" Mia " นกแร้งไบโอนิคตัวแรกของโลก




ในปี 2018 นักวิทยาศาสตร์จาก Medical University of Vienna ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของโลก สร้างสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า
" นกไบโอนิคตัวแรก " ของโลก โดยการผ่าตัดปลูกถ่ายขาวิศวกรรมชีวภาพให้กับแร้งป่า bearded vultures ที่ชื่อ Mia ซึ่งในขณะนั้นอายุได้ 1 ปี

ตามข้อมูลของมูลนิธิอนุรักษ์แร้ง ระบุว่า Mia ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ขาขวาตอนเป็นลูกนก เนื่องจากพ่อแม่ของมันใช้ขนแกะเพื่อยึดรังเข้าด้วยกัน แต่มีเส้นใยบางส่วนพันรอบข้อเท้าขวาของ Mia ทำให้นิ้วเท้าขาดออกซิเจน เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นและนิ้วเท้าของมันเริ่มที่จะเน่า ศูนย์เพาะพันธุ์เฉพาะทาง Richard Faust Zentrum Specialised Breeding Centre ได้ตัดเท้าทิ้งไป ทำให้ความสามารถในการบินและกินอาหารของ Mia ลดลงจากปกติ

ทั้งนี้ ในจำนวนนกแร้งทั้งหมด สายพันธุ์  bearded vultures (แร้งเครา) จะพึ่งพาขาอันทรงพลังของพวกมันในการล่า และขับเคลื่อนตัวเองขึ้นไปในอากาศ
ดังนั้น การสูญเสียขาหนึ่งขาจึงเป็นเหมือนการตัดสินประหารชีวิตของมันเลยทีเดียว เพราะนกจะเลี้ยงตัวเองไม่ได้ ซึ่ง Sarah Hochgeschurz สัตวแพทย์ของ D.V.M. ประเทศออสเตรีย (มหาวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมินนิโซตา)  อธิบายในแถลงการณ์ที่ออกโดยมหาวิทยาลัยว่า

เท้าเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนกแร้ง ไม่เพียงแต่สำหรับการลงจอดและการเดินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจับเหยื่อด้วย ดังนั้น เท้าของพวกมันต้องทนต่อน้ำหนักต่างๆ ได้  และเมื่อเป็นที่ชัดเจนว่า Mia ไม่สามารถอยู่รอดได้นานในสภาพปัจจุบัน ศัลยแพทย์ตกแต่ง Oskar Aszmann จาก MedUni Vienna ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างขาเทียมสำหรับมนุษย์ และคนอื่นๆ อีกหลายคนจึงก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของ Hochgeschurz





นกหายากเหล่านี้มีปีกกว้าง 8.5 ฟุต (2.6 เมตร) ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในภายหน้า ตามข้อมูลของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature - IUCN) โดยเป็นนกนักล่าที่ใหญ่ที่สุดที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย แร้งเหล่านี้ต้องการขาที่แข็งแรงเพื่อยกน้ำหนักตัวและจับเหยื่อ

แม้ว่า Aszmann และเพื่อนร่วมงานของเขาได้พัฒนาขาเทียมสำหรับมนุษย์มาก่อน แต่ก็ไม่เคยนำมาใชักับนก งานนี้จึงเป็นการทดสอบขีดจำกัดของความคิดสร้างสรรค์และความรู้ทางการแพทย์ที่มีความท้าทาย  อย่างแรก อวัยวะเทียมต้องแข็งแรงพอที่จะดูดซับคลื่นกระแทกที่เกิดจากการลงจอด
ประการที่สอง มันต้องคล่องแคล่วมากพอที่จะยอมให้ Mia จับทั้งสัตว์ที่เป็นเหยื่อและเกาะคอนได้

อย่างไรก็ตาม พวกเขาการแก้ปัญหาด้ยการอาศัยเทคนิคเกี่ยวกับศัลยกรรมกระดูกแบบใหม่ที่เรียกว่า osseointegration ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งวัตถุแปลกปลอมในกระดูก ซึ่งในกรณีของ Mia วัตถุแปลกปลอมคือสมอโลหะที่ยึดติดกับแผ่นยางสีดำทรงกระบอกขนาดเล็ก ซึ่งการออกแบบรูปทรงกระบอกนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดศักยภาพในการบิดและทำให้ขาของมันเสียหายเมื่อโดนกิ่งไม้

 
ภาพเอ็กซ์เรย์ของขาเทียมใหม่ ที่มีลวดโลหะเกลียวถูกขันเข้าไปในกระดูกเพื่อยึดอวัยวะ เมื่อเวลาผ่านไปกระดูกก็จะงอกขึ้น

ในขณะที่แผ่นพื้นซึ่งกันสิ่งสกปรกและกันน้ำได้นั้นไม่เหมือนกับตีนนกทั่วไป แต่ก็ตรงตามความต้องการการบินและการจับอาหารขั้นพื้นฐานของ Mia  
เมื่อเวลาผ่านไป กระดูกจะเติบโตเป็นเกลียวโลหะและผสมผสานเข้ากับโครงกระดูกของ Mia และจะช่วยให้ Mia มีการตอบสนองทางสัมผัสในระดับสูง ตามที่ Aszmann และทีมที่อธิบายขั้นตอนในการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อ 11 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา ในวารสารวิทยาศาสตร์ Scientific Reports

การผ่าตัดต้องใช้ยาสลบกับ Mia นานกว่าสองชั่วโมงแต่ก็ประสบความสำเร็จด้วยดี หลังจากผ่านไปเพียงสามสัปดาห์ นกตัวนี้ได้พยายามเดินเป็นครั้งแรกและอวัยวะเทียมนั้นอยู่ภายใต้น้ำหนักเต็มที่หลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ ทุกวันนี้ แร้งเคราสามารถร่อนลงและเดินโดยใช้เท้าทั้งสองได้อีกครั้ง และทำให้มันเป็น 'นกไบโอนิค' ตัวแรกของโลก ซึ่งในที่สุดตอนนี้ Mia ได้ออกล่าอีกครั้งแล้ว

สำหรับนกแร้งเครา bearded vulture เป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของเทือกเขาแอลป์ และเป็นหนึ่งในนกแร็พเตอร์ที่หายากที่สุด ที่สามารถพบได้ในยุโรป
มีขนสีขาวอมแดงหรือสีขาวบนหัว มีจงอยปากแหลม ขนหางและปีกสีเข้ม เมื่อโตเต็มวัย นกจะมีเคราสีดกดำซึ่งทำให้นกแร้งมีชื่อว่า " แร้งเครา "

ในอดีต นกชนิดนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ 'Quebrantahuesos' ในสเปน แปลว่า 'บดกระดูก' หรือ 'Lämmergeier' ในเยอรมนี เนื่องจากการสันนิษฐานที่ผิดพลาดว่านกกินลูกแกะ แร้งเคราสามารถมีปีกกว้างถึง 30 ฟุตและหนักได้ถึง 7 กิโลกรัม ชอบภูมิประเทศแบบเปิดโล่งที่มีภูเขา ซึ่งพวกมันสามารถใช้กระแสน้ำที่ไหลขึ้นไปตามทางลาดของภูเขาเพื่อล่าสัตว์           

เดิมทีพวกมันมีถิ่นกำเนิดในภูเขาเกือบทั้งหมดในยูเรเซีย โดยเป็นกลุ่มที่แข็งแกร่งในเทือกเขาหิมาลัยและเอเชียกลางจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์ย่อยที่แยกจากกัน ซึ่งอาศัยอยู่ในภูเขาของเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ แต่จำนวนประชากรลดลงอย่างมากในหลายภูมิภาคทั่วโลก

ทั้งนี้ ในศตวรรษที่ 18 นกล่าเหยื่อพบได้ทั่วไปในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องจากขนาด รูปร่างหน้าตา และชื่อเสียงในฐานะ 'แร้งกระหายเลือด' จึงถูกล่าเพื่อให้ได้ค่าหัวสูง สิ่งนี้นำไปสู่จำนวนประชากรที่ลดน้อยลงในภูเขา ในที่สุดก็มีโครงการ Bearded Vulture Reintroduction ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องประชากรของมันในที่เลี้ยงที่ไม่ใช่ธรรมชาติ สิ่งนี้จะทำให้นกสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 50 ปี ในขณะที่ถ้าอยู่ในป่าพวกมันอยู่ได้แค่ 30 ปีเท่านั้น


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



Cr.https://www.livescience.com/vulture-gets-bionic-leg.html / By Cameron Duke - Live Science Contributor 

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่