“อนุทิน” เซ็นประกาศ สธ.กำหนด 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ทุกคนที่เดินทางมาต้องกักตัว 14 วัน สกัดโควิด-19

อัพเดท: เวลา 18.28น.  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า ประกาศดังกล่าว ซึ่งลงวันที่ 3 มีนาคม 2563 มีการแก้ไขข้อมูลใหม่ จึงต้องรอประกาศใหม่อีกครั้ง ยังไม่มีผลใดๆกับที่ได้ลงนามไป
อ้างอิง: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/120617
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

“อนุทิน” เซ็นประกาศ สธ.กำหนด 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ทุกคนที่เดินทางกลับมาต้องกักตัว 14 วัน โดยไม่มีข้อยกเว้น ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ จีน (รวมฮ่องกง มาเก๊า) ไต้หวัน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ อิตาลี และอิหร่าน บังคับใช้วันถัดจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

วันนี้ (3 มี.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้โพสต์รูปภาพผ่านเฟซบุ๊ก "อนุทิน ชาญวีรกูล" เป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติตต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 ซึ่งนายอนุทินได้ลงนามในวันที่ 3 มี.ค. โดยกำหนดให้ 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ จีน (รวมฮ่องกง มาเก๊า) ไต้หวัน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ อิตาลี และอิหร่าน ซึ่งนายอนุทินโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กอีกว่า ทุกคนที่เดินทางมาจาก 9 ประเทศ ซึ่งเป็นเขตติดโรคต้องกักตัว 14 วัน โดยไม่มีข้อยกเว้น

ทั้งนี้ ปรกาศดังกล่าวระบุว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่าประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดต่อของโรคดังกล่าวที่มากับผู้เดินทางจากนอกราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร และเพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการจึงเห็นสมควรประกาศกำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งหากสภาวการณ์ของโรคดังกล่าวสงบลงหรือมีเหตุอันสมควร จะได้มีการประกาศยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตรายต่อไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระหรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรดังต่อไปนี้ เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
1. ญี่ปุ่น (Japan)
2. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany)
3. สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea)
4. สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong)
5. ไต้หวัน (Taiwan)
6. สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic)
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republtic of Singapore)
8. สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic)
9. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)
ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประกาศดังกล่าวเป็นไปตามที่ก่อนหน้านี้มีการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย จึงสามารถดำเนินการตามาตรการในพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งมาตรา 40(3) กำหนดว่า เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มีอำนาจดำเนินการเอง หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น ดำเนินการให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางการแพทย์ และอาจให้แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่และระยะเวลาที่กำหนด ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองสำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ภายหลังรมว.สาธารณสุข ลงนามในประกาศเรื่องท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติตต่ออันตราย ก็จะมีผลให้สามารถใช้ในการควบคุมป้องกันโรค ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงรวม 11 พื้นที่ 9 ประเทศ 2 เขตปกครองพิเศษ ทั้งคนไทยและต่างชาติ ต้องปฎิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น กรณีเดินทางกลับมาถึงไทย แม้ไม่มีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูก หรือโรคระบบทางเดินหายใจ ก็ต้องเฝ้าระวังอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน หากไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พศ.2558 และด้วยประกาศฉบับดังกล่าว สามารถนำไปอ้างเหตุ หรือต่อรองกับสายการบิน กรณีต้องการยกเลิกการเดินทางได้

อ้างอิง: https://mgronline.com/qol/detail/9630000021535


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่