การออกกำลังกายเบื้องต้นในผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าฉีกขาด

เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament) เป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหัวเข่า ยึดระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง
เพื่อป้องกันการขยับในแนวหน้าหลัง และป้องกันการบิดหมุนที่มากเกินไปของหัวเข่า เอ็นไขว้หน้าจึงมีความสำคัญ
ต่อความมั่นคงของหัวเข่า
        อาการเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาดพบได้น้อยในคนทั่วไปครับ ต่อให้ออกกำลังกายหนักแค่ไหนยังไงก็พบน้อยอยู่ดี
โรคนี้มักพบในหมู่นักกีฬาที่ต้องมีการวิ่งปะทะกัน วิ่งเร็วแล้วเปลี่ยนทิศทางกะทันหันทำให้เส้นเอ็นถูกกระชากจนขาด
เช่น กีฬาฟุตบอล บาสเก็ตบอล รักบี้ สกี  เป็นต้น
การดูแลรักษาโรคเอ็นไขว้หน้าอักเสบ
      โดยปกติเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาดมักเกิดในช่วงที่เล่นกีฬาและมีการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ผู้ที่เอ็นฉีกขาดบางคน
ได้ยินเสียงดังบริเวณหัวเข่าเหมือนมีบางสิ่งขาด หลังจากนั้นจะมีอาการปวดบวมบริเวณเข่าที่มีอาการ
มักจะเดินลงน้ำหนักไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ แต่มีผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้มาพบแพทย์ในช่วงแรก
      หลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด อาการปวดอักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆดีขึ้น อาการบวมค่อยๆลดลง
โดยทั่วไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง แต่จะมีอาการปวดเวลาที่หัวเข่าต้องบิดหมุน
เช่น เดินเร็ว ขึ้น/ลงบันได วิ่ง เล่นกีฬาเป็นต้น
      การรักษาโดยทั่วไปจะรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม และใช้เครื่องมือกายภาพบำยัดในการเร่งให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองเร็วขึ้น
เข่น ใช้เครื่อง ultrasound, laser, shortwave และออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า เป็นต้น



การออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า
       1) การฝึกยืนบนเบาะนุ่มๆ และงอเข่าเล็กน้อยค้างไว้ 20 วินาที หลังตรง ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อเซต วันละ 2-3 เซต
       2) ฝึกงอเข่าหนีบลูกบอล โดยให้ยืนชิดกำแพงนำลูกบอลหนีบไว้ระหว่างเข่าสองข้าง จากนั้นหนีบลูกบอลแล้วค่อยๆงอเข่าลง
จากนั้นเหยียดเข่าขึ้นนับเป็น 1 ครั้ง ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อเซต วันละ 2-3 เซต หากมีอาการปวดเข่าควรหยุดออกกำลังกายทันที
       3) ฝึกเตะขา โดยนั่งเก้าอี้ขาพ้นจากพื้น แล้วเตะขาขึ้นโดยมีถุงทรายถ่วงขานํ้หนัก 1 กิโลกรัม ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วเอาขาลง
ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อเซต วันละ 2-3 เซต
       4) ปั่นจักรยาน ในกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกว่ามีการติดของข้อ และยืน เดิน ไม่สะดวก และยังมีอาการปวดอยู่บ้าง
โดยอาจจะเริ่มจากการปั่นแบบไม่มีแรงต้าน จากนั้นเมื่ออาการดีขึ้นจึงค่อยๆเพิ่มแรงต้านเข้ามา  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดอยู่มาก
แนะนำให้เดินในน้ำ เพื่อให้แรงดันนำช่วยพยุงน้ำหนักขณะเดิน




โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่