ขอขอบคุณเพจประวัติศาสตร์การปืน Firearms History อย่างสูงครับ
https://www.facebook.com/FirearmsHistory/
มักมีความเข้าใจเสมอว่าเหตุผลที่กรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯในช่วงสงครามกลางเมืองไม่นำสุดยอดอาวุธที่อาจเปลี่ยนผลของสงครามได้อย่างปืนกล Gatling เข้าประจำการ เป็นเพราะว่าความหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าใหม่ๆ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นความจริงอยู่ส่วนหนึ่ง

Gatling gun แบบแรกตามที่ได้จดสิทธิบัตรเอาไว้
แต่ลักษณะที่ผลิตจริงตามมาตราวัดของแบบแปลนที่ถูกต้องเป็นอย่างไรมิอาจทราบได้ เนื่องจากโรงงานแห่งแรกที่ Gatling ติดต่อให้ผลิตถูกไฟไหม้อย่างน่าสงสัย ทั้งต้นแบบปืน,เอกสารแบบแปลนทุกอย่างถูกไฟไหม้ทำลายทั้งหมด
แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมดเลยซะทีเดียวนัก หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ก่อนหน้าจะเห็นได้ว่าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆของฝ่ายเหนือต่างก็พากันเสนอข่าวปลุกระดมยกย่องฝ่ายตนอย่างเชื่อมั่นว่ามีความเหนือกว่าทั้งกำลังคนอาวุธพลังอำนาจทางอุตสาหกรรมสามารถนำพาให้ผ่านสงครามเอาชนะทำลายฝ่ายกบฎอย่างง่ายดายในเวลาอันสั้น
โดยเฉพาอย่างยิ่งความเชื่อที่ว่านักประดิษฐ์ยอดอัจฉริยะเจ้าอุตสาหกรรมฝ่ายเหนือทั้งหลายจะสามารถเข็นสิ่งประดิษฐ์อาวุธสุดล้ำออกมาห้ําหั่นตัดเฉือนฝ่ายใต้เป็นชิ้นๆ แต่ลึกๆแล้วคงมาจากความผิดหวังไม่อาจะเผด็จศึกกับฝ่ายใต้ตามคาดได้รวดเร็วตามคาด เลยหวังที่จะหาอาวุธใหม่ที่จะช่วยกอบกู้สถานการณ์และอาจจะเรียกได้ว่าเป็น A New Weapon, A New Hope ก็ว่าได้
สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้สนใจสิ่งประดิษฐ์,นักประดิษฐ์ทั้งหลายอยากแสดงฝีมือสร้างชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพที่สนใจแค่อยากหากำไรผลประโยชน์จากสงครามหรือผู้ที่มีใจจริงอยากช่วยเหลือรับใช้ชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตสงครามไปได้ ต่างส่งผลงานของตนให้ทางการพิจารณา แน่นอนใช่ว่าสิ่งประดิษฐ์ทุกอย่างจะประสบความสำเร็จหรือใช้งานจริงได้ตามคำโฆษณา
และสำหรับเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกอย่าง Col. James Wolfe Ripley แล้ว มันก็คือหายนะเป็นฝันร้ายเลยทีเดียวที่จะต้องมาคอยติดตามทดสอบอาวุธใหม่ๆจำนวนมากที่ส่งเข้ามาทดสอบอยู่เรื่อยๆไม่ขาดสาย ส่วนอาวุธที่ผ่านขั้นนี้มาได้ก็จะกลายเป็นอีกภาระหนึ่งของกรมสรรพาวุธฯที่จะต้องส่งกำลังบำรุงดูแล
สวนทางกับเรื่องกำลังพลเลยที่ขาดแคลนอย่างหนักมีคนไม่เพียงพอที่จะมาช่วยจัดการเรื่องนี้ทั้งหมดได้ โดยทั้งกองทัพบกมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรและทหารชั้นประทวนลงไปถึงพลทหารเพียง 16,367 นายเท่านั้น ขณะที่กองทัพเรือมีกำลังยังไม่ถึง 8,000 นายเลยด้วยซ้ำไป จนถึงขั้นที่ Col. James Wolfe Ripley เขียนบันทึกจดหมายบ่นเปรียบเทียบอาวุธพวกนี้เป็นดั่งความชั่วร้ายและนักประดิษฐ์ผู้สร้างมันก็เหมือนกับปีศาจที่มีแต่จะทำลายประสิทธิภาพของกองทัพหากนำเอาไปใช้งานจริง
ถึงแม้ในทางทฤษฎีรัฐบาลกลางจะสามารถเรียกกองอาสาประจำรัฐอื่นๆอีกร่วม 3 ล้านให้ส่งกำลังเข้าช่วยได้ แต่ในความเป็นจริง กองอาสาเหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐนั้นๆรวมไปถึงการอนุมัติเห็นชอบจากผู้ว่าการรัฐก่อนถึงจะมีการเรียกระดมพลจัดตั้งกองอาสาอย่างเป็นทางการส่งกำลังเข้าช่วยกองทัพของรัฐบาลกลางได้ และถึงจะได้ชื่อว่าเป็นกองอาสาประจำรัฐมีชื่อในบัญชีเรียกระดมพลก็จริง แต่กำลังพลพวกนี้ก็ไม่เคยได้รับการฝึกอย่างจริงจังมาก่อนเลย อย่างมากก็แค่เรียกพลมาฝึกประจำปีวันเดียวแถมกิจกรรมที่ทำกันในวันนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนกับวันคืนสู่เหย้าพบปะสังสรรค์ดื่มฉลองทำความรู้จักกันจนเมาหัวทิ่มซะมากกว่า
ซ้ำร้ายนายทหารสัญญาบัตรฝ่ายเหนือหลายคนที่ภูมิลำเนาบ้านเกิดอยู่ทางใต้ประมาณ 1 ใน 4 ก็ลาออกไม่ก็หนีทหารไปเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎกันหมด ซึ่งฟังดูเหมือนไม่เยอะแต่ก็เป็นคนเก่งทั้งงั้นอย่างเช่น Robert E. Lee , Stonewall Jackson เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Col. James Wolfe Ripley ต้องมารับตำแหน่งนี้ ซึ่งตามจริงควรจะได้เกษียณอายุไปตั้งแต่ปี 1860 แล้ว
นี่ยังไม่รวมกับเรื่องอาวุธแบบต่างๆที่กรมสรรพาวุธต้องดูแลจัดการส่งกำลังบำรุง โดยจากบันทึกรายงายของกรมสรรพาวุธฯช่วงนี้มีอาวุธปืนพื้นฐานรวมๆกันเกิน 120 กว่าแบบได้ โดยมีปืนเล็กทั้งแบบสั้น,ยาว มีเกลียว,ลำกล้องเรียบ ทั้งแบบแก็ปและคาบศิลากว่า 102 แบบ ปืนสั้นปืนพก ทั้งแบบคาบศิลา,แก็ป มีเกลียว,ไม่มีเกลียว,บรรจุปากลำกล้อง,ปืนลูกโม่ทั้งหมดกว่าอีก 19 แบบ เพราะว่ากองอาสาที่จัดตั้งขึ้นมาเองส่วนใหญ่ เหล่าสมาชิกมักจะจัดหาอาวุธ,ดินปืนเครื่องกระสุนมาแบบส่วนตัวเอง ไม่ก็เป็นการจัดหาให้โดยนายทหารประจำกองอาสานั้นเลือกหาอาวุธให้ทหารประจำกองเอง ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการทำศึกระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวคงไม่พ้นที่จะต้องมาพึ่งกรมสรรพาวุธฯรัฐบาลกลาง อาวุธต่างๆจึงมีมากมายหลายแบบหลายขนาด หามาตรฐานใช้ร่วมกันได้ยากมาก เรียกได้ว่าเป็นหายนะเรื่องการส่งกำลังบำรุงอย่างแท้จริง
หนังสือพิมพ์ Philadelphia Inquirer ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 1861 ก็เป็นหนึ่งในสื่อที่เขียนปลุกระดมกระตุ้นให้ผลิตประดิษฐ์อาวุธเข้าช่วยรัฐ
แต่ที่หนักสุดคงเป็นเรื่องที่ว่าพวกกองอาสาทหารใหม่มักจะถอนกำลังถอยทัพอย่างไม่เป็นระเบียบเสมอ แล้วทิ้งอาวุธเอาไว้ข้างหลังหมด ทั้งปืนใหญ่,อาวุธเบา,เครื่องกระสุน ฯลฯ ต้องมาคอยตามผลิตส่งอาวุธทดแทนให้กับพวกนี้เวลาจัดกำลังใหม่สร้างภาระเพิ่มให้กรมสรรพาวุธหนักขึ้นไปอีก
ส่วนกำลังพลของกรมสรรพาวุธฯตลอดช่วงสงครามก็ต่างกับหน่วยงานอื่นของกองทัพโดยสิ้นเชิ้งที่แค่เริ่มต้นสงครามไม่กี่เดือนก็สามารถเรียกคนเป็นหมื่นเป็นแสนมาเสริมกำลังได้แล้ว ตรงกันข้ามกำลังคนของกรมสรรพาวุธแทบไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมมากนักเลย ในช่วงหนักสุดของสงครามก็ยังมีนายทหารสัญญาบัตรแค่ 64 นาย และชั้นประทวนลงมาประมาณ 600 นาย กับเจ้าหน้าพลเรือนลูกจ้างพลเรือนอีกแค่ 9,000 คน แต่หน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นมาอีกเป็น 10 เท่า ต้องผลิตอาวุธเครื่องกระสุนประสานงานกับโรงงานอาวุธของเอกชนตอบสนองต่อกองทัพที่จำนวนทหารขยายตัวอย่างรวดเร็วจากกองประจำการไม่ถึง 20,000 นาย กลายเป็นหลายแสนในไม่กี่เดือนและร่วมเกือบล้านภายในเวลาไม่กี่ปี
ก็จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นสงครามกรมสรรพาวุธฯอยู่ในสถานการณ์ขั้นวิกฤตตกที่นั่งลำบาก ขาดแคลนทั้งจำนวนคนและบุคลากรเก่งๆมีความสามารถพอที่จะเข้าดูแลจัดการในตรงส่วนนี้
อีกอย่าง Gatling ถึงแม้จะเป็นสุดยอดอาวุธที่อาจเปลี่ยนผลของสงครามได้ แต่ก็ยังติดปัญหาพื้นฐานเรื่องคุณลักษณะของปืนถึงยิงได้เร็วป้อนกระสุนได้เร็วและยิงหวังผลได้ไกลก็จริง แต่ทว่าตัวปืนก็ยังหนักมีขนาดใหญ่พอๆกับปืนใหญ่สนามไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้คล่องตัว ถ้าเอาไปใช้งานบรรจุประจำการจริงคงไม่พ้นได้ไปอยู่กับหน่วยทหารปืนใหญ่แทนและทำการยิงสนับสนุนจากระยะไกลเหมือนกับปืนใหญ่สนามซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ที่เหมาะเลย ไม่ก็ติดตั้งบนเรือหรือภายในป้อมค่าย(ตอนหลังสงครามจบกองทัพสหรัฐฯก็นำเข้าประจำการและบรรจุใช้งานทันทีในหน่วยทหารปืนใหญ่) ที่สำคัญอีกอย่างคือราคาตัวปืนยังแพงมาก
สภาพการณ์ทั่วไปเมื่อกองอาสาประจำรัฐเวลาเรียกระดมพลฝึกช่วงก่อนสงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้น
การรบใหญ่ครั้งที่กองทัพทั้งสองฝ่ายปะทะกันอย่างหนัก แต่ฝ่ายใต้ได้ชัยชนะ
รายงานกำลังพลทั้งหมดของรัฐบาลกลางในต้นปีเกิดก่อนสงคราม
อีกสื่อหนึ่งที่ปลุกปั่นกระแสไม่แพ้กันกับสื่อหนังสือพิมพ์ธรรมดาก็คือ Scientific American โดยส่วนหนึ่งก็เป็นการเกาะกระแสโฆษณาสิ่งประดิษฐ์ด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าทำไมกรมสรรพาวุธฯโดยเฉพาะเจ้ากรมสรรพาวุธฯ Col. James Wolfe Ripley จึงพยายามไม่ยอมรับอาวุธใหม่ๆเข้าประจำการ เลือกที่ผลิตอาวุธแบบเดิมที่มีอยู่แล้วป้อนกองทัพให้ได้มากที่สุดแทน ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอยู่ในสภาวะสงคราม แม้จะโดนวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นพวกล้าหลัง,หัวโบราณไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
Col.James Wolfe Ripley
เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯ
(ถ้ามีคนสงสัยตั้งคำถามว่าเอาตัวรอดผ่านสงครามมาได้ยังไงในเมื่อมีอาวุธเป็นร้อยแบบให้ดูแล นี่ก็คงจะเป็นคำตอบที่ดี)
สร้างความไม่พอใจให้นายทหารหลายคนที่ต้องการอาวุธใหม่ๆโดยเฉพาะปืนแบบบรรจุท้ายลำกล้อง,กระสุนครบนัด,ปลอกโลหะเนื่องจากคิดว่าสถานการณ์คลี่คลายไปสามารถผลิตอาวุธป้อนกองทัพได้อย่างเพียงพอ บวกกับความผิดอย่างอื่นทั้งเรื่องการใช้อำนาจไม่ถูกต้องและบางอย่างก็กระทำแบบไม่ค่อยโปร่งใส่ในที่สุดก็ถูกปลดจากตำแหน่งในปี 1863
Brigadier General George D. Ramsay
ผู้ได้รับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธแทน Col. James Wolfe Ripley
อ้างอิง :
Col. James Wolfe Ripley. Chief of Ordnance Memorandum. June 11,1861
“National Encouragement to the Novelties of Inventors”. Philadelphia Inquirer July 17, 1861.
Scientific American, May 18, 1861 Volume 4 Number 20
Scientific American, June 15, 1861 Volume 4 Number 24
Scientific American, June 22, 1861 Volume 4 Number 25
Scientific American, July 20, 1861 Volume 5 Number 3
Scientific American, August 24, 1861 Volume 5 Number 8
Scientific American, August 31, 1861 Volume 5 Number 9
Scientific American, November 2, 1861 Volume 5 Number 18
Bruce, Robert V. Lincoln And the Tools of War. [1st ed.] Indianapolis: Bobbs-Merrill, 1956.
Phisterer, Frederick. Statistical Record of the Armies of the United States. New York: C. Scribner's Sons, 1883.
Lewis, Berkeley R. Notes On Ammunition of the American Civil War, 1861-1865. Washington: American Ordnance Association, 1959.
Karl Rubis, The History of Ordnance in America. U.S. Army Ordnance Corps, 2019.
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 584 เรื่องน่าเห็นใจเหตุที่กรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯไม่รับปืนแก็ตลิงเข้าประจำการใช้ในช่วงCivil War
https://www.facebook.com/FirearmsHistory/
มักมีความเข้าใจเสมอว่าเหตุผลที่กรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯในช่วงสงครามกลางเมืองไม่นำสุดยอดอาวุธที่อาจเปลี่ยนผลของสงครามได้อย่างปืนกล Gatling เข้าประจำการ เป็นเพราะว่าความหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าใหม่ๆ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นความจริงอยู่ส่วนหนึ่ง
Gatling gun แบบแรกตามที่ได้จดสิทธิบัตรเอาไว้
แต่ลักษณะที่ผลิตจริงตามมาตราวัดของแบบแปลนที่ถูกต้องเป็นอย่างไรมิอาจทราบได้ เนื่องจากโรงงานแห่งแรกที่ Gatling ติดต่อให้ผลิตถูกไฟไหม้อย่างน่าสงสัย ทั้งต้นแบบปืน,เอกสารแบบแปลนทุกอย่างถูกไฟไหม้ทำลายทั้งหมด
แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมดเลยซะทีเดียวนัก หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ก่อนหน้าจะเห็นได้ว่าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆของฝ่ายเหนือต่างก็พากันเสนอข่าวปลุกระดมยกย่องฝ่ายตนอย่างเชื่อมั่นว่ามีความเหนือกว่าทั้งกำลังคนอาวุธพลังอำนาจทางอุตสาหกรรมสามารถนำพาให้ผ่านสงครามเอาชนะทำลายฝ่ายกบฎอย่างง่ายดายในเวลาอันสั้น
โดยเฉพาอย่างยิ่งความเชื่อที่ว่านักประดิษฐ์ยอดอัจฉริยะเจ้าอุตสาหกรรมฝ่ายเหนือทั้งหลายจะสามารถเข็นสิ่งประดิษฐ์อาวุธสุดล้ำออกมาห้ําหั่นตัดเฉือนฝ่ายใต้เป็นชิ้นๆ แต่ลึกๆแล้วคงมาจากความผิดหวังไม่อาจะเผด็จศึกกับฝ่ายใต้ตามคาดได้รวดเร็วตามคาด เลยหวังที่จะหาอาวุธใหม่ที่จะช่วยกอบกู้สถานการณ์และอาจจะเรียกได้ว่าเป็น A New Weapon, A New Hope ก็ว่าได้
สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้สนใจสิ่งประดิษฐ์,นักประดิษฐ์ทั้งหลายอยากแสดงฝีมือสร้างชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพที่สนใจแค่อยากหากำไรผลประโยชน์จากสงครามหรือผู้ที่มีใจจริงอยากช่วยเหลือรับใช้ชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตสงครามไปได้ ต่างส่งผลงานของตนให้ทางการพิจารณา แน่นอนใช่ว่าสิ่งประดิษฐ์ทุกอย่างจะประสบความสำเร็จหรือใช้งานจริงได้ตามคำโฆษณา
และสำหรับเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกอย่าง Col. James Wolfe Ripley แล้ว มันก็คือหายนะเป็นฝันร้ายเลยทีเดียวที่จะต้องมาคอยติดตามทดสอบอาวุธใหม่ๆจำนวนมากที่ส่งเข้ามาทดสอบอยู่เรื่อยๆไม่ขาดสาย ส่วนอาวุธที่ผ่านขั้นนี้มาได้ก็จะกลายเป็นอีกภาระหนึ่งของกรมสรรพาวุธฯที่จะต้องส่งกำลังบำรุงดูแล
สวนทางกับเรื่องกำลังพลเลยที่ขาดแคลนอย่างหนักมีคนไม่เพียงพอที่จะมาช่วยจัดการเรื่องนี้ทั้งหมดได้ โดยทั้งกองทัพบกมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรและทหารชั้นประทวนลงไปถึงพลทหารเพียง 16,367 นายเท่านั้น ขณะที่กองทัพเรือมีกำลังยังไม่ถึง 8,000 นายเลยด้วยซ้ำไป จนถึงขั้นที่ Col. James Wolfe Ripley เขียนบันทึกจดหมายบ่นเปรียบเทียบอาวุธพวกนี้เป็นดั่งความชั่วร้ายและนักประดิษฐ์ผู้สร้างมันก็เหมือนกับปีศาจที่มีแต่จะทำลายประสิทธิภาพของกองทัพหากนำเอาไปใช้งานจริง
ถึงแม้ในทางทฤษฎีรัฐบาลกลางจะสามารถเรียกกองอาสาประจำรัฐอื่นๆอีกร่วม 3 ล้านให้ส่งกำลังเข้าช่วยได้ แต่ในความเป็นจริง กองอาสาเหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐนั้นๆรวมไปถึงการอนุมัติเห็นชอบจากผู้ว่าการรัฐก่อนถึงจะมีการเรียกระดมพลจัดตั้งกองอาสาอย่างเป็นทางการส่งกำลังเข้าช่วยกองทัพของรัฐบาลกลางได้ และถึงจะได้ชื่อว่าเป็นกองอาสาประจำรัฐมีชื่อในบัญชีเรียกระดมพลก็จริง แต่กำลังพลพวกนี้ก็ไม่เคยได้รับการฝึกอย่างจริงจังมาก่อนเลย อย่างมากก็แค่เรียกพลมาฝึกประจำปีวันเดียวแถมกิจกรรมที่ทำกันในวันนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนกับวันคืนสู่เหย้าพบปะสังสรรค์ดื่มฉลองทำความรู้จักกันจนเมาหัวทิ่มซะมากกว่า
ซ้ำร้ายนายทหารสัญญาบัตรฝ่ายเหนือหลายคนที่ภูมิลำเนาบ้านเกิดอยู่ทางใต้ประมาณ 1 ใน 4 ก็ลาออกไม่ก็หนีทหารไปเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎกันหมด ซึ่งฟังดูเหมือนไม่เยอะแต่ก็เป็นคนเก่งทั้งงั้นอย่างเช่น Robert E. Lee , Stonewall Jackson เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Col. James Wolfe Ripley ต้องมารับตำแหน่งนี้ ซึ่งตามจริงควรจะได้เกษียณอายุไปตั้งแต่ปี 1860 แล้ว
นี่ยังไม่รวมกับเรื่องอาวุธแบบต่างๆที่กรมสรรพาวุธต้องดูแลจัดการส่งกำลังบำรุง โดยจากบันทึกรายงายของกรมสรรพาวุธฯช่วงนี้มีอาวุธปืนพื้นฐานรวมๆกันเกิน 120 กว่าแบบได้ โดยมีปืนเล็กทั้งแบบสั้น,ยาว มีเกลียว,ลำกล้องเรียบ ทั้งแบบแก็ปและคาบศิลากว่า 102 แบบ ปืนสั้นปืนพก ทั้งแบบคาบศิลา,แก็ป มีเกลียว,ไม่มีเกลียว,บรรจุปากลำกล้อง,ปืนลูกโม่ทั้งหมดกว่าอีก 19 แบบ เพราะว่ากองอาสาที่จัดตั้งขึ้นมาเองส่วนใหญ่ เหล่าสมาชิกมักจะจัดหาอาวุธ,ดินปืนเครื่องกระสุนมาแบบส่วนตัวเอง ไม่ก็เป็นการจัดหาให้โดยนายทหารประจำกองอาสานั้นเลือกหาอาวุธให้ทหารประจำกองเอง ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการทำศึกระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวคงไม่พ้นที่จะต้องมาพึ่งกรมสรรพาวุธฯรัฐบาลกลาง อาวุธต่างๆจึงมีมากมายหลายแบบหลายขนาด หามาตรฐานใช้ร่วมกันได้ยากมาก เรียกได้ว่าเป็นหายนะเรื่องการส่งกำลังบำรุงอย่างแท้จริง
หนังสือพิมพ์ Philadelphia Inquirer ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 1861 ก็เป็นหนึ่งในสื่อที่เขียนปลุกระดมกระตุ้นให้ผลิตประดิษฐ์อาวุธเข้าช่วยรัฐ
แต่ที่หนักสุดคงเป็นเรื่องที่ว่าพวกกองอาสาทหารใหม่มักจะถอนกำลังถอยทัพอย่างไม่เป็นระเบียบเสมอ แล้วทิ้งอาวุธเอาไว้ข้างหลังหมด ทั้งปืนใหญ่,อาวุธเบา,เครื่องกระสุน ฯลฯ ต้องมาคอยตามผลิตส่งอาวุธทดแทนให้กับพวกนี้เวลาจัดกำลังใหม่สร้างภาระเพิ่มให้กรมสรรพาวุธหนักขึ้นไปอีก
ส่วนกำลังพลของกรมสรรพาวุธฯตลอดช่วงสงครามก็ต่างกับหน่วยงานอื่นของกองทัพโดยสิ้นเชิ้งที่แค่เริ่มต้นสงครามไม่กี่เดือนก็สามารถเรียกคนเป็นหมื่นเป็นแสนมาเสริมกำลังได้แล้ว ตรงกันข้ามกำลังคนของกรมสรรพาวุธแทบไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมมากนักเลย ในช่วงหนักสุดของสงครามก็ยังมีนายทหารสัญญาบัตรแค่ 64 นาย และชั้นประทวนลงมาประมาณ 600 นาย กับเจ้าหน้าพลเรือนลูกจ้างพลเรือนอีกแค่ 9,000 คน แต่หน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นมาอีกเป็น 10 เท่า ต้องผลิตอาวุธเครื่องกระสุนประสานงานกับโรงงานอาวุธของเอกชนตอบสนองต่อกองทัพที่จำนวนทหารขยายตัวอย่างรวดเร็วจากกองประจำการไม่ถึง 20,000 นาย กลายเป็นหลายแสนในไม่กี่เดือนและร่วมเกือบล้านภายในเวลาไม่กี่ปี
ก็จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นสงครามกรมสรรพาวุธฯอยู่ในสถานการณ์ขั้นวิกฤตตกที่นั่งลำบาก ขาดแคลนทั้งจำนวนคนและบุคลากรเก่งๆมีความสามารถพอที่จะเข้าดูแลจัดการในตรงส่วนนี้
อีกอย่าง Gatling ถึงแม้จะเป็นสุดยอดอาวุธที่อาจเปลี่ยนผลของสงครามได้ แต่ก็ยังติดปัญหาพื้นฐานเรื่องคุณลักษณะของปืนถึงยิงได้เร็วป้อนกระสุนได้เร็วและยิงหวังผลได้ไกลก็จริง แต่ทว่าตัวปืนก็ยังหนักมีขนาดใหญ่พอๆกับปืนใหญ่สนามไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้คล่องตัว ถ้าเอาไปใช้งานบรรจุประจำการจริงคงไม่พ้นได้ไปอยู่กับหน่วยทหารปืนใหญ่แทนและทำการยิงสนับสนุนจากระยะไกลเหมือนกับปืนใหญ่สนามซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ที่เหมาะเลย ไม่ก็ติดตั้งบนเรือหรือภายในป้อมค่าย(ตอนหลังสงครามจบกองทัพสหรัฐฯก็นำเข้าประจำการและบรรจุใช้งานทันทีในหน่วยทหารปืนใหญ่) ที่สำคัญอีกอย่างคือราคาตัวปืนยังแพงมาก
สภาพการณ์ทั่วไปเมื่อกองอาสาประจำรัฐเวลาเรียกระดมพลฝึกช่วงก่อนสงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้น
การรบใหญ่ครั้งที่กองทัพทั้งสองฝ่ายปะทะกันอย่างหนัก แต่ฝ่ายใต้ได้ชัยชนะ
รายงานกำลังพลทั้งหมดของรัฐบาลกลางในต้นปีเกิดก่อนสงคราม
อีกสื่อหนึ่งที่ปลุกปั่นกระแสไม่แพ้กันกับสื่อหนังสือพิมพ์ธรรมดาก็คือ Scientific American โดยส่วนหนึ่งก็เป็นการเกาะกระแสโฆษณาสิ่งประดิษฐ์ด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าทำไมกรมสรรพาวุธฯโดยเฉพาะเจ้ากรมสรรพาวุธฯ Col. James Wolfe Ripley จึงพยายามไม่ยอมรับอาวุธใหม่ๆเข้าประจำการ เลือกที่ผลิตอาวุธแบบเดิมที่มีอยู่แล้วป้อนกองทัพให้ได้มากที่สุดแทน ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอยู่ในสภาวะสงคราม แม้จะโดนวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นพวกล้าหลัง,หัวโบราณไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
Col.James Wolfe Ripley
เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯ
(ถ้ามีคนสงสัยตั้งคำถามว่าเอาตัวรอดผ่านสงครามมาได้ยังไงในเมื่อมีอาวุธเป็นร้อยแบบให้ดูแล นี่ก็คงจะเป็นคำตอบที่ดี)
สร้างความไม่พอใจให้นายทหารหลายคนที่ต้องการอาวุธใหม่ๆโดยเฉพาะปืนแบบบรรจุท้ายลำกล้อง,กระสุนครบนัด,ปลอกโลหะเนื่องจากคิดว่าสถานการณ์คลี่คลายไปสามารถผลิตอาวุธป้อนกองทัพได้อย่างเพียงพอ บวกกับความผิดอย่างอื่นทั้งเรื่องการใช้อำนาจไม่ถูกต้องและบางอย่างก็กระทำแบบไม่ค่อยโปร่งใส่ในที่สุดก็ถูกปลดจากตำแหน่งในปี 1863
Brigadier General George D. Ramsay
ผู้ได้รับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธแทน Col. James Wolfe Ripley
อ้างอิง :
Col. James Wolfe Ripley. Chief of Ordnance Memorandum. June 11,1861
“National Encouragement to the Novelties of Inventors”. Philadelphia Inquirer July 17, 1861.
Scientific American, May 18, 1861 Volume 4 Number 20
Scientific American, June 15, 1861 Volume 4 Number 24
Scientific American, June 22, 1861 Volume 4 Number 25
Scientific American, July 20, 1861 Volume 5 Number 3
Scientific American, August 24, 1861 Volume 5 Number 8
Scientific American, August 31, 1861 Volume 5 Number 9
Scientific American, November 2, 1861 Volume 5 Number 18
Bruce, Robert V. Lincoln And the Tools of War. [1st ed.] Indianapolis: Bobbs-Merrill, 1956.
Phisterer, Frederick. Statistical Record of the Armies of the United States. New York: C. Scribner's Sons, 1883.
Lewis, Berkeley R. Notes On Ammunition of the American Civil War, 1861-1865. Washington: American Ordnance Association, 1959.
Karl Rubis, The History of Ordnance in America. U.S. Army Ordnance Corps, 2019.