
ตอน 8
ผมออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าของปีนัง กับช่วงเวลาที่ท้องฟ้ายังคงมืดมิด ถ้าหากอยู่เมืองไทยรับรองเลยว่าเป็นเรื่องยากที่สุดในโลกสำหรับการตื่นเช้าขนาดนี้ หลังจากที่พนักงานโรมแรมในร่างไร้วิญญาณเดินสลึมสลือตื่นมาเปิดประตูให้ แล้วก็ปิดประตูล็อคกลอนเอาไว้ตามเดิม นี่มันโรงแรมอะไรว่ะเนี่ย จะออกไปข้างนอกแต่ละที ก็ต้องปลุกพนักงานมาเปิดให้ มิหนำซ้ำการจะกลับเข้าไปข้างในอีกก็เห็นจะเป็นเรื่องยาก คงต้องใช้ความพยายามปลุกพนักงานที่หลับอยู่ในห้องพักด้านหลัง ก็ไม่รู้จะได้ยินหรือเปล่า ฉะนั้นคราวหน้าอย่าตื่นเช้าแบบนี้อีก ตื่นสายๆ เหมือนเดิมนั่นล่ะดีแล้ว
สำหรับโปรแกรมท่องเที่ยวในวันนี้ ตั้งใจว่าจะออกมาเดินดูวิถีชีวิตยามเช้าเมืองจอร์จทาวน์ เหมือนอย่างที่นักท่องเที่ยวหลายคนบอกเอาไว้ว่า หากอยากเห็นวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองที่เราเดินทางไป ให้ตื่นแต่เช้าแล้วไปเดินในตลาด ผมก็เชื่อแบบนั้น
เอ่อ! แล้วไหนล่ะตลาด ตลาดอยู่ตรงไหน ผมลืมหาข้อมูลของตลาดไปเสียสนิทเลย
มองไปทางไหนก็มีแต่ตึกรามบ้านช่อง ไม่มีพื้นที่ส่วนไหนจะเป็นตลาดได้เลย ยิ่งลองย้อนกลับไปนึกถึงเมื่อวานเดินจนแทบจะรอบเมืองแล้ว ไม่เห็นตลาดสักที่เลย นั่นเป็นแค่ความผิดพลาดอย่างแรก เรื่องต่อมาก็คงจะเป็นเรื่องท้องฟ้าที่มืดมิดนี่ล่ะ ก็เวลาที่เกาะปีนังเร็วกว่าเมืองไทยหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น เวลาหกโมงเช้าของปีนังก็เท่ากับเวลาตีห้าของเมืองไทย
ลืมเรื่องเวลาไปได้ยังไงเนี่ย!
มิน่าล่ะท้องถนนถึงมีแต่ความว่างเปล่า มีเพียงฝรั่งผมทองนอนสิ้นสภาพด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์อยู่ข้างถนนนายหนึ่ง เดินไปทางไหนก็เงียบเหงา นานๆ จะเห็นรถเแล่นผ่านสักคัน ไม่เพียงท้องฟ้าเท่านั้นที่ยังมืด ตอนนี้เมฆฝนดำทมึนกับลมแรงลอยต่ำเป็นสัญญาณเตือน จะทำยังไงดีล่ะโรงแรมก็เข้าไม่ได้ ฝนก็จะตกอีก หันซ้ายแลขวาไม่มีที่ไหนจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว ผมวิ่งเข้าไปหลบข้างในทันที
เป็นร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงนั่นเอง
การเช่าเกาะปีนังในตอนแรกเป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีเพียงชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะ ต่อมามีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายทางเชื้อชาติ นอกจากชาวมลายูท้องถิ่นและชาวอังกฤษเจ้าของสัญญาเช่าแล้ว ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ก็เดินทางเข้ามาตั้งรกรากทำธุรกิจการค้ามากขึ้น จนกลายเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่บนเกาะปีนังมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดีย เมียนมา และผมมาทราบภายหลังว่ายังมีคนไทยจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่เป็นชุมชนบนเกาะแห่งนี้
เมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของเมืองท่า การอพยพเข้าสู่เกาะปีนังก็มีมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นย่านไชน่าทาวน์ (China Town) หรือย่านลิเติลอินเดีย (Little India) จนชุมชนชาวต่างชาติดังกล่าวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายบนเกาะปีนังมาจนถึงปัจจุบันนี้

ฟ้าหลังฝนยามสายบรรยากาศสดชื่น นักท่องเที่ยวออกมาปั่นจักรยานบนถนนท่ามกลางโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์กันอย่างคึกคัก ผมเริ่มต้นเที่ยวชม Church of the Assumption โบสถ์เก่าที่มีความสวยงามไม่ไกลจากโรงแรมมากนักเป็นแห่งแรก เดินต่อมาก็เจอกับ St.George’s Anglican Church โบสถ์อีกแห่งที่สวยงามไม่แพ้กัน ตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1816 ถือว่าเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ถัดมาไม่ไกลเพียงแค่เดินลัดเลาะไปตามถนนก็เจอกับ Padang Kota Lama (The Esplanade) ลานสนามหญ้าขนาดใหญ่รายล้อมด้วยอาคารเก่าแก่อย่าง Penang Town Hall และ Penang City Hall แต่วันนี้ Padang Kota Lama ไม่ได้มีเพียงสนามหญ้าที่ว่างเปล่า แต่มีการจัดกิจกรรม ซึ่งมีผู้คนเข้าร่วมกันอย่างคึกคัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็ต้องตกตะลึงกับ หุ่นยนต์สีสันสดใสคุ้นตา Transformers!
Transformers จริงๆ ด้วย
พระเอกอย่าง Optimus Prime และ Bubblebee ขนาดเท่าตัวจริงยืนตระหง่านโดดเด่นบนเวที ปลุกเร้าด้วยเสียงดนตรีประกอบภาพยนต์ (Soundtrack) ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ผู้คนจำนวนมากต่างถ่ายภาพกับพระเอกทั้งสองนี้อย่างสนุกสนาน ที่จริงแล้ว กิจกรรมนี้เป็นการโปรโมทหนังเรื่อง Transformers ที่กำลังจะเข้าฉายนั่นเอง
เมื่อการจัดกิจกรรมของที่นี่ก็ทำให้รู้ว่า การจัดกิจกรรมที่ดี ไม่จำเป็นต้องคิดมาก ไม่ต้องมีอะไรยุ่งยาก หรือตกแต่งสถานที่จนเลิศหรูอลังการ เพียงแค่หอบเอาหุ่นยนต์ซุปเปอร์ตาร์อย่าง Optimus Prime และ Bubblebee ที่ทุกคนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี มาตั้งไว้ที่ลานกว้าง เปิดดนตรีประกอบเสียงดังๆ ปลุกเร้าอารมณ์ เพียงเท่านี้! ก็สามารถสร้างบรรยากาศความสุขให้กับทุกคนได้แล้ว
“เรียบง่ายแต่น่าตื่นตาตื่นใจ” เป็นคำพูดที่เหมาะสมกับกิจกรรมนี้มากที่สุด
ย้อนกลับไปในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สยามเริ่มทำค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพ่อค้าฝรั่งตาน้ำขาวรายหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมพ่อค้ารายนี้มีคลังสินค้าอยู่ที่อินเดีย โดยแล่นเรือค้าขายไปมาในคาบสมุทรมลายู และเมื่อการค้าทางทะเลขยายตัวไปสู่เมืองจีน จึงจำเป็นต้องหาท่าเรือสักแห่งที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นที่ตั้งคลังสินค้า โดยเล็งเห็นว่าท่าเรือเมืองถลางมีความเหมาะสม จึงได้ตั้งคลังสินค้าและเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากอินเดียไปยังท่าเรือต่างๆ บริเวณคาบสมุทรมลายู และส่งต่อไปยังเมืองจีนอีกด้วย จนยุคหนึ่งพ่อค้าต่างชาติรายนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อราชสำนักสยามด้วยการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการรบทูลเกล้าฯ ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จนได้รับความดีความชอบและอนุญาตให้ซื้อขายดีบุกที่มีจำนวนมากแถบเมืองถลางได้ นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานดีบุกจำนวนหนึ่งร้อยภาราเป็นทุนประกอบการค้า จนต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาราชกปิตัน” หรือที่รู้จักกันในนามว่า “พระยาราชกปิตันเหล็ก”
พระยาราชกปิตันยังคงทำการค้าขายอาวุธยุทโธปกรณ์ และสินค้าอื่นนานาชนิด และด้วยความสนิทสนมกับพระยาถลางพิมลและครอบครัว จึงได้ตั้งรกรากและมีครอบครัวอาศัยอยู่ที่เมืองถลางยาวนานถึงเก้าปี จนเมื่อสยามเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในราชสำนัก และปัญหาทางการเมือง ประกอบกับกิจการการค้าไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ทำให้พระยาราชกปิตันตัดสินใจพาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่รัฐเคดะห์ หรือเมืองไทรบุรีในเวลาต่อมา
หลายคนที่ได้เรียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเด็ก คงจะคุ้นเคยกับชื่อของพระยาราชกปิตันคนนี้เป็นอย่างดี
มาถึงปีนังทั้งทีจะไม่เข้าชมป้อมปราการ Fort Cornwallis ก็เห็นจะไม่ได้ เนื่องจากเป็นป้อมปราการแห่งนี้ ถือว่าเป็นป้อมปราบการที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของประเทศมาเลเซีย โดยประวัติบันทึกเอาไว้ว่าป้อมปราการถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1786 เพื่อปกป้องเมืองจอร์จทาวน์จากการรุกรานของศัตรู แต่จนแล้วจนรอดป้อมปราการ Fort Cornwallis ก็ไม่เคยถูกโจมตีเลยสักครั้ง ปัจจุบันถูกจัดแสดงเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ภายในเป็นที่จัดแสดงปืนใหญ่จำนวนทั้งสิ้นสิบเจ็ดกระบอก แต่กระบอกที่มีความเก่าแก่และเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากที่สุด ก็เห็นจะเป็นปืนใหญ่ ชื่อว่า Sri Rambai เมื่อเข้าไปด้านในก็ต้องมองหาปืนใหญ่เก่าแก่กระบอกนี้ก่อนเป็นลำดับแรก และเมื่อเห็นปืนใหญ่กระบอกหนึ่งที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นและมีขนาดใหญ่โตกว่ากระบอกอื่น จึงเดาได้ว่าน่าจะเป็น Sri Rambai และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็เจอป้ายบอกไว้ว่าเป็น Sri Rambai จริงๆ ตามประวัติศาสตร์ Sri Rambai เป็นปืนใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยฮอลันดา แต่ต่อมาได้ถูกครอบครองโดยโปรตุเกส และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศอาณานิคมสุดท้ายที่ได้ครอบครองปืนใหญ่กระบอกนี้ จากนั้นก็นำตั้งเอาไว้ที่ป้อมแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน ถ้าจะลองคาดคะเนอายุปืนโบราณเก่าแก่กระบอกนี้ก็น่าจะเกินกว่าสี่ร้อยปีแล้ว นอกจากความเก่าแก่ของปืนใหญ่ ยังมีความเชื่อที่แปลกประหลาดของชาวมลายูท้องถิ่นอีกว่า หญิงคนใดมีบุตรยาก เพียงแค่นำช่อดอกไม้ไปเสียบเอาไว้ที่ปลายกระบอกปืน ก็จะทำให้มีบุตรได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อผมมองไปยังปลายกระบอกกลับไม่พบช่อดอกไม้สักช่อ จึงไม่รู้ว่าปัจจุบันความเชื่อนี้ยังคงอยู่หรือไม่ แล้วความเชื่อของชาวมลายูท้องถิ่นกลับไปสอดรับกับอาวุธเก่าแก่ของชาวตะวันตกนี้ได้อย่างไร น่าคิดจริงๆ
หลังจากเดินชมป้อมปราการและปืนใหญ่ขนาดต่างๆ เรียงรายหันหน้าไปยังท้องทะเล ทำหน้าที่ปกป้องเกาะปีนังอย่างเข้มแข็งเกินกว่าร้อยปีแล้ว ก็ได้เวลาเดินชมรูปปั้นของบุรุษที่มีส่วนสำคัญต่อการเจรจาเช่าเกาะปีนังระหว่างอังกฤษและสุลต่านรัฐเคดะห์ จนสุดท้ายการเจรจาสัญญาเช่าเกาะปีนังก็ประสบความสำเร็จ คงจะเป็นใครไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ผลงานของกัปตันฟรานซิส ไลท์ (Captain Francis Light) ซึ่งต่อมาก็ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างป้องปราการ Fort Cornwallis แห่งนี้อีกด้วย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อเกาะปีนังเป็นอย่างยิ่ง
และผมเชื่อว่าหลายคนที่เดินทางมายังปีนังคงจะได้รู้จักกับกัปตันฟรานซิส ไลน์ เป็นอย่างดี แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า

ฟรานซิส ไลน์ คือ พระยาราชกปิตัน
และพระยาราชกปิตัน ก็คือ ฟรานซิส ไลน์!
by
กบในกะลาแก้ว
ตามภาพ ตามฝัน ไปปีนัง (ตอน 8)
ตอน 8
ผมออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าของปีนัง กับช่วงเวลาที่ท้องฟ้ายังคงมืดมิด ถ้าหากอยู่เมืองไทยรับรองเลยว่าเป็นเรื่องยากที่สุดในโลกสำหรับการตื่นเช้าขนาดนี้ หลังจากที่พนักงานโรมแรมในร่างไร้วิญญาณเดินสลึมสลือตื่นมาเปิดประตูให้ แล้วก็ปิดประตูล็อคกลอนเอาไว้ตามเดิม นี่มันโรงแรมอะไรว่ะเนี่ย จะออกไปข้างนอกแต่ละที ก็ต้องปลุกพนักงานมาเปิดให้ มิหนำซ้ำการจะกลับเข้าไปข้างในอีกก็เห็นจะเป็นเรื่องยาก คงต้องใช้ความพยายามปลุกพนักงานที่หลับอยู่ในห้องพักด้านหลัง ก็ไม่รู้จะได้ยินหรือเปล่า ฉะนั้นคราวหน้าอย่าตื่นเช้าแบบนี้อีก ตื่นสายๆ เหมือนเดิมนั่นล่ะดีแล้ว
สำหรับโปรแกรมท่องเที่ยวในวันนี้ ตั้งใจว่าจะออกมาเดินดูวิถีชีวิตยามเช้าเมืองจอร์จทาวน์ เหมือนอย่างที่นักท่องเที่ยวหลายคนบอกเอาไว้ว่า หากอยากเห็นวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองที่เราเดินทางไป ให้ตื่นแต่เช้าแล้วไปเดินในตลาด ผมก็เชื่อแบบนั้น
เอ่อ! แล้วไหนล่ะตลาด ตลาดอยู่ตรงไหน ผมลืมหาข้อมูลของตลาดไปเสียสนิทเลย
มองไปทางไหนก็มีแต่ตึกรามบ้านช่อง ไม่มีพื้นที่ส่วนไหนจะเป็นตลาดได้เลย ยิ่งลองย้อนกลับไปนึกถึงเมื่อวานเดินจนแทบจะรอบเมืองแล้ว ไม่เห็นตลาดสักที่เลย นั่นเป็นแค่ความผิดพลาดอย่างแรก เรื่องต่อมาก็คงจะเป็นเรื่องท้องฟ้าที่มืดมิดนี่ล่ะ ก็เวลาที่เกาะปีนังเร็วกว่าเมืองไทยหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น เวลาหกโมงเช้าของปีนังก็เท่ากับเวลาตีห้าของเมืองไทย
ลืมเรื่องเวลาไปได้ยังไงเนี่ย!
มิน่าล่ะท้องถนนถึงมีแต่ความว่างเปล่า มีเพียงฝรั่งผมทองนอนสิ้นสภาพด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์อยู่ข้างถนนนายหนึ่ง เดินไปทางไหนก็เงียบเหงา นานๆ จะเห็นรถเแล่นผ่านสักคัน ไม่เพียงท้องฟ้าเท่านั้นที่ยังมืด ตอนนี้เมฆฝนดำทมึนกับลมแรงลอยต่ำเป็นสัญญาณเตือน จะทำยังไงดีล่ะโรงแรมก็เข้าไม่ได้ ฝนก็จะตกอีก หันซ้ายแลขวาไม่มีที่ไหนจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว ผมวิ่งเข้าไปหลบข้างในทันที
เป็นร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงนั่นเอง
การเช่าเกาะปีนังในตอนแรกเป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีเพียงชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะ ต่อมามีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายทางเชื้อชาติ นอกจากชาวมลายูท้องถิ่นและชาวอังกฤษเจ้าของสัญญาเช่าแล้ว ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ก็เดินทางเข้ามาตั้งรกรากทำธุรกิจการค้ามากขึ้น จนกลายเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่บนเกาะปีนังมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดีย เมียนมา และผมมาทราบภายหลังว่ายังมีคนไทยจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่เป็นชุมชนบนเกาะแห่งนี้
เมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของเมืองท่า การอพยพเข้าสู่เกาะปีนังก็มีมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นย่านไชน่าทาวน์ (China Town) หรือย่านลิเติลอินเดีย (Little India) จนชุมชนชาวต่างชาติดังกล่าวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายบนเกาะปีนังมาจนถึงปัจจุบันนี้
ฟ้าหลังฝนยามสายบรรยากาศสดชื่น นักท่องเที่ยวออกมาปั่นจักรยานบนถนนท่ามกลางโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์กันอย่างคึกคัก ผมเริ่มต้นเที่ยวชม Church of the Assumption โบสถ์เก่าที่มีความสวยงามไม่ไกลจากโรงแรมมากนักเป็นแห่งแรก เดินต่อมาก็เจอกับ St.George’s Anglican Church โบสถ์อีกแห่งที่สวยงามไม่แพ้กัน ตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1816 ถือว่าเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ถัดมาไม่ไกลเพียงแค่เดินลัดเลาะไปตามถนนก็เจอกับ Padang Kota Lama (The Esplanade) ลานสนามหญ้าขนาดใหญ่รายล้อมด้วยอาคารเก่าแก่อย่าง Penang Town Hall และ Penang City Hall แต่วันนี้ Padang Kota Lama ไม่ได้มีเพียงสนามหญ้าที่ว่างเปล่า แต่มีการจัดกิจกรรม ซึ่งมีผู้คนเข้าร่วมกันอย่างคึกคัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็ต้องตกตะลึงกับ หุ่นยนต์สีสันสดใสคุ้นตา Transformers!
Transformers จริงๆ ด้วย
พระเอกอย่าง Optimus Prime และ Bubblebee ขนาดเท่าตัวจริงยืนตระหง่านโดดเด่นบนเวที ปลุกเร้าด้วยเสียงดนตรีประกอบภาพยนต์ (Soundtrack) ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ผู้คนจำนวนมากต่างถ่ายภาพกับพระเอกทั้งสองนี้อย่างสนุกสนาน ที่จริงแล้ว กิจกรรมนี้เป็นการโปรโมทหนังเรื่อง Transformers ที่กำลังจะเข้าฉายนั่นเอง
เมื่อการจัดกิจกรรมของที่นี่ก็ทำให้รู้ว่า การจัดกิจกรรมที่ดี ไม่จำเป็นต้องคิดมาก ไม่ต้องมีอะไรยุ่งยาก หรือตกแต่งสถานที่จนเลิศหรูอลังการ เพียงแค่หอบเอาหุ่นยนต์ซุปเปอร์ตาร์อย่าง Optimus Prime และ Bubblebee ที่ทุกคนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี มาตั้งไว้ที่ลานกว้าง เปิดดนตรีประกอบเสียงดังๆ ปลุกเร้าอารมณ์ เพียงเท่านี้! ก็สามารถสร้างบรรยากาศความสุขให้กับทุกคนได้แล้ว
“เรียบง่ายแต่น่าตื่นตาตื่นใจ” เป็นคำพูดที่เหมาะสมกับกิจกรรมนี้มากที่สุด
ย้อนกลับไปในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สยามเริ่มทำค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพ่อค้าฝรั่งตาน้ำขาวรายหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมพ่อค้ารายนี้มีคลังสินค้าอยู่ที่อินเดีย โดยแล่นเรือค้าขายไปมาในคาบสมุทรมลายู และเมื่อการค้าทางทะเลขยายตัวไปสู่เมืองจีน จึงจำเป็นต้องหาท่าเรือสักแห่งที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นที่ตั้งคลังสินค้า โดยเล็งเห็นว่าท่าเรือเมืองถลางมีความเหมาะสม จึงได้ตั้งคลังสินค้าและเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากอินเดียไปยังท่าเรือต่างๆ บริเวณคาบสมุทรมลายู และส่งต่อไปยังเมืองจีนอีกด้วย จนยุคหนึ่งพ่อค้าต่างชาติรายนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อราชสำนักสยามด้วยการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการรบทูลเกล้าฯ ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จนได้รับความดีความชอบและอนุญาตให้ซื้อขายดีบุกที่มีจำนวนมากแถบเมืองถลางได้ นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานดีบุกจำนวนหนึ่งร้อยภาราเป็นทุนประกอบการค้า จนต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาราชกปิตัน” หรือที่รู้จักกันในนามว่า “พระยาราชกปิตันเหล็ก”
พระยาราชกปิตันยังคงทำการค้าขายอาวุธยุทโธปกรณ์ และสินค้าอื่นนานาชนิด และด้วยความสนิทสนมกับพระยาถลางพิมลและครอบครัว จึงได้ตั้งรกรากและมีครอบครัวอาศัยอยู่ที่เมืองถลางยาวนานถึงเก้าปี จนเมื่อสยามเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในราชสำนัก และปัญหาทางการเมือง ประกอบกับกิจการการค้าไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ทำให้พระยาราชกปิตันตัดสินใจพาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่รัฐเคดะห์ หรือเมืองไทรบุรีในเวลาต่อมา
หลายคนที่ได้เรียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเด็ก คงจะคุ้นเคยกับชื่อของพระยาราชกปิตันคนนี้เป็นอย่างดี
มาถึงปีนังทั้งทีจะไม่เข้าชมป้อมปราการ Fort Cornwallis ก็เห็นจะไม่ได้ เนื่องจากเป็นป้อมปราการแห่งนี้ ถือว่าเป็นป้อมปราบการที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของประเทศมาเลเซีย โดยประวัติบันทึกเอาไว้ว่าป้อมปราการถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1786 เพื่อปกป้องเมืองจอร์จทาวน์จากการรุกรานของศัตรู แต่จนแล้วจนรอดป้อมปราการ Fort Cornwallis ก็ไม่เคยถูกโจมตีเลยสักครั้ง ปัจจุบันถูกจัดแสดงเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ภายในเป็นที่จัดแสดงปืนใหญ่จำนวนทั้งสิ้นสิบเจ็ดกระบอก แต่กระบอกที่มีความเก่าแก่และเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากที่สุด ก็เห็นจะเป็นปืนใหญ่ ชื่อว่า Sri Rambai เมื่อเข้าไปด้านในก็ต้องมองหาปืนใหญ่เก่าแก่กระบอกนี้ก่อนเป็นลำดับแรก และเมื่อเห็นปืนใหญ่กระบอกหนึ่งที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นและมีขนาดใหญ่โตกว่ากระบอกอื่น จึงเดาได้ว่าน่าจะเป็น Sri Rambai และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็เจอป้ายบอกไว้ว่าเป็น Sri Rambai จริงๆ ตามประวัติศาสตร์ Sri Rambai เป็นปืนใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยฮอลันดา แต่ต่อมาได้ถูกครอบครองโดยโปรตุเกส และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศอาณานิคมสุดท้ายที่ได้ครอบครองปืนใหญ่กระบอกนี้ จากนั้นก็นำตั้งเอาไว้ที่ป้อมแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน ถ้าจะลองคาดคะเนอายุปืนโบราณเก่าแก่กระบอกนี้ก็น่าจะเกินกว่าสี่ร้อยปีแล้ว นอกจากความเก่าแก่ของปืนใหญ่ ยังมีความเชื่อที่แปลกประหลาดของชาวมลายูท้องถิ่นอีกว่า หญิงคนใดมีบุตรยาก เพียงแค่นำช่อดอกไม้ไปเสียบเอาไว้ที่ปลายกระบอกปืน ก็จะทำให้มีบุตรได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อผมมองไปยังปลายกระบอกกลับไม่พบช่อดอกไม้สักช่อ จึงไม่รู้ว่าปัจจุบันความเชื่อนี้ยังคงอยู่หรือไม่ แล้วความเชื่อของชาวมลายูท้องถิ่นกลับไปสอดรับกับอาวุธเก่าแก่ของชาวตะวันตกนี้ได้อย่างไร น่าคิดจริงๆ
หลังจากเดินชมป้อมปราการและปืนใหญ่ขนาดต่างๆ เรียงรายหันหน้าไปยังท้องทะเล ทำหน้าที่ปกป้องเกาะปีนังอย่างเข้มแข็งเกินกว่าร้อยปีแล้ว ก็ได้เวลาเดินชมรูปปั้นของบุรุษที่มีส่วนสำคัญต่อการเจรจาเช่าเกาะปีนังระหว่างอังกฤษและสุลต่านรัฐเคดะห์ จนสุดท้ายการเจรจาสัญญาเช่าเกาะปีนังก็ประสบความสำเร็จ คงจะเป็นใครไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ผลงานของกัปตันฟรานซิส ไลท์ (Captain Francis Light) ซึ่งต่อมาก็ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างป้องปราการ Fort Cornwallis แห่งนี้อีกด้วย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อเกาะปีนังเป็นอย่างยิ่ง
และผมเชื่อว่าหลายคนที่เดินทางมายังปีนังคงจะได้รู้จักกับกัปตันฟรานซิส ไลน์ เป็นอย่างดี แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า
ฟรานซิส ไลน์ คือ พระยาราชกปิตัน
และพระยาราชกปิตัน ก็คือ ฟรานซิส ไลน์!
by
กบในกะลาแก้ว