 5 รายการ คือ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า ซีเมนต์ คาดว่าจะบังคับใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า
 
ทั้งนี้ อียูได้เผยแพร่ร่างกฎหมายมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 กำหนดให้ผู้นำเข้าอียูต้องซื้อ “ใบรับรอง CBAM” ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ทางผู้นำเข้าเพียงแค่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น จากนั้น 1 มกราคม 2569 จะเริ่มบังคับใช้ CBAM เต็มรูปแบบ ผู้นำเข้าจะต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM
 
เบื้องต้นประเมินว่าจะกระทบการส่งออกสินค้าไทย โดยเฉพาะเหล็ก เหล็กกล้า และอะลูมิเนียมที่ส่งออกไปอียู ในปี 2563 มูลค่า 145 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,785 ล้านบาท) ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและเอกชนต้องร่วมกันศึกษารายละเอียดของมาตรการ กฎหมายต่าง ๆ รวมถึงหารือกับอียู เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
 
ด้านนายธีรพันธุ์ พิมพ์ทอง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สหภาพยุโรปได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องลดภาวะโลกร้อน ภายใต้กระแสเรื่อง European Green Deal อย่างเป็นรูปธรรมก่อนประเทศอื่น ๆ ซึ่ง CBAM เป็นส่วนต่อขยายระบบ EU-ETS (EU Emission Trading Scheme : EU-ETS) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 และเริ่มมีค่าใช้จ่ายจริงในวันที่ 1 มกราคม 2569
 
คาดว่ามีผลกระทโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอะลูมิเนียมที่มีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางใบแสดงสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CBAM certificates)
 
“ยอมรับว่ามาตรการที่ EU จะใช้นั้นเร็วมาก ตอนนี้เราตามดูเรื่อง CBAM อยู่ เท่าที่ติดตาม embedded emissions จะมีการเก็บค่า carbon credit จริง ๆ ในปี 2569 สิ่งที่เราต้องทำคือปรับตัวตาม ในกลุ่มอะลูมิเนียมกำลังดำเนินการกันอยู่ คาดว่าภายใน 5 ปีน่าจะสามารถปรับตัวได้ ปัจจุบันไทยส่งออกอะลูมิเนียมไปยุโรป ประมาณ 20,000 ตัน/ปี ในปี 2563”
 
โดยค่าคาร์บอนที่ปลดปล่อย แบ่งออกตามช่วงวัฏจักรชีวิต (LCA) เป็น 3 ช่วง คือ การได้มาของวัตถุดิบ ค่าการปลดปล่อยทางอ้อมจากการผลิต (indirect emission)  และค่าการปล่อยทางตรงจากการผลิต (direct emission/embedded emission) ในการบังคับใช้ช่วงแรกจะเก็บเฉพาะส่วนการปล่อยทางตรงจากการผลิตก่อน โดยดูจากราคาประมูลเฉลี่ยรายสัปดาห์จากทาง EU-ETS
 
ซึ่งอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมในสหภาพยุโรปมีค่าการปล่อยคาร์บอนทางตรงจากการผลิตโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.9 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม จากที่มีการผลิตต้นน้ำด้วย ส่วนประเทศไทยไม่มีการผลิตต้นน้ำ แต่จะผลิตกลางน้ำ ซึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมแผ่น 80% ซึ่งจะมีค่าการปล่อยคาร์บอนทางตรงเท่ากับ 0.5 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม ส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมเส้นประมาณ 50% จะมีค่าการปล่อยคาร์บอนเท่ากับ 0.5 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม
 
อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่มให้ความสนใจเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ทางกลุ่มจึงประสานกับนายจุลเทพ ขจรไชยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ M-Tech และตัวแทนทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อจัดสัมมนาให้ผู้สนใจทั่วไป ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อเริ่มดำเนินการเก็บตัวเลขการปล่อยคาร์บอนทางตรงจากการผลิตโดยเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่ากลางสำหรับอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมในไทย เพื่อเป็น base line ในการปรับปรุงพัฒนา ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในอนาคต
 
สำหรับแนวทางการปรับตัว เราพยายามนำพลังงานแสงอาทิตย์มาทดแทนแบบดั้งเดิม เพิ่มปริมาณการใช้เศษอะลูมิเนียมตามนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนให้มากขึ้น จะช่วยให้ลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนได้ค่อนข้างมาก และหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น จัดหาพลังงานสะอาดราคาต่ำ สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้
 
รวมถึงสนับสนุนการหมุนเวียนเศษอะลูมิเนียม เพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ จะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการปลดปล่อยคาร์บอนได้ถึง 95% ทันที เมื่อเทียบการใช้อะลูมิเนียมบริสุทธิ์จากกระบวนการต้นน้ำ เป็นการเสริมสร้าง circular economy ที่ตามนโยบายรัฐด้วย
 
ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ไทยอาจจะได้รับผลกระทบจาก CBAM น้อย เนื่องจาก 5 สินค้าที่อียูประกาศนั้น ไทยส่งออกไปน้อยมาก และบางสินค้าไทยยังต้องมีการนำเข้า แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต หากอียูเพิ่มการบังคับใช้ในรายการสินค้าอื่น
 
ทั้งนี้ การส่งออกตลาดอียู 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม 2564) ขยายตัว 24.6% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8% สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปอียู เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เป็นต้น


 
วิกฤติพลังงานจีนลามไทย สินค้านำเข้าจ่อพุ่งยกแผง
https://www.thansettakij.com/economy/499777
 
วิกฤติพลังงานในจีน ลามกระทบห่วงโซ่การผลิตโลก สภาอุตฯ-สรท.เปิดโผสินค้าส่งออก-นำเข้าไทย-จีนมีได้เสีย จับตาจีนลดการผลิต กระทบนำเข้ายางพารา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดพลาสติกไทย บาทอ่อน-น้ำมันพุ่งผสมโรง สินค้านำเข้าจากจีนพุ่งยกแผง
 
วิกฤติพลังงาน ขาดแคลนถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าของจีนที่เป็น “โรงงานของโลก” กำลังส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ จากผลพวงหลายปัจจัยรวมกัน ได้แก่ จีนแบนการนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย (สัดส่วน 26% ของการนำเข้า) จากมีข้อพิพาทระหว่างกัน จากการลดลงของอุปทานถ่านหินในจีน และลดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และหันไปใช้พลังงานทดแทนอื่น ๆ เพื่อลดโลกร้อน
 
ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินกว่าเท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา (ราคาถ่านหินก่อนโควิดจาก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ปัจจุบัน 240 ดอลลาร์ต่อตัน) ทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าในจีนเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่ราคาไฟฟ้าของผู้ผลิตในจีนถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาการขาดทุน และการปรับลดกำลังการผลิตลง ยังผลกระทบต่อโรงงานผลิตสินค้าของจีนไฟฟ้าไม่พอใช้ และต้องปรับลดกำลังผลิตลงตาม ขณะที่อีกด้านการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของจีน และทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น
 
ผลกระทบลามถึงไทย
 
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย แน่นอนว่าวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นนจีนที่ส่งผลกระทบต่อโรงงานผู้ผลิตสินค้าของจีนในเวลานี้ ย่อมส่งผลกระทบถึงไทยที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ของจีนด้วย
 
ทั้งนี้การลดกำลังการผลิต หรือการหยุดชะงักของโรงงานผลิตสินค้าในจีนจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากไทยลดลง อาทิ ยางพารา ไม้ยางพารา มันสำปะหลัง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกต่อ ขณะเดียวกันสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จีนปรับลดการผลิตลงจะส่งผลกระทบสินค้าในตลาดโลก เช่น สินค้าที่จีนส่งออกไปยุโรป หรืออเมริกา จะเริ่มขาดตลาด
 
“นอกจากนี้จากวิกฤติขาด แคลนพลังงาน และต้นทุนการผลิตในจีนสูงขึ้น ประกอบกับเวลานี้เงินบาทอ่อนค่า (ระดับ 33 บาท) และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเวลานี้ ทำให้สินค้านำเข้าหลักของไทยจากจีนปรับตัวสูงขึ้น เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตรวมถึงสินค้าที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้าจากทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเปิดประเทศ กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง และจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น”
 
จีดีพีจีนวูบ 0.5% เรื่องใหญ่
 
อย่างไรก็ตามวิกฤติพลังงานในจีนล่าสุดโกลด์แมน แซกส์ได้ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจ(จีดีพี) จีนจาก 8.2% ลงเหลือ 7.8% ขณะที่โนมูระ ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวจาก 8.2% เหลือ 7.7% หรือลดลง 0.4-0.5% ซึ่งการปรับลดลงของจีพีดีจีน 0.4-0.5%นี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเทียบแล้วระดับจีดีพีที่ลดลงอาจใหญ่พอ ๆ กับงบประมาณของประเทศไทย ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาขาดแคลนพลังงานในจีนล่าสุดรัฐบาลได้ให้ธนาคารปล่อยกู้ให้โรงไฟฟ้าเพื่อจัดซื้อถ่านหินเพิ่มอีก 100 ล้านตัน คงต้องจับตาหากจีนสามารถนำเข้าถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เร็วและเป็นปัญหาชั่วคราวก็อาจจะไม่กระทบเศรษฐกิจมาก แต่หากปัญหาทอดยาวออกไปถึงสิ้นปีนี้จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงไทยเพิ่มขึ้น
 
เปิดโผสินค้าไทยได้-เสีย
 
ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ปัจจุบันจีนใช้พลังงานจากถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึง 72% พลังงานน้ำจากเขื่อน 14% พลังงานลม 7% พลังงานนิวเคลียร์ 5% และพลังงานแสงอาทิตย์ 2% การปรับขึ้นของราคาถ่านหินจึงมีผลกระทบมาก ต้องจับตาช่วงหน้าหนาวนี้ราคาถ่านหินจะปรับขึ้นไปอีกเท่าใด และจะส่งผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้า และการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมในจีนมากขึ้นเพียงใด
 
สำหรับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานในจีนครั้งนี้ต่อสินค้าไทยแบ่งออกเป็น 2 กรณี กรณีแรก การปรับลดกำลังผลิตของโรงงานผลิตในจีนจะกระทบสินค้าวัตถุดิบที่จีนนำเข้าจากไทยลดลง เช่น ยางพารา ไม้ยางพาราชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น กรณีที่ 2 สินค้าไทยที่เป็นคู่แข่งขันกับสินค้าจีนในประเทศที่ 3 อาจได้รับอานิสงส์ส่งออกทดแทนสินค้าจีนที่ขาดแคลนได้เพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และตลาดอื่นๆ เช่น กลุ่มอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ล้อยางรถยนต์ (ส่วนหนึ่งผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของจีนมาตั้งฐานผลิตในไทยส่งออก)
 
“ภาพผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากวิกฤติพลังงานในจีนจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าสถานการณ์จากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการของไทยต้อง
เตรียมรับมือ เพราะจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวกต่อการนำเข้าและส่งออกของไทย”

 
คาดลากยาวถึงมี.ค.65
 
ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้า ไทยในจีน ประเมินว่า ปัญหาวิกฤติพลังงานจะเกิดขึ้นกับโรงงานผลิตสินค้าในจีนยาวไปจนถึงเดือนมีนาคม 2565 ผลจากรัฐวิสาหกิจด้านการไฟฟ้าของจีนต้องเร่งเตรียมสต๊อกถ่านหินและพลังงานอื่นให้เพียงพอต่อการผลิต “ความร้อน” ที่จะส่งผ่านตามท่อไปยังอาคารบ้านเรือนที่อยู่ทางตอนเหนือของจีนเพื่อต่อสู้กับความหนาวที่จะมาเยือนถึงช่วงวันที่ 15 พ.ย.64-15 มี.ค.65 ขณะที่ปักกิ่งและเมืองบริวารเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในช่วงเดือน ก.พ. 65 ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่