จากบทความครั้งที่แล้วเกี่ยวกับ Famicom Disk system
Part 1
https://pantip.com/topic/38789252
Part 2
https://pantip.com/topic/38803839
ที่แสดงถึงความพยายามของ Nintendo ที่จะลดค่าใช้จ่ายของตลับเกมลงแต่จบที่ความล้มเหลวนั้น
ในบทความครั้งนี้จะเล่าถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายของตลับเกมด้วยวิธีการอีกแบบหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากผู้เล่นอย่าง
ล้นหลามแต่มันมีข้อเสียที่ใหญ่มากอยู่อย่างหนึ่ง คือ
“Nintendo ไม่ถูกใจสิ่งนี้”

ในยุค 80s และ 90s ที่อเมริกานั้นความบันเทิงระดับครอบครัวช่วงวันหยุดในราคาที่จับต้องได้คือการเช่า VDO มาดูที่บ้าน
ไม่มีใครไม่ชอบดูหนังแต่ก็น้อยนักที่จะมั่งคั่งพอที่จะซื้อ VDO เรื่องใหม่ ๆ มาดูได้ทุกสุดสัปดาห์
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดธุรกิจให้เช่า VDO ขึ้นมาและสร้างรายได้แก่เจ้าของกิจการอย่างมหาศาล
ต่อมาเมื่อNES เป็นที่นิยมในอเมริกา เหล่าผู้เล่นก็ประสบปัญหาที่คล้าย ๆ กับกรณีของ VDO
คือมีเกมที่อยากเล่นเต็มไปหมดแต่ตลับเกมนั้นราคาแพงจนไม่สามารถซื้อได้บ่อย ๆ
ร้านเช่า VDO เห็นปัญหานี้คือโอกาสจึงไปกว้านซื้อตลับเกม NES มาวางหน้าร้าน ปิดป้าย
Game for Rent (เกมให้เช่า)

ทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนเพื่อซื้อตลับเกมอีกต่อไปเพียงจ่ายค่าเช่าก็ได้เกมที่ต้องการไปเล่นแล้ว
ผู้เล่นเองก็มีโอกาสได้เล่นเกมมากมายหลากหลายประเภทขึ้นหรือในกรณีที่ผู้เล่นจะซื้อตลับของตัวเองแต่ไม่แน่ใจว่าเกมจะถูกใจรึไม่
ก็ใช้วิธีเช่ามาทดลองเล่นดูก่อนค่อยซื้อก็ได้
ธุรกิจให้เช่าเกมนั้นกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของร้านเช่า VDO และทำให้มูลค่าของธุรกิจนี้พุ่งสูงขึ้นไปอีก
เจ้าของร้านก็ Happy ผู้เล่นก็มีความสุข
แต่ Nintendo Don’t
การให้เช่าเกมนั้นกระทบต่อยอดขายตลับเกมโดยตรงและนั้นย่อมส่งผลในด้านลบต่อกำไรของ
Nintendo ในฐานะผู้ผลิตตลับเกมแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย
และที่แย่ไปกว่านั้นคือ
เนื่องจากการให้เช่าเกมนั้นไม่มีกฎหมายมาจำกัดขอบเขตใด ๆ
ทำให้ร้านให้เช่าเกมสามารถซื้อเกมที่ออกใหม่ล่าสุดมาวางแผงให้เช่าชนกับวันที่เกมวางจำหน่ายเลยได้
ไม่เหมือน VDO ที่มีข้อกำหนดว่าจะต้องทิ้งระยะหลังจากออกจากโรงหนังแล้วพักหนึ่งก่อน

ตรงนี้มีเกล็ดน่าสนใจที่ว่าญี่ปุ่นนั้นการให้เช่าเกมและรวมถึง Software โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พัฒนานั้นถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ณ ปัจจุบัน ผู้เขียนไม่ทราบว่ากฎหมายห้ามให้เช่าเกมและ Software ในญี่ปุ่นยังคงมีอยู่รึไม่แต่จากข้อความเตือนในภาพปกหลังของเกม
DmC เวอร์ชั่นญี่ปุ่นนั้นแสดงให้เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวเมื่อปี 2013 หรือราว ๆ 6 ปีที่แล้วยังคงมีอยู่
แต่เท่าที่ค้นดูปกหลังของเกมใหม่ ๆ ในปัจจุบันเช่น Kingdom Heart 3 นั้นไม่พบข้อความเตือนดังกล่าวแล้ว

ในตอนนั้นเอง SPA (software publisher association สมาคมผู้จัดจำหน่ายซอฟท์แวร์) ร่วมกับบริษัท Software
ต่าง ๆ รวมถึง Microsoft ก็กำลังผลักดันกฎหมายที่ชื่อว่า
Computer Software Rental Amendments Act อยู่พอดี
ซึ่งกฎหมายนี้จะทำให้การให้เช่า Software กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายและนี่คือสิ่งที่ Nintendo
ต้องการเช่นกันจึงมีความพยายามที่จะให้กฎหมายนี้ครอบคลุมถึง Software เกมที่อยู่ในตลับด้วย
แต่ SPA ก็เจอกลุ่มสมาคมร้านเช่า VDO ขู่ว่าจะขัดขวางร่างกฎหมายทุกวิถีทางถ้ามีการนับรวมตลับเกมลงไปด้วย
SPA ยอมตามสมาคมร้านเช่า VDO ทำให้การเช่าตลับเกมยังเป็นสิ่งที่ทำได้ต่อไป
Computer Software Rental Amendments Act ได้รับการลงนามและประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม 1990

ก่อนหน้าที่กฎหมายจะประกาศใช้ คาดว่า Nintendo เองคงจะรู้ตัวล่วงหน้าแล้วว่ากฎหมายจะไม่ครอบคลุมจึงเริ่มยุทธวิธีใหม่เพื่อหยุดการให้เช่าเกม
โดยการไม่ขายส่งให้กับร้านเช่า VDO
ร้านเช่า VDO ก็แก้เกมโดยส่งคนไปซื้อยก Lot ที่ร้านค้าปลีก
Nintendo แก้เกมใหม่โดยแจ้งร้านค้าปลีกให้จำกัดจำนวนที่จะซื้อได้ต่อครั้งต่อคน
ร้านเช่า VDO ก็แก้เกมกลับโดยส่งพนักงานทีละหลาย ๆ คนไปซื้อเกมหรือไม่ก็เวียนกันซื้อ
จะเห็นว่า Nintendo ทำได้เพียง “ขัดขวาง” และ “สร้างความไม่สะดวก” ให้กับร้านเช่า VDO ได้เพียงเท่านั้น
Nintendo ต้องการวิธีใหม่ที่ “แรงและมีประสิทธิ์ภาพ”

To be continue in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Nintendo ปะทะ ร้าน VDO” Part 1
Part 1 https://pantip.com/topic/38789252
Part 2 https://pantip.com/topic/38803839
ที่แสดงถึงความพยายามของ Nintendo ที่จะลดค่าใช้จ่ายของตลับเกมลงแต่จบที่ความล้มเหลวนั้น
ในบทความครั้งนี้จะเล่าถึงความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายของตลับเกมด้วยวิธีการอีกแบบหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากผู้เล่นอย่าง
ล้นหลามแต่มันมีข้อเสียที่ใหญ่มากอยู่อย่างหนึ่ง คือ
“Nintendo ไม่ถูกใจสิ่งนี้”
ในยุค 80s และ 90s ที่อเมริกานั้นความบันเทิงระดับครอบครัวช่วงวันหยุดในราคาที่จับต้องได้คือการเช่า VDO มาดูที่บ้าน
ไม่มีใครไม่ชอบดูหนังแต่ก็น้อยนักที่จะมั่งคั่งพอที่จะซื้อ VDO เรื่องใหม่ ๆ มาดูได้ทุกสุดสัปดาห์
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดธุรกิจให้เช่า VDO ขึ้นมาและสร้างรายได้แก่เจ้าของกิจการอย่างมหาศาล
ต่อมาเมื่อNES เป็นที่นิยมในอเมริกา เหล่าผู้เล่นก็ประสบปัญหาที่คล้าย ๆ กับกรณีของ VDO
คือมีเกมที่อยากเล่นเต็มไปหมดแต่ตลับเกมนั้นราคาแพงจนไม่สามารถซื้อได้บ่อย ๆ
ร้านเช่า VDO เห็นปัญหานี้คือโอกาสจึงไปกว้านซื้อตลับเกม NES มาวางหน้าร้าน ปิดป้าย
Game for Rent (เกมให้เช่า)
ทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนเพื่อซื้อตลับเกมอีกต่อไปเพียงจ่ายค่าเช่าก็ได้เกมที่ต้องการไปเล่นแล้ว
ผู้เล่นเองก็มีโอกาสได้เล่นเกมมากมายหลากหลายประเภทขึ้นหรือในกรณีที่ผู้เล่นจะซื้อตลับของตัวเองแต่ไม่แน่ใจว่าเกมจะถูกใจรึไม่
ก็ใช้วิธีเช่ามาทดลองเล่นดูก่อนค่อยซื้อก็ได้
ธุรกิจให้เช่าเกมนั้นกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของร้านเช่า VDO และทำให้มูลค่าของธุรกิจนี้พุ่งสูงขึ้นไปอีก
เจ้าของร้านก็ Happy ผู้เล่นก็มีความสุข
แต่ Nintendo Don’t
การให้เช่าเกมนั้นกระทบต่อยอดขายตลับเกมโดยตรงและนั้นย่อมส่งผลในด้านลบต่อกำไรของ
Nintendo ในฐานะผู้ผลิตตลับเกมแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย
และที่แย่ไปกว่านั้นคือ
เนื่องจากการให้เช่าเกมนั้นไม่มีกฎหมายมาจำกัดขอบเขตใด ๆ
ทำให้ร้านให้เช่าเกมสามารถซื้อเกมที่ออกใหม่ล่าสุดมาวางแผงให้เช่าชนกับวันที่เกมวางจำหน่ายเลยได้
ไม่เหมือน VDO ที่มีข้อกำหนดว่าจะต้องทิ้งระยะหลังจากออกจากโรงหนังแล้วพักหนึ่งก่อน
ตรงนี้มีเกล็ดน่าสนใจที่ว่าญี่ปุ่นนั้นการให้เช่าเกมและรวมถึง Software โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พัฒนานั้นถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ณ ปัจจุบัน ผู้เขียนไม่ทราบว่ากฎหมายห้ามให้เช่าเกมและ Software ในญี่ปุ่นยังคงมีอยู่รึไม่แต่จากข้อความเตือนในภาพปกหลังของเกม
DmC เวอร์ชั่นญี่ปุ่นนั้นแสดงให้เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวเมื่อปี 2013 หรือราว ๆ 6 ปีที่แล้วยังคงมีอยู่
แต่เท่าที่ค้นดูปกหลังของเกมใหม่ ๆ ในปัจจุบันเช่น Kingdom Heart 3 นั้นไม่พบข้อความเตือนดังกล่าวแล้ว
ในตอนนั้นเอง SPA (software publisher association สมาคมผู้จัดจำหน่ายซอฟท์แวร์) ร่วมกับบริษัท Software
ต่าง ๆ รวมถึง Microsoft ก็กำลังผลักดันกฎหมายที่ชื่อว่า
Computer Software Rental Amendments Act อยู่พอดี
ซึ่งกฎหมายนี้จะทำให้การให้เช่า Software กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายและนี่คือสิ่งที่ Nintendo
ต้องการเช่นกันจึงมีความพยายามที่จะให้กฎหมายนี้ครอบคลุมถึง Software เกมที่อยู่ในตลับด้วย
แต่ SPA ก็เจอกลุ่มสมาคมร้านเช่า VDO ขู่ว่าจะขัดขวางร่างกฎหมายทุกวิถีทางถ้ามีการนับรวมตลับเกมลงไปด้วย
SPA ยอมตามสมาคมร้านเช่า VDO ทำให้การเช่าตลับเกมยังเป็นสิ่งที่ทำได้ต่อไป
Computer Software Rental Amendments Act ได้รับการลงนามและประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม 1990
ก่อนหน้าที่กฎหมายจะประกาศใช้ คาดว่า Nintendo เองคงจะรู้ตัวล่วงหน้าแล้วว่ากฎหมายจะไม่ครอบคลุมจึงเริ่มยุทธวิธีใหม่เพื่อหยุดการให้เช่าเกม
โดยการไม่ขายส่งให้กับร้านเช่า VDO
ร้านเช่า VDO ก็แก้เกมโดยส่งคนไปซื้อยก Lot ที่ร้านค้าปลีก
Nintendo แก้เกมใหม่โดยแจ้งร้านค้าปลีกให้จำกัดจำนวนที่จะซื้อได้ต่อครั้งต่อคน
ร้านเช่า VDO ก็แก้เกมกลับโดยส่งพนักงานทีละหลาย ๆ คนไปซื้อเกมหรือไม่ก็เวียนกันซื้อ
จะเห็นว่า Nintendo ทำได้เพียง “ขัดขวาง” และ “สร้างความไม่สะดวก” ให้กับร้านเช่า VDO ได้เพียงเท่านั้น
Nintendo ต้องการวิธีใหม่ที่ “แรงและมีประสิทธิ์ภาพ”
To be continue in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ https://www.facebook.com/uptomejournal/