Ten Years Thailand (2018)

"สิบปีที่ผ่านมากับสิบปีข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง" อีกสิบปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครรู้ แต่สิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นยังไงพวกเรารู้ดี เรื่องสั้นสี่เรื่องใน Ten Years Thailand อาจไม่ได้เล่าถึงสิบปีข้างหน้าทั้งหมด แต่อาจเป็นบันทึกเรื่องราวการเมืองไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาด้วย ผ่านเรื่องแต่งเรื่องเล่า จินตนาการของสี่ผู้กำกับ หนังมีความไต่ระดับที่ต้องใช้การตีความ และใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการเชื่อมโยงเรื่องราวเหล่านั้นเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งใช้เวลาตกตะกอนความคิด ทั้งนี้ เรารู้สึกเศร้าและค่อนข้างสิ้นหวังเมื่อหนังจบลง ความเศร้าคือ ประเทศไทยในวันข้างหน้าอาจจะไม่ได้แตกต่างอะไรจากวันนี้ หรืออาจจะถอยหลังลงไปอีกจากสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน ด้วยระบบการปกครองที่ไม่ได้ยึดโยงประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือการจำกัดความคิดตีกรอบตีตราว่าสิ่งนี้ผิดสิ่งนี้ถูก การล่าคนคิดต่าง ระบบการศึกษาที่ผลิตคนให้ออกมาเหมือนๆกัน

1. Sunset (อาทิตย์ อัสสรัตน์) หนังสั้นขาว-ดำ เล่าเรื่องราวตัดสลับคู่ขนานระหว่างนายทหารคนขับรถกับลูกสาวแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในพื้นที่แสดงงานศิลปะ และทหารกลุ่มหนึ่งกับนายตำรวจที่เข้ามาตรวจสอบพื้นที่นี้ ความตลกคือเรื่องราวการเข้าตรวจสอบงานศิลปะที่อาจจะกระทบความมั่งคงของประเทศนั้นมีให้เราได้เห็นตามข่าวกันมากมายตลอดช่วงที่ผ่านมา หนังเล่าเรื่องง่ายๆไม่สลับซับซ้อน ทั้งหมดสะท้อนสังคมในปัจจุบันและยังสะท้อนการใช้ชีวิตธรรมดาทั่วไปของคู่ชายหญิง ที่เพียงทำหน้าที่ของตัวเองในแต่ละวัน สิ่งที่เราชอบสำหรับงานนี้คือ รอยยิ้มหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าตามชื่อเรื่อง สะท้อนความหวังเล็กๆในสังคมทั่วๆไป เพราะหลังจากเรื่องนี้ สิ้นหวังกันยาวๆ

2. Catopia (วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง) ในวันที่มนุษย์เหลือเพียงคนเดียว ท่ามกลางมนุษย์หัวแมว ท่ามกลางบ้านเมืองดิสโทเปีย การไล่ล่ามนุษย์ ตามกำจัดมนุษย์ให้หมดไปจากโลก จนมนุษย์ต้องแฝงตัวใช้สเปรย์ดับกลิ่นเพื่อเอาชีวิตรอด กลมกลืนไปกับสิ่งมีชีวิตหมู่มาก ที่คอยจะทำร้ายไล่ล่าตลอดเวลา แน่นอนว่า ตัวหนังคงจะสะท้อนสังคมไทย ในมุมมองของคนที่คิดต่าง เห็นต่าง ที่ไม่สามารถแสดงความคิดของตัวเองออกมาได้ คนที่คิดต่างทำได้เพียงหลบซ่อนอยู่ในกลุ่มคนที่มีความคิดเหมือนๆกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความน่าเศร้าใจคือโลกใน 'Catopia' มีสเปรย์ที่เอาไว้ใส่ร้ายกันเอง เปรียบเสมือนการโยนวาทกรรมหรือแปะป้ายให้คนที่เราไม่ชอบความคิดของเขาให้กลายเป็นฝั่งตรงข้ามไปในที่สุด ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นก็เป็นเพื่อนรักกันมาก่อน

3. Planetarium (จุฬญาณนนท์ ศิริผล) ในโลกอนาคตที่ระบบการศึกษาผลิตคนให้ออกมาเหมือนๆกัน คือความน่ากลัวที่สุดในสังคมไทย โรงเรียนคือสถานที่บ่มเพาะเผด็จการ อาจจะแฝงตัวมาในรูปแบบคุณครูที่บังคับให้เด็กตัดผมทรงเดียวกัน ใส่เครื่องแบบเดียวกัน ทำสิ่งเดียวกัน และจะได้รางวัลเดียวกัน เด็กในโรงเรียนจึงไม่ต่างอะไรจากหุ่นยนต์ที่โดนโปรแกรมมาให้กำจัดคนที่ไม่เหมือน คนที่ออกนอกลู่นอกทาง สิ่งที่น่าเศร้าคือเด็กๆเหล่านี้ ยินยอมและพร้อมใจกันอยู่ในสถานที่แห่งนี้อย่างไม่มีคำถาม เพราะพวกเขาเหล่านั้นปลอดภัยดี สนุกสนานร่าเริง ร้องเล่นเต้นรำ ผ่านผู้นำที่คอยจับจ้องเพ่งมองอยู่ตลอดเวลา ผ่านเครือข่ายที่โยงใยจับผิดคนเห็นต่าง มากกว่านั้นช่วงท้ายเรื่องหนังพาเราทะลุเลยไปไกล และแทบที่จะเป็นงานไซไฟตีความนามธรรมหลุดโลก เหนือสิ่งอื่นใด การที่อำนาจอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มเดียวนั้นอันตรายเกินไป และอำนาจนั้นพร้อมเสมอที่จะปลดเปลื้องให้เราเหลือเพียงร่างกาย พร้อมกับถูกหั่นเป็นชิ้นๆสูญสลายไปในที่สุด

4. Song of the City (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) งานของพี่เจ้ยก็ยังเป็นแบบพี่เจ้ย คือใส่ความเป็นตัวเอง ใส่ความเป็นตัวตนลงไป ผ่านอนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ จังหวัดขอนแก่น สะท้อนภาพบรรยากาศของเหล่าผู้คนอย่างเป็นธรรมชาติ แรงงานที่กำลังก่อสร้างประกอบกับเสียงเพลงชาติที่ดังขึ้นทุกวันไม่มีวันหยุด เสียงรบกวนแวดล้อมจริงๆ หรือถ่ายทำหนังซ้อนหนัง จนไปถึงการพยายามขายเครื่องนอนหลับฝันดีของชายคนหนึ่ง ไดอะล็อกการพูดคุยกันธรรมดาๆ แรงงานที่นอนพักกลางวัน มุมกล้องที่ถ่ายแสงเงา ถ่ายกำแพง ทั้งหมดเหมือนไม่มีอะไร แต่ความไม่มีอะไรของพี่เจ้ยมีความหมายซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งพอคิดตามแล้วก็จะรู้สึกสัมผัสได้ บางฉากทำให้เราสิ้นหวังกับประเทศไทย บางฉากเราก็อยากจะได้เครื่องช่วยให้นอนหลับฝันกลางวัน เพราะไม่อยากตื่นมาพบความสิ้นหวังในประเทศนี้

ท้ายสุด 'Ten Years Thailand' สำหรับเราจึงเป็นการมองอนาคตประเทศไทยผ่านอดีตที่ผ่านมา และเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง มุมมองแง่ร้าย ความน่ากลัวถ้าเกิดขึ้นจริง หรือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศแห่งนี้ แน่นอนว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนหลายสิ่งที่เราไม่สามารถพูดได้ในสังคมนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเราควรที่จะมีพื้นที่ให้พูดได้อย่างอิสระ มันต้องมีอะไรผิดพลาดที่ทำให้อิสรภาพในการแสดงออกเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ ภาพหนึ่งภาพสามารถทำลายประเทศนี้ให้ไม่มั่นคงได้จริงหรือ? เราสามารถตั้งคำถามกับระบบที่เราอยู่ได้หรือไม่? เราจะอยู่ร่วมกับคนที่มีความคิดต่างได้มากแค่ไหน? หรือเราจะต้องอยู่กันไปแบบนี้อีกนานแค่ไหน? ทั้งหมด เรามองไม่เห็นความหวัง ณ เวลาปัจจุบันเลย เราก็ทำได้เพียงต่อสู้ดิ้นรนกันไปในแต่ละวัน...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง

ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Ten Years Thailand (2018) รีวิวโดย Form Corleone
"สิบปีที่ผ่านมากับสิบปีข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง" อีกสิบปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครรู้ แต่สิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นยังไงพวกเรารู้ดี เรื่องสั้นสี่เรื่องใน Ten Years Thailand อาจไม่ได้เล่าถึงสิบปีข้างหน้าทั้งหมด แต่อาจเป็นบันทึกเรื่องราวการเมืองไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาด้วย ผ่านเรื่องแต่งเรื่องเล่า จินตนาการของสี่ผู้กำกับ หนังมีความไต่ระดับที่ต้องใช้การตีความ และใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการเชื่อมโยงเรื่องราวเหล่านั้นเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งใช้เวลาตกตะกอนความคิด ทั้งนี้ เรารู้สึกเศร้าและค่อนข้างสิ้นหวังเมื่อหนังจบลง ความเศร้าคือ ประเทศไทยในวันข้างหน้าอาจจะไม่ได้แตกต่างอะไรจากวันนี้ หรืออาจจะถอยหลังลงไปอีกจากสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน ด้วยระบบการปกครองที่ไม่ได้ยึดโยงประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือการจำกัดความคิดตีกรอบตีตราว่าสิ่งนี้ผิดสิ่งนี้ถูก การล่าคนคิดต่าง ระบบการศึกษาที่ผลิตคนให้ออกมาเหมือนๆกัน
1. Sunset (อาทิตย์ อัสสรัตน์) หนังสั้นขาว-ดำ เล่าเรื่องราวตัดสลับคู่ขนานระหว่างนายทหารคนขับรถกับลูกสาวแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในพื้นที่แสดงงานศิลปะ และทหารกลุ่มหนึ่งกับนายตำรวจที่เข้ามาตรวจสอบพื้นที่นี้ ความตลกคือเรื่องราวการเข้าตรวจสอบงานศิลปะที่อาจจะกระทบความมั่งคงของประเทศนั้นมีให้เราได้เห็นตามข่าวกันมากมายตลอดช่วงที่ผ่านมา หนังเล่าเรื่องง่ายๆไม่สลับซับซ้อน ทั้งหมดสะท้อนสังคมในปัจจุบันและยังสะท้อนการใช้ชีวิตธรรมดาทั่วไปของคู่ชายหญิง ที่เพียงทำหน้าที่ของตัวเองในแต่ละวัน สิ่งที่เราชอบสำหรับงานนี้คือ รอยยิ้มหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าตามชื่อเรื่อง สะท้อนความหวังเล็กๆในสังคมทั่วๆไป เพราะหลังจากเรื่องนี้ สิ้นหวังกันยาวๆ
2. Catopia (วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง) ในวันที่มนุษย์เหลือเพียงคนเดียว ท่ามกลางมนุษย์หัวแมว ท่ามกลางบ้านเมืองดิสโทเปีย การไล่ล่ามนุษย์ ตามกำจัดมนุษย์ให้หมดไปจากโลก จนมนุษย์ต้องแฝงตัวใช้สเปรย์ดับกลิ่นเพื่อเอาชีวิตรอด กลมกลืนไปกับสิ่งมีชีวิตหมู่มาก ที่คอยจะทำร้ายไล่ล่าตลอดเวลา แน่นอนว่า ตัวหนังคงจะสะท้อนสังคมไทย ในมุมมองของคนที่คิดต่าง เห็นต่าง ที่ไม่สามารถแสดงความคิดของตัวเองออกมาได้ คนที่คิดต่างทำได้เพียงหลบซ่อนอยู่ในกลุ่มคนที่มีความคิดเหมือนๆกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความน่าเศร้าใจคือโลกใน 'Catopia' มีสเปรย์ที่เอาไว้ใส่ร้ายกันเอง เปรียบเสมือนการโยนวาทกรรมหรือแปะป้ายให้คนที่เราไม่ชอบความคิดของเขาให้กลายเป็นฝั่งตรงข้ามไปในที่สุด ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นก็เป็นเพื่อนรักกันมาก่อน
3. Planetarium (จุฬญาณนนท์ ศิริผล) ในโลกอนาคตที่ระบบการศึกษาผลิตคนให้ออกมาเหมือนๆกัน คือความน่ากลัวที่สุดในสังคมไทย โรงเรียนคือสถานที่บ่มเพาะเผด็จการ อาจจะแฝงตัวมาในรูปแบบคุณครูที่บังคับให้เด็กตัดผมทรงเดียวกัน ใส่เครื่องแบบเดียวกัน ทำสิ่งเดียวกัน และจะได้รางวัลเดียวกัน เด็กในโรงเรียนจึงไม่ต่างอะไรจากหุ่นยนต์ที่โดนโปรแกรมมาให้กำจัดคนที่ไม่เหมือน คนที่ออกนอกลู่นอกทาง สิ่งที่น่าเศร้าคือเด็กๆเหล่านี้ ยินยอมและพร้อมใจกันอยู่ในสถานที่แห่งนี้อย่างไม่มีคำถาม เพราะพวกเขาเหล่านั้นปลอดภัยดี สนุกสนานร่าเริง ร้องเล่นเต้นรำ ผ่านผู้นำที่คอยจับจ้องเพ่งมองอยู่ตลอดเวลา ผ่านเครือข่ายที่โยงใยจับผิดคนเห็นต่าง มากกว่านั้นช่วงท้ายเรื่องหนังพาเราทะลุเลยไปไกล และแทบที่จะเป็นงานไซไฟตีความนามธรรมหลุดโลก เหนือสิ่งอื่นใด การที่อำนาจอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มเดียวนั้นอันตรายเกินไป และอำนาจนั้นพร้อมเสมอที่จะปลดเปลื้องให้เราเหลือเพียงร่างกาย พร้อมกับถูกหั่นเป็นชิ้นๆสูญสลายไปในที่สุด
4. Song of the City (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) งานของพี่เจ้ยก็ยังเป็นแบบพี่เจ้ย คือใส่ความเป็นตัวเอง ใส่ความเป็นตัวตนลงไป ผ่านอนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ จังหวัดขอนแก่น สะท้อนภาพบรรยากาศของเหล่าผู้คนอย่างเป็นธรรมชาติ แรงงานที่กำลังก่อสร้างประกอบกับเสียงเพลงชาติที่ดังขึ้นทุกวันไม่มีวันหยุด เสียงรบกวนแวดล้อมจริงๆ หรือถ่ายทำหนังซ้อนหนัง จนไปถึงการพยายามขายเครื่องนอนหลับฝันดีของชายคนหนึ่ง ไดอะล็อกการพูดคุยกันธรรมดาๆ แรงงานที่นอนพักกลางวัน มุมกล้องที่ถ่ายแสงเงา ถ่ายกำแพง ทั้งหมดเหมือนไม่มีอะไร แต่ความไม่มีอะไรของพี่เจ้ยมีความหมายซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งพอคิดตามแล้วก็จะรู้สึกสัมผัสได้ บางฉากทำให้เราสิ้นหวังกับประเทศไทย บางฉากเราก็อยากจะได้เครื่องช่วยให้นอนหลับฝันกลางวัน เพราะไม่อยากตื่นมาพบความสิ้นหวังในประเทศนี้
ท้ายสุด 'Ten Years Thailand' สำหรับเราจึงเป็นการมองอนาคตประเทศไทยผ่านอดีตที่ผ่านมา และเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง มุมมองแง่ร้าย ความน่ากลัวถ้าเกิดขึ้นจริง หรือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศแห่งนี้ แน่นอนว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนหลายสิ่งที่เราไม่สามารถพูดได้ในสังคมนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเราควรที่จะมีพื้นที่ให้พูดได้อย่างอิสระ มันต้องมีอะไรผิดพลาดที่ทำให้อิสรภาพในการแสดงออกเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ ภาพหนึ่งภาพสามารถทำลายประเทศนี้ให้ไม่มั่นคงได้จริงหรือ? เราสามารถตั้งคำถามกับระบบที่เราอยู่ได้หรือไม่? เราจะอยู่ร่วมกับคนที่มีความคิดต่างได้มากแค่ไหน? หรือเราจะต้องอยู่กันไปแบบนี้อีกนานแค่ไหน? ทั้งหมด เรามองไม่เห็นความหวัง ณ เวลาปัจจุบันเลย เราก็ทำได้เพียงต่อสู้ดิ้นรนกันไปในแต่ละวัน...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/