JJNY : 'วิโรจน์'บุกสธ.เจอต้อนรับรุนแรง│ไตรมาส4เสมือนว่างงาน2.35ล.│ยูเนสโกรับเรื่องบางกลอย│อ.จุฬาลั่นเลื่อนสอบเพื่ออนาคต

'วิโรจน์' บุก สธ.ขอเอกสารวัคซีนแอสตร้าฯ วันเดียวกับชาวบ้านให้กำลังใจ 'อนุทิน-ทีมแพทย์' เผยเจอต้อนรับรุนแรง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2625704


 
ส.ส.วิโรจน์ บุก สธ.ขอเอกสารวัคซีนแอสตร้าฯ ปะทะม็อบชาวบ้านให้กำลังใจ ‘อนุทิน-ทีมแพทย์’
 
เมื่อเวลา 08.45 น. วันที่ 16 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล โฆษกพรรคก้าวไกล เดินทางมายังสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามความคืบหน้าถึงการขอสัญญาระหว่างรัฐบาลไทย กับ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า และบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งเคยยื่นขอไปแล้วไปเมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเลขานุการกรมควบคุมโรคเป็นผู้รับเรื่อง
 
ระหว่างนั้นมีประชาชนกลุ่มหนึ่งประมาณ 60-80 คน รวมตัวกันขับไล่นายวิโรจน์ออกจากพื้นที่ ทำให้นายวิโรจน์ต้องเดินทางมายังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแทน โดยประชาชนกลุ่มดังกล่าวได้ติดตามมายังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขด้วย
 
จากนั้นนายวิโรจน์ได้เดินทางกลับไปโดยไม่ได้มีการเผชิญหน้ากันแต่อย่างใด
 
นายวิโรจน์กล่าวว่า วันนี้ตนเดินทางมาที่กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากต้องการข้อมูลและเงื่อนไขสัญญาต่างๆ และยังขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการส่งมอบวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าจากสยามไบโอไซเอนซ์ถึงกระทรวงสาธารณสุขด้วย โดยมายื่นที่สถาบันวัคซีนฯแล้ว และมายื่นที่กรมควบคุมโรคต่อ อย่างไรก็ตาม มีประชาชนกลุ่มหนึ่งมาต้อนรับตนอย่างรุนแรง รปภ.จึงพาตนมาอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย
 
เวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถาม นายสัญญา อยู่วัฒนา ตัวแทนชาวบ้านให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ว่า วันนี้ตนและชาวบ้านส่วนใหญ่เดินทางมาจาก จ.ปทุมธานี มีทั้งพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ร้านขายอาหารทั่วไป โดยนัดหมายรวมพลช่วงเย็นเมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) และเดินทางมาพบกันเช้าวันนี้
 
นายสัญญากล่าวว่า ตนเห็นความสำคัญของวัคซีนป้องกันโควิด-19 แม้จะยังไม่ได้รับวัคซีน แต่ตั้งใจมาให้กำลังใจนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สธ. รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ แต่พอดีมาเจอเหตุการณ์ที่ ส.ส.วิโรจน์มายื่นหนังสือ จึงเกิดการโห่ร้องกันเล็กน้อย แต่จริงๆ เราตั้งใจมาให้กำลังใจท่าน
 
เมื่อถามว่า ได้พบกับ ส.ส.วิโรจน์หรือไม่ นายสัญญากล่าวว่า ทันพบกันที่บริเวณตึกกรบควบคุมโรค หลังจากนั้นตนและคนอื่นๆ ก็เดินต่อมายังตึกสำนักงานปลัดฯ แต่ไม่ได้พูดคุยอะไรกับ ส.ส.วิโรจน์
 
เมื่อถามต่อว่า ทราบหรือไม่ว่า ส.ส.วิโรจน์มายื่นเอกสารอะไรบ้าง นายสัญญากล่าวว่า โดยรวมแล้วไม่ทราบว่า มายื่นเอกสารอะไรบ้าง แต่ที่เราตั้งใจคือมาให้กำลังใจ รมว.สธ. และบุคลากรแพทย์ทุกท่าน
 
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า นายสัญญาและชาวบ้านไม่ได้มาทวงถามคำชี้แจงเกี่ยวกับวัคซีนใช่หรือไม่ นายสัญญากล่าวว่า ไม่ได้มาทวงถาม แต่มาให้กำลังใจ
 
เมื่อถามว่า ทราบหรือไม่ว่าวันนี้มีการฉีดวัคซีนที่ทำเนียบรัฐบาล นายสัญญากล่าวว่า ทราบจากสื่อว่ามี
 
เมื่อถามว่า จะอยู่รอพบนายอนุทินหรือไม่ นายสัญญากล่าวว่า จะอยู่รอดูสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่คิดว่าท่านคงทราบแล้ว แต่เดี๋ยวเราก็จะถอนกำลังกลับ
 
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างที่ยืนให้สัมภาษณ์ พบว่า นายสัญญาและชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ใส่เสื้อกลับด้านเป็นเสื้อที่มีลักษณ์เดียวกันคือ ตราสัญลักษณ์ของพรรคภูมิใจไทย
  

 
ไตรมาส 4 มีผู้เสมือนว่างงาน 2.35 ล้านคน พิษ “โควิด” ซัดคนไทยล่มจม
https://www.thairath.co.th/news/business/2050837
 
สสช.ยันผลสำรวจการว่างงานของคนไทยออกมาต่ำ ท่ามกลางโควิด–19 เป็นการใช้คำนิยามของ “ผู้ว่างงาน” ตามองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) โดยพบ “ผู้เสมือนว่างงาน” หรือคนที่ทำงานน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมงสูงขึ้นมาก โดยไตรมาส 2 ปี 2563 สูงสุดถึง 5.41 ล้านคน และไตรมาส 4 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.35 ล้านคน
  
น.ส.วันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ตอบข้อซักถามถึงอัตราการว่างงานของคนไทยที่ สสช.สำรวจว่าอยู่ที่ 1.9% ของผู้มีงานทำ หรือประมาณ 700,000 คน สวนทางกับภาคธุรกิจเอกชนที่ ออกมาเปิดเผยว่า มีจำนวนผู้ว่างงานสูงมากนับล้านคน เช่น ในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ระบุว่าจากคนทำงาน 4 ล้านคน มีผู้ที่ตกงานและออกจากระบบไปเลย 1 ล้านคน ผู้ที่ทำงานไม่เต็มเวลา 2 ล้านคน และอีก 1 ล้านคน ยังได้รับเงินเดือนปกติ โดยกรณีดังกล่าวต้องอธิบายว่า การทำสำรวจของ สสช. ยึดคำนิยามของผู้ว่างงาน ตามองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และการสำรวจของ สสช.ได้พบว่าผลจากโควิด-19 พบตัวเลขผู้เสมือนว่างงานที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน สูงขึ้นอย่างมาก
 
ไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีผู้ว่างงาน 395,000 คน หรือ 1% ต่อจำนวนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ขณะเดียวกัน มีผู้เสมือนว่างงาน 4.25 ล้านคน และไตรมาส 2 ที่พบผู้ว่างงานสูงขึ้นไปเป็น 745,000 คน หรือ 2% ก็พบผู้เสมือนว่างงานถึง 5.41 ล้านคน สำหรับไตรมาส 3 มีผู้ว่างงาน 738,000  คน หรือ 1.9% และมีผู้เสมือนว่างงาน 2.68 ล้านคน ส่วนไตรมาส 4 มีผู้ว่างงาน 727,000 คน หรือ 1.9% มีผู้เสมือนว่างงาน 2.35 ล้านคน และปีนี้ สสช.จะสำรวจภาวะการทำงานของธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ที่ถือเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นการเฉพาะด้วย
 
สำหรับคำนิยามที่ สสช.นำมาใช้ ผู้ว่างงาน หมายถึงบุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 
 
1. ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ แต่ได้หางาน สมัครงานหรือรอการบรรจุในระหว่าง 30 วัน ก่อนวันสัมภาษณ์ 
2. ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ และไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อมที่จะทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ส่วนผู้เสมือนว่างงาน หมายถึงผู้ที่ทำงาน น้อยกว่า 4 ชั่วโมง/วัน โดยอัตราการว่างงานหมายถึง ร้อยละของจำนวนผู้ว่างงานต่อจำนวนผู้ที่อยู่ใน กำลังแรงงาน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงว่า ตลอดปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและชั่วโมงการทำงานลดลง โดยกำลังแรงงานปี 2563 มี 38.5 ล้านคน ขยายตัว 1% การจ้างงานขยายตัว 0.2% จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 0.3% การจ้างงานภาคเกษตรกรรมลดลง 0.1% อัตราการว่างงานปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงที่ 1.69% เพิ่ม จากปี 2562 ที่ 0.98% และชั่วโมงการทำงานโดย เฉลี่ยลดลง โดยชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจาก 45.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือลดลง 5.7% ขณะที่แรงงานที่ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวนลดลง 17.1% ส่วนหนึ่งทำให้แรงงานมีรายได้ ลดลงและอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
 
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงด้านแรงงานในปีนี้ ได้แก่ 1.ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากมีการระบาดระลอกใหม่ จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบ–การ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบแรก อาจลดตำแหน่งงานลง หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานในสถานประ– กอบการขนาดเล็ก สาขาโรงแรมภัตตาคาร ค้าปลีกและค้าส่ง
  
ขณะที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะมีรายได้ลดลงจากการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ รวมทั้งยังมีความล่าช้าในการได้รับวัคซีน และกระจายให้กับประชาชน แรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงและ ยาวนานขึ้น 
2. ภัยแล้งจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่มี ปริมาณลดลง 
3. การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่