อุ้มลูกท่าไหน ร่างไม่พัง
การอุ้มเป็นการแสดงความรักผ่านการสัมผัสรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือไปจากการหอมแก้มและการกอด ซึ่งเด็กเองก็จะรู้สึกอบอุ่นเวลาคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวอุ้มด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาที่คุณแม่มือใหม่ รวมถึงคุณพ่อและคุณย่าคุณยายที่มาช่วยเลี้ยงมักจะเจอก็คือ อาการปวดข้อมือ ปวดหลัง ซึ่งอาการปวดข้อมือส่วนใหญ่เกิดจากการอุ้มผิดท่า เพราะใช้ข้อมือมากเกินไป 😢
โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย 🤰 ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย ทำให้ตัวบวม ข้อบวม เกิดการเสียดสีกันของเส้นเอ็น ซึ่งปัญหาปวดข้อมืออาจเริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้าย ต่อเนื่องไปจนถึงตอนคลอด
เช่นเดียวกับอาการปวดหลัง เพราะในช่วงตั้งครรภ์กระดูกสันหลังของคุณแม่จะแอ่น ซึ่งเกิดจากน้ำหนักที่ไปกดทับช่วงเอวและกระดูกสันหลังส่วนล่าง ยิ่งน้ำหนักเพิ่มมาก แรงกดก็ยิ่งมาก คุณหมอจึงมักแนะนำให้คุณแม่พยายามควบคุมน้ำหนักของตัวเองในช่วงตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด เพราะเมื่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นมารวมกับกิจกรรมการเลี้ยงลูกที่ต้องอดหลับอดนอน ก็อาจส่งผลให้ร่างพังและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
อุ้มลูกแบบไหนถูก 👍 แบบไหนผิด 👎
เพราะเด็กแต่ละวัยมีวิธีอุ้มที่แตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่อุ้มได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยผ่อนแรงและลดการลงน้ำหนักที่ข้อต่อได้
👶 สำหรับทารกและเด็กแรกเกิด เด็กวัยนี้กระดูกที่คอยังอ่อน ดังนั้น การอุ้มจึงต้องเริ่มจากการประคองที่ต้นคอ และใช้มืออีกข้างช้อนลำตัวของเด็กขึ้น จากนั้นจึงขยับให้ลำตัวทารกอยู่บนแขน พยายามให้แขนเป็นส่วนที่รับน้ำหนัก และใช้ข้อมือประคองเด็กไว้ เพื่อป้องกันการขยับข้อมือมากเกินไป แล้วจึงค่อยๆ นำทารกมาแนบกับตัวผู้อุ้ม
👦 สำหรับเด็กโต เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ข้อมือช้อนรักแร้เด็กขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดข้อมือและอาจเจ็บร้าวไปถึงหลังส่วนบน ดังนั้น ถ้าเด็กอยู่ในระดับที่ต้องก้มลงไปอุ้ม ผู้อุ้มควรย่อเข่าลงข้างหนึ่ง เกร็งหน้าท้อง ช้อนตัวเด็ก แล้วอุ้มพาดไหล่ในลักษณะตัวตรง ไม่ควรอุ้มเข้าเอว เนื่องจากผู้อุ้มต้องเอียงตัวเพื่อรับน้ำหนัก ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดเอวในระยะยาวได้
การป้องกันอาการบาดเจ็บจากการอุ้มเด็ก
📌 ออกกำลังกายด้วยการเวทเทรนนิ่งแบบที่ใช้น้ำหนักน้อยๆ แต่ให้เน้นจำนวนครั้ง เพราะการยกเวทหรือดัมเบลอันเล็กๆบ่อยๆ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บและช่วยเพิ่มความคงทนของกล้ามเนื้อแกนกลางและข้อต่อ ทำให้กล้ามเนื้อข้อต่อแข็งแรง มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะครับว่าการยกเวทจะทำให้มีกล้ามแขนเป็นมัดๆ เหมือนผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนที่ไม่ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่เกินไปคอยควบคุมอยู่แล้ว
📌 ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอด เพราะอย่างที่พี่หมอบอกไปในช่วงเริ่มเรื่องว่า น้ำหนักจะไปเพิ่มแรงกดที่ข้อต่อ ดังนั้น ถ้าคุณแม่สามารถลดน้ำหนักได้ ข้อต่อและกล้ามเนื้อก็จะทำงานน้อยลง คุณแม่หลังคลอดที่ต้องเลี้ยงลูกเองจนไม่สามารถหาเวลาไปเข้าฟิตเนส ก็สามารถออกกำลังกายที่บ้านแบบง่ายๆ ได้โดยการแพลงก์ สควอท หรือโยคะก็ได้ ที่สำคัญ การออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียด และทำให้คุณแม่มีความสุขกับการเลี้ยงลูกมากขึ้นด้วยนะครับ
วิธีบรรเทาอาการปวดเบื้องต้น
📌 สังเกตและหลีกเลี่ยงพฤติกรรม กิจกรรมหรือท่าทางต่างๆ ที่ทำให้เราปวดข้อมือและปวดหลัง
📌 รับประทานยาแก้ปวดที่ไม่มีผลข้างเคียงกับการให้นมลูก เช่น พาราเซตามอล
📌 ทายาแก้ปวดเฉพาะที่
📌 ประคบด้วยเจลเย็นหรือถุงใส่น้ำแข็งต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
แต่ถ้าทำตามพี่หมอบอกมาทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง หรือปวดเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นๆ ข้างเคียง เช่น ปวดร้าวลงขา ชา ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาทันทีนะครับ
แนวทางการรักษา
คุณหมอจะเริ่มต้นวินิจฉัยจากการปวดสะสม ปวดบวม หรืออาการอักเสบ ร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดร้าวลงขา ชาที่ปลายเท้า ขยับข้อเท้าลำบากตอนเดิน ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจต้องมีส่งตรวจเพิ่มเติมด้วย เช่น การกดทับของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จากนั้นจึงลงมือรักษาตามขั้นตอนและพิจารณาจากระดับความเจ็บปวด โดยเริ่มจาก
📌 รับประทานยาแก้ปวด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ยังให้นมลูกอยู่ จะต้องหลีกเลี่ยงยาที่สามารถขับออกทางน้ำนมได้ ซึ่งตรงนี้ ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้นะครับ ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด
📌 ใช้ยาทาภายนอก
📌 ประคบอุ่น
📌 กายภาพบำบัด
📌 ใส่อุปกรณ์ช่วงพยุงข้อมือ และจำกัดการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด
📌 ฉีดยาช่วยลดการอักเสบเฉพาะที่ กรณีที่รักษาไปแล้ว 1-2 ครั้ง แต่อาการปวดยังไม่ทุเลา
📌 ผ่าตัดเล็ก เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการอื่นๆ แล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น
ที่สำคัญ อย่ามัวแต่ดูแลลูกจนลืมดูแลตัวเองนะครับ เพราะสุขภาพกายและใจของคุณพ่อคุณแม่ก็สำคัญและส่งผลต่อการเลี้ยงลูกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ แข็งแรงสมวัย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลตัวเองด้วย ลองหาเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียดบ้าง จะไปดูหนัง จิบกาแฟ หาของอร่อยๆ กิน หรือจะแอบหนีไปสวีทกันสองคน แล้วให้คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายมาช่วยเลี้ยงลูกบ้างก็ได้ จะได้ไม่หมกหมุ่นกับการเลี้ยงลูกมากเกินไป
สู้นะครับคุณพ่อคุณแม่ พี่หมอเป็นกำลังใจให้ 💪💪💪
อุ้มลูกท่าไหน ร่างไม่พัง
การอุ้มเป็นการแสดงความรักผ่านการสัมผัสรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือไปจากการหอมแก้มและการกอด ซึ่งเด็กเองก็จะรู้สึกอบอุ่นเวลาคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวอุ้มด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาที่คุณแม่มือใหม่ รวมถึงคุณพ่อและคุณย่าคุณยายที่มาช่วยเลี้ยงมักจะเจอก็คือ อาการปวดข้อมือ ปวดหลัง ซึ่งอาการปวดข้อมือส่วนใหญ่เกิดจากการอุ้มผิดท่า เพราะใช้ข้อมือมากเกินไป 😢
โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย 🤰 ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย ทำให้ตัวบวม ข้อบวม เกิดการเสียดสีกันของเส้นเอ็น ซึ่งปัญหาปวดข้อมืออาจเริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้าย ต่อเนื่องไปจนถึงตอนคลอด
เช่นเดียวกับอาการปวดหลัง เพราะในช่วงตั้งครรภ์กระดูกสันหลังของคุณแม่จะแอ่น ซึ่งเกิดจากน้ำหนักที่ไปกดทับช่วงเอวและกระดูกสันหลังส่วนล่าง ยิ่งน้ำหนักเพิ่มมาก แรงกดก็ยิ่งมาก คุณหมอจึงมักแนะนำให้คุณแม่พยายามควบคุมน้ำหนักของตัวเองในช่วงตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด เพราะเมื่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นมารวมกับกิจกรรมการเลี้ยงลูกที่ต้องอดหลับอดนอน ก็อาจส่งผลให้ร่างพังและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
อุ้มลูกแบบไหนถูก 👍 แบบไหนผิด 👎
เพราะเด็กแต่ละวัยมีวิธีอุ้มที่แตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่อุ้มได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยผ่อนแรงและลดการลงน้ำหนักที่ข้อต่อได้
👶 สำหรับทารกและเด็กแรกเกิด เด็กวัยนี้กระดูกที่คอยังอ่อน ดังนั้น การอุ้มจึงต้องเริ่มจากการประคองที่ต้นคอ และใช้มืออีกข้างช้อนลำตัวของเด็กขึ้น จากนั้นจึงขยับให้ลำตัวทารกอยู่บนแขน พยายามให้แขนเป็นส่วนที่รับน้ำหนัก และใช้ข้อมือประคองเด็กไว้ เพื่อป้องกันการขยับข้อมือมากเกินไป แล้วจึงค่อยๆ นำทารกมาแนบกับตัวผู้อุ้ม
👦 สำหรับเด็กโต เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ข้อมือช้อนรักแร้เด็กขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดข้อมือและอาจเจ็บร้าวไปถึงหลังส่วนบน ดังนั้น ถ้าเด็กอยู่ในระดับที่ต้องก้มลงไปอุ้ม ผู้อุ้มควรย่อเข่าลงข้างหนึ่ง เกร็งหน้าท้อง ช้อนตัวเด็ก แล้วอุ้มพาดไหล่ในลักษณะตัวตรง ไม่ควรอุ้มเข้าเอว เนื่องจากผู้อุ้มต้องเอียงตัวเพื่อรับน้ำหนัก ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดเอวในระยะยาวได้
📌 ออกกำลังกายด้วยการเวทเทรนนิ่งแบบที่ใช้น้ำหนักน้อยๆ แต่ให้เน้นจำนวนครั้ง เพราะการยกเวทหรือดัมเบลอันเล็กๆบ่อยๆ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บและช่วยเพิ่มความคงทนของกล้ามเนื้อแกนกลางและข้อต่อ ทำให้กล้ามเนื้อข้อต่อแข็งแรง มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะครับว่าการยกเวทจะทำให้มีกล้ามแขนเป็นมัดๆ เหมือนผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนที่ไม่ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่เกินไปคอยควบคุมอยู่แล้ว
📌 ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอด เพราะอย่างที่พี่หมอบอกไปในช่วงเริ่มเรื่องว่า น้ำหนักจะไปเพิ่มแรงกดที่ข้อต่อ ดังนั้น ถ้าคุณแม่สามารถลดน้ำหนักได้ ข้อต่อและกล้ามเนื้อก็จะทำงานน้อยลง คุณแม่หลังคลอดที่ต้องเลี้ยงลูกเองจนไม่สามารถหาเวลาไปเข้าฟิตเนส ก็สามารถออกกำลังกายที่บ้านแบบง่ายๆ ได้โดยการแพลงก์ สควอท หรือโยคะก็ได้ ที่สำคัญ การออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียด และทำให้คุณแม่มีความสุขกับการเลี้ยงลูกมากขึ้นด้วยนะครับ
📌 สังเกตและหลีกเลี่ยงพฤติกรรม กิจกรรมหรือท่าทางต่างๆ ที่ทำให้เราปวดข้อมือและปวดหลัง
📌 รับประทานยาแก้ปวดที่ไม่มีผลข้างเคียงกับการให้นมลูก เช่น พาราเซตามอล
📌 ทายาแก้ปวดเฉพาะที่
📌 ประคบด้วยเจลเย็นหรือถุงใส่น้ำแข็งต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
แต่ถ้าทำตามพี่หมอบอกมาทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง หรือปวดเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นๆ ข้างเคียง เช่น ปวดร้าวลงขา ชา ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาทันทีนะครับ
แนวทางการรักษา
คุณหมอจะเริ่มต้นวินิจฉัยจากการปวดสะสม ปวดบวม หรืออาการอักเสบ ร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดร้าวลงขา ชาที่ปลายเท้า ขยับข้อเท้าลำบากตอนเดิน ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจต้องมีส่งตรวจเพิ่มเติมด้วย เช่น การกดทับของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จากนั้นจึงลงมือรักษาตามขั้นตอนและพิจารณาจากระดับความเจ็บปวด โดยเริ่มจาก
📌 รับประทานยาแก้ปวด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ยังให้นมลูกอยู่ จะต้องหลีกเลี่ยงยาที่สามารถขับออกทางน้ำนมได้ ซึ่งตรงนี้ ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้นะครับ ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด
📌 ใช้ยาทาภายนอก
📌 ประคบอุ่น
📌 กายภาพบำบัด
📌 ใส่อุปกรณ์ช่วงพยุงข้อมือ และจำกัดการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด
📌 ฉีดยาช่วยลดการอักเสบเฉพาะที่ กรณีที่รักษาไปแล้ว 1-2 ครั้ง แต่อาการปวดยังไม่ทุเลา
📌 ผ่าตัดเล็ก เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการอื่นๆ แล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น
ที่สำคัญ อย่ามัวแต่ดูแลลูกจนลืมดูแลตัวเองนะครับ เพราะสุขภาพกายและใจของคุณพ่อคุณแม่ก็สำคัญและส่งผลต่อการเลี้ยงลูกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ แข็งแรงสมวัย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลตัวเองด้วย ลองหาเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียดบ้าง จะไปดูหนัง จิบกาแฟ หาของอร่อยๆ กิน หรือจะแอบหนีไปสวีทกันสองคน แล้วให้คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายมาช่วยเลี้ยงลูกบ้างก็ได้ จะได้ไม่หมกหมุ่นกับการเลี้ยงลูกมากเกินไป
สู้นะครับคุณพ่อคุณแม่ พี่หมอเป็นกำลังใจให้ 💪💪💪