พระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีของฟาโรห์แห่งอียิปต์
นี่อาจเป็นใบหน้า และสีผิวที่แท้จริงของพระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีของฟาโรห์แห่งอียิปต์
ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of Bristol ได้เผยภาพการประติมากรรม ของพระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์
ทีมนักวิจัยได้นำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 3 มิติ เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ เผยให้เห็นลักษณะสีผิวของพระนางเนเฟอร์ติติ อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันอยู่
Neferneferuaten Nefertiti เป็นชื่อเดิมของพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งมีความหมายว่า โฉมงามผู้มาสู่ พระนางเนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน
ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนี ในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปปั้นที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุด ในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์
รูปปั้นนี้สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา
เนเฟอร์ติติ (1370 - 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเทน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นตอนๆเวลาสั้น ๆ หลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของคุณสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด "เนเฟอร์"
เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกศึกษาและทำการค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อโด่งดังเพราะว่าเป็นตัวอย่างของวามรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า
พระนางถูกเรียกขานอย่างมากหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกslotbzที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'คนที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'
ที่มา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1768540900122314&id=1729773490665722
Cr.http://www.soccersuck.com/boards/topic/1609666 / By shogunjump
Cr.https://sites.google.com/site/niwyoulike1911412/
โฉมหน้าที่แท้จริงชาวอียิปต์โบราณ
นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบและได้สร้างใบหน้าที่แท้จริงของชาวอียิปต์โบราณขึ้นมา โดยการวิเคราะห์อย่างละเอียด นักวิจัยสามารถนำตัวตนของเธอคืนมาได้และยังจะเป็นประโยน์แก่นักโบราณคดีอีกด้วย
ขั้นตอนแรกคือการใช้ CT scan ในการตรวจดูกะโหลกอย่างละเอียด ซึ่งจากการวิเคราะห์ กะโหลกของเธอยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมริตามุนนั้นมีสภาวะฝีปริทันต์และมีหัวกะโหลกที่ค่อนข้างบาง ซึ่งบ่งบอกว่าเธอป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาเยอะเกินไป จนทำให้กระดูกมีความบาง และเนื่องจากเธอมาจากอียิปต์ นักวิทยาศาสตร์จึงวิเคราะห์ว่าอาการของโรคน่าจะมาจากเชื้อมาลาเรีย หรือหนอนตัวแบน ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ได้จากมัมมี่ของเธอจะทำให้วิเคราะห์ได้ถึงอาหารการกินและภูมิภาคที่เธออยู่อาศัย
เมื่อได้แบบจาก CT scan จะใช้เวลาถึง 140 ชั่วโมงในการพิมพ์รูปแบบสามมิติของหัวกะโหลกเธอ โดยรายละเอียดปลีกย่อยเช่นทรงจมูกของเธอ จะถูกวัดจากหลอดลม และทรงหน้าจะถูกคาดคะเนจากรูปหน้าชาวอียิปต์ในยุคปัจจุบัน โดยสีผิวของเมริตามุนนั้นคาดการณ์ว่าเป็นผิวสีน้ำผึ้งตามแบบฉบับคนอียิปต์ทั่วไป และผมของเธอก็ถูกดีไซน์ตามแบบ เลดี้ไล มัมมี่ผู้หญิงที่มีอายุราว 1550 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งยังคงเส้นผมและทรงผมไว้อย่างสมบูรณ์
ที่มา
Cr.http://tv.bectero.com/world-wide-weekend/33286/นักวิทยาศาสตร์เผยโฉมหน
โฉมหน้า 'ฟาโรห์ตุตันคาเมน'
ฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ผู้ปกครองอียิปต์ในยุคก่อน 1,323-1,332 ปี ก่อนคริสตกาล นักโบราณคดีเชื่อว่าองค์ฟาโรห์ทนทุกข์จากความพิการที่ตกทอดกันมา เช่นเดียวกับโรคมาลาเลีย ที่อาจเป็นสาเหตุของการตายด้วยวัยเพียง 19 ปีเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยโฉมหน้า ฟาโรห์หนุ่ม 'ตุตันคาเมน' (Tutankhamun) หนึ่งในนักปกครองผู้ลึกลับของอียิปต์ ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พ.ย. โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ หลังจากที่นายโฮร์เวิร์ด คาร์เตอร์ นักสำรวจค้นพบหลุมศพของพระองค์ เป็นเวลานานถึง 85 ปีมา
แม้พระองค์จะได้เป็นฟาโรห์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ แต่ทรัพย์สมบัติและพระศพของพระองค์ที่ถูกค้นพบ สามารถดึงดูดผู้คนจำนวนมากเข้าสู่สุสานของฟาโรห์หนุ่ม โดยมีการคาดเดาว่าพระองค์เสด็จสวรรคตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งเป็นเวลากว่า 3,300 ปีมาแล้ว แต่พระพักตร์ของพระองค์ยังคงเหมือนเดิม
เนื่องจากความชาญฉลาดในกระบวนการทำมัมมี่และการเก็บรักษา ให้ปราศจากความร้อนและความชื้น ซึ่งหลายพันคนอาจเคยเห็นหีบพระศพของพระองค์มาแล้ว ซึ่งมีข้อความแกะสลักคำสาปแช่งผู้รุกรานสุสาน แต่มีเพียง 50 คนเท่านั้นในโลกนี้ที่เคยเห็นพระพักตร์ของพระองค์ นายซาฮี ฮาวาส (Zahi Hawass)
หัวหน้านักโบราณคดีชาวอียิปต์ กล่าวว่า พระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายออกมาจากพระหีบทองคำเดิม ซึ่งใช้เก็บรักษาพระศพตั้งแต่แรก ไปเก็บการรักษาไว้ในหีบกระจก บริเวณห้องโถงภายในพีระมิด อยู่ภายใต้การรักษา ให้ปราศจากความร้อนและความชื้นที่อาจเข้ามาจากภายนอก
ทั้งนี้ ฟาโรห์ ตุตันคาเมน เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ พระองค์ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1325 - 1334 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จสวรรคต รวมเวลา 9 ปีแห่งการครองราชย์ ต่อจากนั้น ประมาณ 200 ปีต่อมา มีการสร้างสุสานทับสุสานของพระองค์ ส่งผลให้สุสานของพระองค์เป็นสุสานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด
ที่มา
brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
Cr.https://www.sanook.com/campus/910932/
Cr.https://petmaya.com/real-historical-people
นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus)
เกิด 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1473 เมืองตูรัน โปแลนด์ เสียชีวิต 24 พฤษภาคม ค.ศ.1543 เมืองฟร้อนบูร์ก โปแลนด์ เป็นนักดาราศาสตร์ยุคหลังอริสโตเติล ผู้โด่งดังกับทฤษฎี “โลกเป็นเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล”
โคเปอร์นิคัส เป็นชาวโปแลนด์ เกิดมาในฐานะร่ำรวยแต่กำพร้าบิดาตั้งแต่ยังเด็ก เขาอยู่ในการปกครองของลุง (พระนักบวช) ซึ่งมีบทบาทต่อเขาอย่างมาก และมุ่งหวังให้เขาเป็นแพทย์ เขาจึงได้มาศึกษาด้านเตรียมการแพทย์ เช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ จนเบนเข็มให้เขาหันมาสนใจด้านดาราศาสตร์มากกว่า
ท้ายที่สุดเขาก็หันไปเรียนด้านกฎหมายแทน จนถึงระดับ ปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย เฟอร์รารา อิตาลี แต่ลุงเขากลับไม่ชอบใจ เขาจึงกลับมาศึกษาต่อด้านแพทย์อีกทีที่ มหาวิทาลัยปาดัว จนสำเร็จการศึกษา ทำให้เขาเชี่ยวชาญหลายด้าน ทั้งกฎหมาย แพทย์ และปรัชญา ศาสนา ละติน และดาราศาสตร์
หลังจากลุงเขาเสียชีวิต เขาก็หันมาสนใจด้านดาราศาสตร์อย่างจริงจัง ทำการศึกษาค้นคว้า โดยยึดหลักทฤษฎีของนักดาราศาสตร์ท่านอื่นศึกษาไว้มาเป็นแนวทางเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวของอาทิตย์ จนทำให้เขาได้ค้นพบทฤษฎีใหม่ แต่ขัดแย้งกับคนอื่นๆและหลักศาสนาจนเสียชีวิต ผลงานหนังสือและการค้นพบของเขาจึงได้รับการเผยแพร่ออกสู่สายตาสาธารณะชนชื่อว่า “ การปฏิวัติทางโคจรแห่งดาวบนฟากฟ้า” (De Revolutionibus Orbrium Codestium) กับทฤษฎีที่พบ 3 ข้อคือ
- ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โดยโลกและดาวเคราะห์อื่นๆต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน หรือ 1 ปี และทำให้เกิดฤดูกาลขึ้น
- โลกมีสัณฐานกลมไม่ใช่แบนอย่างที่เข้าใจ โดยโลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 1 วัน หรือ 24 ชม. และทำให้เกิดกลางวัน และ กลางคืน
- ดาวเคราะห์ต่างๆที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นไปในลักษณะเป็นวงกลม แต่นักดาราศาสตร์รุ่นหลังบอกว่าเป็นวงรี
โคเปอร์นิคัส นับว่าเป็นนักดาราศาสตร์ที่ตั้งทฤษฎีได้ถูกต้องที่สุด และเป็นแนวทางกับการปฏิวัติความเชื่อแบบเก่าต่อในการศึกษาในปัจุบันนี้ เขาอุทิศทำงานอย่างหนัก ทั้งดาราศาสตร์ การแพทย์ และด้านเศรษฐกิจในฐานะบุคคลหนึ่งในคณะรัฐบาลสมัยนั้น ในการยึดนโยบายเงินตราที่มีหลักการ สามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืดในบ้านเมืองประเทศโปแลนด์ได้
ผลงานการค้นพบ ของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) คือ การตั้งทฤษฎีโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Copernicus Theory) โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่า ดวงอาทิตย์ศูนย์กลางสุริยะจักรวาล โลก ดาวเคราะห์อื่นๆต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ และโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม
Cr. https://guru.sanook.com/5120/
พระนางคลีโอพัตรากับรูปโฉมที่แท้จริง
พระนางคลีโอพัตรา พระราชินีองค์สุดท้ายของอียิปต์ ผู้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผู้เลอโฉม
หลักจากมีการค้นพบเหรียญโบราณอายุ 2,000 ปี ที่มีรูปของคลีโอพัตราอยู่ด้านหนึ่งของเหรียญ ตามรูปนั้นแสดงว่าพระนางเป็นสตรีที่มีคางแหลม จมูกแหลม และปากบาง ซึ่งเป็นพระพักต์ที่ดูธรรมดาเหมือนสาวกรีกทั่วไป มิได้เลอโฉมอย่างที่ผู้คนเคยเข้าใจ
แต่กระนั้นก็มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันสองคนผู้ได้เคยเห็นคลีโอพัตราตัวจริง บันทึกไว้ว่า นางมีลักษณะเหมือนสตรีที่ไร้เดียงสา มีอารมณ์สนุกสนาน วางตัวได้เหมาะสมกับตำแหน่งอันสูงศักดิ์ มีรูปกายที่งดงาม สมส่วน และมีน้ำเสียงที่อ่อนนุ่ม
พระนางคลีโอพัตราที่ 7 เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์วงศ์ปโทเลมี ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อมาจากทหารเอกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดังนั้นพระนางจึงไม่ใช่ชาวอียิปต์โดยแท้หากแต่เป็นชาวกรีก-มาเซโดเนีย
นอกจากพระนางคลีโอพัตราจะมีความงามและทรงเสน่ห์อย่างมากแล้วพระนางยังมีความฉลาดหลักแหลม ทรงรักบ้านเมืองและทำทุกวิถีทางเพื่อให้บ้านเมืองของตนเองอยู่รอด เรื่องราวของพระนางคลีโอพัตรราชินีองค์สุดท้ายของอียิปต์จึงจบสิ้นลงไปพร้อมๆกับการปิดฉากอาณาจักรอียิปต์โบราณ
อ้างอิง
- เกร์รี เบลีย์ และคาเรน ฟอสเตอร์. เหรียญที่ระลึกคลีโอพัตรา. แปลโดย มยุรี วีระประเสริฐ. กรุงเทพมหานคร : แฮปปี้คิดส์, 2551
- มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม. กรุงเทพมหานคร : ฐานบุ๊คส์. 2552
Cr.ภาพ https://acidcow.com/
Cr.http://worldcivil14.blogspot.com/2015/01/cleopatra.html / โดย กานต์พิมล กรไกร
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
ใบหน้าจริงของบุคคลในประวัติศาสตร์ โดยการวิเคราะห์จากหลักฐานที่พบ
ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of Bristol ได้เผยภาพการประติมากรรม ของพระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์
ทีมนักวิจัยได้นำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 3 มิติ เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ เผยให้เห็นลักษณะสีผิวของพระนางเนเฟอร์ติติ อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันอยู่
Neferneferuaten Nefertiti เป็นชื่อเดิมของพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งมีความหมายว่า โฉมงามผู้มาสู่ พระนางเนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน
ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนี ในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปปั้นที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุด ในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์
เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกศึกษาและทำการค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อโด่งดังเพราะว่าเป็นตัวอย่างของวามรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า
พระนางถูกเรียกขานอย่างมากหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกslotbzที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'คนที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'
ที่มา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1768540900122314&id=1729773490665722
Cr.http://www.soccersuck.com/boards/topic/1609666 / By shogunjump
Cr.https://sites.google.com/site/niwyoulike1911412/
ขั้นตอนแรกคือการใช้ CT scan ในการตรวจดูกะโหลกอย่างละเอียด ซึ่งจากการวิเคราะห์ กะโหลกของเธอยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมริตามุนนั้นมีสภาวะฝีปริทันต์และมีหัวกะโหลกที่ค่อนข้างบาง ซึ่งบ่งบอกว่าเธอป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาเยอะเกินไป จนทำให้กระดูกมีความบาง และเนื่องจากเธอมาจากอียิปต์ นักวิทยาศาสตร์จึงวิเคราะห์ว่าอาการของโรคน่าจะมาจากเชื้อมาลาเรีย หรือหนอนตัวแบน ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ได้จากมัมมี่ของเธอจะทำให้วิเคราะห์ได้ถึงอาหารการกินและภูมิภาคที่เธออยู่อาศัย
เมื่อได้แบบจาก CT scan จะใช้เวลาถึง 140 ชั่วโมงในการพิมพ์รูปแบบสามมิติของหัวกะโหลกเธอ โดยรายละเอียดปลีกย่อยเช่นทรงจมูกของเธอ จะถูกวัดจากหลอดลม และทรงหน้าจะถูกคาดคะเนจากรูปหน้าชาวอียิปต์ในยุคปัจจุบัน โดยสีผิวของเมริตามุนนั้นคาดการณ์ว่าเป็นผิวสีน้ำผึ้งตามแบบฉบับคนอียิปต์ทั่วไป และผมของเธอก็ถูกดีไซน์ตามแบบ เลดี้ไล มัมมี่ผู้หญิงที่มีอายุราว 1550 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งยังคงเส้นผมและทรงผมไว้อย่างสมบูรณ์
ที่มา
Cr.http://tv.bectero.com/world-wide-weekend/33286/นักวิทยาศาสตร์เผยโฉมหน
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยโฉมหน้า ฟาโรห์หนุ่ม 'ตุตันคาเมน' (Tutankhamun) หนึ่งในนักปกครองผู้ลึกลับของอียิปต์ ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พ.ย. โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ หลังจากที่นายโฮร์เวิร์ด คาร์เตอร์ นักสำรวจค้นพบหลุมศพของพระองค์ เป็นเวลานานถึง 85 ปีมา
แม้พระองค์จะได้เป็นฟาโรห์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ แต่ทรัพย์สมบัติและพระศพของพระองค์ที่ถูกค้นพบ สามารถดึงดูดผู้คนจำนวนมากเข้าสู่สุสานของฟาโรห์หนุ่ม โดยมีการคาดเดาว่าพระองค์เสด็จสวรรคตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งเป็นเวลากว่า 3,300 ปีมาแล้ว แต่พระพักตร์ของพระองค์ยังคงเหมือนเดิม
เนื่องจากความชาญฉลาดในกระบวนการทำมัมมี่และการเก็บรักษา ให้ปราศจากความร้อนและความชื้น ซึ่งหลายพันคนอาจเคยเห็นหีบพระศพของพระองค์มาแล้ว ซึ่งมีข้อความแกะสลักคำสาปแช่งผู้รุกรานสุสาน แต่มีเพียง 50 คนเท่านั้นในโลกนี้ที่เคยเห็นพระพักตร์ของพระองค์ นายซาฮี ฮาวาส (Zahi Hawass)
หัวหน้านักโบราณคดีชาวอียิปต์ กล่าวว่า พระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายออกมาจากพระหีบทองคำเดิม ซึ่งใช้เก็บรักษาพระศพตั้งแต่แรก ไปเก็บการรักษาไว้ในหีบกระจก บริเวณห้องโถงภายในพีระมิด อยู่ภายใต้การรักษา ให้ปราศจากความร้อนและความชื้นที่อาจเข้ามาจากภายนอก
ทั้งนี้ ฟาโรห์ ตุตันคาเมน เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ พระองค์ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1325 - 1334 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จสวรรคต รวมเวลา 9 ปีแห่งการครองราชย์ ต่อจากนั้น ประมาณ 200 ปีต่อมา มีการสร้างสุสานทับสุสานของพระองค์ ส่งผลให้สุสานของพระองค์เป็นสุสานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด
ที่มา
brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
Cr.https://www.sanook.com/campus/910932/
Cr.https://petmaya.com/real-historical-people
โคเปอร์นิคัส เป็นชาวโปแลนด์ เกิดมาในฐานะร่ำรวยแต่กำพร้าบิดาตั้งแต่ยังเด็ก เขาอยู่ในการปกครองของลุง (พระนักบวช) ซึ่งมีบทบาทต่อเขาอย่างมาก และมุ่งหวังให้เขาเป็นแพทย์ เขาจึงได้มาศึกษาด้านเตรียมการแพทย์ เช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ จนเบนเข็มให้เขาหันมาสนใจด้านดาราศาสตร์มากกว่า
ท้ายที่สุดเขาก็หันไปเรียนด้านกฎหมายแทน จนถึงระดับ ปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย เฟอร์รารา อิตาลี แต่ลุงเขากลับไม่ชอบใจ เขาจึงกลับมาศึกษาต่อด้านแพทย์อีกทีที่ มหาวิทาลัยปาดัว จนสำเร็จการศึกษา ทำให้เขาเชี่ยวชาญหลายด้าน ทั้งกฎหมาย แพทย์ และปรัชญา ศาสนา ละติน และดาราศาสตร์
หลังจากลุงเขาเสียชีวิต เขาก็หันมาสนใจด้านดาราศาสตร์อย่างจริงจัง ทำการศึกษาค้นคว้า โดยยึดหลักทฤษฎีของนักดาราศาสตร์ท่านอื่นศึกษาไว้มาเป็นแนวทางเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวของอาทิตย์ จนทำให้เขาได้ค้นพบทฤษฎีใหม่ แต่ขัดแย้งกับคนอื่นๆและหลักศาสนาจนเสียชีวิต ผลงานหนังสือและการค้นพบของเขาจึงได้รับการเผยแพร่ออกสู่สายตาสาธารณะชนชื่อว่า “ การปฏิวัติทางโคจรแห่งดาวบนฟากฟ้า” (De Revolutionibus Orbrium Codestium) กับทฤษฎีที่พบ 3 ข้อคือ
- ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โดยโลกและดาวเคราะห์อื่นๆต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน หรือ 1 ปี และทำให้เกิดฤดูกาลขึ้น
- โลกมีสัณฐานกลมไม่ใช่แบนอย่างที่เข้าใจ โดยโลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 1 วัน หรือ 24 ชม. และทำให้เกิดกลางวัน และ กลางคืน
- ดาวเคราะห์ต่างๆที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นไปในลักษณะเป็นวงกลม แต่นักดาราศาสตร์รุ่นหลังบอกว่าเป็นวงรี
โคเปอร์นิคัส นับว่าเป็นนักดาราศาสตร์ที่ตั้งทฤษฎีได้ถูกต้องที่สุด และเป็นแนวทางกับการปฏิวัติความเชื่อแบบเก่าต่อในการศึกษาในปัจุบันนี้ เขาอุทิศทำงานอย่างหนัก ทั้งดาราศาสตร์ การแพทย์ และด้านเศรษฐกิจในฐานะบุคคลหนึ่งในคณะรัฐบาลสมัยนั้น ในการยึดนโยบายเงินตราที่มีหลักการ สามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืดในบ้านเมืองประเทศโปแลนด์ได้
ผลงานการค้นพบ ของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) คือ การตั้งทฤษฎีโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Copernicus Theory) โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่า ดวงอาทิตย์ศูนย์กลางสุริยะจักรวาล โลก ดาวเคราะห์อื่นๆต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ และโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม
Cr. https://guru.sanook.com/5120/
แต่กระนั้นก็มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันสองคนผู้ได้เคยเห็นคลีโอพัตราตัวจริง บันทึกไว้ว่า นางมีลักษณะเหมือนสตรีที่ไร้เดียงสา มีอารมณ์สนุกสนาน วางตัวได้เหมาะสมกับตำแหน่งอันสูงศักดิ์ มีรูปกายที่งดงาม สมส่วน และมีน้ำเสียงที่อ่อนนุ่ม
พระนางคลีโอพัตราที่ 7 เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์วงศ์ปโทเลมี ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อมาจากทหารเอกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดังนั้นพระนางจึงไม่ใช่ชาวอียิปต์โดยแท้หากแต่เป็นชาวกรีก-มาเซโดเนีย
นอกจากพระนางคลีโอพัตราจะมีความงามและทรงเสน่ห์อย่างมากแล้วพระนางยังมีความฉลาดหลักแหลม ทรงรักบ้านเมืองและทำทุกวิถีทางเพื่อให้บ้านเมืองของตนเองอยู่รอด เรื่องราวของพระนางคลีโอพัตรราชินีองค์สุดท้ายของอียิปต์จึงจบสิ้นลงไปพร้อมๆกับการปิดฉากอาณาจักรอียิปต์โบราณ
อ้างอิง
- เกร์รี เบลีย์ และคาเรน ฟอสเตอร์. เหรียญที่ระลึกคลีโอพัตรา. แปลโดย มยุรี วีระประเสริฐ. กรุงเทพมหานคร : แฮปปี้คิดส์, 2551
- มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม. กรุงเทพมหานคร : ฐานบุ๊คส์. 2552
Cr.ภาพ https://acidcow.com/
Cr.http://worldcivil14.blogspot.com/2015/01/cleopatra.html / โดย กานต์พิมล กรไกร
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา