คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
1.กรณีที่บ้าน ระหว่างการไถ่ถอนจากพี่เขย กับการโอนแบ่งให้ลูกๆ อันไหนทำก่อนหลัง? (พี่เขยพร้อมจะเซ็นต์เอกสารให้ แต่ปัญหาคือมันเป็นที่มรดก ถ้าทำการไถ่ถอนแล้วจะใส่ชื่อใครในที่ดินผืนนั้น , บุคคลใดจะเป็นคนเซ็นต์รับทราบการไถ่ถอนจากพี่เขย เพราะแม่เสียไปแล้ว ให้พ่อเซ็นต์แทนแม่ได้หรือไม่?
,กรณีนี้จำเป็นต้องมีการจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ การไถ่ถอน ทั้งในเรื่องจำนอง หรือขายฝาก เจ้าหนี้(พี่เขย) สามารถที่จะเซนต์เอกสารสลักหลัง โดยมีข้อความว่า ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนสำหรับการจำนองหรือขายฝาก ไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเซนต์ชื่อลงบนสัญญาขายฝาก หรือสัญญาจำนอง ของเจ้าหนี้ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนา ไปทำเรื่องไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินได้ โดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องไป ส่วนกรณีที่ใครจะไปนั้น ก็คงเป็นเจ้าตัวหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ซึ่งกรณีนี้ ก็น่าจะต้องเป็น ผู้จัดการมรดก มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ที่ดินก็ทำต่อให้ไม่ถูกเหมือนกัน
ดังนั้นทางที่ดี ควรจะต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดก จะเป็นการสะดวกและดีที่สุด
2.กรณีที่นา จำนวน 21 ไร่ แบ่งให้ลูกๆ 7 คนๆละ 3 ไร่ โดยจะออกเป็นโฉนดเป็นชื่อของแต่ละคน จะมีขั้นตอนยุ่งยากไหม? เพราะต้องมีการแบ่งที่นาเป็นหลายๆแปลง จนท.จะต้องเข้าไปทำการรังวัดที่ดินใหม่เพื่อออกโฉนดเข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ก่อนอื่นก็จัดตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน และให้ผู้จัดการมรดก ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จะเป็นกี่แปลง แปลงละกี่ไร่ ก็ตกลงกันตอนที่ทำรังวัดแบ่งแยก ซึ่งเจ้าหน้าที่รังวัดจะสอบถาม และทุกคนต้องเซนต์เอกสารต่าง ๆ เพื่อยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ได้ถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่ถูกต้อง และสุดท้ายตอนออกโฉนด ก็ตรวจสอบและเซนต์กันอีกครั้ง รายละเอียดถามเจ้าหน้าที่ที่ดิน
3.ที่นา+ที่บ้าน ในกรณีที่พี่น้องตกลงกันได้ แบ่งกันยุติธรรมไม่มีปัญหา จำเป็นต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (เท่าที่ทราบ ผู้จัดการมรดกจะแต่งตั้งขึ้นในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกันภายใน ,หาข้อตกลงไม่ได้)
ตอบ ทางกฏหมายอาจจะไม่ต้องตั้งผู้จัดการมรดก แต่ที่ดินคงจะไม่ยอมโอนให้ (เพราะถ้าผิดพลาดอะไรขึ้นมา เจ้าหน้าที่อาจติดคุก) แต่จะแจ้งให้ไปร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่ง หรือให้จัดตั้งผุ้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดก เป็นผู้จัดการทรัพย์สินตามกฏหมาย
4.สมมุติว่ามีพี่น้องบางคนที่ไม่รับมรดกนี้ ต้องเซ็นต์เอกสารยินยอมสละสิทธิ์ สามารถเซ็นต์ได้เลยหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องเซนต์ว่าสละสิทธิ์ เพียงแต่เวลาแบ่งกรรมสิทธิ์ ก็เซนต์ยินยอมให้แบ่งตามสัดส่วนที่ระบุไว้ ว่าใครได้ตรงไหน จำนวนเท่าใด ก็ได้
5.การทำธุรกรรมดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สามารถใช้ใบมอบฉันทะแทนได้หรือไม่? กรณีที่ไม่สะดวกไปทำด้วยต้วเอง (มีพี่บางคนอยู่ต่างประเทศ ไม่สะดวกเซ็นต์เอกสาร หรือว่าจะส่งเอกสารไปให้เซ็นต์ได้หรือไม่?) จำเป็นไหมว่าจะต้องให้พี่น้องมาพร้อมหน้าครบกันทั้ง 7 คน ในการทำธุรกรรมต่างๆต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ ทางกฏหมาย เราสามารถมอบฉันทะมาได้ โดยให้กรอกตามแบบฟอร์มมอบฉันทะของกรมที่ดิน (ดาวน์โหลดได้ที่เวปของกรมที่ดิน) พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน รับรองถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่มักจะร้องขอให้เรามากันให้ครบ ๆ ต่อหน้าเจ้าพนักงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง แต่ปัจจุบันนี้ผู้รับมอบจะถูกถ่ายภาพไว้ เพื่อยืนยันตัวตนว่าได้รับมอบมาจริง ถ้าผิดพลาดเจ้าหน้าที่ก็มีหลักฐานเอาผิดผู้รับมอบได้
6. 6.คำแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆเกี่ยวกับกรณีนี้
ตอบ แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ตามคำสั่งศาล จะเป็นการจัดการทรัพย์สินที่ง่ายและสะดวกที่สุด
,กรณีนี้จำเป็นต้องมีการจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ การไถ่ถอน ทั้งในเรื่องจำนอง หรือขายฝาก เจ้าหนี้(พี่เขย) สามารถที่จะเซนต์เอกสารสลักหลัง โดยมีข้อความว่า ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนสำหรับการจำนองหรือขายฝาก ไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเซนต์ชื่อลงบนสัญญาขายฝาก หรือสัญญาจำนอง ของเจ้าหนี้ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนา ไปทำเรื่องไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินได้ โดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องไป ส่วนกรณีที่ใครจะไปนั้น ก็คงเป็นเจ้าตัวหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ซึ่งกรณีนี้ ก็น่าจะต้องเป็น ผู้จัดการมรดก มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ที่ดินก็ทำต่อให้ไม่ถูกเหมือนกัน
ดังนั้นทางที่ดี ควรจะต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดก จะเป็นการสะดวกและดีที่สุด
2.กรณีที่นา จำนวน 21 ไร่ แบ่งให้ลูกๆ 7 คนๆละ 3 ไร่ โดยจะออกเป็นโฉนดเป็นชื่อของแต่ละคน จะมีขั้นตอนยุ่งยากไหม? เพราะต้องมีการแบ่งที่นาเป็นหลายๆแปลง จนท.จะต้องเข้าไปทำการรังวัดที่ดินใหม่เพื่อออกโฉนดเข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ก่อนอื่นก็จัดตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน และให้ผู้จัดการมรดก ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จะเป็นกี่แปลง แปลงละกี่ไร่ ก็ตกลงกันตอนที่ทำรังวัดแบ่งแยก ซึ่งเจ้าหน้าที่รังวัดจะสอบถาม และทุกคนต้องเซนต์เอกสารต่าง ๆ เพื่อยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ได้ถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่ถูกต้อง และสุดท้ายตอนออกโฉนด ก็ตรวจสอบและเซนต์กันอีกครั้ง รายละเอียดถามเจ้าหน้าที่ที่ดิน
3.ที่นา+ที่บ้าน ในกรณีที่พี่น้องตกลงกันได้ แบ่งกันยุติธรรมไม่มีปัญหา จำเป็นต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (เท่าที่ทราบ ผู้จัดการมรดกจะแต่งตั้งขึ้นในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกันภายใน ,หาข้อตกลงไม่ได้)
ตอบ ทางกฏหมายอาจจะไม่ต้องตั้งผู้จัดการมรดก แต่ที่ดินคงจะไม่ยอมโอนให้ (เพราะถ้าผิดพลาดอะไรขึ้นมา เจ้าหน้าที่อาจติดคุก) แต่จะแจ้งให้ไปร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่ง หรือให้จัดตั้งผุ้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดก เป็นผู้จัดการทรัพย์สินตามกฏหมาย
4.สมมุติว่ามีพี่น้องบางคนที่ไม่รับมรดกนี้ ต้องเซ็นต์เอกสารยินยอมสละสิทธิ์ สามารถเซ็นต์ได้เลยหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องเซนต์ว่าสละสิทธิ์ เพียงแต่เวลาแบ่งกรรมสิทธิ์ ก็เซนต์ยินยอมให้แบ่งตามสัดส่วนที่ระบุไว้ ว่าใครได้ตรงไหน จำนวนเท่าใด ก็ได้
5.การทำธุรกรรมดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สามารถใช้ใบมอบฉันทะแทนได้หรือไม่? กรณีที่ไม่สะดวกไปทำด้วยต้วเอง (มีพี่บางคนอยู่ต่างประเทศ ไม่สะดวกเซ็นต์เอกสาร หรือว่าจะส่งเอกสารไปให้เซ็นต์ได้หรือไม่?) จำเป็นไหมว่าจะต้องให้พี่น้องมาพร้อมหน้าครบกันทั้ง 7 คน ในการทำธุรกรรมต่างๆต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ตอบ ทางกฏหมาย เราสามารถมอบฉันทะมาได้ โดยให้กรอกตามแบบฟอร์มมอบฉันทะของกรมที่ดิน (ดาวน์โหลดได้ที่เวปของกรมที่ดิน) พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน รับรองถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่มักจะร้องขอให้เรามากันให้ครบ ๆ ต่อหน้าเจ้าพนักงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง แต่ปัจจุบันนี้ผู้รับมอบจะถูกถ่ายภาพไว้ เพื่อยืนยันตัวตนว่าได้รับมอบมาจริง ถ้าผิดพลาดเจ้าหน้าที่ก็มีหลักฐานเอาผิดผู้รับมอบได้
6. 6.คำแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆเกี่ยวกับกรณีนี้
ตอบ แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ตามคำสั่งศาล จะเป็นการจัดการทรัพย์สินที่ง่ายและสะดวกที่สุด
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเกี่ยวกับการโอนที่ดินมรดก / การจัดตั้งผู้จัดการมรดก
1.กรณีที่บ้าน ระหว่างการไถ่ถอนจากพี่เขย กับการโอนแบ่งให้ลูกๆ อันไหนทำก่อนหลัง? (พี่เขยพร้อมจะเซ็นต์เอกสารให้ แต่ปัญหาคือมันเป็นที่มรดก ถ้าทำการไถ่ถอนแล้วจะใส่ชื่อใครในที่ดินผืนนั้น , บุคคลใดจะเป็นคนเซ็นต์รับทราบการไถ่ถอนจากพี่เขย เพราะแม่เสียไปแล้ว ให้พ่อเซ็นต์แทนแม่ได้หรือไม่?
,กรณีนี้จำเป็นต้องมีการจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
2.กรณีที่นา จำนวน 21 ไร่ แบ่งให้ลูกๆ 7 คนๆละ 3 ไร่ โดยจะออกเป็นโฉนดเป็นชื่อของแต่ละคน จะมีขั้นตอนยุ่งยากไหม? เพราะต้องมีการแบ่งที่นาเป็นหลายๆแปลง จนท.จะต้องเข้าไปทำการรังวัดที่ดินใหม่เพื่อออกโฉนดเข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
3.ที่นา+ที่บ้าน ในกรณีที่พี่น้องตกลงกันได้ แบ่งกันยุติธรรมไม่มีปัญหา จำเป็นต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่? (เท่าที่ทราบ ผู้จัดการมรดกจะแต่งตั้งขึ้นในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกันภายใน ,หาข้อตกลงไม่ได้)
4.สมมุติว่ามีพี่น้องบางคนที่ไม่รับมรดกนี้ ต้องเซ็นต์เอกสารยินยอมสละสิทธิ์ สามารถเซ็นต์ได้เลยหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
5.การทำธุรกรรมดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สามารถใช้ใบมอบฉันทะแทนได้หรือไม่? กรณีที่ไม่สะดวกไปทำด้วยต้วเอง (มีพี่บางคนอยู่ต่างประเทศ ไม่สะดวกเซ็นต์เอกสาร หรือว่าจะส่งเอกสารไปให้เซ็นต์ได้หรือไม่?) จำเป็นไหมว่าจะต้องให้พี่น้องมาพร้อมหน้าครบกันทั้ง 7 คน ในการทำธุรกรรมต่างๆต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
6.คำแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆเกี่ยวกับกรณีนี้
*********************************************************
คำถามเกี่ยวกับที่ดิน กรณีของสามี
1.ที่บ้านพร้อมที่ดินเป็นของแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะโอนให้ลูกชายเพียงคนเดียว พี่น้องคนอื่นๆสามารถคัดค้านหรือฟ้องร้องได้หรือไม่? (เท่าที่เข้าใจ ถ้าทรัพย์สินที่เจ้าของยังไม่เสียชีวิต ไม่ถือว่าเป็นมรดก เจ้าของทรัพย์จะยกให้ใครก็ได้ เป็นการให้โดยเสน่หา ในทางกลับกันถ้าเจ้าของเสียชีวิต ทรัพย์นั้นจะกลายเป็นมรดกทันที พี่น้องสามารถฟ้องร้องได้) เข้าใจตามนี้ถูกหรือไม่? (คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อนี้)
ขอคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบและคำแนะนำ