บางส่วนจาก "ภควัทคีตา" เพื่อการศึกษาคำว่า "อัตตา"

วิกิพีเดีย
 
ภควัทคีตา (สันสกฤต: भगवद्गीता, อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา") เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท
การดำเนินเรื่อง[แก้]
คัมภีร์นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะเหมือนดังคัมภีร์พระเวทแต่ละเล่ม แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่งมหากาพย์มหาภารตะ
ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระจากฝ่ายเการพแห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และกองทัพพันธมิตรมากมายเป็นศัตรูคู่สงครามด้วย ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบายตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์ สาขายาทพ
ในขณะที่ตอบปัญหาอันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสญชัย ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ
เพราะฉะนั้นข้อความสนทนาระหว่างบุคคลทั้งสองในสนามรบก่อนจะเริ่มมหาสงครามจึงเป็นถ้อยคำที่สญชัยเรียบเรียงทูลถวายพระเจ้าธฤตราษฎร์ และมาให้ชื่อกันในภายหลังว่า ภควัทคีตา ทั้ง ๆ ที่ชื่อเดิมในมหาภารตะเรียกข้อความตอนนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท (ภควตฺ + คีตา + อุปนิษทฺ) ด้วยเหตุที่มีข้อความหลายตอนคัดลอกมาจาก คัมภีร์อุปนิษัท ฉบับต่าง ๆ อันเป็นหมู่คัมภีร์รุ่นสุดท้ายในสมัยพระเวท ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (ที่สุดแห่งพระเวท) ตลอดจนความคิดเรื่องอาตมัน ปรมาตมัน พรหมัน อันเป็นแก่นหรือสาระสำคัญที่สุดในคำสอนของอุปนิษัททุกเล่ม ก็มีกล่าวถึงหลายต่อหลายครั้งในภควัทคีตา จะแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ว่าข้อความในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นแต่งเป็นภาษาร้อยแก้ว แต่ในคัมภีร์ภควัทคีตาแต่งเป็นบทร้อยกรอง
ถ้าจะกล่าวโดยแท้จริงแล้ว คำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา เกือบครึ่งเล่มเป็นคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท และอีกกว่าครึ่งเล่มเป็นคำสอนแบบของเหล่าภาควตะ ซึ่งไหว้พระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดในนิกายของตน และคำสอนแบบดังกล่าวนี้มีมานานแล้วในหมู่เหล่าภาควตะอันเป็นชนอารยันอินเดียกลุ่มหนึ่ง ต่อมาเหล่านิกายไวษณพ หรือเหล่าที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุดได้ผนวกเอาพระกฤษณะเข้าไปเป็นพระวิษณุอวตาร หรือนารายณ์อวตารปางที่ 8
คำสอนของเหล่าภาควตะซึ่งเน้นในเรื่องความนับถือพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดก็ถูกกลืนเข้าไปผสมผสานกับแนวความคิดของเหล่าไวษณพที่มีส่วนในการแต่งมหากาพย์มหาภารตะอยู่มากมายหลายตอน จึงปรากฏออกมาในรูปภควัทคีตาดังที่ปรากฏเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้ และการที่จะเรียกหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท หรือ ภควัทคีตา หรือ คีตา เฉย ๆ ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของคนอินเดียนิกายไวษณพ ในรูปแบบของบทสนทนาที่มีข้อความเกือบทั้งหมด เป็นคำอธิบายเรื่องวิถีทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด ส่วนบทที่เป็นคำถามของพระอรชุนในเรื่องความลึกลับและวิถีทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กน้อยเหลือเกิน คล้าย ๆ กับเป็นบทเชื่อมต่อระหว่างคำอธิบายอันยืดยาว แต่ละตอนของพระเจ้าในร่างมนุษย์คือพระกฤษณะเท่านั้นเอง
คัมภีร์ภควัทคีตา แบ่งออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า อัธยายะ รวมทั้งสิ้น 18 อัธยายะด้วยกัน
-----------------------------------------------------------------

ครับ ผมได้พยายามทำให้สั้นที่สุด กระชับที่สุด เพื่อฉายภาพคำว่า "อาตมัน" ในภาษาสันสกฤต
ก็คือคำว่า "อัตตา" ในภาษาบาลี นั้น แท้ที่จริงแล้ว มีอารมณ์ประมาณเท่าไร และมีบรรยากาศของคำประมาณไหน 

ภวัทคีตา นี้ ชาวฮินดูบางนิกายเชื่อว่า เป็นการสนทนากับพระเจ้าจริงๆ และพระเจ้าของเค้านั้นเป็นมหาอาตมัน
ถ้าภาษาบาลีอย่างพุทธก็จะออกเสียงว่า เป็นมหาอัตตา หรืออัตตาใหญ่นั่นเองครับ เป็นการประพันธ์ที่ลุ่มลึกมาก
ซึ่งตามที่วิกิพีเดียได้เล่าไว้ข้างบนว่า ครึ่งเล่มของภควัทคีตา ก็คือมาจากคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายในสมัยพระเวทนั่นเอง

การตัดบางโศลกออกมาจากคัมภีร์นี้เป็นไฟล์ภาพ ซึ่งผมขอแคปสกรีนมาจากไฟล์ PDF ที่โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
เป็นงานแปลที่มีคุณค่าทางวิชาการมาก เพราะอ่านดูก็ทราบว่า เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงฮินดูแน่ๆ ครับ
ท่านผู้นั้นคือ คุณเกียรติขจร ชัยเธียร 

ขออนุญาติท่านมาทางนี้เลยนะครับ เพื่อเป็นวิชาการ โดยมิได้ลบหลู่ความเชื่อของผู้ใดทั้งนั้น
ซึ่งผมจะใช้คีย์เวิร์ดในการเสิร์ชหาคำว่า "อาตมัน" หลังจากนั้นก็คัดมาเฉาะบางโศลกที่เห็นภาพง่ายๆ ครับ

กราบคารวะงานทางวิชาการที่มีคุณค่าเล่มนี้นะครับ.



ขอเสนอเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
และประเด็นของกระทู้ก็คือ จุดสูงสุดของชาวฮินดูก็คือ 
การได้เข้าสิงสถิตอยู่ร่วมกันกับมหาอัตตานี้ ที่มีชื่อหลายชื่อ ดังคำของวิกิพีเดียที่ขอคัดมาแสดงดังนี้

โมกษะ
 โมกษะ (ชื่ออื่น ๆ เช่น วิโมกษะ, วิมุขติ, มุขติ)[1] เป็นคำศัพท์ในศาสนาฮินดู พุทธ ซิกข์ และ เชน หมายถึงรูปแบบต่าง ๆ ของการปลดปล่อย (emancipation), การตรัสรู้ (enlightment), การเป็นอิสระ (liberation) และการปล่อยไป (release)[2] ในเชิงโมกขวิทยา (soteriology) และเชิงอวสานวิทยา (eschatology) หมายถึงอิสระจากสังสารวัฏ คือวงจรแห่งการเกิดและตาย[3] ในขณะที่ความหมายในเชิงญาณวิทยา (epistemology) และในเชิงจิตวิทยา "โมกษะ" หมายถึงอิสระจากความไม่รู้ (ignorance) คือ การเข้าใจตัวเอง รู้จักตัวเอง และปรับปรุงตัวเอง[4]
ตามคติของฮินดู โมกษะคือแนวคิดแกนกลาง[5] และเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ซึ่งต้องผ่านขั้นสามขั้นในชีวิต คือ ธรรมะ (ชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและความเหมาะสม), อรรถะ (ควาทเจริญทางวัตถุ เงินทอง ชีวิตที่มั่นคง ความหมายของชีวิต) และ กาม (ความสุขทางใจและอารมณ์ที่เบิกบาน)[6] ทั้งหมดทั้งสี่แนวคิดนี้ เรียกรวมกันว่า "ปุรุษารถะ (Puruṣārtha)[7]
บางครั้งคำว่าโมกษะ อาจใช้แทนกันกับคำว่า นิพพาน ได้ทั่วไป[8] อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคำมีความหมายและมุมมองที่แตกต่างกันไปตามนิกายและลัทธิในศาสนาฮินดู เชน และพุทธ[9] คำว่านิพพานจะพบมากในศาสนาพุทธ[10] ส่วนคำว่าโมกษะจะพบทั่วไปในศาสนาฮินดู

------------------------------

ซึ่งโมกษะนี้ ถ้าเปรียบกับพุทธศาสนาแล้วก็คือ พระนิพพานนั่นเองครับ.
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
อัตตา

อัตตา (บาลี: อตฺตา; สันสกฤต: आत्मन्) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนี้โดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)

ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง

อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ

อัตตาในศาสนาต่าง ๆ
ศาสนาที่มีความเชื่อเรื่องตัวตนหรืออัตตา เรียกอัตตาในชื่อต่าง ๆ ดังนี้



ศาสนา               ตัวตน

ศาสนาฮินดู  =  พรหมัน/อาตมัน
ศาสนาเชน  =  ชีวะ
ศาสนายูดาห์-คริสต์  =  เนเฟช (วิญญาณ)
ศาสนาอิสลาม  =  นัฟส์
ลัทธิเต๋า  =  เต๋า
ลัทธิอนุตตรธรรม  =  จิตญาณ/ธรรมญาณ

---------------------------

ส่วนพุทธศาสนานั้น ไม่มี เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" ครับ.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่