ลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นลง 50 สต. เพื่อประชาชน หรือ เกมการเมือง?

จากข่าวที่ รมว.พลังงาน สนธิรัตน์ ประชุม กบง. ออกนโยบาย ลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นลง 50 สต. เมื่อ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา 
กบง. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาที่ใช้อ้างอิง ณ โรงกลั่น เพื่อเปรียบเทียบราคาที่เหมาะสมลดลงจากหลักเกณฑ์เดิม 50 สตางค์ต่อลิตร  ระบุไม่มีผลไปบังคับกับผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด เพราะระบบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยเป็นการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยกระทรวงพลังงานไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงหน้าสถานีบริการ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

โดยส่วนราคาที่ กบง. ปรับลดไม่ใช่ภาษีที่รัฐกำหนดเอาเองเท่าไหร่ก็ได้ แต่การไปปรับราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมัน คือจะไปกระทบ ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน, ค่าขนส่วนต่างๆ, ค่าประกันภัย, ค่าสำรองน้ำมันตามกฏหมาย อย่างใดอย่างนึงแน่นอน 
ในส่วนของค่าขนส่ง ค่าประกันถ้ารัฐพิจารณาร่วมกับโรงกลั่นแล้วเห็นชอบว่าให้ลดก็ว่ากันไป 
แต่ส่วนที่สำคัญกว่านั้นคือ การปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน เนื่องจากไทยและสิงคโปร์มีการกำหนดมาตรฐานยูโร 4 เหมือนกันก็จริง แต่รายละเอียดของโรงกลั่นไทยตามข้อกำหนดภาครัฐนั้นสูงกว่าโรงกลั่นสิงคโปร์ จึงทำให้คุณภาพน้ำมันของไทยมีต้นทุนสูงกว่า เมื่อต้องลดราคาแบบนี้จึงเกิดคำถามว่า “คุณภาพของราคาน้ำมันจะถูกลดลงตามด้วยหรือไม่?”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

นอกจากนี้ก็มีประกาศเพิ่มเติมจากกระทรวงพลังงานเรื่องค่าการตลาดที่เหมาะสม ที่ กบง. เห็นชอบที่ 1.85 บาทต่อลิตร เป็นค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักไม่ใช่รายผลิตภันฑ์ มีความยืดหยุ่นที่ บวกหรือลบ 40 สตางค์ต่อลิตร หรือเท่ากับ 1.45-2.25 บาทต่อลิตร
 
ถึงแม้ว่าการออกนโยบายปรับลด 50 สต. ครั้งนี้ อาจจะรู้สึกดีต่อผู้บริโภค แต่ก็ดีไม่สุด เพราะ รมว.ออกตัวชัดเจนว่า นโยบายครั้งนี้ไม่ได้มีผลบังคับต่อผู้ประกอบการเพราะมันเป็นการแข่งขันเสรี แต่เป็นเพียงแค่มาตรฐานราคาที่ใช้เพื่ออ้างอิงเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนได้ดูว่าราคาที่ใช้อยู่มันถูกหรือแพง
 
การประกาศแบบนี้เหมือน รมว. ได้สร้างเกราะกำบังตนเองให้ปลอดภัยแล้วส่งต่อความกดดันทั้งหมดให้ตกไปยังผู้ค้าน้ำมันในทันที ถ้าหากผู้ค้าน้ำมันเจ้าไหนพร้อมที่จะทำตาม ผู้ค้านั้นก็เสมอตัว แต่ถ้าหากไม่ทำตามก็เหมือนว่าเป็นกลายเป็นผู้ร้ายไปอีก…
ณ จุดนี้ขอขยายความประโยค “ประกาศนี้เป็นการสร้างเกราะกำบังตนเอง” ว่าการประกาศนโยบายลดราคาหน้าโรงกลั่น 50 สต. ออกมานี้ เกิดขึ้นจาก ก.พลังงาน ได้รับแรงกดดันจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางพลังงาน ที่กดดันอย่างหนัก เดินขบวน ยืนหนังสือทำวนกันแบบนี้ไม่รู้กี่รอบ จนได้มีโอกาสแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกัน จนในที่สุดก็ได้มีมตินี้และประกาศอย่างเป็นทางการออกมา ผิวเผินอาจไม่มีอะไรแต่ถ้ามองในมุมการเมืองแล้วการที่ รมว. ตอบรับข้อเรียกร้องนี้จากกลุ่มเคลื่อนไหวฯ เป็นการหาพวกทางการเมือง แล้วโยนเหล็กร้อนไปให้ผู้ค้าน้ำมันแทน

ถึงแม้ว่าในเนื้อหาข่าวได้กล่าวว่า “ส่วนข้อกังวลของโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีต่อค่าการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันนั้น กระทรวงพลังงานรับทราบแล้ว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และให้นำมาเสนอ กบง. พิจารณาในโอกาสต่อไป” 

เหตุใดถึงไม่ยอมฟังและพิจารณาข้อมูลของทุกฝ่ายให้ครบก่อนที่จะมีประกาศ?
และ การกระทำเช่นนี้จึงทำให้เกิดข้อสงสัยเป็นหนักเข้าไปอีก ว่านี้เป็นการหาเสียงหรือเป็นอีกหนึ่งในยุทธวิธีทางการเมืองใช่หรือไม่?   

ประกอบกับข่าวความสั่นคลอนในพรรคพลังประชารัฐ ก่อนการปรับ ครม.ที่จะมาถึง โดน รมว.พลังงาน สนธิรัตน์ ก็เป็นหนึ่งในเป้าที่อาจจะโดนโยกย้ายในครั้งนี้ พร้อมเพื่อนกลุ่ม 4 กุมารและรองนายกฯ สมคิดอีกด้วย
ดังนั้นการประกาศนโยบายนี้ออกมา เหมือนจะดีต่อประชาชนก็ไม่ใช่ที่สุด เหมือนจะแฟร์ต่อผู้ค้าน้ำมันก็ไม่เต็มที่ แต่ที่แน่ๆ ได้ใจกลุ่มเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานไปแล้ว ซึ่งในอนาคตอาจจะต้องใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันก็เป็นได้
 
น้ำมันกับเกมส์การเมืองนี่มันแยกกันยากจริงๆ เลยน้อออ…… ผู้ประกอบการก็เป็นหนังหน้าไฟไป ปรับราคาน้ำมันทีคนก็บ่นกันที ส่วน รมว. ลอยตัวสบายแฮ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่