จะแก้ปัญหาราคา​ ปาล์มตกต่ำ​ โดยการประกันราคา​ 4 บาท/กก.ได้จริงหรือ??

มีข่าวชิ้นนึงจาก​  Bloomberg.. บอกว่าขณะนี้ทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย​ ซึ่งเป็นผู้ผลิตปาล์มส่งออกเป็น​ อันดับ​ 1 และ​ 2 ของโลก​  เรียกเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในประเทศที่ติดฉลาก​  "Palm Oil-Free"   ออกจากชั้นวางสินค้า... ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้มาตรการจาก​ EU.ที่ออกกฎไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมั้นปาล์ม​ ซึ่งมีส่วนผสมอยู่ตั้งแต่อาหารจนถึงเครืรองสำอาง

https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-08-22/anti-palm-fight-rages-as-indonesia-bans-palm-oil-free-products


เรื่องนี้​ อาจจะถือได้ว่าเป็นวาระแห่งชาติของ​ 2 ประเทศนี้ได้เลย​ เพราะอาจนำไปสู่การเปิดสงครามทางการค้าระหว่างอินโดนีเซียกับอียูได้...

ผลในระยะยาว​ แน่นอนว่าราคาปาล์มคงตกต่ำไปอีกอย่างยาวนาน... การทำประกันรายได้เกษตรในส่วนของปาล์ม​ ที่​ 4 บาท/กก.​ โดยกำหนดสัดส่วนน้ำมันที่​ 18% (ไม่ใช่​ 23%)  จะทำไปได้ในระยะยาวหรือไม่

ก่อนหน้ามีการพยายาม​ ให้มีการพัฒนาการปลูกและเก็บเกี่ยวปาล์มให้ได้น้ำมันที่​ 23%    การที่จะออกนโยบายประกันราคาเช่นนี้​  นอกจากไม่สนับสนุนให้มีการพัฒนาโดยเพิ่มผลผลิตแล้ว​ ยังเป็นภาระงบประมาณไปเรื่อยๆ​ อย่างแน่นอน​  เพราะราคาปาล์มคงไม่กลับมามีราคาสูงอีกต่อไป

จริงๆ​ อุปสรรรค​ มาพร้อมโอกาส​  เพราะในระหว่างที่ผู้ผลิต​ 2 ชาติใหญ่​ สามารถปรับตัวได้ยากส์​ เพราะมีขนาดอุตสาหกรรมตั้งแต่การปลูกถึงการกลั่น  ที่ใหญ่มากมาย​ยากต่อการปรับเปลี่ยน​     เราควรใช้โอกาสนี้​ สนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกปลา์ม​ ให้หันไปปลูกพืชอื่นทดแทน​ เพื่อสกัดน้ำมัน​  ชิงส่วนแบ่งการตลาดการส่งออกน้ำมันพืชอื่นส่งเข้า​ EU...

คิดว่า​ หากเราใช้เงินเข้าไปส่งเสริมในจุดนี้​  จะสามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้มากกว่า​  การฝืนทำในสิ่งที่ถมไม่เต็ม

Exporting Palm Oil Alternatives to Europe
https://www.cbi.eu/market-information/natural-ingredients-cosmetics/palm-oil-alternatives/
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่น้ำมัน​ B100​ใช้กับรถยนต์ได้หรือไม่​   ประเด็นหลักอยู่ที่เมื่อนำมาใช้มันจะทำให้ราคาขายปลีก​ รวมภาษีมีราคาสูงขึ้น​ เป็นการผลักภาระไปให้ผู้ใช้รถ

https://www.innnews.co.th/economy/news_395169/
ปัจจุบัน​ รัฐมีการเก็บภาษี
น้ำมันดีเซลที่​ 6.44 บาท/ลิตร​  
ดีเซล​B7 ที่​ 5.99 บาท/ลิตร
ดีเซลB20 ที่​ 5.153 บาท/ลิตร

จะเห็นว่าทางรัฐต้องลดภาษีที่จัดเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นเมื่อผสมน้ำมันปาล์มเข้าไปในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

การนำน้ำมันปาล์มไปใช้ผลิต   B100​จึงไม่ใช่ทางออก​ เพราะนอกจากเป็นการบิดเบือนราคา​ ยังทำให้​ supply ของน้ำมันปาล์มไม่ลดลง​  ตรงกันข้ามจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ผิดทำให้เกิดการขยายพื้นที่ปลูก​  สุดท้าย​ Supply.ยิ่งเพิ่มขึ้นและผู้ใช้น้ำมันรถยนต์ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้น

เรื่องนี้ยังรวมไปถึงที่ก่อนหน้าทางรัฐบาลออกมาตราการนำน้ำมันปาล์มไปผลิตกระแสไฟฟ้า​ ซึ่งการใช้น้ำมันปาล์มนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น​ โดยภาระสุดท้ายคนที่ต้องแบกรับคือผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคน

อีกมาตรการเมื่อไม่กี่เดือนก่อน​ คือมาตราการเพิ่มราคาจำหน่ายน้ำมันปาล์มขายปลีกอีกขวดละ​ 10 บาทให้ผู้บริโภคตามบ้านร่วมแบกรับ

จะเห็นว่า​ รัฐ​ ได้พยายามกระจายภาระต้นทุนการแบกราคาปาล์มสู่ทั้งผู้ใช้รถ​  ผู้ใช้ไฟ   ผู้ใช้กิน​   ก็ยังไม่สามารถดูดซัพพลายส่วน้กินนี้ได้​  หากยังทุ่มเงินเพื่อประกันราคา​ 4 บาท/กก. จะยิ่งซ้ำเติมและสนับสนุนการบิดเบือนโครงสร้างการผลิตและราคาในระยะยาวเพิ่มขึ้นไปอีก

อุตสาหกรรมการผลิตปาล์ม​นั้น​  หากมีการควบคุมซัพพลายส่วนเกิน​ก็จะทำให้ราคาปรับเข้าสู่สมดุล  ควรออกกฎหมายให้ผู้ปลูกปาล์มต้องมีใบอนุญาติในการปลูก  เพื่อควบคุมซัพพลายโดยไม่ต้องสนับสนุนด้านราคาเพิ่มเติม​  เพราะราคาจะปรับขึ้น  ไม่ควรสนับสนุนเพิ่มอีกเพราะมันส่งผลกระทบต่อ​ ปชช.ทั่วไปมากอยู่แล้ว

วงเงินที่จะใช้สนับสนุน​ ควรนำไปส่งเสริมให้ผู้ที่ปลูกปาล์มอยู่หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นจะดีกว่า...   เพื่อดูดซัพพลายส่วนเกินออก

ทางรัฐควรคำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศเท่านั้น​ เพื่อกำหนดจำนวนใบอนุญาติ​ และเพื่อส่งสัญญาณการควบคุมการผลิต... ทั้งนี้เพื่อทั้งเกษตรกรที่ปลูก​ปาล์ม และทั้งคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้เสียภาษี...

ที่รัฐต้องดูแล​ คือเกษตรกรที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนการปลูกปาล์มไปปลูกพืชอื่น​ นี่ถึงเป็นกลุ่มเกษตรกรแท้จริงที่รัฐควรทุ่มเงินลงไปช่วยเหลือ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่