Wominjeka! หรือสวัสดีทุกท่านนะครับในภาษา Kulin หนึ่งในเผ่าของชาวอะบอริจิ้น
หลายคนอาจนึกถึงชนผิวขาวที่สืบเชื้อสายจากตะวันตก แต่ก่อนการมาถึงของชาวผิวขาวในคศ.ที่ 17 ทวีปแห่งนี้ก็มีคนอาศัยอยู่นานแล้ว เราพอจำแนกกลุ่มชาวพื้นเมืองได้หลัก 2 กลุ่มคือ ชาวอะบอริจิ้นออสเตรเลียที่อาศัยในทวีป และ ชาว Torres Strait ที่อาศัยตรงหมู่เกาะและแถบแหลม Cape York ที่ยื่นไปหาปาปัวนิวกินี เนื่องจากห่างจากปาปัวนิวกินีไม่มาก จึงมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงดีเอ็นเอใกล้ชิดคนปาปัวนิวกินี จนชาว Torres Strait เองก็ไม่นับตัวเองเป็นชาวอะบอริจิ้นออสเตรเลีย

ภาพการอพยบของผู้คนจะเห็นว่าในอดีตที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบัน มนุษย์โบราณบางส่วนอพยพจากเอเชีย ค่อยๆเข้าไปสู่ Sahuland ที่เป็นดินแดนเชื่อมต่อกันระหว่าง ปาปัวนิวกินี กับออสเตรเลีย
โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง กลุ่มคนแรก หรือ First Peoples of Australia คือ “กลุ่มชาวอะบอริจิ้น ออสเตรเลีย”เป็นหลักก่อน ที่ว่ากันว่าอพยพมาจากเอเชียตั้งแต่ 65,000 ปีก่อน ในยุคที่เป็นยุคน้ำแข็งที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบัน ที่ผืนดินของปาปัวนิวกินีเชื่อมกับทวีปออสเตรเลีย กลุ่มชาวอะบอริจิ้นอพยพแยกจากลุ่มชาวเอเชียมานานจนรหัสดีเอนเอในร่างกายค่อนข้างแตกต่างจากชาวภาคพื้นทวีปเอเชีย
ชาวอะบอริจิ้นดำรงอยู่ด้วยวิถีล่าสัตว์ และกระจายกันทั่วทวีป พวกนี้ประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆในการล่าสัตว์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นในโลกอย่าง "บูมเมอแรง" เชื่อทุกคนรู้จักกันดี อุปกรณ์ไม้ที่ใช้ขว้างและวกกลับมาหาคนปาได้ โดยหากปาไปโดนหัวจิงโจ้ก็ทำเอาเจ้าจิงโจ้สลบได้ และตกเป็นอาหารมือค่ำ โดยส่วนมากชาวอะบอริจิ้นมักอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้แถบนิวเซาท์เวลล์และวิคตอเรีย เพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่ามาก ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำและสัตว์ป่า
แต่เดี๋ยวจะคิดว่าอะบอริจิ้นยังคงขว้างบูมเมอแรงล่าจิงโจ้กันทั้งเกาะ เหมือนชาวโลกบางส่วนคิดว่าคนไทยยังขี่ช้างไปเรียน ก่อนไปดูประวัติศาสตร์ ให้เห็นภาพชาวอะบอริจิ้นปัจจุบัน ซึ่งก็อยู่ในโลกโมเดิร์นแล้ว อย่าง Aretha Brown หนึ่งในชาวเผ่า Gumbaynggirr ที่กำลังเรียกร้องสิทธิในวันชาติออสเตรเลียให้ชาวอะบอริจิ้น
กลับคนอะบอริจิ้นในอดีตกันฮะ คนกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นเผ่าต่าง ๆ พูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 250 ภาษา มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อของตนเอง โดยเป็นการเล่าเรื่องตำนานความเชื่อผ่านบทเพลงและลำนำ เรียกรวม ๆ ว่า “the Dreamtime” หรือ The dreaming เป็นเรื่องราวที่เล่าเหมือนความฝันที่ทุกพื้นที่ในดินแดนนี้ปกคลุมด้วยสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นบรรพบุรุษ นักรบในตำนาน หรือพลังเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ก็ตาม จงเคารพแต่อย่าบูชา และให้เคารพสิ่งสูงสุดที่เรียกว่า “Altjira” ซึ่งไม่ใช่พระเจ้า แต่หมายถึงความเป็นนิรันดร์ … แอบรู้สึกเองว่าคนอะบอริจิ้นก็มีความลึกซึ้งในแนวคิดความเชื่อเหมือนกันแฮะ

บรรดาภาพเขียนตามถ้ำ ตามหินก็ล้วนเกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า "The Dreaming" ตำแหน่งคนในเผ่าที่ได้รับการยกย่องสูงสุดคือ Ngangkari ทำหน้าที่เป็นเหมือนหมอรักษาโรคประจำเผ่า และยังเป็นผุ้นำทางจิตวิญญาณขับขานเรื่องราว The Dreaming และว่ากันว่าก่อนการมาถึงของชาวยุโรป มีประชากรคนอะบอริจิ้นราว 300,000 – 700,000 คนทั้งทวีป
แต่ในปัจจุบันเกือบ 200 -300 ปีมาแล้ว ในปี 2011 ประชากรของชาวอะบอริจิ้นกลับมีจำนวนราว 600,000 กว่าคนเท่านั้น หลายคนอาจสงสัย ทำไมคนพื้นเมืองแทบไม่ต่างจากเดิมเท่าไร ทั้งที่ประชากรควรจะเพิ่มขึ้นบ้าง เวลาผ่านมาตั้งเกือบ 300 ปีมาแล้ว ซึ่งเราต้องย้อนกลับไปในช่วงที่ชาวยุโรปค้นพบทวีปออสเตรเลีย
ว่ากันว่าตอนเรือกัปตันคุกมาขึ้นฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียตอนปี 1770 ช่วงที่แกสั่งเรือเล็กให้ขึ้นฝั่ง มีชาวอะบอริจิ้นสองคนขว้างปาหอกและหินใส่เรือชาวผิวขาว กัปตันแกสั่งยิงปืนโต้กลับไป ชาวอะบอริจิ้นสองคนก็หนีเข้าป่าไป เรียกว่าเป็นการมาถึงดินแดนนี้อย่างไม่ค่อยดีเท่าไร ส่วนตัวผมว่า แหง สิ ใครก็ไม่รู้มาในเรือไม้ลำยักษ์ มาบุกพื้นที่ตนเอง เป็นใครก็สู้ยิบตา
มีสงครามในความขัดแย้งระหว่างชาวพื้นเมืองกับชาวอาณานิคม ที่มีเป็นระยะๆ ตลอดการตั้งอาณานิคม ตั้งแต่ปี 1788 – 1934 กันเลยทีเดียว เรียกว่าตั้งแต่ปีแรก 1788 ที่ก่อตั้งเมืองซิดนีย์ก็ฟัดกันละ และการปะทะกันในช่วงแรกของการตั้งอาณานิคม ที่ปืนไฟของชาวตะวันตกยังต้องอาศัยเวลาบรรจุกระสุน พวกชาวพื้นเมืองจะอาศัยจำนวนที่มากกว่าล่อให้ชาวอาณานิคมยิงชุดแรกแล้วพุ่งชาร์จด้วยหอกใส่ แต่ถึงจะฆ่าชาวอาณานิคมได้ ชาวพื้นเมืองเองก็สูญเสียไม่น้อยเช่นกัน แต่หลังช่วงคศ.18-19 เป็นต้นมาที่ปืนตะวันตกพัฒนาขึ้นมาก ไม่ต้องกรอกดินปืน เสียเวลาใส่ลูกเหล็กอีกต่อไป เพิ่มด้วยม้าที่นำมาจากยุโรป ผมคิดว่า ณ.จุดนี้แทบไม่เรียกว่าสงครามแล้ว เรียกว่า mass killing ดีกว่า นักวิชาการบางคนบอกว่ามีประชากรชาวพื้นเมืองที่ล้มตายตลอดสงครามความขัดแย้งมากกว่า 65,000 คน บางคนก็ตีว่าหลักแสนคน ส่วนชาวอาณานิคมผิวขาวล้มตายจากการปะทะน้อยกว่ามาก ตลอด100ปีรวมกันราว 2,000 – 2,500 คน
แต่สิ่งสำคัญจริงๆ ที่ทำให้ชาวพื้นเมืองล้มตายจดประชากรเหลือน้อยมาก คือสิ่งที่ชาวผิวขาวนำมาด้วยคือโรคระบาด อาทิ โรคหัด, ไข้ทรพิษ และ วัณโรค เป็นต้น ด้วยชาวพื้นเมืองไม่มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ ตัวอย่างในปี 1789 ที่โรคไข้ทรพิษ ฆ่าประชากรเผ่า Darug ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ไปกว่า 90% และประมาณการโดยรวมๆชาวพื้นเมืองในรัฐต่างๆ น่าจะลดไปมากกว่า 50 % รวมถึงการที่คนผิวขาวขับไล่ชาวพื้นเมืองออกจากพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์เพื่อ จะได้ใช้พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ด้วยสภาวะความอดอยากจากการถูกขับไล่พื้นที่ก็ยิ่งทำให้ประชากรคนพื้นเมืองลดจำนวนลงไปอีกมาก บางส่วนก็ปรับตัวมาทำงานในไร่คนขาว

ภาพชาวอะบอริจิ้นช่วงปีคศ.ที่ 19 ที่ปรับตัวมาทำงานในไร่และพท.ปศุสัตว์ของคนขาว
ในปี 1900 ประชากรชาวอะบอริจิ้นเหลือเพียง 90,000 คน ทั้งทวีป ในขณะที่คนผิวขาวตอนนั้นแค่เมลเบิร์นเมืองเดียวก็มีมากกว่า 500,000 คนแล้ว รัฐบาลและหน่วยงามต่างๆ อย่างเช่น โบสถ์ ก็มีการเข้าไปให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูกและจัดการศึกษาให้ชาวอะบอริจิ้นขึ้น โดยการพาเด็กชาวอะบอริจิ้นไปยังสถานเลี้ยงดูและพาเข้าโรงเรียน ปัจจุบันนักวิชาการบางสายกล่าวว่าเป็นการทำลายล้างวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง รวมถึงการพรากแม่พรากลูกจากกัน บางคนเรียกว่า Lost generation กันเลย เพราะเป็นรุ่นที่หลงลืมรากเหง้าของความเป็นอะบอริจิ้นแล้ว
อย่างไรก็ดีหลัง 1900 เป็นต้นมา ชาวพื้นเมืองก็เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง โดยทำงานในไร่ปศุสัตว์ต่างๆ แต่ยังได้ค่าจ้างที่น้อยมาก จนปี 1934 เริ่มมีการพูดถึงสิทธิของคนพื้นเมืองอย่างชาวอะบอริจิ้นขึ้นบ้าง ชาวพื้นเมืองต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองมาตลอดช่วง 1960 – 1970 โดยนักสิทธิมนุษยชนชาวผิวขาวหลายคนก็มีส่วนร่วมในการเรียกร้องสิทธิให้ชาวพื้นเมือง จนการลงมติในปี 1967 ในที่สุดสิทธิในการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองของออส ก็นับรวมชาวอะบอริจิ้นเป็นส่วนหนึ่งซักที โดยนาย Neville Bonner เป็นคนเชื้อสายอะบอริจิ้นคนแรกที่ได้รับเลือกและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาของออสเตรเลียในปี 1971
ผมว่าปัจจุบันทางออสเตรเลียค่อนข้างให้เกียรติชาวพื้นเมืองมากขึ้น โดยมีการรับรองพื้นที่มากกว่า 1.3 ล้านตร.กม. ให้เป็นพื้นที่ในการครองครองของชาวเผ่าอะบอริจิ้น คล้ายกับการประกาศเขตของชาวอินเดียแดงในอเมริกา และมีชาวพื้นเมืองได้ปรากฏอยู่บน ธนบัตร 50 เหรียญออสเตรเลีย เป็นรูปของ David Unaipon นักเขียนคนแรกของชาวพื้นเมือง ที่เขียนตำนานพื้นเมืองของชาวอะบอริจิ้น ให้ทางมหาวิทยาลัย Adelaide ในปี 1920 รวมถึงการอนุญาตให้ใช้ธง Australian Aboriginal Flag ซึ่งเป็นธงของชาวอะบอริจิ้นในปี 1995 เราจะเห็นธงดำแดง ที่มีวงกลมสีเหลืองตรงกลาง ตั้งคู่กับธงชาติออสเตรเลียประดับอาคารราชการของที่ออสเสมอ นับว่าเป็นการให้เกียรติอย่างมาก
รวมถึงตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จะมีการบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของประเทศและชาวพื้นเมือง นอกจากนี้รัฐยังมีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาท้องถิ่นและอนุรักษ์ภาษาของชาวพื้นเมืองไว้ ตัวอย่างเช่น ภาษา Ngarrindjeri ที่คนพูดคนสุดท้ายเสียชีวิตไปในปี 1960 มีการศึกษาจากการเขียนและบันทึก ทำให้ปัจจุบันในปี 2009 ภาษานี้ได้รับการฟื้นฟู ผมว่าในอดีตคนออสเองทั้งคนขาวและพื้นเมืองก็เผชิญอะไรมามาก จึงเรียนรู้อดีตและจับมือก้าวไปข้างหน้าอย่างเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น Cathy Freeman ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกในกีฬาวิ่ง 400 ม. ปี 2000 เธอถือธงของทั้งสองกลุ่มชนฉลองชัยชนะ
อ้างอิง :
https://www.abs.gov.au/ausstats/abs@.nsf/Products/02D95BFBCDD976FBCA257CC900143A5B?opendocument
https://en.wikipedia.org/wiki/Indigenous_Australians
และขอแอบแปะเพจเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียเอาไว้ครับ เผื่อใครสนใจติดตามได้ฮะ
https://www.facebook.com/101002048182891
the First Australian กลุ่มชนแรกเริ่มแห่งดินแดนออสเตรเลีย
หลายคนอาจนึกถึงชนผิวขาวที่สืบเชื้อสายจากตะวันตก แต่ก่อนการมาถึงของชาวผิวขาวในคศ.ที่ 17 ทวีปแห่งนี้ก็มีคนอาศัยอยู่นานแล้ว เราพอจำแนกกลุ่มชาวพื้นเมืองได้หลัก 2 กลุ่มคือ ชาวอะบอริจิ้นออสเตรเลียที่อาศัยในทวีป และ ชาว Torres Strait ที่อาศัยตรงหมู่เกาะและแถบแหลม Cape York ที่ยื่นไปหาปาปัวนิวกินี เนื่องจากห่างจากปาปัวนิวกินีไม่มาก จึงมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงดีเอ็นเอใกล้ชิดคนปาปัวนิวกินี จนชาว Torres Strait เองก็ไม่นับตัวเองเป็นชาวอะบอริจิ้นออสเตรเลีย
ภาพการอพยบของผู้คนจะเห็นว่าในอดีตที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบัน มนุษย์โบราณบางส่วนอพยพจากเอเชีย ค่อยๆเข้าไปสู่ Sahuland ที่เป็นดินแดนเชื่อมต่อกันระหว่าง ปาปัวนิวกินี กับออสเตรเลีย
โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง กลุ่มคนแรก หรือ First Peoples of Australia คือ “กลุ่มชาวอะบอริจิ้น ออสเตรเลีย”เป็นหลักก่อน ที่ว่ากันว่าอพยพมาจากเอเชียตั้งแต่ 65,000 ปีก่อน ในยุคที่เป็นยุคน้ำแข็งที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบัน ที่ผืนดินของปาปัวนิวกินีเชื่อมกับทวีปออสเตรเลีย กลุ่มชาวอะบอริจิ้นอพยพแยกจากลุ่มชาวเอเชียมานานจนรหัสดีเอนเอในร่างกายค่อนข้างแตกต่างจากชาวภาคพื้นทวีปเอเชีย
ชาวอะบอริจิ้นดำรงอยู่ด้วยวิถีล่าสัตว์ และกระจายกันทั่วทวีป พวกนี้ประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆในการล่าสัตว์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นในโลกอย่าง "บูมเมอแรง" เชื่อทุกคนรู้จักกันดี อุปกรณ์ไม้ที่ใช้ขว้างและวกกลับมาหาคนปาได้ โดยหากปาไปโดนหัวจิงโจ้ก็ทำเอาเจ้าจิงโจ้สลบได้ และตกเป็นอาหารมือค่ำ โดยส่วนมากชาวอะบอริจิ้นมักอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้แถบนิวเซาท์เวลล์และวิคตอเรีย เพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่ามาก ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำและสัตว์ป่า
แต่เดี๋ยวจะคิดว่าอะบอริจิ้นยังคงขว้างบูมเมอแรงล่าจิงโจ้กันทั้งเกาะ เหมือนชาวโลกบางส่วนคิดว่าคนไทยยังขี่ช้างไปเรียน ก่อนไปดูประวัติศาสตร์ ให้เห็นภาพชาวอะบอริจิ้นปัจจุบัน ซึ่งก็อยู่ในโลกโมเดิร์นแล้ว อย่าง Aretha Brown หนึ่งในชาวเผ่า Gumbaynggirr ที่กำลังเรียกร้องสิทธิในวันชาติออสเตรเลียให้ชาวอะบอริจิ้น
กลับคนอะบอริจิ้นในอดีตกันฮะ คนกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นเผ่าต่าง ๆ พูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 250 ภาษา มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อของตนเอง โดยเป็นการเล่าเรื่องตำนานความเชื่อผ่านบทเพลงและลำนำ เรียกรวม ๆ ว่า “the Dreamtime” หรือ The dreaming เป็นเรื่องราวที่เล่าเหมือนความฝันที่ทุกพื้นที่ในดินแดนนี้ปกคลุมด้วยสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นบรรพบุรุษ นักรบในตำนาน หรือพลังเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ก็ตาม จงเคารพแต่อย่าบูชา และให้เคารพสิ่งสูงสุดที่เรียกว่า “Altjira” ซึ่งไม่ใช่พระเจ้า แต่หมายถึงความเป็นนิรันดร์ … แอบรู้สึกเองว่าคนอะบอริจิ้นก็มีความลึกซึ้งในแนวคิดความเชื่อเหมือนกันแฮะ
บรรดาภาพเขียนตามถ้ำ ตามหินก็ล้วนเกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า "The Dreaming" ตำแหน่งคนในเผ่าที่ได้รับการยกย่องสูงสุดคือ Ngangkari ทำหน้าที่เป็นเหมือนหมอรักษาโรคประจำเผ่า และยังเป็นผุ้นำทางจิตวิญญาณขับขานเรื่องราว The Dreaming และว่ากันว่าก่อนการมาถึงของชาวยุโรป มีประชากรคนอะบอริจิ้นราว 300,000 – 700,000 คนทั้งทวีป
แต่ในปัจจุบันเกือบ 200 -300 ปีมาแล้ว ในปี 2011 ประชากรของชาวอะบอริจิ้นกลับมีจำนวนราว 600,000 กว่าคนเท่านั้น หลายคนอาจสงสัย ทำไมคนพื้นเมืองแทบไม่ต่างจากเดิมเท่าไร ทั้งที่ประชากรควรจะเพิ่มขึ้นบ้าง เวลาผ่านมาตั้งเกือบ 300 ปีมาแล้ว ซึ่งเราต้องย้อนกลับไปในช่วงที่ชาวยุโรปค้นพบทวีปออสเตรเลีย
ว่ากันว่าตอนเรือกัปตันคุกมาขึ้นฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียตอนปี 1770 ช่วงที่แกสั่งเรือเล็กให้ขึ้นฝั่ง มีชาวอะบอริจิ้นสองคนขว้างปาหอกและหินใส่เรือชาวผิวขาว กัปตันแกสั่งยิงปืนโต้กลับไป ชาวอะบอริจิ้นสองคนก็หนีเข้าป่าไป เรียกว่าเป็นการมาถึงดินแดนนี้อย่างไม่ค่อยดีเท่าไร ส่วนตัวผมว่า แหง สิ ใครก็ไม่รู้มาในเรือไม้ลำยักษ์ มาบุกพื้นที่ตนเอง เป็นใครก็สู้ยิบตา
มีสงครามในความขัดแย้งระหว่างชาวพื้นเมืองกับชาวอาณานิคม ที่มีเป็นระยะๆ ตลอดการตั้งอาณานิคม ตั้งแต่ปี 1788 – 1934 กันเลยทีเดียว เรียกว่าตั้งแต่ปีแรก 1788 ที่ก่อตั้งเมืองซิดนีย์ก็ฟัดกันละ และการปะทะกันในช่วงแรกของการตั้งอาณานิคม ที่ปืนไฟของชาวตะวันตกยังต้องอาศัยเวลาบรรจุกระสุน พวกชาวพื้นเมืองจะอาศัยจำนวนที่มากกว่าล่อให้ชาวอาณานิคมยิงชุดแรกแล้วพุ่งชาร์จด้วยหอกใส่ แต่ถึงจะฆ่าชาวอาณานิคมได้ ชาวพื้นเมืองเองก็สูญเสียไม่น้อยเช่นกัน แต่หลังช่วงคศ.18-19 เป็นต้นมาที่ปืนตะวันตกพัฒนาขึ้นมาก ไม่ต้องกรอกดินปืน เสียเวลาใส่ลูกเหล็กอีกต่อไป เพิ่มด้วยม้าที่นำมาจากยุโรป ผมคิดว่า ณ.จุดนี้แทบไม่เรียกว่าสงครามแล้ว เรียกว่า mass killing ดีกว่า นักวิชาการบางคนบอกว่ามีประชากรชาวพื้นเมืองที่ล้มตายตลอดสงครามความขัดแย้งมากกว่า 65,000 คน บางคนก็ตีว่าหลักแสนคน ส่วนชาวอาณานิคมผิวขาวล้มตายจากการปะทะน้อยกว่ามาก ตลอด100ปีรวมกันราว 2,000 – 2,500 คน
แต่สิ่งสำคัญจริงๆ ที่ทำให้ชาวพื้นเมืองล้มตายจดประชากรเหลือน้อยมาก คือสิ่งที่ชาวผิวขาวนำมาด้วยคือโรคระบาด อาทิ โรคหัด, ไข้ทรพิษ และ วัณโรค เป็นต้น ด้วยชาวพื้นเมืองไม่มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ ตัวอย่างในปี 1789 ที่โรคไข้ทรพิษ ฆ่าประชากรเผ่า Darug ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ไปกว่า 90% และประมาณการโดยรวมๆชาวพื้นเมืองในรัฐต่างๆ น่าจะลดไปมากกว่า 50 % รวมถึงการที่คนผิวขาวขับไล่ชาวพื้นเมืองออกจากพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์เพื่อ จะได้ใช้พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ด้วยสภาวะความอดอยากจากการถูกขับไล่พื้นที่ก็ยิ่งทำให้ประชากรคนพื้นเมืองลดจำนวนลงไปอีกมาก บางส่วนก็ปรับตัวมาทำงานในไร่คนขาว
ภาพชาวอะบอริจิ้นช่วงปีคศ.ที่ 19 ที่ปรับตัวมาทำงานในไร่และพท.ปศุสัตว์ของคนขาว
ในปี 1900 ประชากรชาวอะบอริจิ้นเหลือเพียง 90,000 คน ทั้งทวีป ในขณะที่คนผิวขาวตอนนั้นแค่เมลเบิร์นเมืองเดียวก็มีมากกว่า 500,000 คนแล้ว รัฐบาลและหน่วยงามต่างๆ อย่างเช่น โบสถ์ ก็มีการเข้าไปให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูกและจัดการศึกษาให้ชาวอะบอริจิ้นขึ้น โดยการพาเด็กชาวอะบอริจิ้นไปยังสถานเลี้ยงดูและพาเข้าโรงเรียน ปัจจุบันนักวิชาการบางสายกล่าวว่าเป็นการทำลายล้างวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง รวมถึงการพรากแม่พรากลูกจากกัน บางคนเรียกว่า Lost generation กันเลย เพราะเป็นรุ่นที่หลงลืมรากเหง้าของความเป็นอะบอริจิ้นแล้ว
อย่างไรก็ดีหลัง 1900 เป็นต้นมา ชาวพื้นเมืองก็เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง โดยทำงานในไร่ปศุสัตว์ต่างๆ แต่ยังได้ค่าจ้างที่น้อยมาก จนปี 1934 เริ่มมีการพูดถึงสิทธิของคนพื้นเมืองอย่างชาวอะบอริจิ้นขึ้นบ้าง ชาวพื้นเมืองต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองมาตลอดช่วง 1960 – 1970 โดยนักสิทธิมนุษยชนชาวผิวขาวหลายคนก็มีส่วนร่วมในการเรียกร้องสิทธิให้ชาวพื้นเมือง จนการลงมติในปี 1967 ในที่สุดสิทธิในการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองของออส ก็นับรวมชาวอะบอริจิ้นเป็นส่วนหนึ่งซักที โดยนาย Neville Bonner เป็นคนเชื้อสายอะบอริจิ้นคนแรกที่ได้รับเลือกและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาของออสเตรเลียในปี 1971
ผมว่าปัจจุบันทางออสเตรเลียค่อนข้างให้เกียรติชาวพื้นเมืองมากขึ้น โดยมีการรับรองพื้นที่มากกว่า 1.3 ล้านตร.กม. ให้เป็นพื้นที่ในการครองครองของชาวเผ่าอะบอริจิ้น คล้ายกับการประกาศเขตของชาวอินเดียแดงในอเมริกา และมีชาวพื้นเมืองได้ปรากฏอยู่บน ธนบัตร 50 เหรียญออสเตรเลีย เป็นรูปของ David Unaipon นักเขียนคนแรกของชาวพื้นเมือง ที่เขียนตำนานพื้นเมืองของชาวอะบอริจิ้น ให้ทางมหาวิทยาลัย Adelaide ในปี 1920 รวมถึงการอนุญาตให้ใช้ธง Australian Aboriginal Flag ซึ่งเป็นธงของชาวอะบอริจิ้นในปี 1995 เราจะเห็นธงดำแดง ที่มีวงกลมสีเหลืองตรงกลาง ตั้งคู่กับธงชาติออสเตรเลียประดับอาคารราชการของที่ออสเสมอ นับว่าเป็นการให้เกียรติอย่างมาก
รวมถึงตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จะมีการบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของประเทศและชาวพื้นเมือง นอกจากนี้รัฐยังมีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาท้องถิ่นและอนุรักษ์ภาษาของชาวพื้นเมืองไว้ ตัวอย่างเช่น ภาษา Ngarrindjeri ที่คนพูดคนสุดท้ายเสียชีวิตไปในปี 1960 มีการศึกษาจากการเขียนและบันทึก ทำให้ปัจจุบันในปี 2009 ภาษานี้ได้รับการฟื้นฟู ผมว่าในอดีตคนออสเองทั้งคนขาวและพื้นเมืองก็เผชิญอะไรมามาก จึงเรียนรู้อดีตและจับมือก้าวไปข้างหน้าอย่างเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น Cathy Freeman ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกในกีฬาวิ่ง 400 ม. ปี 2000 เธอถือธงของทั้งสองกลุ่มชนฉลองชัยชนะ
อ้างอิง :
https://www.abs.gov.au/ausstats/abs@.nsf/Products/02D95BFBCDD976FBCA257CC900143A5B?opendocument
https://en.wikipedia.org/wiki/Indigenous_Australians
และขอแอบแปะเพจเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียเอาไว้ครับ เผื่อใครสนใจติดตามได้ฮะ
https://www.facebook.com/101002048182891