ศาลอุทธรณ์คดียาเสพติด ยกฟ้องจำเลยแบบนี้ได้หรือไม่ ข้อหาร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครอง

ศาลชั้นต้น ตัดสิน ลงโทษจำเลยทั้งสอง  ต่อมา ศาลอุทธรณ์คดียาเสพติด มีคำพิพากษา ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อหาเสพแต่ให้การปฏิเสธข้อหาจำเลยที่ 2 ให้การว่ายาเสพติดเป็นของจำเลยที่ 1 การบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแม้นคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดโดยการและเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามรับฟังโดยเด็ดขาดเมื่อจำเลยที่ 2เป็นภรรยาทำนายที่ 1 จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะให้การใส่ร้ายจำเลยที่ 1 เพื่อให้ตนเองพ้นผิด เชื่อว่าพยานโจทก์ไม่ได้ปรับปรำจำเลยทั้งสองสำหรับอุทธรณ์เครื่องอื่นของจำเลยที่ 1 นั้นไม่เป็นสาระไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาสามารถรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดสำหรับจำเลยที่ 2 นั้นได้ความว่าเป็นภรรยาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติดจึงยกฟ้อง   

          ต่อมาอัยการโจทก์  ยื่นคำร้องขออนุญาติฎีกา  ทั้งที่คดีต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาญาพ. ศ. 2550 มาตรา 18 19  มีสาระสำคัญดังนี้ 
      คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นยาเสพติดของจำเลยที่ 1 คดีมีเหตุสงสัยจึงยกประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 เป็นคำพิพากษายกฟ้องในฐานความผิดนี้โจทก์ประสงค์จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยแต่เนื่องจากคดีต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาญาพ. ศ. 2550 มาตรา 18 19
    
     คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นี้ ถือเป็นที่สุด เนื่องจากคดีต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาญาพ. ศ. 2550 มาตรา 18 19  คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  ไปไม่ถึงศาลฎีกา และก็ไม่มีการเผยแพร่ตำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  หากคำวินิจฉัยไม่ถูกหลักตามความผิด ร่วมกันกระทำความผิด  ตาม มาตรา 83  ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น  บรรทัดฐานของกฎหมาย จะเสียหายได้หรือไม่   

       
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่