ความผิดพลาดในงานราชาภิเษกพระนางเจ้าวิคทอเรียแห่งอังกฤษ(สาระฮะ)



    ก่อนที่เราจะพูดถึงงานราชาภิเษกที่ผิดพลาดเราก็ต้องรู้จักก่อนว่าพระองค์ทรงเป็นใครนะฮะ ควีนวิคทอเรียเป็นกษัตริย์ผู้ครองจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และเรืองอำนาจที่สุดในโลก นั่นก็คือ “เกาะบริเตนใหญ่” ซึ่งอังกฤษถือว่าเป็นมหาอำนาจที่รุ่งเรืองเอามากๆ ถ้าเอาอังกฤษเทียบกับอเมริกาในสมัยนี้(คือไม่ได้เทียบในด้านของความเจริญทางเทคโนโลยีนะ แต่เทียบในด้านการเรืองอำนาจจริงๆ)ผมว่าอังกฤษชนะอเมริกาอย่างเด็ดขาดเลย เพราะมีอาณานิคมประปรายไปทั่วโลกซึ่งอาณานิคมพวกนี้ถ้ารวมทั้งหมดนั้น มันใหญ่กว่าสหราชอาณาจักรถึง 40 เท่า(รวมไอร์แลนด์ด้วย) คือเอาง่ายๆ อังกฤษมีลูกน้องมาก ลูกน้องที่อังกฤษรักที่สุดคือ “บริทิชราช” หรือ British Raj ซึ่งก็คือชมพูทวีปนั่นเอง(รวมทั้งจังหวัดพม่าของจักรวรรดิอินเดียด้วย) ซึ่งนั่นคือผลงามชิ้นเยี่ยมของบริษัทอินเดียตะวันออกที่ทำให้กับรัฐบาลอังกฤษ


พระรูปของสมเด็จพระราชินีนาถวิคทอเรียซึ่งได้มาจากเจ้าเมืองไทรบุรีสมัยร.3 ซึ่งถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จ(ตอนนั้นอังกฤษได้ปีนังจากเรามาซึ่งก็อยู่ใกล้เคียงเมืองไทรบุรี)พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเกลียดชาวตะวันตกมาก แต่เป็นเรื่องแปลกที่พระนั่งเกล้าฯ กลับมีรับสั่งให้นำมาแขวนไว้ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย สร้างความตกตะลึงแก่ชาวต่างชาติที่มาเฝ้าเป็นอย่างมาก ที่เมื่อพระมหากษัตริย์แห่งสยามซึ่งเป็นที่เล่าขวัญกันในหมู่ชาวตะวันตกว่าเป็นผู้ที่อนุรักษ์นิยมที่สุดในเอเชีย ทั้งยังตรัสบริพาษด่าถึงกษัตริย์อังกฤษพระองค์นี้อยู่เสมอ กลับนำพระรูปของราชินีอังกฤษพระองค์นี้มาแขวนและใส่กรอบแขวนไว้อย่างดีในท้องพระโรงอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ราชาภิเษกของกษัตริย์สยาม แม้แต่ในสมัยร.4 ก็ไม่ได้มีรับสั่งให้นำรูปราชินีอังกฤษออก ทำให้ภาพนี้ถูกประดับอย่างสง่างามถึง 18 ปีเต็ม ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้และไม่เคยกล่าวถึง.

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล พระองค์ครองราชย์เป็นเวลา 63 ปี และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดของอังกฤษ ก่อนที่จะมีพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่ 2 โค่นแชมป์ โดยในตอนเริ่มต้นรัชสมัยของพระองค์ซึ่งเป็นการเปิดยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในอังกฤษ ไม่มีใครเชื่อว่าการครองราชย์ในครั้งนี้จะดำเนินไปได้ด้วยดีนัก เพราะพิธีราชาภิเษกของพระองค์ค่อนข้างทุลักทุเล! 
    พระราชพิธีราชาภิเษกองสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียเกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี 28 มิถุนายน 1838 เพียงหนึ่งปีหลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ เนื่องจากในธรรมเนียมของอังกฤษเมื่อกษัตริย์ครองราชย์จะไม่ราชภิเษกทันทีแต่หากจะครองราชย์ไปซักระยะนึงก่อนจึงค่อยมีราชพิธีอันยิ่งใหญ่ โดยทรงรับราชภิเษกเป็นราชินีแห่งสหราชอาณาจักรเมื่ออายุ 18 พิธีที่จัดขึ้นในมหาวิหารเวสมินเตอร์ หลังจากที่ขบวนราชพิธีซึ่งนำโดยรถม้าทองคำที่ล้อมรอบด้วยประชาชนผู้มาเฝ้าประชาชนโดยเดินทางจากราชวังบัคกิ้งแฮม สู่โบสถ์ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งรถม้าทองคำหรือรถม้าโกลด์สเตทโค้ชซึ่งไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักนอกจากพระราชพิธีใหญ่ ซึ่งหากเป็นพระราชพิธีเล็กๆ จะใช้รถม้าที่มีพื้นเป็นสีดำลายทองแทน ในภาพคือรถม้าในงานราชาภิเษกของอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นรถม้าที่นั่งได้ไม่สบายนัก เพราะเนื่องจากเป็นรถม้าที่มีน้ำหนักมากทั้งยังโบราณคร่ำครึ ถึงขนาดที่กษัตริย์อังกฤษหลายพระองค์บ่นอยู่เสมอว่าเป็นรถม้าที่น่ากลัวทั้งยังชวนผวาอีกด้วย นั่นก็เพราะน้ำหนักมาก ทั้งยังเก่าแก่ อีกทั้งลวดลายแบบบาร็อคที่ดูฟุ้งเฟ้อจนเกินตัว ทำให้กษัตริย์บางองค์ต้องถึงขนาดฝืนยิ้ม เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์มีความสุข


อลิซาเบธที่สองผู้โค่นเเชมป์ราชินีวิคทอเรีย


รถม้าทองคำที่ใช้จนถึงปัจจุบัน


William Lamb
วิลเลียมแลมบ์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์(ยังไม่มีคำว่าเหนือ)
ซึ่งเป็นไวส์เคาทน์ที่สองแห่งเมลเบิร์น นอกจากนี้ยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของยุคพระนางเจ้าวิคทอเรียผู้ยิ่งใหญ่แต่อ่อนแอ
การวางแผนสำหรับพิธีราชาภิเษกนำโดยนายกรัฐมนตรีวิลเลียม แลมบ์ซึ่งถือบรรดาศักดิ์เป็นไวส์เคาทน์แห่งเมลเบิร์น โดยเป็นไปอย่างยากลำบากและไม่มีการซักซ้อมอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว ในเดือนมีนาคมปี 1838 ซึ่งเป็นปีที่จัดงานได้เกิดการการคัดค้านต่าง ๆ นานาจากหลายฝ่าย  โดยพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่แต่สุดจะเละเทะนี้หมดเงินไปประมาณ 70,000 ปอนด์สเตอลิงก์(ซึ่งถ้าใช้เครื่งคิดเลขสมัยนี้คิดมันคงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนฮะในการคิดค่าเป็นเงินบาท เพราะว่าค่าเงินสมัยก่อนมันดูถูกแต่ค่าของมันจริงๆ แล้วสุดจะแพงเลย ซึ่งก็คล้ายๆ กับทางบ้านเราสมัยก่อนนี่เองกว่าจะเก็บเงินถึงบาทมันใช้เวลานานมาก แต่ในสมัยนี้หาง่ายนิดเดียว) ซึ่งถ้าเทียบกับงานราชาภิเษกของพระเจ้าวิลเลียมที่สี่แล้วจะพบว่าในงานราชาภิเษกของเจ้าหญิงวิกทอเรียในการขึ้นเป็นราชินีโดยสมบูรณ์นั้น ใช้งบประมาณน้อยกว่างานของวิลเลียมที่สี่ผู้เป็นลุงถึงครึ่งหนึ่ง คือถ้าอธิบายให้เข้าใจก็จะพบว่างานราชิภิเษกของวิกทอเรียนั้นใช้เงินไป 70,000 ปอนด์ แต่งานราชาภิเษกของวิลเลียมที่สี่ใช้เงินไป 140,000 ปอนด์ ซึ่งถือว่างานของราชินีองค์นี้ไม่ได้ลงทุนอะไรเลยฮะ  ซึ่งถึงแม้ว่างานราชาภิเษกของพระเจ้าวิลเลียมที่สี่จะดูแพงแล้วก็จริง แต่ถ้าเทียบกับพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่สี่กลับใช้เงินราว  240,000 ปอนด์สเตอลิงก์ซึ่งเงินส่วนใหญ่นำไปสร้างมงกุฎอันใหม่ชื่อว่า Coronation Crown Of George IV (ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษก็คงรู้ๆ อยู่ว่ายุคของพระเจ้าจอร์จที่สี่เป็นยุครีเจนซี่ ซึ่งเป็นยุคที่ชนชั้นสูงใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยและหรูหราเกินเหตุ โดยชาวยุโรปมักจะนิยมชมชอบศิลปะอันหรูหราของอินเดียและจีน ซึ่งแสดงให้เห็นจากการที่ชาวยุโรปมักจะนิยมสวนสาธารณะแบบอินเดียและจีนซะส่วนใหญ่) ซึ่งในงานพระราชพิธีราชาภิเษกของจอร์จที่สี่นั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้เงินมาจัดราชพิธีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ประชาชนและบรรดาพวกที่นิยมระบอบสาธารณรัฐหรือที่เรียกกันติดปากว่า “พวกล้มเจ้า” ซึ่งมีให้เห็นเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องแปลกที่ในสหราชอาณาจักรพวกล้มเจ้ามักจะเป็นชาวไอร์แลนด์ซะส่วนใหญ่ ส่วนชาวอังกฤษคงไม่ต้องถามหรอกฮะในหัวของเค้าความคิดแบบชาวไอร์แลนด์แทบไม่มีปรากฏให้เห็นเลย 


พระเจ้าจอร์จที่สี่แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ใส่ชุดราชาภิเษกที่ออกจะดูไปทางอินเดียนิดนึงกับมงกุฎของพระองค์ซึ่งผมไม่มั่นใจว่ามงกุฎอันนั้นเป็นมงกุฎอิมพีเรียลสเตทรึว่ามงกุฎโคโรเนชั่นคราวน์ออฟจอร์จเดอะโฟร์ธ(มงกุฎราชาภิเษกของจอร์จที่สี่)กันแน่

    ในปี 1838 ซึ่งเป็นปีราชาภิเษกของควีนวิคทอเรียได้มีการทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่สามารถส่งผู้คนจำนวนมากเข้ามาในลอนดอนและมีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมถึง 400,000 คนมาเข้าเฝ้าในขณะที่ขบวนเสด็จของราชินีจะมา   รวมทั้งการงานขึ้นบอลลูนในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่นิมที่สุดในเกาะบริเตนใหญ่  โดยงานมีกำหนดการณ์ที่จะจัดขึ้นสองวันแต่ในที่สุดก็ยืดเวลาไปถึงสี่วันเพราะได้รับความนิยมกันมาก กรีนพาร์คให้ความสำคัญกับการจัดแสดงพลุกลางคืนหลังพิธี โดยในพระราชพิธีราชาภิเษกเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีค่อนข้างดีและเหตุการณ์ทั้งหมดถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของทั้งสื่อมวลชนและสาธารณชนแม้ว่าคนบางส่วนจะได้รับอุบัติเหตุเพราะความสับสนและความเขลาของเขา 

 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่