บทความตามใจฉัน “Game of Consoles: 10NES Chip” Part 2
Part1 >
https://pantip.com/topic/38622705
ก่อนที่จะพูดถึง 10NES Chip ต่อนั้นผู้เขียนเห็นว่าควรเล่าถึงความเป็นมาของ Tengen ก่อน
ย้อนกลับไปช่วงปี 1984 1 ปีหลังจากเกิด Video game crash ในอเมริกา จากการขาดทุนมหาศาลของ Atari ทำให้ Warner บริษัทแม่ของ Atari ตัดแบ่ง Atari เป็น 2 บริษัท Atari Corporation และ Atari Game เพื่อขายทอดกิจการ โดย Atari Game ถูกซื้อไปโดย Namco ในปี 1985
ในขณะนั้นตลาด NES กำลังบูมเต็มที่ ความหอมหวานของผลประโยชน์ทำให้ Atari Game คิดที่จะกลับเข้าสู่ตลาดเกมอีกครั้งโดยสร้างเกมลงบน NES แต่ติดขัดที่ว่าไม่สามารถใช้ชื่อ Atari ในการทำตลาดเนื่องจาก Atari Game ไม่ได้ถือสิทธิ์ในการวางจำหน่ายเกมบนเครื่องเกม Console (สิทธิ์ดังกล่าวอยู่กับ Atari Corporation) จึงมีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเกมบน Console โดยเฉพาะ บริษัทนั้นชื่อว่า Tengen (เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า Atari ที่แปลว่าชนะแต่เป็นคำเฉพาะที่ใช้ในเกมหมากล้อม โก๊ะ)

Tengen เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทเกมที่ไม่พอใจในนโยบายของ Nintendo และพยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอผ่อนปรนข้อกำหนดแต่ Nintendo ปฏิเสธ Tengen ไม่มีทางเลือกจึงยอมตาม Nintendo ต่อมาในปี 1988 Tengen จึงได้เริ่มวางจำหน่าย 3 เกมแรกของตนบนระบบ NES ตามข้อกำหนดของ Nintendo โดยเกมที่ลงนั้นมี R.B.I. Baseball, Pac-Man และ Gauntlet.
ทุกอย่างดูเหมือนจะเป็นไปด้วยดีแต่ Nintendo กลับไม่เคยรู้เลยว่านั้นเป็นแค่หน้าฉาก หลังฉากนั้นทีมวิศวกรของ Tengen กำลังพยายามอย่างหนักที่จะวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES Chip เพื่อหาวิธีถอดรหัสการทำงานของ Chip และปลดล๊อกการทำงานของเครื่อง แต่ปัญหาคือหลังจากทดลองมานานวิศวกรของ Tengen ยอมรับกับผู้บริหารว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้
“เว้นแต่ ถ้าได้ Source Code ของ 10NES มา”

นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของ Mission impossible ที่ Tengen ได้ว่าจ้าง อีธาน ฮันต์และทีมให้เข้าไปขโมย Source Code จาก Server ของ Nintendo

ล้อเล่นครับ ความจริงมันเรียบง่ายกว่านั้นมาก กฎหมายของอเมริกาในตอนนั้นเขียนไว้ว่าข้อมูลทรัพย์สิทธิ์ทางปัญญาที่จดสิทธิ์บัตรไว้นั้นจะสามารถขอสำเนาออกไปได้ “ก็ต่อเมื่อมันเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการดำเนินคดี”
วิธีที่ Tengen ทำคือติดต่อไปยังสำนักงานสิทธิ์บัตรของอเมริกาเพื่อขอสำเนา Source code ของ 10NES Chip โดยอ้างว่าเพื่อใช้ในการดำเนินคดี
เรียบง่ายและได้ผล Tengen ได้สำเนา Source code ของ 10NES Chip มาอยู่ในมือของในที่สุดและที่สำคัญคืออย่างถูกต้องตามกระบวนการอีกด้วย (แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย)

เมื่อได้ Source code ทีมวิศวกรของ Tengen เองก็สามารถวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES ได้ตามที่พูดไว้และประสบความสำเร็จในการสร้าง 10NES Counter Chip ของตัวเอง
ต่อมา Chip นี้ถูกตั้งชื่อว่า Rabbit และตัวตนของมันถูกเก็บไว้เป็นความลับสุดยอดของ Tengen ในฐานะไพ่ตายยามเมื่อต้องแตกหักกับ Nintendo
และเวลานั้นมาถึงเร็วกว่าที่คิดไว้มาก

ปี 1988 ปีเดียวกับที่ Tengen เริ่มวางจำหน่าย 3 เกม NES แรกของตนได้เกิดเหตุการณ์ Memory Chip ขาดตลาดขึ้น และนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนของ Nintendo ในการผลิตตลับเกมด้วยเช่นกัน Nintendo ตัดสินใจแก้ปัญหาแบบหักดิบด้วยการแจ้งกับบริษัทเกมต่าง ๆ ว่าจะได้ตลับเกมน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้
นั้นหมายความว่า Nintendo หักคอขึ้นราคาค่าผลิตตลับเกมแบบโนสนโนแคร์ ทำให้ถ้าบริษัทเกมจะยังต้องการจำนวนตลับเกมเท่าที่เคยสั่งไปละก็จะสั่ง lot ใหม่เพิ่มและแน่นอนว่าต้องจ่ายเพิ่มอีก
เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทเกมต่าง ๆ ล้วนเดือดกันเป็นแถวเพราะนั้นหมายถึงแผนการตลาดพินาศ, ไม่มีสินค้าพอตอบความต้องการของลูกค้าตามแผนได้และนั้นหมายถึงการขาดทุนอย่างชัดเจนแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ บางบริษัทยอมจ่ายเพิ่ม บางบริษัทก็ยอมเลื่อนการวางจำหน่ายเกมออกไป

Tengen เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกันเลยเจรจากับ Nintendo ว่าจะขอจัดหา Memory Chip เองแล้วเอามาให้ Nintendo ผลิตเกมให้ครบตามจำนวนที่เคยสั่งผลิต Nintendo ตกลงด้วยเงื่อนไขว่า Tengen จะต้องจ่ายค่าส่วนต่างของ Chip เองและ Chip เหล่านั้นจะต้องผ่านมาตรฐานของ Nintendo ด้วย
Tengen สามารถหาซัพพลายเออร์เพื่อส่งมอบ Chip เพิ่มเติมให้แก่ Nintendo ได้สำเร็จแต่ปัญหาคือ Nintendo แจ้งว่า Chip เหล่านั้นไม่ผ่านมาตรฐานและปฏิเสธการผลิตตลับเกมให้ตามจำนวนที่สั่งผลิตเดิม นั้นหมายความว่าตลับเกมของ Tengen จะถูกผลิตออกมาในจำนวนที่น้อยกว่าแผนที่วางไว้ โดยแหล่งข้อมูลจากทาง Tengen ได้คาดการณ์ไว้ว่าจำนวนสินค้าจะรองรับความต้องการได้ไม่ถึง 10% จากความต้องการทั้งหมด
และนี่คือฟางเส้นสุดท้ายสำหรับ Tengen

ธันวาคม 1988 Tengen ฟ้อง Nintendo ในข้อหาทำการค้าผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมพร้อมทั้งทำการส่งตลับเกม NES ต่าง ๆ ที่ตนผลิตเองพร้อมติดตั้ง Rabbit Chip ออกสู่ตลาด ข้อแตกต่างระหว่างตลับเกม NES ของ Nintendo และของ Tengen แบบเห็นได้ชัดคือสี ตลับของ Nintendo จะสีเท่าส่วนของ Tengen จะสีดำ ไม้นี้ของ Tengen ทำเอา Nintendo ไปไม่เป็นอยู่พักนึงแต่ก็ไม่นานเพราะพอเรื่องถึงบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นประธานบริษัทก็ฟันธงลงมาชัดเจน
“ตลับเกมเถื่อนจะต้องถูกหยุดให้ได้”

หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1989 Nintendo ได้ฟ้องกลับ Tengen ในหลายข้อหา หนึ่งในข้อหาที่ฟ้องนั้นคือการได้มาซึ่งโปรแกรมที่จดสิทธิ์บัตรของ Nintendo โดยผิดกฎหมาย (10NES Source Code) ข้อหาทั้งหลายนั้นถูกรวมเป็นคดีเดียวและเข้าสู่ศาล
นี่กลายเป็นสงครามระหว่างบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ 2 บริษัท Nintendo และ Tengen ที่มี Atari Game และ Namco หนุนหลังโดยต่อสู้กันทั้งในศาลและนอกศาลอันกินเวลายาวนานที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาตร์ของวงการเกม

To be continue in Part 3
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Game of Consoles: 10NES Chip” Part 2
Part1 > https://pantip.com/topic/38622705
ก่อนที่จะพูดถึง 10NES Chip ต่อนั้นผู้เขียนเห็นว่าควรเล่าถึงความเป็นมาของ Tengen ก่อน
ย้อนกลับไปช่วงปี 1984 1 ปีหลังจากเกิด Video game crash ในอเมริกา จากการขาดทุนมหาศาลของ Atari ทำให้ Warner บริษัทแม่ของ Atari ตัดแบ่ง Atari เป็น 2 บริษัท Atari Corporation และ Atari Game เพื่อขายทอดกิจการ โดย Atari Game ถูกซื้อไปโดย Namco ในปี 1985
ในขณะนั้นตลาด NES กำลังบูมเต็มที่ ความหอมหวานของผลประโยชน์ทำให้ Atari Game คิดที่จะกลับเข้าสู่ตลาดเกมอีกครั้งโดยสร้างเกมลงบน NES แต่ติดขัดที่ว่าไม่สามารถใช้ชื่อ Atari ในการทำตลาดเนื่องจาก Atari Game ไม่ได้ถือสิทธิ์ในการวางจำหน่ายเกมบนเครื่องเกม Console (สิทธิ์ดังกล่าวอยู่กับ Atari Corporation) จึงมีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเกมบน Console โดยเฉพาะ บริษัทนั้นชื่อว่า Tengen (เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า Atari ที่แปลว่าชนะแต่เป็นคำเฉพาะที่ใช้ในเกมหมากล้อม โก๊ะ)
Tengen เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทเกมที่ไม่พอใจในนโยบายของ Nintendo และพยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอผ่อนปรนข้อกำหนดแต่ Nintendo ปฏิเสธ Tengen ไม่มีทางเลือกจึงยอมตาม Nintendo ต่อมาในปี 1988 Tengen จึงได้เริ่มวางจำหน่าย 3 เกมแรกของตนบนระบบ NES ตามข้อกำหนดของ Nintendo โดยเกมที่ลงนั้นมี R.B.I. Baseball, Pac-Man และ Gauntlet.
ทุกอย่างดูเหมือนจะเป็นไปด้วยดีแต่ Nintendo กลับไม่เคยรู้เลยว่านั้นเป็นแค่หน้าฉาก หลังฉากนั้นทีมวิศวกรของ Tengen กำลังพยายามอย่างหนักที่จะวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES Chip เพื่อหาวิธีถอดรหัสการทำงานของ Chip และปลดล๊อกการทำงานของเครื่อง แต่ปัญหาคือหลังจากทดลองมานานวิศวกรของ Tengen ยอมรับกับผู้บริหารว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้
“เว้นแต่ ถ้าได้ Source Code ของ 10NES มา”
นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของ Mission impossible ที่ Tengen ได้ว่าจ้าง อีธาน ฮันต์และทีมให้เข้าไปขโมย Source Code จาก Server ของ Nintendo
ล้อเล่นครับ ความจริงมันเรียบง่ายกว่านั้นมาก กฎหมายของอเมริกาในตอนนั้นเขียนไว้ว่าข้อมูลทรัพย์สิทธิ์ทางปัญญาที่จดสิทธิ์บัตรไว้นั้นจะสามารถขอสำเนาออกไปได้ “ก็ต่อเมื่อมันเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการดำเนินคดี”
วิธีที่ Tengen ทำคือติดต่อไปยังสำนักงานสิทธิ์บัตรของอเมริกาเพื่อขอสำเนา Source code ของ 10NES Chip โดยอ้างว่าเพื่อใช้ในการดำเนินคดี
เรียบง่ายและได้ผล Tengen ได้สำเนา Source code ของ 10NES Chip มาอยู่ในมือของในที่สุดและที่สำคัญคืออย่างถูกต้องตามกระบวนการอีกด้วย (แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย)
เมื่อได้ Source code ทีมวิศวกรของ Tengen เองก็สามารถวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES ได้ตามที่พูดไว้และประสบความสำเร็จในการสร้าง 10NES Counter Chip ของตัวเอง
ต่อมา Chip นี้ถูกตั้งชื่อว่า Rabbit และตัวตนของมันถูกเก็บไว้เป็นความลับสุดยอดของ Tengen ในฐานะไพ่ตายยามเมื่อต้องแตกหักกับ Nintendo
และเวลานั้นมาถึงเร็วกว่าที่คิดไว้มาก
ปี 1988 ปีเดียวกับที่ Tengen เริ่มวางจำหน่าย 3 เกม NES แรกของตนได้เกิดเหตุการณ์ Memory Chip ขาดตลาดขึ้น และนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนของ Nintendo ในการผลิตตลับเกมด้วยเช่นกัน Nintendo ตัดสินใจแก้ปัญหาแบบหักดิบด้วยการแจ้งกับบริษัทเกมต่าง ๆ ว่าจะได้ตลับเกมน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้
นั้นหมายความว่า Nintendo หักคอขึ้นราคาค่าผลิตตลับเกมแบบโนสนโนแคร์ ทำให้ถ้าบริษัทเกมจะยังต้องการจำนวนตลับเกมเท่าที่เคยสั่งไปละก็จะสั่ง lot ใหม่เพิ่มและแน่นอนว่าต้องจ่ายเพิ่มอีก
เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทเกมต่าง ๆ ล้วนเดือดกันเป็นแถวเพราะนั้นหมายถึงแผนการตลาดพินาศ, ไม่มีสินค้าพอตอบความต้องการของลูกค้าตามแผนได้และนั้นหมายถึงการขาดทุนอย่างชัดเจนแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ บางบริษัทยอมจ่ายเพิ่ม บางบริษัทก็ยอมเลื่อนการวางจำหน่ายเกมออกไป
Tengen เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกันเลยเจรจากับ Nintendo ว่าจะขอจัดหา Memory Chip เองแล้วเอามาให้ Nintendo ผลิตเกมให้ครบตามจำนวนที่เคยสั่งผลิต Nintendo ตกลงด้วยเงื่อนไขว่า Tengen จะต้องจ่ายค่าส่วนต่างของ Chip เองและ Chip เหล่านั้นจะต้องผ่านมาตรฐานของ Nintendo ด้วย
Tengen สามารถหาซัพพลายเออร์เพื่อส่งมอบ Chip เพิ่มเติมให้แก่ Nintendo ได้สำเร็จแต่ปัญหาคือ Nintendo แจ้งว่า Chip เหล่านั้นไม่ผ่านมาตรฐานและปฏิเสธการผลิตตลับเกมให้ตามจำนวนที่สั่งผลิตเดิม นั้นหมายความว่าตลับเกมของ Tengen จะถูกผลิตออกมาในจำนวนที่น้อยกว่าแผนที่วางไว้ โดยแหล่งข้อมูลจากทาง Tengen ได้คาดการณ์ไว้ว่าจำนวนสินค้าจะรองรับความต้องการได้ไม่ถึง 10% จากความต้องการทั้งหมด
และนี่คือฟางเส้นสุดท้ายสำหรับ Tengen
ธันวาคม 1988 Tengen ฟ้อง Nintendo ในข้อหาทำการค้าผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมพร้อมทั้งทำการส่งตลับเกม NES ต่าง ๆ ที่ตนผลิตเองพร้อมติดตั้ง Rabbit Chip ออกสู่ตลาด ข้อแตกต่างระหว่างตลับเกม NES ของ Nintendo และของ Tengen แบบเห็นได้ชัดคือสี ตลับของ Nintendo จะสีเท่าส่วนของ Tengen จะสีดำ ไม้นี้ของ Tengen ทำเอา Nintendo ไปไม่เป็นอยู่พักนึงแต่ก็ไม่นานเพราะพอเรื่องถึงบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นประธานบริษัทก็ฟันธงลงมาชัดเจน
“ตลับเกมเถื่อนจะต้องถูกหยุดให้ได้”
หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1989 Nintendo ได้ฟ้องกลับ Tengen ในหลายข้อหา หนึ่งในข้อหาที่ฟ้องนั้นคือการได้มาซึ่งโปรแกรมที่จดสิทธิ์บัตรของ Nintendo โดยผิดกฎหมาย (10NES Source Code) ข้อหาทั้งหลายนั้นถูกรวมเป็นคดีเดียวและเข้าสู่ศาล
นี่กลายเป็นสงครามระหว่างบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ 2 บริษัท Nintendo และ Tengen ที่มี Atari Game และ Namco หนุนหลังโดยต่อสู้กันทั้งในศาลและนอกศาลอันกินเวลายาวนานที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาตร์ของวงการเกม
To be continue in Part 3
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/