การออก "พระนาม" ตัวละครที่เป็น "พระราชวงศ์" ในนิยายไทย

เท่าที่เคยอ่านนิยายและดูละครพิเรียดมาค่อยข้างเยอะ จะสังเกตอย่างหนึ่งว่าเมื่อไรที่มีตัวละคร "พระราชวงศ์" ชั้น พระองค์เจ้า ขึ้นไป นักเขียนทุกคนจะไม่ออกพระนามอย่างขัดเจนเลยสักครั้ง มักจะออกว่า "เสด็จในกรม" "เสด็จพระองค์ชาย" "เสด็จพระองค์หญิง" ทั้งนั้น ถ้าอยากให้สมจริงขึ้นก็จะทำให้ตัวละครพระราชวงศ์องค์นั้นมีลักษณะนิสัยคล้ายๆหรือมีอะไรสื่อนัยบางอย่างว่าเป็นเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งโดยไม่ออกพระนามเลย เช่น เสด็จพระองค์หญิงของแม่พลอยในสี่แผ่นดิน

นอกจากนั้นแล้ว "ราชสกุลที่สมมติขึ้น" ก็จะไม่มี "ณ อยุธยา" ต่อท้ายเลย อันนี้เราพูดถึงการใช้ "ณ อยุธยา" ในราชสกุลสมมติของ "หม่อม/ภรรยา มรว.มล./ทายาทของ มล.ลงมา" ซึ่งปกติในความเป็นจริงจะใช้ ณ อยุธยาต่อท้าย แต่พอเป็นราชสกุลสมมติในนวนิยาย นักเขียนที่เคยอ่านมาทุกท่านจะไม่ใช่ ณ อยุธยา ครับ แต่เพิ่งเห็นในจุฑาเทพว่ามีการใช้ ณ อยุธยา เช่น หม่อมเอียด จุฑาเทพ ณ อยุธยา ซึ่งไม่เคยเจอมาก่อน 

อย่างในเรื่อง "อีสา" คนเขียนเป็น หม่อมหลวงแท้ๆที่คุณเคยกับเรื่องนี้ดี (หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรรณ) แต่ตัวละครหม่อมในนวนิยายก็ไม่ใช้ ณ อยุธยา คือ หม่อมพริ้ม รวีวาร เฉยๆ 

เราเลยเข้าใจว่ามันเป็นธรรมเนียมหรือเปล่า ที่จะไม่ออกพระนามเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และไม่ใช่ ณ อยุธยา ต่อท้ายราชสกุลสมมติ แต่เพิ่งมาเป็นนวนิยายชุด "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ที่ทำทั้งสองข้อนี้

ตกลงแล้วนักเขียนถ้าต้องการออกพระนามและใช้ ณ อยุธยา สามารถทำได้ใช่ไหมครับ เราอ่านนิยายของนักเขียนเก่าๆหลายท่านที่เลี่ยงไม่ออกพระนามและไม่ใช่ ณ อยุธยา ก็เลยคิดมาตลอดว่าต้องทำแบบนี้เท่านั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่