ผู้จัดการมรดก เป็นทายาทและพี่น้องของผู้ให้มรดก จะทำอะไรได้บ้างในกรณีแบบนี้

แม่ผมมีพี่น้อง 4 คน มีที่ดินมรดกอยู่ผืนหนึ่ง โดยมีน้องสาวแม่เป็นผู้จัดการมรดก ปัญหาตอนนี้คือ พี่น้องของแม่อยากแบ่งที่ดินกัน แต่ติดที่ไม่สามารถนัดน้องอีกคนมาเซ็นเอกสาร หรือทำเรื่องแบ่งได้ (คือ น้องสาวแม่คนนี้ไม่พร้อมจะมาสักที ยื้อกันมาหลายปีแล้ว) กรณีแบบนี้ น้องสาวอีกคนที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ทำอะไรได้บ้าง จึงจะสามารถแบ่งที่ดินผืนนี้ได้ครับ

ปล. คุณตาคุณยายที่เสียไป ท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมอะไรครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เดิมตั้งใจไม่คิดจะมาตอบเรื่องพวกนี้ในห้องนี้อีกแล้วคือเห็นคำถามเยอะแต่ไม่ตอบ  แต่กรณีนี้เห็นบอกว่าทำไม่ได้
มาหลายปีก็เลยขอละเมิดความตั้งใจของตัวเองสักหน  อยากจะแนะนำว่าให้ทำอย่างไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการรวบรามมรดก และจัดแบ่งให้ทายาท
ตามสิทธิที่แต่ละคนมี ดังนี้ เมื่อจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกลงในโฉนดแล้ว (คือหากเป็นการตั้งโดยพินัยกรรม
ก็ทำได้เช่นกัน คือให้ไปยื่นประกาศจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั่นเอง  แต่หาก
ศาลตั้งมาแล้วก็เป็นเช่นกันแต่ก็ต้องไปจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกก่อนเหมือนกรณีตั้งโดยพินัยกรรมธรรมดานี่เอง
คือการตั้งโดยพินัยกรรมนั้นก็ไปยื่นคำขอได้เลยไม่ต้องไปผ่านศาลอีกเลย กฎหมายที่ดินให้ทำได้โดยตรงอยู่แล้ว
เมื่อจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  ก็จัดการยื่นคำขอแบ่งแยกออกไปให้ได้แปลงเท่าจำนวนทายาท(คือแปลงคง
เหลือมันก็เป็นแปลงหนึ่งเหมือนกัน)  ปกติผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจแบ่งตามที่เห็นสมควรอยู่แล้วเพื่อให้ทำการโอนได้
การทะเลาะกันนั้นเขาถึงมีผัจัดการไว้ทำการแบ่งนี่เอง แบ่งตามเหตุผลที่สมควรนะไม่ใช่เอาแต่ได้อย่างเดียว
ต้องคำนึงสิทธิคนอื่นด้วย การแบ่งที่เป็นธรรมใคร ๆ  ก็มองออก ความเป็นธรรมจะเป็นเกราะป้อง
กันตัวผู้จัดการมรดกเอง   เพราะหากโดนฟ้องว่าไม่เป็นธรรมสิ่งที่มันปรากฎก็จะบอกว่าเป็นธรรมหรือไม่

พอแบ่งเสร็จก็ทำการโอนแปลงย่อยให้ทายาทไป ให้ตกลงกันว่าควรจะได้แปลง
ไหนก็จะดี  แต่หากตกลงไม่ได้คือไม่มาตกลงก็โอนไปตามเหตุผลที่ดีที่สุด  ไม่ต้องกลัวโดนฟ้องเพราะอย่างที่บอก
การกระทำที่สมเหตุผลจะเป็นตัวป้องกันเอง  อย่างถ้ามีบ้านทายาทปลูกอยู่แล้วเราก็ต้องแบ่งตรงนั้นให้เขา
แต่จะไปให้ตรงอื่นมันก็ไม่สมเหตุผล  ถ้าเป็นที่ดินเปล่าก็แบ่งให้ตามราคาที่เท่าเทียมกันตามที่เป็นจริง  คือใครอยู่
ติดถนนหลักก็ควรได้น้อยหน่อยเพราะราคามันแพงกว่าข้างใน การแบ่งที่ถูกต้องนั้นเขาไม่ได้ถือเนื้อที่เท่ากันหรอก
เขาถือราคาที่จะได้ต่างหากเล่า(แต่จะเอาเนื้อที่ก็ได้เพราะคนไทยมักคิดอย่างนี้)  แต่ตรงนี้มันอาจยากนิดนึงต้อง
ดูราคาประเมินจะบอกได้ส่วนหนึ่ง  และการแบ่งนี่ต้องทำถนนหรือทางออกให้ทุกแปลง  ห้ามแบ่งโดยให้ผ่านแปลง
อื่นเด็ดขาดจำไว้เลย  เพราะมันจะมีปัญหาภายหลังได้ผู้จัดการมรดกสามารถแบ่งทางไว้ให้ใช้ทุกคนได้
นี่ก็เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำได้ เพื่อประโยชน์ของทายาทร่วมกันไม่มีผู้พิพากษาคนไหนบ้าจี้หรือโง่มากที่จะ
ไม่คิดถึงเรื่องนี้และไปตัดสินว่าผิดเพราะทำให้เนื้อที่เสียไป  มันทำให้ทุกแปลง
มีมูลค่าเพื่มขึ้นสะดวกขึ้นเพราะติดทางสาธารณะ หรือเป็นทางร่วมกันก็ได้ จริง ๆ ไม่ควรใช้ชื่อร่วมกันหรอก
มันมีเหตุผลของมัน  คือในทางกฎหมายมีชื่อและตายไปก็ต้องมีการรับมรดกกันอีก  มันจะมีชื่อเยอะมาก
ไม่จำเป็นเลย แต่มันก็จะมีปัญหาหากไม่มีชื่อก็ไม่มีสิทธิใช้  เพราะอย่างนั้นมันควรหักเป็นทางสาธารณะ
จะดีกว่า (การแบ่งเป็นทางเราก็อย่าแบ่งให้มันทะลุออกสองด้านคนก็ไม่ผ่านเข้าออกทะลุ แต่มันจะใช้กัน
ภายในวงจำกัดของเรามากกว่า คือมันอยู่ที่เทคนิกของเราที่จะคิดทำวางแผนเอา แค่เราทำแต่ไม่บอกใคร
คนอื่นก็ไม่รู้ว่ามันเป็นสาธารณะ เพราะมันอยู่ภายในไม่มีการประกาศเลย)


แปลงไหนทายาทไม่มารับ  โฉนดที่แบ่งออกมันก็ยังเป็นชื่อผู้จัดการมรดกอยู่นั่นเอง พร้อมจะโอนได้ทุกเมื่อที่พร้อมรับ
แล้วมันก็มอบอำนาจให้มารับมรดกได้อยู่แล้ว การไม่มานี่คนไหนไม่มาปล่อยไป ให้คนอื่นรับไปตามสิทธิ
การยอมรับและเข้าครอบครองนาน  ๆ ไปมันไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้หรอกมันฝืนความจริง  ศาลก็ไม่เปลี่ยนเช่นกัน

แล้วจะบอกให้อย่างหนึ่งหากผู้จัดการมรดกตายไปก่อนโอนให้หมดที่ดินนั้นก็ถือว่าไม่มีผู้จัดการมรดก ทายาทก็ไปยื่นจดทะเบียน
ยกเลิกผู้จัดการมรดกได้เลย (กรณีตั้งโดยพินัยกรรมธรรมดาศาลไม่ได้สั่ง)  มันก็จะกลับเป็นชื่อคนตายในส่วนนั้นอีก
เป็นมรดกธรรมดานี่อีกหนนึงที่ต้องไปประกาศรับมรดกกันใหม่อีกเหมือนไมมีผู้จัดการมรดก คือกฎหมายไม่ได้
บอกว่าต้องไปตั้งกันใหม่เลย  คือผู้จัดการมรดกตายนี่ไม่จำเป็้นต้องตั้งใหม่หรอกหากเป็นโดยพินัยกรรม
ไม่ใช่ศาลตั้ง  แต่หากศาลตั้งก็ยุ่งไปอีกหน่อยต้องไปขอให้ศาลตั้งคนใหม่อีก เสียเวลาเปล่า ๆ ทั้ง ๆ ที่เดิมก็ทำได้อยู่แล้ว
คนเรานี่ก็แปลกจะทำ ๆ ให้หมดเรื่องก็ไม่ทำ  ไม่ยอมรับมรดกมันบ้าน่ะ  ให้คนอื่นรับโอนไปแล้วก็แล้วกันเพราะเป็น
การกระทำที่ถูกต้องแล้วในขณะที่ผู้จัดการมรดกมีอำนาจตามกฎหมาย  ไม่มีอะไรไปห้ามโอนให้คนอื่นตามสิทธิ
อะไรที่ทำไปถูกต้องแล้วก็เป็นไปตามนั้นคนจะฟ้องก็ต้องหาเหตุผลมาหักล้าง  ซึ่งมันยากหากว่าทำตามเหตุผล
ที่สมควรแล้วในตอนนั้น  คืออย่าไปฝืนสิทธิที่ควรได้ของแต่ละคน   และฝ่ายข้างมากเขาพอใจแล้วเป็นธรรม  
อีกคนจะบอกว่าไม่เป็นธรรมทั้ง ๆ ที่เหตุผลมันออกมาเป็นธรรมแล้ว  เขาก็ไม่ชนะหรอก อย่าลืมว่าศาลมีเหตุมีผลเสมอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่