ประสบการณ์การแจ้งย้ายที่อยู่ออฟฟิศกับสรรพากร, DBD และประกันสังคม

กรณีย้ายที่อยู่ไปสำนักงานแห่งใหม่ในเขตจังหวัดเดียวกัน
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ของตนในการดำเนินการเรื่องเอกสารและติดต่อกับหน่วยงานราชการค่ะ

การขอย้ายที่อยู่บริษัทแห่งใหญ่ ย้ายไปที่ทำการบริษัทแห่งใหม่ ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน
ต้องแจ้ง 3 หน่วยงาน (ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ)
1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ แจ้งย้ายออก-แจ้งย้ายเข้า (ถ้าไม่ได้จดภพ09ก็ไม่ต้องยื่นเปลี่ยนแปลง)
2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD
3. สำนักงานประกันสังคม
 
วิธีการคือ
1.บริษัทที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องแจ้งย้ายออก – แจ้งย้ายเข้า กับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ (ย้ายออกก่อนถึงย้ายเข้าได้นะคะ)
 
*แจ้งย้ายออก ก่อน ณ สำนักงานพิ้นที่เขตเดิมที่บริษัทการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทำการแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน    
  ภ.พ.09 ต้องแจ้งออกก่อนภายใน15วัน ก่อนที่จะเริ่มย้ายไปที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่(ที่ตั้งออฟฟิศใหม่)
 
 โดยใช้เอกสารดังนี้
1.แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) จำนวน 3 ฉบับ >>ติ๊กช่องย้ายออก (เมื่อเจ้าหน้าที่ลงบันทึกแจ้งย้ายออกแล้วในเอกสาร จะคืนเรามา 1 ฉบับ เพื่อให้ใช้เป็นหลักฐานแจ้งย้ายเข้า) http://download.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/request/pp09_140156.pdf
-ในฟอร์ม ภ.พ.09 ข้อที่ 2 รายการแจ้งย้ายสถานประกอบการ : ย้าย >>ลงวันที่ วันที่ย้ายไปอยู่ออฟฟิศใหม่
2.สำเนาหนังสือรับรองบริษัท 1 ชุด (ขอรับรองมาไม่เกิน6เดือน) >>กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 1คนเซ็นรับรอง พร้อมประตราบริษัท ถ้ามี
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาลงนาม 1 ฉบับ >>ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านให้อยู่ใบเดียวกันเลยก็ได้ค่ะ พร้อมลายเซ็น
4. ในส่วนของข้อ 4. จะเป็นเอกสารที่ทางผู้ให้เช่าออฟฟิศใหม่เป็นผู้มอบให้เราตั้งแต่เซ็นสัญญา ตรวจเช็คเอกสารด้วยนะคะ
     ขอเอกสารจากผู้ให้เช่า 2ชุด (สำหรับประกอบเอกสารแจ้งเข้า 1ชุด /แจ้งออก 1 ชุด)
4.1 หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ หรือ สัญญาเช่าที่ตั้งชำระอากรแล้ว 1 ชุด >>เจ้าหน้าที่สรรพากรจะเลือกเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเช็คให้ดีนะคะว่าผู้ให้เราออฟฟิศเป็นเจ้าของสถานที่นั้นจริงๆหรือไม่ เพราะอาจจะเช่าช่วงมาอีกทีหนึ่ง
 
กรณี หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ ผู้ให้เช่าออฟฟิศใหม่จะออกหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการแก่เรา แต่ ต้องเช็คให้ดีนะคะว่าผู้ให้เช่าออฟฟิศเป็นเจ้าของสถานที่นั้นจริงๆหรือไม่ ผู้ให้เช่าอาจไม่ใช่เจ้าของสถานที่ตัวจริง!! อาจจะเช่าช่วงมาอีกทีหนึ่ง 
ดังนั้นต้องมีหนังสือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการจากเจ้าของสถานที่จริง ที่เป็นเจ้าของจริงๆ มอบให้แก่ผู้ให้เช่าออฟฟิศ และมอบให้เราอีกฉบับนึง 
กรณี สัญญาเช่า ติดอากรแสตมป์ด้วยนะคะ และรับฉบับภาษาไทย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละเขต
เพราะของตัวเองสัญญาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตอนแจ้งย้ายออก เจ้าหน้าที่ไม่รับสัญญาฉบับภาษาอังกฤษ
จึงต้องมีการเซ็นสัญญาฉบับภาษาไทยขึ้น โดยระบุชื่อผู้ให้เช่า ผู้เช่า เวลาการเช่า เป็นเดือน ปี และค่าเช่าให้ชัดเจน ทำเป็นแผนเดียวได้ค่ะ
 
4.2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ ให้เจ้าของลงลายมือชื่อรับรองสำเนา (เจ้าของสถานที่จริงเซ็นรับรองสำเนา)
4.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ยินยอมให้ใช้สถานที่(เจ้าของสถานที่จริงเซ็นรับรองสำเนา)ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องมีตราประทับด้วย
4.4 หนังสือแสดงกรรมสิทธ์ เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของในอหังสาริมทรัพย์  
>>เหตุที่ต้องให้เช็คว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริงนั้น เพราะเคสของบริษัทตัวเองผู้ให้เช่าออฟฟิศใหม่เช่าช่วงมาอีกที ตอนเซ็นสัญญาจึงไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินมอบให้ด้วยเพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดินแท้จริง เราจึงได้โทรสอบถามสรรพกรพื้นที่เขตที่จะย้ายเข้า โดยขอคำปรึกษาและแจ้งที่อยู่ออฟฟิศใหม่ไป เจ้าหน้าที่สรรพกรจะตรวจสอบเจ้าของที่แท้จริงให้ค่ะ แล้วก็ไปคุยกับผู้ให้เช่าเรื่องเอกสารอีกทีให้เค้าประสานงานขอเอกสารจากเจ้าของสถานที่ตัวจริงให้ 
เอกสารในข้อ 4 ถ้าผู้ให้เช่าให้เอกสารมาครบถ้วนก็ยื่นได้เลย

4.5 แผนที่ตั้งสถานประกอบการ 2 ฉบับ/ ภาพถ่ายสภานประกอบการ ภายใน 2รูป ภายนอก2 รูป >> แผนที่ตั้งสถานประกอบการปริ้นมา 2 ฉบับนะคะ /ภาพถ่ายไปอัดมา ไม่แน่ใจว่าปริ้นสีได้ไหม  ภายใน 2รูป ภายนอก2 รูป       
 
5. หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ >>ให้ใช้ฟอร์มของสรรพากรนะคะ 
https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/tax_pdf/others/give_authorize_230457.pdf
 
เคสบริษัทเรา ด้วยฟอร์มสรรพากรนั้น เจ้าหน้าที่บอกให้พิมพ์ข้อความเพิ่ม ตัวอย่างเช่น ผู้มอบอำนาจ ชื่อ นางสดใส สุขสดชื่น เลขที่ประจำตัวบัตรประชาชน 999 9999 999 999 (พิมพ์เพิ่มมาด้วยในฟอร์ม) ในฟอร์มไม่มี ขอมอบอำนาจให้ น.ส.ชื่นจิต ชื่นใจดี  เลขที่ประจำตัวบัตรประชาชน 888 9999 999 888 (พิมพ์เพิ่มมาด้วยในฟอร์ม) ในฟอร์มไม่มี พร้อมประทับตราบริษัทฝั่งซ้ายมาด้วย ห้ามลืม!! (หากมีตราประทับ)
 
6. สำเนา ภ.พ. 01 จำนวน1ฉบับ >>ถ่ายสำเนา,หากมี ภ.พ.01.1 ถ่ายสำเนามากรรมการเซ็นพร้อมประทับตราบรัทเช่นกัน
    สำเนา ภ.พ. 20(ของสำนักงานใหญ่) 1 ฉบับ >>แจ้งย้ายออกใช้สำเนา ให้กรรมการที่มีอำนาจเซ็นพร้อมประทับตราบริษัท 
    สำเนา ภ.พ.09 ที่มีเคยมีการยื่นเปลี่ยนแปลง ถ่ายเอกสาร หน้าหลัง อย่างละ 1 ชุด ให้กรรมการที่มีอำนาจเซ็นพร้อมประทับตราบริษัท 

เมื่อทำการยื่นเอกสารเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ทำการแจ้งออกและบันทึกข้อมูล จะให้เอกสาร แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ประทับตราย้ายออก มาให้เป็นหลักฐาน แจ้งย้ายออกแล้ว สามารถเตรียมเอกสารแจ้งย้ายเข้าได้ทันที กรณีเอกสารครบถ้วนค่ะ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
 
*แจ้งย้ายเข้า ไปย้ายเข้า ณ สรรพากรพื้นที่เขตที่สำงานย้ายไปอยู่ใหม่ ใช้เอกสารเหมือนเอกสารแจ้งย้ายออก
(เอกสารครบ ยื่นเสร็จเร็วมากประมาณ 10 นาที)
 เพราะฉะนั้นตอนเซ็นสัญญาเช่าขอเอกสารข้อ 4 มา 2 ชุดนะคะ 
-พร้อมถ่ายสำเนาแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ประทับย้ายออก (ที่เจ้าหน้าที่ให้มาเป็นหลักฐาน) ให้กรรมการผู้มีอำนาจเซ็นพร้อมประทับตราบริษัทมาด้วย1ชุดค่ะ ถ่ายสำเนามาทุกหน้า พร้อมใบรับแบบคำร้อง/คำขอที่เจ้าหน้าที่ให้มาด้วยค่ะ
-หนังสือรับรองบริษัท ให้โทรเช็คกับสรรพากรพื้นที่เขตที่จะย้ายเข้าว่าใช้ฉบับที่อยู่เดิมได้หรือไม่ ถ้าใช้ฉบับที่อยู่เดิมไม่ได้ต้องไปยื่นเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วรีบยื่นแจ้งย้ายเข้าก่อน 15 วันที่จะย้ายเข้าออฟฟิศใหม่นะคะ 
-ภ.พ. 20 ตัวจริง (ของสำนักงานใหญ่) คืนให้เจ้าหน้าที่ เดี๋ยวสรรพากรออกฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงที่อยู่ส่งทางไปรษณีย์มาให้ค่ะ
เจ้าหน้าที่ จะคืน ภ.พ.09 ประทับตราย้ายเข้า ให้เราเก็บเป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
(ภ.พ.09 จำนวน 3 ฉบับเช่นกันที่ต้องเตรียมแจ้งย้ายเข้า ติ๊กช่องแจ้งย้ายเข้า) 

การนับวันแจ้งย้ายออก ย้ายเข้า สำคัญมากนะคะ หากผิดพลาดโดนปรับเงิน 2,000 บาทและต้องเซ็นบันทึกคำให้การกรณียื่นล่าช้า
 
**ตัวอย่างการนับวัน แจ้งย้ายออกก่อน 15 วัน, แจ้งย้ายเข้าก่อน15วัน ก่อนย้ายเข้าออฟฟิศที่อยู่ใหม่
บริษัทย้ายไปยังที่ตั้งบริษัทแห่งใหม่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 (ตามที่เซ็นสัญญาเช่า) ต้องแจ้งย้ายออกกับสรรพากร15วัน ก่อนย้ายออฟฟิศไปที่อยู่ใหม่(วันที่ 1 ธันวาคม 2562) เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย สมมุติวันนี้วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ในวันที่ 1พฤศจิกายน 2562 ต้องไปทำการแจ้งย้ายเปลี่ยนแปลงที่อยู่บริษัท กับสรรพากร (หรือไปล่วงหน้าได้เพื่อความชัวร์หากเซ็นสัญญาได้เอกสารครบถ้วน) และเมื่อแจ้งย้ายออกแล้ว ให้ไปแจ้งย้ายเข้าได้เลย หากย้ายออฟฟิศไปที่อยู่ใหม่(วันที่ 1 ธันวาคม 2562) นับขึ้นมา15 วัน จากวันที่ 30 พ.ย. 2562 แจ้งย้ายเข้าล่วงหน้า เพราะฉะนั้นต้องแจ้งย้ายเข้าก่อน15พฤศจิกายน 2562 นับวันดีๆ หากมีเวลาแค่เดือนเดียวในการเตรียมเอกสาร และติดขัดเรื่องเอกสารจะได้มีเวลาเตรียมทัน
เมื่อแจ้งย้ายเข้า - ย้ายออก เป็นสำเร็จ รอรับใบ ภ.พ. 20 ฉบับใหม่มา

การแจ้งเปลี่ยนที่ตั้งสำนักงาน ย้ายเข้า-ย้ายออก ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
 
2.แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่บริษัทกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD
เอกสารที่ใช้ตามคำแนะนำในลิ้งค์ค่ะ https://www.dbd.go.th/dbdweb56/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_change_02.pdf
เอกสารใช้ตามตัวอย่างในเว็บไซต์ ดาวโหลดแบบฟอร์ม https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=941
พิมพ์แบบเดียวกับเว็บไซต์ตามตัวอย่างเลยนะคะ โดนให้แก้ให้เหมือนตัวอย่างในเว็บไซต์มา
ยื่นเอกสารวันไหนให้ลงวันที่วันนั้นในเอกสารเป็นวันปัจจุปัน ในการยื่น
ทุกอย่างต้องพิมพ์ หากมีการเพิ่มข้อความด้วยปากกา ต้องให้ผู้มีอำนาจลงนามเซ็นชื่อกำกับ
 
บอจ1 หากกรรมการไม่ได้มายื่นเอง ส่วนของนายทะเบียนต้องมีเซ็นชื่อกำกับมาด้วย 
นายทะเบียน คือ ทนาย มีใบทนาย หรือผู้สอบบัญชีที่มีใบผู้สอบบัญชีได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ถ่ายสำเนาใบประกอบวิชาชีพทนาย, หรือสำเนาหนังสือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เซ็นสำเนารับรองแนบประกอบมาด้วย
แต่หากกรรมการคนใดคนหนึ่งมาเองก็ไม่ต้องให้ ทนายหรือผู้สอบบัญชีเซ็น รับรองมา
หนังสือมอบอำนาจและแผนที่โหลดฟอร์ม DBD มาใช้นะคะ
 
กรรมการมาเองจะง่ายมาก มาเซ็นชื่อในเอกสารต่อหน้าเจ้าที่เป็นหลักฐาน พร้อมขอสำเนาบัตรประชาชนกรรมการคนที่มาเซ็นเท่านั้น
เจ้าหน้าที่แก้ไขเอกสารและออกหนังสือรับรองบริษัทฉบับใหม่ให้ในวันนั้นเลย
 
รีบไปทำแต่เช้ายิ่งดีค่ะ ตอนไปทำ DBD เปิดทำการเวลา 08:30  ไปถึง 08:38 ก็ได้บัตรคิวที่ 21 แล้ว เสร็จได้เอกสารเกือบเที่ยงค่ะ
เสียค่าธรรมเนียม แก้ไขเพิ่มเติมสำนักงาน 500 บาท หาคัดหนังสือรับรองฉบับใหม่ ค่าธรรมเนียม 200 บาท
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
 
3.ประกันสังคม
ยื่นเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง ภายใน15วันของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
 
เอกสารดังนี้
-แบบเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง สปส.6-15 https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/1b5936bb29ec0754ae74e6f8f6d18b72.pdf
-หนังสือรับรองบริษัทฉบับเปลี่ยนแปลงแล้ว
-แผนที่วาดมือ ไม่เอาcopy แปะจาก google นะคะ 
-หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
ไปยื่นเอกสารที่ประกันสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบที่เดิม จนท.จะดำเนินการส่งเรื่องไปให้ กับประกันสังคมที่ใหม่ 

ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ
......................................................................................................................................................................................................................
 
ทั้งนี้สามารถโทรสอบถามเจ้าหน้าเรื่องเอกสารได้โดยตรงตามเขตพื้นที่บริษัทสังกัดเขตนั้นอยู่ค่ะ
จากข้อความทั้งหมดนี้คือประสบการณ์ที่เราได้มีประสบการณ์การยื่นด้วยตนเอง วิธีการบางขั้นตอนหรือเอกสารบางอย่างอาจจะไม่ได้ใช้
ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละบุคคลจะพิจารณา 
ซึ่งหวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่กำลังย้ายที่ตั้งสำนักงาน หรือย้ายที่ตั้งออฟฟิศใหม่ไม่มากก็น้อยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
  ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้
 
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่