แผงวงจรเขียวๆในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ทำงานยังยัง

เคยเห็นในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะมีแผงเขียวๆ มีเส้นๆ เดินเป็นทางๆ มีตัวเลขตัวอักษรเยอะแยะ
อยากรู้ว่าแผงนี้มันทำงานยังไง มันสามารถใส่โปรแกรมเข้าไปในแผ่นได้มั้ย อย่างเช่น นาฬิกาปลุกพอแกะออกมาก็เจอแค่แผงๆนี้ แล้วก็สายไฟไปออกลำโพง ให้ส่งเสียงได้ แสดงว่ามันต้องลงโปรแกรมและเสียงเข้าไปได้ แล้วเค้าลงเข้าไปยังไงครับ มันต้องมีหน่วยความจำในแผ่นด้วยใช่มั้ยครับ
ไม่ได้เรียนสายอิเล็กทรอนิส์มา แต่อยากรู้เรื่องนี้ครับ 
รูปยืมมาจาก Google  ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ตามข้างบนว่า
แต่มาเพิ่มส่วนที่อาจยังไม่ครบ

เรียกทั่วไปว่าแผ่นปริ๊นท์ แต่คนทำงานด้านนี้ อาจเรียกอีกคำ PCB หรือ PC Board ย่อมาจาก Printer Circuit Board
แปลไทย ถ้าตามหลักภาษาเป๊ะ ๆ ในวารสารหรือตำราอิเล็คทรอนิคส์ ใช้คำว่า "แผ่นวงจรพิมพ์"
จะเรียก "แผ่นวงจร" ก็พอเข้าใจ ยุคนี้เพิ่งมีมาทับศัพทื ว่า "บอร์ด" บ้าง แต่มักหมายถึงแผ่นประกอบวงจรสำเร็จแล้วนับตัวอุปกรณ์รวมด้วย

ตัวแผ่น ไม่มีหน้าที่อะไรมากเลยครับ แค่แผ่นฉนวน เคลือบทองแดง
ตอนทำจากโรงงาน จะเคลือบทองแดงทั้งแผ่นมาก่อน
แล้วพิมพ์ลายลงไป กัดออกด้วยกรด ให้เป็นทางให้ไฟเดิน ตามที่ต้องการ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ในการทำงานในระยะยาว มีความน่าเชื่อถือในการทำงานสูง กว่าเอาสายไฟมาโยง ที่อาจมีอะไรมากระทบหลุดหลวม
พูดง่าย ๆ เพื่อทำให้เป็นระเบียบ วางอุปกรณ์เรียง ๆ ไม่ให้กระโดกกระเดกช๊อตกันง่าย แล้วพลาดมาอุปกรณ์พังไหม้ ไม่ไหม้ลาม ไม่ละลาย (วัสดุเบกาไลท์ ทนกว่าพลาสติค) ลายพิมพ์ทองแดงก็ทำหน้าที่เหมือนสายไปโยงไปมา
แล้วเชื่อมยึดกันด้วยตะกั่ว  (ที่จริงส่วนผสมดีบุกมากกว่า แต่คนไทยเรา เรียกติดปากกันเป็น "ตะกั่วบัดกรี" บางงาน อาจมีเคลือบทองคำบาง ๆ ถึงได้มีคนรับซื้อแผ่นเก่า ๆ เอาไปสกัดทองออก)



รุ่นที่วงจรยุ่งมาก จะมีทองแดง 2 หน้า





หรือถ้าวงจรแบบใช้พวกขาอุปกรณ์เยอะ ๆ 2 หน้าก็แล้ว หักหลบทางเดินไปมาหลบไม่พ้น ก็มีชั้นข้างในอีก
แบบนี้ ต้องสั่งทำเอง เพราะออกแบบมาก่อน





ยุคก่อนหน้า ถ้าทำวงจรที่ไม่ยุ่งยากอย่างข้างบนว่า
บางทีก็แค่หลักต่อสาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่