บริเวณที่มหาสมุทรมาพบกัน




มหาสมุทรสองแห่งปะทะกัน 
© David Bostoc/Shutterstock.com



พื้นที่บนโลกมีมหาสมุทรอยู่ 5 แห่ง
แต่ทั้งหมดต่างเชื่อมต่อกันเหมือนพื้นน้ำเดียวกัน
ก่อให้เกิดเป็นแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง
ในอดีตมีเพียงแค่ 4 มหาสมุทร
คือ แอตแลนติก แปซิฟิก อินเดีย และอาร์กติก
ในปี 2000 IHO องค์การอุทกศาสตร์สากล 
ได้มีมติให้มีมหาสมุทรแห่งใหม่
ที่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา
ที่มีประชากรน้อยที่สุด 
อยู่ที่ด้านล่าง/ตอนใต้ของโลก

ตามหลักฐานปรากฎชัดว่า
มหาสมุทรที่เป็นแหล่งน้ำแต่ละแห่ง
มีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน มีผลกระทบต่อ
สภาพภูมิอากาศโลก น้ำขึ้น น้ำลง
ภาวะฝนแล้ง El Nino ภาวะฝนชุก La Nina
La Nina สาวน้อยเอวบางร่างระหง
El Nino เจ้าเด็กชายอ้วนท้วน © คุณจันทรำไพ
นักเขียนไทยทำไร่กับสามีที่เอกวาดอร์กว่า 20 ปี








มหาสมุทรแอนตาร์กติก หรือ มหาสมุทรใต้
กลายเป็นมหาสมุทรแห่งที่ 5 ของโลก
มีขนาดใหญ่กว่ามหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรเช่นเดียวกับ
พรมแดนของแต่ละประเทศ
ขอบเขตของทั้ง 5 มหาสมุทรถูกกำหนด
โดย องค์การอุทกศาสตร์สากล
แต่ CIA World Factbook  ไม่เห็นด้วย





สีฟ้า CIA  สีดำ องค์กรอุทกศาสตร์สากล
Sea คือ ส่วนที่ไม่ครอบคลุม



ขอบเขตของมหาสมุทรโลก


1. มหาสมุทรแปซิฟิก
เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุด


ทอดตัวสู่ด้านใต้พบกับมหาสมุทรอาร์กติก
ขอบเขตด้านตะวันออกเลียบไป
ตามชายฝั่งของอเมริกาเหนือและใต้
ในที่สุดก็มาพบมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ Cape Horn
ตามแนวเส้นตรงที่ทอดตัวจาก Tierra del Fuego
ไปจนถึงมหาสมุทรแอนตาร์กติก
เขตแดนทางตะวันตกนั้น ถูกกำหนดให้อยู่ใน
บริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ทะเลฟิลิปปินส์
ทะเลญี่ปุ่น และทะเลโอคอตสค์ในตอนครึ่งเหนือ
และชายฝั่งของออสเตรเลียทางตอนใต้
มหาสมุทรแปซิฟิกพบกับมหาสมุทรอินเดีย
ที่แหลมตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเป็นจุดใต้สุดของแทสเมเนีย
ลงไปจนถึงจุดเหนือสุดมหาสมุทรแอนตาร์กติก



2. มหาสมุทรแอตแลนติก
เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2



ทอดตัวจากมหาสมุทรทางตอนใต้
ระหว่างอเมริกา แอฟริกาและยุโรป
ไปจนถึงมหาสมุทรอาร์กติก
เชื่อมกับกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ Cape Horn
และมหาสมุทรอินเดียที่ Cape Agulhas
ทางใต้ของแอฟริกา




มองแบบ 360 องศาจากประภาคาร
มองไปรอบ ๆ แหลม



3. มหาสมุทรอินเดีย
ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3


ขยายพื้นที่จากทางตอนเหนือจากมหาสมุทรใต้
ไปสู่อินเดีย คาบสมุทรอาหรับ
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทางตะวันตกเลียบไปตามชายฝั่งแอฟริกา
จนกระทั่งพบกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ที่ Cape Agulhas
ทางตะวันออกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ใกล้กับรัฐแทสเมเนีย



4. ขอบเขตของมหาสมุทรอาร์กติก
มีความซับซ้อนมาก



เพราะพื้นดินที่นี่มีลักษณะกระจัดกระจาย
โดยทั่วไปแล้วมหาสมุทรอาร์กติก
ตั้งอยู่บนขั้วโลกเหนือที่สัมผัสกับอเมริกาเหนือ ในซีกโลกตะวันตกที่สแกนดิเนเวีย
และไซบีเรียในซีกโลกตะวันออก
และไปรวมกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ใกล้กรีนแลนด์และไอซ์แลนด์
และรวมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบแบริ่ง



5. มหาสมุทรใต้มีขอบเขต
ที่ชัดเจนมากที่สุด



พื้นที่เป็นวงกลมที่สมบูรณ์แบบ
โดยล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา
ที่เส้นขนานที่ 60
แต่ก็มีหลายประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับขอบเขตนี้
เพราะถือว่ายังไม่ได้รับการยอมรับ
จากสมาชิกของ IHO ที่ลงมติรับเรื่องนี้




มหาสมุทรใต้มีขอบเขตที่ชัดเจน



จะดูมหาสมุทรแอตแลนติกพบกับ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้ที่ไหน



สถานที่ที่ชัดเจนที่สุด
ในการชมมหาสมุทรทั้งสองมาพบกัน
หากต้องการดูมหาสมุทรแอตแลนติก
พบกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ต้องไปที่ Cape Horn ทางตอนใต้ของชิลี
โดยนั่งเรือสำราญที่ออกจาก
Ushuaia ในอาร์เจนตินา
หรือจาก Punta Arenas ในชิลี  
เรือจะแล่นไปรอบ ๆ แหลมแห่งนี้
และหากสภาพอากาศเอื้ออำนวย 
ก็จะให้ผู้มาเยี่ยมชมขึ้นไปชม
มหาสมุทรบนแหลมแห่งนี้ได้

น่านน้ำบริเวณมีหินโสโครก
ที่แหลมคมและขรุขระ
ทำให้เดินเรือได้อย่างลำบาก
ทั้งยังมีมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก
ลมแรงและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน
ดังนั้นการเดินทางไปที่ Cape Horn
อาจจะไม่ได้ขึ้นฝั่ง(เพราะเรือเทียบท่าไม่ได้)
แต่หากโชคดีก็จะสามารถเยี่ยมชมประภาคาร
ที่ตอนใต้สุดของของโลก
และชมอนุสาวรีย์ Cape Horn ที่สร้างขึ้น
เพื่อความทรงจำของลูกเรือทั้งหมด
ที่เสียชีวิตจากการที่เรืออับปางรอบ ๆ
แหลมหฤโหดแห่งนี้ที่เป็นตำนาน




ด้านหัวแหลม  Cape Horn
© Boris Kasimov/Flickr



ประภาคาร Cape Horn
© Alexandre G. ROSA/Shutterstock.com


แต่ยังมีอีกวิธีในการดู
มหาสมุทรแอตแลนติกพบกับมหาสมุทรแปซิฟิก
คือ การปีนภูเขาไฟ VolcánBarú ที่ตั้งอยู่ในปานามา
และเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ
ด้วยความสูงกว่า 11,000 ฟุต
VolcánBarú ตั้งอยู่ในจุดที่คอคอดปานามา
มีความกว้างประมาณ 120 กิโลเมตร
อีกด้านหนึ่งของคอคอด คือ
มหาสมุทรแอตแลนติก
และอีกฝั่งหนึ่งคือ มหาสมุทรแปซิฟิก
ในวันที่อากาศแจ่มใสจะเห็นมหาสมุทร
ทั้งสองแห่งจากบนยอดเขา




จุดสามเหลี่ยมสีแดงคือ VolcánBarú



© VolcánBarú



จะดูมหาสมุทรแอตแลนติก
พบกับมหาสมุทรอินเดียได้ที่ไหน



ที่ Cape Agulhas ซึ่งอยู่ทางใต้สุด
ของทวีปแอฟริกา สามารถเข้าถึงได้
อย่างง่าย ๆ โดยไปกับบริษัททัวร์
ที่ทำการอยู่ที่ Cape Town ที่ South Africa
ไปยัง Cape Agulhas และสถานที่อื่น ๆ
แต่น่าเสียดายที่มีความสับสนในหมู่นักท่องเที่ยว
เกี่ยวกับสถานที่นัดพบจริงของทั้งสองมหาสมุทร
เพราะความจริงคือ  ชาวบ้านใช้ประโยชน์
จากการพานักท่องเที่ยวไปยัง
Cape of Good Hope หรือ Cape Point แทน
เพื่อขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว




© PaulR1800/Flickr



Allclover



Cape of Good Hope  ด้านตะวันตก 
จากหน้าผา Cape Point ด้านชายหาด Dias



Cape Point ด้านหน้า(ซ้าย)  กับ
Cape of Good Hope  ด้านหลัง(ขวา) 
ราว 2.3 กม.



ประภาคารเก่า (ด้านซ้าย) กับ
ประภาคารใหม่ ด้านล่าง 162 เมตร
อยู่ห่างกันราว 700 เมตร เพื่อให้ชาวเรือ
เห็นประภาคารได้ชัดเจน ยามเมฆหมอกมาก



คลื่นสีขาวแตกระจายรอบ ๆ Dias Rock



จะดูมหาสมุทรอินเดียพบกับ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้ที่ไหน


มหาสมุทรอินเดียพบกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ที่แหลมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นจุดใต้สุด
ของแทสมาเนียในออสเตรเลีย
ทางตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งอยู่นอกเส้นทางที่ทุรกันดาร
ในการไปถึงที่นั่นต้องขับรถ 2 ชั่วโมงจาก Hobart
ไปยังชุมชนเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า Cockle Creek
ซึ่งเป็นจุดที่ไกลที่สุดของ
เส้นทางรถยนต์ในออสเตรเลีย
จากนั้นต้องเดินเท้าไปยัง Cape South East
ซึ่งต้องใช้เวลาเดินเท้าราว 2-3 ชั่วโมง




จุดชมวิวที่  South Cape Bay
บนจุดสุงที่ห่างไกลใน South East Cape
จุดใต้สุดของ  Australia
© Tom Jastram/Shutterstock.com



South East Cape จาก South Cape Bay



เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2lZ5S1j
https://bit.ly/2fNTzBY




มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่
เชื่อมต่อกันครอบคลุมพื้นที่
3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก 
คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า  ocean หรือ มหาสมุทร  ในภาษาอังกฤษอเมริกัน
แต่ถ้าเจาะจงแล้ว sea คือ แหล่งน้ำเค็มส่วนหนึ่งของมหาสมุทร ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน






แผนที่กายภาพก้นทะเล



รอถึง 16 ปีแม่น้ำโคโลราโด้จึงได้จุมพิตทะเลคอร์เตซ



แม่น้ำได้ผสมผสานกับน้ำขึ้นน้ำลงของปากอ่าว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

The Pulse Flow Reaches
San Luis Rio Colorado


ชีวิตแม่น้ำหลังพังเขื่อน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

After Largest Dam Removal in U.S. History, This River Is Thriving
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่