ทนายวัย 60 ปี เสียชีวิต ญาติเชื่อเกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด รพ.ส่งร่างชันสูตรหาสาเหตุ
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2770260
ทนายวัย 60 ปี เสียชีวิต ญาติเชื่อเกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด ชี้ปกติแข็งแรง ขณะที่ รพ.กระบี่ ส่งศพชันสูตร รพ.วชิระภูเก็ต หาสาเหตุที่ชัดเจน ยืนให้ความช่วยเหลือตาม หลักเกณฑ์ สปสช.
วันที่ 11 มิ.ย. 64 นาง
รัตนา กลับฉิ่ง อายุ 55 ปี ภรรยา ของนาย
พฤติชัย มากสิน อายุ 60 ปี มีอาชีพเป็นทนายความ ที่เสียชีวิตหลังไปรับฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่จุดบริการวัคซีน โควิด-19 ที่ โรงพยาบาลกระบี่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยหลังจากฉีด ซึ่งหลังจากรอดูอาการ 30 นาที ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด กระทั่งกลับไปบ้าน วันที่ 9 เริ่มมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ญาติจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิต เมื่อนวานนี้ ขณะนี้โรงพยาบาลกระบี่ ส่งศพไปชันสูตร ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต หาสาเหตุการเสียชีวิต ปรึกษากับญาติเตรียม จัดงานศพสามี ที่วัดในช่อง
นาง
รัตนา กลับฉิ่ง เปิดเผยว่า เสียใจมาก ไม่คิดว่าสามีจะเสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนเนื่องจาก สามีมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว หลังจากฉีดวัคซีนวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่าน กลับมาบ้านพัก เพื่อนบ้านถามหาเป็นอย่างไรบ้าง สามี ยังยกเมือโชว์บอกกว่า ไม่เป็นไร พร้อมเชิญชวนเพื่อนบ้านให้ไปฉีดวัคซีนด้วย แต่รุ่งเช้าวันที่ 9 เริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรงแต่มีสติ ดี จึงนำส่งโรงพยาบาลกระบี่ แพทย์ให้การรักษา ตามอาการจนกระทั่งเมื่อวานนี้ เสียชีวิต ตนเชื่อว่าสาเหตุ มาจากการฉีดวัคซีน
นาย
มน กลับฉิ่ง พ่อตาผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ลูกเขยเป็นคนแข็งแรง มีอาชีพทำสวนปาล์มน้ำมันด้วย เชื่อว่า สาเหตุการเสียชีวิต มาจากการฉีดวัคซีนแน่นอน
นายแพทย์
สุพจน์ ภูเก้าล้วน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระบี่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่า นาย
พฤติชัยเสียชีวิตมาจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ จะต้องรอผลการชันสูตรจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการอีกครั้ง และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับญาติผู้ตายแล้ว พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานยื่นเรื่องขอรับเงินเยียวยาเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.
เตือนอย่าแชร์ เอเอฟพี เผย ข่าวนิวยอร์ก ไทมส์ จัดอันดับวัคซีนจีนดีที่สุด เป็นเฟคนิวส์
https://www.matichon.co.th/social/news_2770259
เตือนอย่าแชร์ เอเอฟพี เผย ข่าวนิวยอร์ก ไทมส์ จัดอันดับวัคซีนจีนดีที่สุด เป็นเฟคนิวส์
จากกรณีที่ โลกออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก และกรุ๊ปไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล อ้างว่า สื่อดังอย่าง นิวยอร์กไทม์ จัดอันดับวัคซีนที่ดีที่สุด โดยมีอันดับ 1-4 เป็นวัคซีนของจีน โดย มีการแชร์ข่าวดังกล่าวไปในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม
เอเอฟพี ได้รายงานว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และเป็นความเข้าใจผิด โดยระบุว่า
คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดถูกแชร์ออนไลน์ว่านิวยอร์กไทมส์จัดอันดับให้วัคซีนของประเทศจีนเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยที่สุด
คำกล่าวอ้างที่ระบุว่าหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้จัดอันดับให้วัคซีนโควิด-19 ของประเทศจีนเป็นวัคซีนที่ปลอดภัยที่สุดได้ถูกแชร์ในหลายโพสต์ทางเฟซบุ๊ก คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด บทความของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ที่ถูกกล่าวอ้าง ไม่ได้มีการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีนตามที่ปรากฏในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า
“ขยี้ตาแพล๊บ !!! รายงานการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีน โดย “นิวยอร์คไทม์ส” ซึ่งเผยแพร่ไว้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อ้าวสรุปนิวยอร์กไทม์ส กลายเป็นสลิ่มไปซะงั้น จะมีใครออกมาดิ้นไหมหนอ ตายละหว่า เพิ่งมีคนแซะวัคซีนเสิ่นเจิ้นอยู่เลย กลับแป๊บ !!!…”
โพสต์ดังกล่าวแชร์ภาพอินโฟกราฟิก โดยข้อความในภาพเขียนว่า “
อันดับความปลอดภัยของวัคซีน โดยเดอะนิวยอร์กไทมส์
1. ซิโนฟาร์ม (จีน)
2. ซิโนแวค (จีน)
3. Kexing (จีน)
4. แคนซิโน (จีน)
5. แอสตร้าเซนเนก้า (สหราชอาณาจักร)
6. ไฟเซอร์ (สหรัฐฯ และเยอรมนี)
7. โมเดอร์นา (สหรัฐฯ)
8. จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (สหรัฐฯ)
9. โนวาแวค (สหรัฐฯ)
10. สปุตนิกวี (รัสเซีย)”
คำกล่าวอ้างนี้ถูกแชร์ออนไลน์ ในขณะที่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยตามหลังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมมากว่า 177,467 คน
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
— ไม่มีการจัดอันดับโดยนิวยอร์กไทมส์ —
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เดอะนิวยอร์กไทมส์ เผยแพร่บทความที่เขียนพาดหัวซึ่งเแปลเป็นภาษาไทยว่า “
ถึงเวลาไว้ใจวัคซีนของจีนและรัสเซีย” อย่างไรก็ตามบทความดังกล่าวไม่ได้มีการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19
บทความดังกล่าวเป็นบทความเชิงวิเคราะห์ของ
Achal Prabhala นักเคลื่อนไหวด้านสาธารณสุขชาวอินเดีย และ
Chee Yoke Ling ทนายความสาธารณประโยชน์ชาวมาเลเซีย
บทความดังกล่าวไม่ได้เป็นการรับรองโดยฝ่ายบรรณาธิการ และไม่ได้เป็นการรายงานโดยผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ของเดอะนิวยอร์กไทมส์
เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ชี้แจงทางทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ว่ามีการนำบทความดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์พร้อมคำกล่าวอ้างที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด
แถลงการณ์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า
“เดอะนิวยอร์กไทมส์ไม่ได้เผยแพร่การจัดอันดับนี้ การรายงานของเราไม่ได้นำเสนอว่าวัคซีนของประเทศจีนนั้นเหนือกว่าวัคซีนที่ผลิตจากที่อื่น นอกจากนี้เราไม่ได้เผยแพร่คำกล่าวอ้างว่าจีนได้ทำการส่งออกไปแล้วกว่า 500 ล้านโดส”
https://twitter.com/NYTimesPR/status/1369659682600722432
https://factcheckthailand.afp.com/misleading-posts-circulate-online-claiming-nyt-deutsche-welle-endorsed-chinas-covid-19-vaccines-th
JJNY : ทนายวัย60 เสียชีวิต ญาติเชื่อเกี่ยววัคซีน│เตือนข่าววัคซีนจีนดีที่สุด│ตั้งงี่สุน-ยงสงวนวูบ│โคราช อบจ.ซื้อซิโนฟาร์ม
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2770260
ทนายวัย 60 ปี เสียชีวิต ญาติเชื่อเกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด ชี้ปกติแข็งแรง ขณะที่ รพ.กระบี่ ส่งศพชันสูตร รพ.วชิระภูเก็ต หาสาเหตุที่ชัดเจน ยืนให้ความช่วยเหลือตาม หลักเกณฑ์ สปสช.
วันที่ 11 มิ.ย. 64 นางรัตนา กลับฉิ่ง อายุ 55 ปี ภรรยา ของนายพฤติชัย มากสิน อายุ 60 ปี มีอาชีพเป็นทนายความ ที่เสียชีวิตหลังไปรับฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่จุดบริการวัคซีน โควิด-19 ที่ โรงพยาบาลกระบี่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยหลังจากฉีด ซึ่งหลังจากรอดูอาการ 30 นาที ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด กระทั่งกลับไปบ้าน วันที่ 9 เริ่มมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ญาติจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิต เมื่อนวานนี้ ขณะนี้โรงพยาบาลกระบี่ ส่งศพไปชันสูตร ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต หาสาเหตุการเสียชีวิต ปรึกษากับญาติเตรียม จัดงานศพสามี ที่วัดในช่อง
นางรัตนา กลับฉิ่ง เปิดเผยว่า เสียใจมาก ไม่คิดว่าสามีจะเสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนเนื่องจาก สามีมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว หลังจากฉีดวัคซีนวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่าน กลับมาบ้านพัก เพื่อนบ้านถามหาเป็นอย่างไรบ้าง สามี ยังยกเมือโชว์บอกกว่า ไม่เป็นไร พร้อมเชิญชวนเพื่อนบ้านให้ไปฉีดวัคซีนด้วย แต่รุ่งเช้าวันที่ 9 เริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรงแต่มีสติ ดี จึงนำส่งโรงพยาบาลกระบี่ แพทย์ให้การรักษา ตามอาการจนกระทั่งเมื่อวานนี้ เสียชีวิต ตนเชื่อว่าสาเหตุ มาจากการฉีดวัคซีน
นายมน กลับฉิ่ง พ่อตาผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ลูกเขยเป็นคนแข็งแรง มีอาชีพทำสวนปาล์มน้ำมันด้วย เชื่อว่า สาเหตุการเสียชีวิต มาจากการฉีดวัคซีนแน่นอน
นายแพทย์สุพจน์ ภูเก้าล้วน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระบี่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่า นายพฤติชัยเสียชีวิตมาจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ จะต้องรอผลการชันสูตรจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการอีกครั้ง และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับญาติผู้ตายแล้ว พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานยื่นเรื่องขอรับเงินเยียวยาเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.
เตือนอย่าแชร์ เอเอฟพี เผย ข่าวนิวยอร์ก ไทมส์ จัดอันดับวัคซีนจีนดีที่สุด เป็นเฟคนิวส์
https://www.matichon.co.th/social/news_2770259
เตือนอย่าแชร์ เอเอฟพี เผย ข่าวนิวยอร์ก ไทมส์ จัดอันดับวัคซีนจีนดีที่สุด เป็นเฟคนิวส์
จากกรณีที่ โลกออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก และกรุ๊ปไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล อ้างว่า สื่อดังอย่าง นิวยอร์กไทม์ จัดอันดับวัคซีนที่ดีที่สุด โดยมีอันดับ 1-4 เป็นวัคซีนของจีน โดย มีการแชร์ข่าวดังกล่าวไปในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม เอเอฟพี ได้รายงานว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และเป็นความเข้าใจผิด โดยระบุว่า
คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดถูกแชร์ออนไลน์ว่านิวยอร์กไทมส์จัดอันดับให้วัคซีนของประเทศจีนเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยที่สุด
คำกล่าวอ้างที่ระบุว่าหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้จัดอันดับให้วัคซีนโควิด-19 ของประเทศจีนเป็นวัคซีนที่ปลอดภัยที่สุดได้ถูกแชร์ในหลายโพสต์ทางเฟซบุ๊ก คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด บทความของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ที่ถูกกล่าวอ้าง ไม่ได้มีการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีนตามที่ปรากฏในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า
“ขยี้ตาแพล๊บ !!! รายงานการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีน โดย “นิวยอร์คไทม์ส” ซึ่งเผยแพร่ไว้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อ้าวสรุปนิวยอร์กไทม์ส กลายเป็นสลิ่มไปซะงั้น จะมีใครออกมาดิ้นไหมหนอ ตายละหว่า เพิ่งมีคนแซะวัคซีนเสิ่นเจิ้นอยู่เลย กลับแป๊บ !!!…”
โพสต์ดังกล่าวแชร์ภาพอินโฟกราฟิก โดยข้อความในภาพเขียนว่า “อันดับความปลอดภัยของวัคซีน โดยเดอะนิวยอร์กไทมส์
1. ซิโนฟาร์ม (จีน)
2. ซิโนแวค (จีน)
3. Kexing (จีน)
4. แคนซิโน (จีน)
5. แอสตร้าเซนเนก้า (สหราชอาณาจักร)
6. ไฟเซอร์ (สหรัฐฯ และเยอรมนี)
7. โมเดอร์นา (สหรัฐฯ)
8. จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (สหรัฐฯ)
9. โนวาแวค (สหรัฐฯ)
10. สปุตนิกวี (รัสเซีย)”
คำกล่าวอ้างนี้ถูกแชร์ออนไลน์ ในขณะที่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยตามหลังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมมากว่า 177,467 คน
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
— ไม่มีการจัดอันดับโดยนิวยอร์กไทมส์ —
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เดอะนิวยอร์กไทมส์ เผยแพร่บทความที่เขียนพาดหัวซึ่งเแปลเป็นภาษาไทยว่า “ถึงเวลาไว้ใจวัคซีนของจีนและรัสเซีย” อย่างไรก็ตามบทความดังกล่าวไม่ได้มีการจัดอันดับความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19
บทความดังกล่าวเป็นบทความเชิงวิเคราะห์ของ Achal Prabhala นักเคลื่อนไหวด้านสาธารณสุขชาวอินเดีย และ Chee Yoke Ling ทนายความสาธารณประโยชน์ชาวมาเลเซีย
บทความดังกล่าวไม่ได้เป็นการรับรองโดยฝ่ายบรรณาธิการ และไม่ได้เป็นการรายงานโดยผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ของเดอะนิวยอร์กไทมส์
เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ชี้แจงทางทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ว่ามีการนำบทความดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์พร้อมคำกล่าวอ้างที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด
แถลงการณ์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า
“เดอะนิวยอร์กไทมส์ไม่ได้เผยแพร่การจัดอันดับนี้ การรายงานของเราไม่ได้นำเสนอว่าวัคซีนของประเทศจีนนั้นเหนือกว่าวัคซีนที่ผลิตจากที่อื่น นอกจากนี้เราไม่ได้เผยแพร่คำกล่าวอ้างว่าจีนได้ทำการส่งออกไปแล้วกว่า 500 ล้านโดส”
https://twitter.com/NYTimesPR/status/1369659682600722432
https://factcheckthailand.afp.com/misleading-posts-circulate-online-claiming-nyt-deutsche-welle-endorsed-chinas-covid-19-vaccines-th