สรุปการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789
สวัสดีวันนี้เราจะมาสรุปเกี่ยวกับสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเราจะเน้นรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14,15 และ 16 โดยในยุคนี้เป็นยุคที่ฝรั่งเศสผ่านยุคที่ยิ่งใหญ่และยอดแย่ที่สุดโดยในเรื่องที่เราจะมาเน้นย้ำมากที่สุดก็จะเป็นสาเหตุของสงครามและเรื่องราวของการปฏิวัติ
รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (King Louis XIV)
ฝรั่งเศสในยุคก่อนหน้ารัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่เป็นยุคแห่งความขัดแย้งทางศาสนาที่สุด อาทิ สงครามสามสิบปี บลาๆ และหลังจากยุคปฏิรูปศาสนาที่ยาวนานระหว่างโพรเทสแทนท์และโรมันคาทอลิกราชอาณาจักรฝรั่งเศสก็เข้าสู่ยุครุ่งโรจน์ในรัชสมัยพระเจ้าอองรีที่สี่แห่งนาวาร์(Henri de Bourbon,Henri IV)ประมุขแห่งราชสกุลบูร์บอง เฮนริทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรฝรั่งเศสทำให้ความขัดแย้งทางศาสนาที่มีมาอย่างยาวนานสิ้นสุดลง พระองค์ได้ริเริ่มปฎิรูปการปกครองฝรั่งเศสมากมายและสืบทอดไปยังกษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์ต่อมา นอกจากนี้ในยุคถัดๆ มาล้วนแล้วแต่มีผู้ที่มีความสามารถมากอย่างพระคาร์ดินัลริเชอลิเยอ ซึ่งเขาได้สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสจนในที่สุดฝรั่งเศสก้าวขั้นขึ้นมาเป็นมหาอำนาจได้ ซึ่งเอาจริงๆ และฝรั่งเศสถือว่าค่อนข้างสำคัญในยุโรป เพราะฝรั่งเศสนั้นเป็นตัวถ่วงอำนาจราชวงศ์ฮาพส์บวร์คซึ่งเป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ไม่ให้จักรวรรดิมีอำนาจในยุโรปมากเกินไป พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ครองราชย์ต่อจากพระบิดาคือหลุยส์ที่สิบสามด้วยพระชนม์เพียง 5 พรรษาทำให้พระองค์ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากพระนางแอนน์แห่งออสเตรียและคณะผู้สำเร็จราชการซึ่งแต่งตั้งในรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม แต่ต่อมาพระนางแอนน์ได้ทำการปลดผู้สำเร็จราชการทั้งหมดด้วยความร่วมมือจากคณะตุลาการแห่งปารีส(Palement de Paris)ทำให้พระนางเป็นผู้สำเร็จราชการเพียงผู้เดียวของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ พระนางได้ทรงแต่งตั้งพระคาร์ดินัลมาซาแร็ง(Mazarin)ซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองใกล้เคียงกันมาบริหาร และทำการดำเนินนโยบายสร้างความแข็งแกร่งต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งบากบั่นสร้างมาตั้งแต่ในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสามแต่ยังไม่ทันปฏิรูปการปกครองเสร็จหลุยส์ที่สิบสามและคาร์ดินัลริเชอลิเยอก็สิ้นพระชนม์ไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้อย่างมั่นคงเด็ดขาดสมพระอิสริยยศ

พระรูปพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในยุโรปตลอดกาล “สุริยกษัตริย์” แห่งฝรั่งเศส(พระรูปที่แคลิฟอร์เนีย 1673)
พระนางเเอนน์เเห่งออสเตรีย
หลังจบสงครามสามสิบปีในค.ศ.1648 ได้มีการลงนามสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียซึ่งหลายๆ ประเทศในยุโรปโดยเฉพาะจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ลดอำนาจลงไปมาก ส่วนในฝรั่งเศสเองนั้นราชสำนักก็ยิ่งรวบอำนาจมากขึ้นกว่าเดิม โดยทางราชสำนักได้รวบอำนาจสู่ศูนย์กลางและลดบทบาทของคณะตุลาการแห่งปารีสซึ่งถือเป็นการลดสิทธิพิเศษต่างๆ ของขุนนางจำนวนมากจนขุนนางไม่พอใจและเกิดกบฏฟรงด์ขึ้น พระนางแอนน์และมาซาแร็งปราบปรามอย่างยากลำบากถึงขนาดต้องย้ายราชสำนักออกจากปารีส แต่ด้วยแรงของทหารที่กลับจากสงครามสามสิบปีทำให้ปราบปรามได้และในที่สุดก็เกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันไม่มีใครต้านได้อีกแล้ว!!!
ในปี 1651 พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ทรงบรรลุนิติภาวะและทรงบริหารราชการแผ่นดินกับพระคาร์ดินัลมาซาแร็ง(มาซาแร็งเสียชีวิตตอนปี 1661) ซึ่งทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันบากบั่นสร้างมาเป็นเวลานานถึงจุดสูงสุดแล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ทรงประกาศต่อขุนนางว่า
“ตอนนี้ข้าพเจ้าบริหารบ้านเมืองด้วยตนเอง พวกท่านจะต้องช่วยเหลือในคำแนะนำของท่านเมื่อข้าพเจ้าร้องขอ ข้าพเจ้าขอออกคำสั่งว่าจะต้องไม่มีประกาศใดที่ประกาศออกไปโดยไม่มีคำสั่งของข้าพเจ้า และขอสั่งห้ามท่านลงนามในเอกสารใดๆ แม้แต่หนังสือผ่านทางเล่มเดียวโดยไม่มีคำสั่งจากข้าพเจ้า!!!”
พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่แม้ว่าพระองค์ไม่ค่อยมีความสามารถที่เราทราบกันเท่าไหร่ แต่พระองค์ทรงเป็นคนที่มองคนได้ดีและทรงนำผู้มีความสามารถมาบริหารประเทศ เช่น ฌอง กอลแบรต์ ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศสจนทำให้ฝรั่งเศสมีเงินมากพอที่จะทำสงครามกับชาติต่างๆ ในยุโรปได้ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสกำลังโดนทั้งยุโรปรุมโจมตีแต่เพราะมีผู้บริหารด้านการเงินที่ดีเลยทำให้ฝรั่งเศสมีเงินคล่องตัวสำหรับการทำสงครามใหญ่ตลอดรัชกาล เขาได้บริหารราชการตั้งแต่ 1665 และเป็นผู้ที่วางรากฐานด้านการเงินในการสร้างพระราชวังแวร์ซายส์อันวิจิตรและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และมิเชลล์ เลอ เทลีเยร์ ผู้ที่ปฏิรูปกองทัพฝรั่งเศสจนขึ้นชื่อว่าไร้เทียมทาน ทำให้ฝรั่งเศสสามารถโจมตีและชนะศัตรูฝรั่งเศสในยุคนั้นโดยเฉพาะจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์และจักรวรรดิฮัพส์บวร์คออสเตรียได้เป็นอย่างดี
ระบบการปกครองของราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนแปลง เดิมทีการบริหารแผ่นดินดดยกษัตริย์โดยกษัตริย์จะรับการรายงานจาก “เอกเสนาบดี” แต่พอพระคาร์ดินัลมาซาแร็งเสียชีวิตในปี 1661 กษัตริย์หลุยส์ก็ไม่ทรงแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีอีกต่อไป แต่กำหนดให้เสนาบดีกระทรวงต่างๆ แจ้งข้อมูลให้กับพระมหากษัตริย์รับทราบโดยตรง พร้อมกับแต่งตั้งผู้ตรวจราชการส่วนพระองค์ในการตรวจสอบกำชับกระทรวงต่างๆ ให้ยู่ในพระเนตรพระกรรณของกษัตริย์
แนะนำนะครับหากใครที่มีประสงค์จะอ่านพระราชประวัติของหลุยส์ที่สิบสี่ เราแนะนำว่าให้อ่านกระทู้ของคุณ Lucifin
จะมีประโยชน์มาก:
พระราชประวัติพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส EP.1
สวัสดีวันนี้เราจะมาสรุปเกี่ยวกับสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเราจะเน้นรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14,15 และ 16 โดยในยุคนี้เป็นยุคที่ฝรั่งเศสผ่านยุคที่ยิ่งใหญ่และยอดแย่ที่สุดโดยในเรื่องที่เราจะมาเน้นย้ำมากที่สุดก็จะเป็นสาเหตุของสงครามและเรื่องราวของการปฏิวัติ
รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (King Louis XIV)
ฝรั่งเศสในยุคก่อนหน้ารัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่เป็นยุคแห่งความขัดแย้งทางศาสนาที่สุด อาทิ สงครามสามสิบปี บลาๆ และหลังจากยุคปฏิรูปศาสนาที่ยาวนานระหว่างโพรเทสแทนท์และโรมันคาทอลิกราชอาณาจักรฝรั่งเศสก็เข้าสู่ยุครุ่งโรจน์ในรัชสมัยพระเจ้าอองรีที่สี่แห่งนาวาร์(Henri de Bourbon,Henri IV)ประมุขแห่งราชสกุลบูร์บอง เฮนริทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรฝรั่งเศสทำให้ความขัดแย้งทางศาสนาที่มีมาอย่างยาวนานสิ้นสุดลง พระองค์ได้ริเริ่มปฎิรูปการปกครองฝรั่งเศสมากมายและสืบทอดไปยังกษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์ต่อมา นอกจากนี้ในยุคถัดๆ มาล้วนแล้วแต่มีผู้ที่มีความสามารถมากอย่างพระคาร์ดินัลริเชอลิเยอ ซึ่งเขาได้สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสจนในที่สุดฝรั่งเศสก้าวขั้นขึ้นมาเป็นมหาอำนาจได้ ซึ่งเอาจริงๆ และฝรั่งเศสถือว่าค่อนข้างสำคัญในยุโรป เพราะฝรั่งเศสนั้นเป็นตัวถ่วงอำนาจราชวงศ์ฮาพส์บวร์คซึ่งเป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ไม่ให้จักรวรรดิมีอำนาจในยุโรปมากเกินไป พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ครองราชย์ต่อจากพระบิดาคือหลุยส์ที่สิบสามด้วยพระชนม์เพียง 5 พรรษาทำให้พระองค์ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากพระนางแอนน์แห่งออสเตรียและคณะผู้สำเร็จราชการซึ่งแต่งตั้งในรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม แต่ต่อมาพระนางแอนน์ได้ทำการปลดผู้สำเร็จราชการทั้งหมดด้วยความร่วมมือจากคณะตุลาการแห่งปารีส(Palement de Paris)ทำให้พระนางเป็นผู้สำเร็จราชการเพียงผู้เดียวของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ พระนางได้ทรงแต่งตั้งพระคาร์ดินัลมาซาแร็ง(Mazarin)ซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองใกล้เคียงกันมาบริหาร และทำการดำเนินนโยบายสร้างความแข็งแกร่งต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งบากบั่นสร้างมาตั้งแต่ในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสามแต่ยังไม่ทันปฏิรูปการปกครองเสร็จหลุยส์ที่สิบสามและคาร์ดินัลริเชอลิเยอก็สิ้นพระชนม์ไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้อย่างมั่นคงเด็ดขาดสมพระอิสริยยศ
ระบบการปกครองของราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนแปลง เดิมทีการบริหารแผ่นดินดดยกษัตริย์โดยกษัตริย์จะรับการรายงานจาก “เอกเสนาบดี” แต่พอพระคาร์ดินัลมาซาแร็งเสียชีวิตในปี 1661 กษัตริย์หลุยส์ก็ไม่ทรงแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีอีกต่อไป แต่กำหนดให้เสนาบดีกระทรวงต่างๆ แจ้งข้อมูลให้กับพระมหากษัตริย์รับทราบโดยตรง พร้อมกับแต่งตั้งผู้ตรวจราชการส่วนพระองค์ในการตรวจสอบกำชับกระทรวงต่างๆ ให้ยู่ในพระเนตรพระกรรณของกษัตริย์
แนะนำนะครับหากใครที่มีประสงค์จะอ่านพระราชประวัติของหลุยส์ที่สิบสี่ เราแนะนำว่าให้อ่านกระทู้ของคุณ Lucifin
จะมีประโยชน์มาก: พระราชประวัติพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่