ชัยชนะที่เกิดจากแมวในสงคราม Pelusium


แมว Gayer-Anderson
โดย Osama Shukir Muhammed Amin
(CC BY-NC-SA)


.
Egyptians
ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้าว่า
ชีวิตเป็นของพระเจ้าและต้องตอบแทนพระเจ้า
ด้วยชีวิตและข้าวของต่าง ๆ ของมนุษย์
ทั้งในโลกนี้และเผื่อถึงโลกหน้าด้วย
และต่างให้ความเคารพต่อสิ่งมีชีวิต
เกินกว่าความเชื่อชนชาติอื่น ๆ
เพราะเชื่อว่าทุกชีวิตได้มาจากพระเจ้า

แม้ว่าชาวอียิปต์จะกินเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว
และพวกราชวงศ์จะมีส่วนร่วมในการล่าสัตว์
เพื่อนำมาเป็นอาหารเป็นครั้งคราว
แน่นอนอาหารของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่
มักจะเป็นอาหารมังสวิรัติหรือพวกปลาเป็นหลัก
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า 
ชาวอียิปต์มีความเข้าใจในธรรมชาติ
ความศักดิ์สิทธิ์/การมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง

แม้ว่าพวกสัตว์จะถูกกิน
แต่ชาวอียิปต์ก็มีพิธีกรรมขอบคุณ
สำหรับการเสียสละเลือดเนื้อ/ชีวิตของสัตว์
แม้แต่สัตว์เลี้ยงก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
และให้ความเคารพต่อสัตว์ป่าในธรรมชาติ
(ล่าเพื่อนำมาเป็นอาหารไม่ใช่ล่าเพี่อความสนุก)

คุณค่านี้สามารถมองเห็นได้ทุกที่
ทั่วทั้งวัฒนธรรมชาวอียิปต์
ตั้งแต่ศิลปะจนถึงศาสนาอียิปต์ Egyptian religion
.



การพบกันระหว่างคู่ศึกเปอร์เซียกับอียิปต์
Cambyses II กับ Psammetichus III
หลังยุติสงคราม Battle of Pelusium (525 BC)
ภาพตามจินตนาการของศิลปินฝรั่งเศส
Adrien Guignet


.
เรื่องสำคัญที่ยืนยันความเชื่อของชาวอียิปต์คือ
Battle of Pelusium ในปี 525 ก่อนคริสตศักราช 
การสู้รบครั้งนี้เป็นการรบกันระหว่าง 
Pharaoh Psametik III (526-525 ก่อนคริสตศักราช) 
กับกษัตริย์เปอร์เซีย Cambyses II (525-522 ก่อนคริสตศักราช) 
ผลของสงครามทำให้เปอร์เซียพิชิตอียิปต์
ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรรวรรดิ์เปอร์เซีย


เศียรของ Psamtik III

.

Cambyses II



.
มีบทสรุปแน่นอนอยู่แล้วว่า
ในการสู้รบชาวเปอร์เซียจะต้องชนะขาดลอย
โดยไม่จำเป็นคำนึงถึงยุทธวิธีรบเลย
เพราะ Cambyses II  มีประสบการณ์
ทำสงครามมากกว่า Pharaoh Psametik III

อย่างไรก็ตาม ชัยชนะขาดของเปอร์เซีย
เพราะรู้เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ
Ancient Egyptian Culture 
มากกว่าความรู้ความเข้าใจของ Cambyses II 
ที่บัญชาการรบกองทัพอียิปต์ในสนามรบ

การต่อสู้ครั้งนี้
เปอร์เซียชนะอียิปต์ได้ด้วยกลยุทธ์
ที่แปลกประหลาดมากที่สุดครั้งหนึ่งในโลก
ด้วยการใช้แมว กับ
เทพธิดา Bastet เป็นตัวประกัน
.


.
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมในอียิปต์โบราณ
และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ
เทพธิดา Bastet (หรือที่เรียกว่า Bast) 
ซึ่งปรากฏตัวในงานศิลปะอียิปต์
โดยมีรูปร่างเป็นผู้หญิงและมีศีรษะเป็นแมว
หรือรูปแมวนั่งในท่าทางสง่างาม

เธอคือ เทพธิดาของบ้าน
ความเป็นบ้านของครอบครัว
และความลับของผู้หญิง women's secrets
แมว คือ ความอุดมสมบูรณ์ และการคลอดบุตร 
(สมัยก่อนเรื่องใหญ่มาก เพราะตายมากกว่าเกิด)

เธอปกป้องครอบครัวจากวิญญาณชั่วร้าย
กับโรคร้ายที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็ก
เธอยังมีบทบาทในชีวิตหลังความตาย
เธอได้รับความนิยมอย่างมากทั่วทั้งอียิปต์
โดยมีผู้คนนับถือทั้งชายและหญิง
ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 2 (2890 -ราว ไ 2670 ก่อนคริสตศักราช)

ลัทธิความเชื่อเทพธิดา Bastet
มีศูนย์กลางศาสนาอยู่ที่เมือง Bubastis
มากกว่า 500 ปีก่อนคริสตศักราช

ครั้งแรกรูปปั้นของเธอเป็นผู้หญิงที่มีหัวเป็นสิงโต
และเธอยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
เทพี Sekhmet ผู้อาฆาตพยาบาท
.


.
แต่ทั้งสองเทพต่างแยกวงจากกัน เมื่อเวลาผ่านไป
จนกระทั่งเทพ Bastet ถูกจินตนาการว่า
เธอทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกันมากกว่า
ในขณะที่เทพ Sekhmet ยังคงเป็น
เทพพลังแห่งการแก้แค้น/เอาคืนให้สาสม

แต่ถึงกระนั้นนี่ก็ไม่ได้หมายความว่า 
เทพธิดา Bastet จะไม่สามารถขจัด
ความอยุติธรรม หรือไร้ฝีมือในการแก้ปัญหา
เพราะเธอจะลงมือทำทันทีเมื่อจำเป็น 

Geraldine Pinch นักอียิปต์วิทยาเขียนว่า
จากเอกสารในพีระมิดที่มีการค้นพบ
เทพธิดา Bastet มีลักษณะสองบุคลิก
มีด้านการเลี้ยงดูและความเป็นแม่
และด้านการล้างแค้นที่น่ากลัว 
ที่มีลักษณะของปีศาจเป็นส่วนใหญ่
มีอยู่ในเอกสารในโลงศพ
และในคัมภีร์มรณะ(หนังสือแห่งความตาย)
และในคาถาทางการแพทย์ ที่กล่าวกันว่า 
คนฆ่าสัตว์แห่ง Bastet 
ก่อให้เกิดภัยพิบัติและภัยพิบัติอื่น ๆ ต่อมนุษยชาติ
(แบบเจ้าแม่กาลีและพระนางอุมาของอินเดีย)

แม้ว่ามีหลายเรื่องที่ผู้คนจะทำให้เทพธิดาขุ่นเคือง
แต่มีเรื่องเพียงหนึ่งเดียวที่เสียหายอย่างร้ายแรง
คือ การทำร้ายแมวของเธอ
แมวได้รับการยกย่องอย่างมากในอียิปต์โบราณ
บทลงโทษสำหรับใครก็ตามที่ฆ่าแมว คือ ตายสถานเดียว
.

.


.
ตามรายงานของ Herodotus
เวลาไฟไหม้บ้าน ชาวอียิปต์จะช่วยแมวก่อน
ที่จะช่วยตัวเองหรือพยายามดับไฟ 
Herodotus  ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า 
“ ถ้าแมวตาย ทุกคนในบ้านจะไว้อาลัย
และขังตัวเองอยู่แต่ในบ้านช่วงระยะเวลาหนึ่ง
และในกรณีที่แมวตายเพราะสาเหตุตามธรรมชาติ
ทุกคนในบ้านก็จะโกนคิ้วแสดงการไว้ทุกข์ ” 
อันเป็นสัญญาณแสดงถึงความเศร้าโศก
.


.
ส่วนแมวตายก็จะถูกทำเป็นมัมมี่
พร้อมด้วยเครื่องประดับ เช่นเดียวกับคน
แต่มีความเห็นบางคนว่า 
แมวถูกบูชายัญให้กับเทพธิดา Bastet
เช่นเดียวกับสุนัขที่บูชายัญให้กับเทพ Anubis

แต่ความเห็นในเรื่องนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์
เพราะ เป็นไปได้ว่าแมวมัมมี่ที่พบที่ Bubastis  ตายตามธรรมชาติ
และถูกนำไปฝังไว้ในจุดศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกกำหนดไวในหลุมฝังศพคนและสัตว์ที่ Abydos 
ทั้งนี้ เพื่อให้ชีวิตโลกหน้าจะได้ใกล้ชิดกับ Osiris
.

ยุคราชวงศ์ที่ 26 สถูปหินแทนเทพ Osiris
(Egyptian Museum, Cairo)


.
ความเคารพของชาวอียิปต์ที่มีต่อสัตว์นั้น
ยังมีนอกเหนือจากแมวและสุนัข
เพราะมีการพบสัตว์เลี้ยงมัมมี่หลายชนิด
เช่น เนื้อทราย ลิงบาบูน นก และแม้กระทั่งปลา

แมวและสุนัขจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ
เพราะความเชื่อมโยงกับเทพองค์ต่าง ๆ
ชุดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม/ค่านิยม
ที่ฝังรากลึกใน DNA ของชาวอียิปต์
ทำให้ Cambyses II ได้รับชัยชนะ
ในสงคราม Pelusium แบบขาดลอย
โดยไม่ตัองพูดถึงความอ่อนหัดของคู่ต่อสู้
หรือความเสื่อมโทรมของอียิปต์
ทีเดิมเคยเป็นมหาอำนาจของโลกยุคเก่า
หลังจากเริ่มฟิ้นฟูอาณาจักรใหม่
เพราะเพิ่งผ่านพ้นปัญหาเก่า ๆ/การชิงกันเป็นใหญ่
 .

Cat Mummy ที่  Egypt
ยุคหลัง Ptolemaic Period
(Rosicrucian Egyptian Museum
San Jose, California)

.



.
อียิปต์ในยุคกลางที่สาม

ช่วงเวลาของอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ 
(ราว ค.ศ. 1570 - ประมาณคริสตศักราช 1069)
เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองและการเติบโต
ในทุกพื้นที่ของอารยธรรมอียิปต์
เป็นยุคของจักรวรรดิอียิปต์
ในช่วงที่พรมแดนขยายตัว
และมีคลังสมบัติเต็มไปหมด

ผู้ปกครองที่รู้จักกันดีที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์
ที่มาจากยุคนี้: Ahmose I, Hatshepsut, 
Thutmose III, Amenhotep III, Akhenaten, 
Nefertiti, Tutankhamun, Horemheb, Seti I, 
Ramesses the Great, Nefertari และ Ramesses III 
ต่างล้วนเป็นกษัตริย์ชุดใหม่ของอาณาจักรนี้

อย่างไรก็ตามความมั่งคั่ง
และความสำเร็จในยุคนี้
ไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้
และในช่วงปี  1069 ก่อนคริสตศักราช
อาณาจักรก็ล่มสลายลง
และเข้าสู่สิ่งที่นักวิชาการเรียกในภายหลังว่า
ยุคกลางที่สามของอียิปต์
(ราวคริสตศักราช 1069 - 525)

ยุคนี้มีลักษณะเฉพาะคือ 
การขาดรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง
เกิดสงครามกลางเมือง/ความไม่มั่นคงทางสังคม
แม้ว่าจะไม่มืดมนหรือน่าหดหู่
อย่างที่ชาวไอยคุปต์ยุคแรกกล่าวอ้างถึง
แต่ถึงกระนั้นอาณาจักรก็ไม่เข้มแข็ง
หรือมีกำลังทหารเพียงพอในการต่อสู้
ในช่วงหลังของราชวงศ์ที่ 22 
อาณาจักรอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นหลายขั้ว

และเมื่อถึงกษัตย์ของราชวงศ์ที่ 23 
อาณาจักรก็ถูกแบ่งแยกแล้วปกครอง
โดยกษัตริย์ที่มีการปกครองในแบบของตนเอง
Herakleopolis, Tanis, Hermopolis, 
Thebes, Memphis, และ Sais

เรื่องแบบนี้ทำลายเอกภาพของอาณาจักรอียิปต์
เป็นเรื่องที่ความร่วมมือกันแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะต่างต้องการเป็นใหญ่/ไม่ให้ใครเหนือกว่า
ทำให้เกิดการรุกรานจากทางตอนใต้ของชนเผ่า Nubian
ราชันย์ผิวดำที่เคยปกครองอาณาจักรอียิปต์
มีบางคนคาดว่าน่าจะเป็นพวกยิวผิวดำ

ภายใต้ราชวงศ์ที่ 24 และ 25 
อาณาจักรกลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ภายใต้การปกครองของ Nubian 
ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร 
แต่อาณาจักรอียิปต์นั้นไม่เข้มแข็งพอ
ที่จะต้านทานการรุกคืบของชาว Assyrians 
ครั้งแรกโดย Esarhaddon
(681-669 ก่อนคริสตศักราช)
ในช่วง 671/670 ก่อนคริสตศักราช
และหลังจากนั้นโดย Ashurbanipal
( 668-627 ก่อนคริสตศักราช) 
ในข่วงปี 666 ก่อนคริสตศักราช 
แม้ว่าชาวอัสซีเรียจะถูกขับไล่ออกจากอาณาจักร
แต่อียิปต์ก็ไม่มีทรัพยากรภายในที่เพียงพอ
(ทหาร กำลังพล เสบียงอาหาร ยุทธวิธี)
ที่จะต้านทานกองทัพชาวเปอร์เซียได้เลย
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่