ปัญญาญาณ หยั่งรู้กำหนดรู้ มาจากไหน

ญาณ (บาลี: ñāṇa; สันสกฤต: jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

ญาณ เป็น"ไวพจน์" คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง

วิจารณญาณ หมายถึง ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี
วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของ"โยนิโสมนสิการ" มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็นให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด
วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา

โยนิโมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒ฟ
การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย 

คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่