> ไขข้อข้องใจคนมีลูกยาก < 11 สาเหตุ ที่ทำให้ผู้หญิงมีลูกยาก ???

สาเหตุของผู้หญิงในการมีลูกยากมีอยู่หลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

1. ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง
ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง เป็นสาเหตุของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำให้ เนื้อเยื่อปกติถูกการปฏิเสธ ภาวะนี้ เช่น Lupus, Hashimoto’s การอักเสบของต่อมไทรอยด์ และข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจจะกระทบต่อการมีลูก หรือ มีลูกยากได้ สาเหตุที่ภาวะนี้ทำให้มีลูกยากยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดการอักเสบที่มดลูกและรก หรือ ยาที่ใช้รักษา ทั้งชายและหญิงที่มีภูมิต้านทาน (Antibody) จะทำลายอสุจิ และอวัยวะสืบพันธุ์ หรือ การลดโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน การลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่โพรงมดลูกในขณะที่ตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) สำหรับคนที่อยากตั้งครรภ์ อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวกับการมีบุตรยาก และอาจจะต้องได้รับยาบางชนิดก่อนและหลังการรักษา

2. เนื้องอกมดลูก
เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการในบางรายขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดขึ้นของเนื้องอก แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และเนื้องอกมดลูกเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยาก 5 – 10%

เนื้องอกมดลูกที่มีตำแหน่งอยู่ในโพรงมดลูกและมีขนาดมากกว่า 6 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื้องอกมดลูกจะมีผลกระทบกับโอกาสในการตั้งครรภ์ เนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้

- เปลี่ยนตำแหน่งของปากมดลูก ซึ่งสามารถลดจำนวนของอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
- ปิดกั้นท่อนำไข่ ซึ่งป้องกันอสุจิไปปฏิสนธิกับไข่ และป้องกันตัวอ่อนเคลื่อนมาฝังตัวที่มดลูก
- รบกวนเลือดมาเลี้ยงมดลูก ซึ่งป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อน

ผู้ที่มีบุตรยากและอยากตั้งครรภ์ แล้วตรวจพบว่ามีเนื้องอกมดลูก ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดก่อนการรักษา หรือ ก่อนการฉีดเชื้อ หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ผู้ที่อยากตั้งครรภ์อาจต้องรอแผลผ่าตัดหายก่อน อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนการปล่อยให้มีการตั้งครรภ์

3. ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด
ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด คือ ภาวะที่รังไข่ไม่ผลิตฮอร์โมนและไข่ในขณะที่ผู้หญิงยังอายุน้อย ผู้หญิงที่มีภาวะนี้จะมีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะมีระดับของฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และต่อมใต้สมองผิดปกติ ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด มักจะมีปัญหาการตั้งครรภ์ คือ มีโอกาสในการตั้งครรภ์น้อย ประมาณ 5 – 10% ของผู้หญิงที่มีภาวะนี้จะตั้งครรภ์โดยไม่ได้รับการรักษาใดๆภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมน AMH หรือ การทำอัลตราซาวน์เพื่อดูจำนวนไข่ ซึ่งถ้าพบว่ามีจำนวนไข่น้อยในขณะที่มีอายุน้อย สำหรับคนที่มีบุตรยากแต่ยังไม่พร้อมมีบุตรในช่วงเวลานี้แนะนำให้แช่แข็งไข่ (สำหรับคนที่ยังไม่มีสามี)หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ซึ่งขั้นตอนในการแช่แข็งไข่และการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จะมีขั้นตอนที่ไม่ได้แตกต่างกันมาก แต่ค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งไข่อาจจะน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วเล็กน้อย
 
4. ภาวะไข่ตกยาก
ภาวะไข่ตกยาก เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง ภาวะนี้เกิดที่รังไข่ หรือ ในบางรายเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ ฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของไข่และการตกไข่ รวมถึงคุณภาพของไข่ด้วย

ข้อสังเกตของภาวะนี้คือ ประจำเดือนจะมาไม่ปกติ หรือ รอบเดือนห่างมากกว่าปกติ มีน้ำหนักตัวมาก มีลักษณะที่แสดงออกถึงฮอร์โมนเพศชายสูง เช่น หน้ามัน มีสิว มีขนตามใบหน้าแขนขา มากกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป การตรวจอัลตราซาวน์อาจจะพบลักษณะที่คล้ายกับถุงน้ำหลายถุงอยู่ในรังไข่ ผู้ที่อยากมีลูกและมีภาวะนี้อาจต้องเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ลดน้ำหนัก หรือ บางคนต้องได้รับการฉีดเชื้อ หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และอาจจะต้องรับประทานยา Metformin 2-3 เดือนก่อนเริ่มขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

5. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เยื่อบุโพรงมดลูกเกิดจากเซลล์ที่อยู่บนโพรงมดลูก ซึ่งเซลล์นี้ถ้าเจริญอยู่นอกโพรงมดลูกจะเรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คนที่เป็นมากอาจตรวจพบเป็นถุงน้ำที่รังไข่ หรือเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ งานวิจัยพบมีความสัมพันธ์ของภาวะมีบุตรยากและเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 25 – 50% ของคนที่มีบุตรยากจะมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และ 30 – 40% ของผู้หญิงที่มีเยื่อบุ โพรงมดลูกเจริญผิดที่จะมีบุตรยาก
ทฤษฎีในปัจจุบันว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร

- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทำให้เกิดพังผืดที่อุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นที่อยู่ของรังไข่ ท่อนำไข่ ซึ่งอาจจะรบกวนต่อไข่ที่จะตกเข้าไปในท่อนำไข่ รวมถึงการอุดตันของท่อนำไข่
- เยื่อผนังช่องท้องของผู้มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจจะทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้องมากขึ้น ซึ่งน้ำนี้อาจจะมีผลกระทบต่อการ
ทำงานของไข่ อสุจิ และท่อนำไข่
- การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มดลูกอาจจะมีผลต่อความสามารถของตัวอ่อนในการฝังตัวและมีโอกาสแท้งได้ง่ายขึ้น

ผู้มีบุตรยากและมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การรักษาอาจจะต้องดูความรุนแรงของภาวะที่เป็น อาจต้องรับยาบางตัวหรือการผ่าตัดอย่างไรก็ตามต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากเพื่อประเมินแนวทางการรักษา การผ่าตัดอาจมีข้อดีในการลดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียก็อาจจะทำให้รังไข่มีจำนวนไข่น้อยลงหลังการผ่าตัด หลายคนอาจต้องทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ IVF ก่อนการผ่าตัด หรือ ผู้ที่อยากตั้งครรภ์และมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่มาก อาจจะได้รับการผ่าตัดเพื่อให้ตั้งครรภ์โดยธรรมชาติต่อไปได้

อ่านต่อด้านล่าง >>
ที่มา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่