การ “แต่งกายสีดำ” ไปงานศพ ไม่มีข้อห้าม ตามหลักการของศาสนาอิสลาม


มีผู้สงสัยว่า มุสลิมสวมสีดำไปงานศพ ของมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมได้หรือไม่ ?  
ตามปกติแล้ว ไม่มีการกำหนดสีอะไรที่เหมาะสมในการไปงานศพในศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อความ หรือบัญัติทางศาสนาทั้งในอัลกุรอาน
หรือซุนนะฮฺที่ระบุชัดว่าควรสวมเสื้อผ้าสีอะไรในขณะไว้ทุกข์ ศาสนาอิสลามไม่สนับสนุนสีหนึ่งสีใดเป็นสีที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา

 ในการไปงานศพ ครื่องแต่งกายควรเป็นสีสุภาพไม่ขัดกับอารมณ์ของผู้ที่กำลังโศรกเศร้า ”  
 ที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงหลักการของศาสนาอิสลามนั้น ไม่ได้กำหนดสีหนึ่งสีใดในการไว้ทุกข์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่นของผู้ตาย
ในประเทศกลุ่มอรับและประเทศปากีสตาน ในงานศพ เขาจะแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งการตามประเพณีท้องถิ่น
คือ สีขาว หรือสีดำ แต่ต้องไม่เป็นสีที่ฉูดฉาดซึ่งตรงกันข้ามกับในประเทศ แอฟริกาใต้และในประเทศ กานา ใช้สีแดงเป็นสีไว้ทุกข์

ประเทศตุรกีซึ่งส่วนใหญ่ของประชาชนเป็นมุสลิม ส่วนมากจะสวมชุดดำ เขาจะใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์หรือ แต่งกายสีดำในงานศพ ซึ่งเป็นประเพณีนิยม
เช่นเดียวกับอิสราเอล ศาสนาจูดาย, ประเทศญี่ปุ่นก็เชนกัน ใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์​ ความจริงแล้ว พุทธศาสนา ศาสนาฮินดู และ ซิกซ์ ใช้สีขาวเป็น
สีไว้ทุกข์ แสดงถึงความบริสุทธิ์ แต่สำหรับประเทศไทยเราเมื่อสมัยก่อนครั้งหนึ่งเคยใช้สีขาวเป็นสีไว้ทุกข์ แต่กลับเปลี่ยนมาเป็นสีดำในภายหลัง

สำหรับมุสลิม หลักการในศาสนาอิสลามไม่กำหนดให้สีหนึ่งสีใดเป็นสีไว้ทุกข์ ส่วนมากนิยมสีเช้ม เช่นสีดำ สีน้ำเงินเข้ม หรือสีเทา คือสีที่อยู่
ในจำพวกที่ไม่ฉูดฉาด สีดำและสีขาวเป็นสีที่นิยมในภาคตะวันออกกลาง  ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลามในการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีดำ  
ข้อโต้แย้งของ นักวิชาการทางศาสนา ซึ่งตั้งเป็นข้อห้าม ในการใช้สีดำในงานศพก็คือ
"อย่าตามการแต่งกายตามผู้ที่ไม่ศรัทธา" ทั้งๆที่ในปัจจุบัน มุสลิมแต่งกายตาแบบตะวันตกกันส่วนมาก

สำหรับชาวไทยมุสลิมการไปเยี่ยมศพและไปให้เกียรติศพ และแสดงความเศร้าโศรกเสียใจต่อครอบครัวของชาวไทยผู้ไม่ใช่มุสลิม ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลาม,  สิ่งที่ห้ามอย่างเด็ดขาดคือการกราบไหว้ศพ และการร่วมพิธีเผาศพ  ไม่ว่าจะเป็นเผาเทียมหรือเผาจริงก็ตาม, มุสลิมควรจะแต่งตัวไปงานศพตามธรรมเนียมไทย อีกครั้งหนึ่งศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อห้ามในการแต่งกายด้วยสีดำ ในงานศพ เพราะการแต่งตัวด้วยสีดำสำหรับมุสลิม ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับสีอื่นๆ ในทัศนะของศาสนาอิสลาม  และถ้าเราจะแต่งตัวด้วยสีดำก็ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลาม
ระยะเวลาในการแต่งสีดำหรือสีอะไรก็ตามไม่มีส่วนเกี่ยวกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม
เช่นชาวนามุสลิมแต่งสีดำในการเกี่ยวข้าวหรือทำสวน ตลอดทั้งปี เพราะว่าสีดำดูดความร้อนได้ดี

 กำหนดเวลาในการไว้ทุกข์ตามหลักการของ ศาสนาอิสลามไม่มีกำหนด บอกระยะเวลาว่านานเท่าใด แต่ตามประเพณี(อรับ) ตามปกติ 3 วัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดของญาติพี่น้องผู้ตาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 สำหรับข้าราชการไทยมุสลิม ถ้าทางการต้องการให้มุสลิมไทยใส่ชุดสีดำ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้ประมุขของชาติ มุสลิมควรที่จะปฏิบัติได้ เนื่องจากศาสนาอิสลามไม่ได้กำหนดสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะในการไว้ทุกข์  และถือว่าเป็นการให้เกียรติ ต่อประมุขของชาติ ถ้ามุสลิมจะใส่ชุดขาวผูกไทด์ดำก็ไม่ผิดหลักศาสนาอย่างไร ในการไปงานศพของผู้ใดก็ตามในสังคมไทย เพราะเป็นประเพณีที่ไม่ขัดต่อหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม และไม่ขัดต่อความรู้สึกของชาวไทยเรา

ถ้าจะใช้เหตุผลว่ามุสลิมห้ามการทำตาม "กาเฟร" หรือผู้ไม่ศรัทธา, ก็เท่ากับมุสลิมผู้นั้นทำตัวเป็นมูนาฟิก(ผู้กลับกลอก) เนื่องจากว่าในสังคมปัจจุบัน มุสลิมจะต้องอยู่ในสังคมร่วมกับทุกๆศาสนาทุกๆประเพณี  ตราบใดที่ประเพณีนั้นไม่ขัดกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ในการรักษาหลักเตาฮีด หรือพระเจ้าองค์เดียวของมุสลิม มุสลิมก็ควรที่จะปฏิบัติ ซึ่งไม่ต่างจากการยกมือไหว้ ชาวไทยด้วยกันเมื่อพบปะกัน  ซึ่งเป็นประเพณีของไทยเราเช่นกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่