คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 30
ขอขอบคุณทุกความเห็นน่ะครับที่เข้ามาตอบ
ยอมรับเมื่อก่อนผมเคยคิด หลวงวิจตรวาทการคือคนเลวเพราะไปอิงกับ จอมพล ป ที่เป้นเผด็จการ ดังนั้น อย่างไงก็คือคนชั่ว ไม่มีทางเป็นคนดีไปได้ และโทษทุกอย่างที่ท่าน เลยพาลคิดถ้าไม่มีท่านอยู่ ประเทศคงพัฒนา เหมือน แม่น้ำไม่มีขยะสโครก แต่จากความเห็นหลายๆท่านทำให้ผมคิดว่าผมคงคิดผิด
ยอมรับเมื่อก่อนผมเคยคิด หลวงวิจตรวาทการคือคนเลวเพราะไปอิงกับ จอมพล ป ที่เป้นเผด็จการ ดังนั้น อย่างไงก็คือคนชั่ว ไม่มีทางเป็นคนดีไปได้ และโทษทุกอย่างที่ท่าน เลยพาลคิดถ้าไม่มีท่านอยู่ ประเทศคงพัฒนา เหมือน แม่น้ำไม่มีขยะสโครก แต่จากความเห็นหลายๆท่านทำให้ผมคิดว่าผมคงคิดผิด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เจ้าของกระทู้เกิดในยุคที่บ้านเมืองไม่มีสงคราม ไม่มีภัยขนาดใหญ่ที่จะทำลายประเทศ แต่กลับไปด่าว่าผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ไม่มีโอกาสโต้ตอบ ซึ่งทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติไว้มิใช่น้อย โดยเฉพาะทำให้คนไทยสามัคคี รักชาติ ในยุคที่บ้านเมืองลุกเป็นไฟเพราะภัยสงคราม
ประโยคที่ว่า "ชาตินิยมทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา" บอกตัวตนและทัศนคติของเจ้าของกระทู้ได้เป็นอย่างดี
เรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ก็ไม่ใช่ผลงานของท่าน เรื่องพม่าไม่ได้เผาไทยที่นักประวัติศาสตร์สายชังชาติพยายามออกมาบิดเบือนนั้น มันก็เป็นเรื่องการเมืองสกปรกในยุคไพร่ ที่ดึงเอาประวัติศาสตร์มาทำลายเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
และคนคลั่งชาติ ไม่ทำให้ชาติล่มสลายเหมือน คนชังชาติ
อย่าไปดูหมิ่นคนซึ่งเคยทำประโยชน์ไว้ให้ประเทศชาติมากมาย โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ความจริงอะไร จำแต่ขี้ปากของนักประวัติศาสตร์ชังชาติมาเลย
ประโยคที่ว่า "ชาตินิยมทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา" บอกตัวตนและทัศนคติของเจ้าของกระทู้ได้เป็นอย่างดี
เรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ก็ไม่ใช่ผลงานของท่าน เรื่องพม่าไม่ได้เผาไทยที่นักประวัติศาสตร์สายชังชาติพยายามออกมาบิดเบือนนั้น มันก็เป็นเรื่องการเมืองสกปรกในยุคไพร่ ที่ดึงเอาประวัติศาสตร์มาทำลายเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
และคนคลั่งชาติ ไม่ทำให้ชาติล่มสลายเหมือน คนชังชาติ
อย่าไปดูหมิ่นคนซึ่งเคยทำประโยชน์ไว้ให้ประเทศชาติมากมาย โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ความจริงอะไร จำแต่ขี้ปากของนักประวัติศาสตร์ชังชาติมาเลย
ความคิดเห็นที่ 19
เรื่องแนวคิดชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ ถ้ามองในแง่การศึกษาประวัติศาสตร์ตามหลักวิชาอาจเรียกมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงตามหลักฐานหลายส่วน เพราะเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ที่ผูกไว้กับแนวคิด "ชาตินิยม" อย่างเข้มข้น จนส่งผลกระทบในความเข้าใจทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าการนำเสนอประวัติศาสตร์แบบนี้มีข้อเสียหลายประการ
แต่ถ้ามองในแง่ของความตั้งใจในการสร้างให้คนไทยในยุคนั้นมีความภาคภูมิใจในประเทศชาติและวัฒนธรรมของตนเองและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผมคิดว่างานเขียนหลวงวิจิตรวาทการนั้นเป็นสิ่งที่ตอบสนองกับบริบทกับยุคสมัยนั้นที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งต้องการความเป็น "ชาตินิยม" และนำมาสู่ความสามัคคีของคนในประเทศอย่างชัดเจน
และหากได้ศึกษางานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการจริง ผมกลับเห็นว่าห่างไกลกับสิ่งที่เรียกว่า "ทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา" อย่างมาก เพราะงานเขียนส่วนใหญ่จะพบว่าล้วนเป็นการปลูกฝังให้คนในชาติภูมิใจในอารยธรรมของตนเอง และให้นำอดีตมาเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเองให้เป็น "วัฒนชน" เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งขึ้น
ขอยกตัวอย่างงานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการเรื่อง "วัฒนธรรมสุโขทัย" ให้ลองศึกษาถึงแนวคิดของหลวงวิจิตรฯ ในการสร้างสุโขทัยให้เป็นยุคสมัยอุดมคติเพื่อสร้างความภูมิใจให้คนในชาติ และสนับสนุนให้คนในประเทศพัฒนาตนเองให้เป็น "วัฒนชน" ดูครับ อาจจะได้ได้เห็นเจตนาของหลวงวิจิตรวาทการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
"เราควรจะพูมใจว่าชาติไทยเราเป็นชาติที่เจริญยิ่งมาแต่โบราณกาล แม้ปาฐกถาของข้าพเจ้าจะอยู่ในวงจำกัด คือกล่าวถึงแต่เพียงวัฒนธรรมสุโขทัยเท่านั้น เราก็พอมองเห็นได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้สร้างวัฒนธรรมอันสูงยิ่งไว้ให้แก่เรา การที่เราจะสร้างความเจริญวัฒนาให้แก่ประเทศชาติของเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องไปค้นคว้าหาวิธีการของชาติใดให้ลำบากเสียเวลา เราเดินตามรอยบรรพบุรุษของเราก็พอแล้ว และทางปฏิบัติในเรื่องนี้ก็ไม่ลำบากยากเย็นอะไร ขอให้ท่านระลึกถึงหัวข้อ๔ข้อที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ข้างต้น คือนิสสัยก่อสร้าง นิสสัยรักความปราณีต นิสสัยงอกงาม และนิสสัยต่อสู้...
...วัฒนธรรมสุโขทัยของเราเป็นตัวอย่างอันประเสริฐอยู่แล้ว ขอเพียงแต่ให้พวกเราบำเพ็ญตนเป็นวัฒนชน คือคนที่เจริญก้าวหน้า แต่ไม่ใช่คนชะนิดที่ร่วงโรยถอยหลังวัฒนธรรม คือ เครื่องหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าและเติบโต เราเพียงแต่เป็นมนุษย์เท่านั้นหาพอไม่ เราจะต้องเป็นมุนษย์ที่มีวัฒนธรรมอีกด้วย ถ้ามิฉะนั้นเราก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ชาติไทยเราเป็นชาติที่เข้มแข็งยิ่งใหญ่หลวงในสมัยสุโขทัยเมื่อ ๖๐๐ ปีมาแล้ว ในชั่วเวลา ๖๐๐ ปีที่ล่วงมา เราน่าจะก่อสร้างความเจริญงอกงามให้แก่ประเทศชาติของเราได้เป็นอันมาก เราน่าจะเติบโตเข้มแข็งยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้หลายเท่า แต่ที่เราไม่สามารถจะเป็นเช่นนั้น เพราะเราทิ้งหลักวัฒนธรรมสุโขทัยมาเสียตั้ง ๕๐๐ ปี เราปล่อยเวลา ๕๐๐ ปีให้ล่วงไปเสียเปล่า บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะต้องขวนขวาย พยายามวิ่งขับให้ทันเวลา ๕๐๐ ปีที่เราเสียไป
ขอให้วัฒนธรรมสุโขทัยได้มีทางที่จะกลับฟื้นฟูขึ้นใหม่ ขอให้ชาติไทยรุ่งโรจน์ด้วยวัฒนธรรม ขอให้ท่านผู้ฟังทั้งหลายมีความเจริญงอกงามเติบโตกล้าแข็งสมกับที่เป็นวัฒนชนทั่วกันเทอญ"








แต่ถ้ามองในแง่ของความตั้งใจในการสร้างให้คนไทยในยุคนั้นมีความภาคภูมิใจในประเทศชาติและวัฒนธรรมของตนเองและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผมคิดว่างานเขียนหลวงวิจิตรวาทการนั้นเป็นสิ่งที่ตอบสนองกับบริบทกับยุคสมัยนั้นที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งต้องการความเป็น "ชาตินิยม" และนำมาสู่ความสามัคคีของคนในประเทศอย่างชัดเจน
และหากได้ศึกษางานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการจริง ผมกลับเห็นว่าห่างไกลกับสิ่งที่เรียกว่า "ทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา" อย่างมาก เพราะงานเขียนส่วนใหญ่จะพบว่าล้วนเป็นการปลูกฝังให้คนในชาติภูมิใจในอารยธรรมของตนเอง และให้นำอดีตมาเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเองให้เป็น "วัฒนชน" เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งขึ้น
ขอยกตัวอย่างงานเขียนของหลวงวิจิตรวาทการเรื่อง "วัฒนธรรมสุโขทัย" ให้ลองศึกษาถึงแนวคิดของหลวงวิจิตรฯ ในการสร้างสุโขทัยให้เป็นยุคสมัยอุดมคติเพื่อสร้างความภูมิใจให้คนในชาติ และสนับสนุนให้คนในประเทศพัฒนาตนเองให้เป็น "วัฒนชน" ดูครับ อาจจะได้ได้เห็นเจตนาของหลวงวิจิตรวาทการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
"เราควรจะพูมใจว่าชาติไทยเราเป็นชาติที่เจริญยิ่งมาแต่โบราณกาล แม้ปาฐกถาของข้าพเจ้าจะอยู่ในวงจำกัด คือกล่าวถึงแต่เพียงวัฒนธรรมสุโขทัยเท่านั้น เราก็พอมองเห็นได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้สร้างวัฒนธรรมอันสูงยิ่งไว้ให้แก่เรา การที่เราจะสร้างความเจริญวัฒนาให้แก่ประเทศชาติของเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องไปค้นคว้าหาวิธีการของชาติใดให้ลำบากเสียเวลา เราเดินตามรอยบรรพบุรุษของเราก็พอแล้ว และทางปฏิบัติในเรื่องนี้ก็ไม่ลำบากยากเย็นอะไร ขอให้ท่านระลึกถึงหัวข้อ๔ข้อที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ข้างต้น คือนิสสัยก่อสร้าง นิสสัยรักความปราณีต นิสสัยงอกงาม และนิสสัยต่อสู้...
...วัฒนธรรมสุโขทัยของเราเป็นตัวอย่างอันประเสริฐอยู่แล้ว ขอเพียงแต่ให้พวกเราบำเพ็ญตนเป็นวัฒนชน คือคนที่เจริญก้าวหน้า แต่ไม่ใช่คนชะนิดที่ร่วงโรยถอยหลังวัฒนธรรม คือ เครื่องหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าและเติบโต เราเพียงแต่เป็นมนุษย์เท่านั้นหาพอไม่ เราจะต้องเป็นมุนษย์ที่มีวัฒนธรรมอีกด้วย ถ้ามิฉะนั้นเราก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ชาติไทยเราเป็นชาติที่เข้มแข็งยิ่งใหญ่หลวงในสมัยสุโขทัยเมื่อ ๖๐๐ ปีมาแล้ว ในชั่วเวลา ๖๐๐ ปีที่ล่วงมา เราน่าจะก่อสร้างความเจริญงอกงามให้แก่ประเทศชาติของเราได้เป็นอันมาก เราน่าจะเติบโตเข้มแข็งยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้หลายเท่า แต่ที่เราไม่สามารถจะเป็นเช่นนั้น เพราะเราทิ้งหลักวัฒนธรรมสุโขทัยมาเสียตั้ง ๕๐๐ ปี เราปล่อยเวลา ๕๐๐ ปีให้ล่วงไปเสียเปล่า บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะต้องขวนขวาย พยายามวิ่งขับให้ทันเวลา ๕๐๐ ปีที่เราเสียไป
ขอให้วัฒนธรรมสุโขทัยได้มีทางที่จะกลับฟื้นฟูขึ้นใหม่ ขอให้ชาติไทยรุ่งโรจน์ด้วยวัฒนธรรม ขอให้ท่านผู้ฟังทั้งหลายมีความเจริญงอกงามเติบโตกล้าแข็งสมกับที่เป็นวัฒนชนทั่วกันเทอญ"









ความคิดเห็นที่ 17
สุจิตต์ วงษ์เทศ ไม่ได้บอกว่าพม่าไม่ได้เผาไทยครับ แต่เสนอว่าพม่าได้เผาทำลายกรุงศรีอยุทธยาบางส่วนเท่านั้น เช่น พระราชวังและวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่เป็นศูนย์กลางของพระนคร โดยที่ความเสียหายส่วนใหญ่จนกลายเป็นซากในปัจจุบันเกิดจากคนไทยเผากันเองบ้าง คนกลุ่มอื่นบ้าง
ซึ่งจริงๆ แล้ว เรื่องการทำลายโดยคนไทยหรือจีนอย่างหนักส่งผลให้กรุงศรีอยุทธยากลายเป็นซากอย่างที่เห็นในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนอยู่มาก อย่าง การขุดสมบัติหรือทุบทำลายพระเจดีย์ในสมัยธนบุรีเพื่อหาเงิน รื้อการรื้อกำแพงเมืองทิ้งในสมัยรัชกาลที่ ๑ (น่าจะรวมถึงซากอิฐจากวัดวาอารามที่ไม่เหลือสภาพด้วย) เพื่อเอาอิฐไปสร้างกรุงเทพและเอามาทำทำนบกั้นน้ำที่คลองปากลัดเพื่อไม่ให้น้ำเค็มไหลมา เพื่อให้ประชาชนมีน้ำจืดใช้
แต่นั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง หลักฐานที่ระบุว่ามีความเสียหายจากไฟไหม้ตอนเสียกรุงก็มีอยู่จำนวนมากครับ ถ้าพิจารณาตามตรรกะของคนปกติคงจะประหลาดมากว่าจะมีคนไทยในกำแพงกรุงมาลอบปล้นกันเองในขณะที่พม่ากำลังบุกมาจับหรือมาฆ่าคนในกำแพงกรุงซึ่งมันเสี่ยงต่อการเอาตัวรอดมาก
มีไฟไหม้ใหญ่ในพระนครก่อนช่วงเสียกรุง พงศาวดารระบุว่าเกิดขึ้นในเดือนยี่ ปลาย พ.ศ. ๒๓๐๙ ไฟไหม้กลางพระนครเสียหายมากกว่าหมื่นหลังคาเรือน
"ครั้นถึง ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๑๒๘ ปี เพลาดึกเที่ยงคืน เกิดเพลีงในพระนครไหม้ตั้งแต่ท่าทราย ติจลามมาถึ่งตะพานช้าง คลองประตูเข้าเปลือก แล้วข้ามมาติจป่ามพร้าว แลป่าโทน ป่าถ่าน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบุณะ วัดพระศรีรัตนมหาทาตุ เพลีงไปหยุดเพียงวัดฉัดทัน คิดกุฎิวิหารแลบ้านเรือนที่เพลียงไหม้ครั้งนั้นมากกว่าหมื่นหลัง"
ไฟไหม้ครั้งนั้นค่อนข้างรุนแรงมาก จนพงศาวดารถึงกับระบุว่าพระยาตากซึ่งตีฝ่าออกไปจากกรุงในวันนั้นพอดียังมองเห็นเมื่อยกทัพมาถึงสามบัณฑิตแล้ว
“พอบรรลุถึงสำบัณฑิตเพลาเที่ยงคืน ๒ ยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพฯ ไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวงไปจนวัดฉัททันต์ แสงเพลิงรุ่งโรจ โชตนาการ ครั้งพระองค์ได้ทอดทัศนาเห็นก็สังเวชสลดพระทัย ด้วยอาลัยถึง สมณพราหมณาจารย์ขัติวงศานุวงศ์ แลเสนาพฤฒามาตย์ราษฏร และพระบวรพุทธศาสนา มิใคร่จะไปได้ ดุจมีใจย่อหย่อนจากอุตสาหะ ซึ่งตั้งปฏิธานปรารถนาว่าจะแก้กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบวรพุทธ ศาสนา เทพดาเจ้าจึงบันดาลให้สมฤดีมีกำลังกรุณาอุตสาหะ”
อย่างไรก็ตาม พงศาวดารไม่ได้ระบุว่าสาเหตุของเพลิงไหม้เกิดจากอะไร เนื่องจากในเวลานั้นพม่ายังบุกเข้ากรุงไม่ได้ จึงอาจเกิดจากคนไทยในกรุงเป็นต้นเหตุ แต่จะเกิดจากการตั้งใจเผาหรืออุบัติเหตุก็ไม่พบหลักฐานชัดเจน (แต่สุจิตต์พยายามจะนำเสนอว่าคนไทยตั้งใจเผากันเอง โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน)
ส่วนเรื่องการเผาทำลายเมืองของพม่า พงศาวดารที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงเสียกรุงกล่าวไว้เพียงย่นย่อว่า
“ครั้นณวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุรนพศก เพลาบ่าย ๔ โมง พะม่ายิงปืนป้อมสูงวัดการ้อง วัดแม่นางปลื้ม ระดมเข้ามาในกรุง แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงครั้นเพลาค่ำกำแพงซุดลงหน่อยหนึ่ง พะม่าก็เข้ากรุงได้ เข้าเผา พระราชวังและวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ แล้วกวาดเอากษัตริย์ขัตติยวงศ์ แลท้าวพระยาเสนาบดี อพยพครอบครัวทั้งปวงพาไป”
ในพระราชพงศาวดารที่ชำระครั้งหลังๆ อย่างฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน และฉบับพระราชหัตถเลขามาความละเอียดในเรื่องการเผาทำลายเมืองของพม่ามากขึ้น อย่างพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนว่า
"ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุญ นพศก ถึ่ง ณะ วันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เปนวันเนาสงกรานวันกลาง พม่าจุดเพลีงเผาฟืนเชื้อใต้รากกำแพง ตรงหัวรอริมป้อมมหาไชย แลพม่าค่ายวัดท่าการ้อง วัดนางปลื้ม แลค่ายอื่นๆ ทุกค่าย จุดปืนใหญ่บนป้อมแลหอรบยิงระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน ตั้งแต่เพลาบ่าย ๓ โมงจนพลบค่ำ ภอกำแพงที่จุดเชื้อฟืนเผารากนั้นทรุดลงน่อยหนึ่ง ถึ่งเพลา ๒ ทุ่ม จึ่งให้จุดปืนสัญาขึ้น พลพม่าทุกด้านทุกกองซึ่งเตรียมไว้ก็เอาบันไดพาดที่กำแพงทรุดแลที่อื่นๆ รอบพระนครพร้อมกัน ก็ปีนเข้ากรุงได้ในเพลานั้น แล้วจุดเพลีงขึ้นทุกตำบล เผาเย่าเรือนอาวาด แลพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร แสงเพลีงสว่างดั่งกลางวัน แล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพเงีนทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ"
ถ้าพิจารณาในหลักฐานที่มีอายุร่วมสมัยกับพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) แล้วก็มีการระบุถึงการเผาทำลายเมืองอยุทธยารวมถึงวัดวาอารามจนเสียหายอย่างมาก ปรากฏในเอกสารสังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย งานนิพนธ์ภาษามคธของสมเด็จพระวันรัตน วัดพระเชตุพน แต่งใน พ.ศ. ๒๓๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๑ ความว่า
“พระนครนั้น ก็
ตามกาลอย่างใด ความ
อย่างใด สิ้นอายุอย่างใด สาปสูญโดยประการใด (พม่าข้าศึก) จับเอาประชาชนทั้งหลายมีพระราชวงศ์เปนต้นด้วย เก็บทรัพย์ทั้งหลายมีประการเปนอันมากด้วย แล้วเผาพระนครแลปราสาทสามองค์ แลพระอารามวิหารเสียด้วย แล้วทำลายกำแพงเสียด้วย แล้วทำพัศดุของกรุงอโยธยนคร มีพระธรรมแลพระวินัย คือไตรปิฎกเปนต้น ให้พินาศเสียแล้ว ก็กลับไปสู่บ้านเมืองของตน”
หลักฐานพม่าเองก็ยังยืนยันว่าพม่าเองได้เผาทำลายเมืองอย่างหนัก มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า คือพงศาวดารฉบับหอแก้ว (Hmannan Mahayazawin Dawgyi) ของพม่าที่แปลเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่องต่อ แต่ไม่ได้แปลครบถ้วนตามต้นฉบับ ได้กล่าวถึงการกระทำของกองทัพพม่าในช่วงเสียกรุงว่า
“ครั้นถึง ณ วัน ๕ ๑๑ฯ ๕ จุลศักราช ๑๑๒๙ พลทหารแลนายทัพนายกองทั้งปวงก็เข้าในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุทธยาได้ เมื่อเข้าในกำแพงเมืองได้นั้น พลพม่าทั้งปวงก็เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือนของพลเมืองแลวัดวาอารามเสียสิ้น”
เทียบกับ Hmannan Mahayazawin Dawgyi ฉบับแปลภาษาอังกฤษโดยหลวงไพรสณฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน สุพินทุ - U Aung Thein) ข้าราชการชาวพม่าในกรมป่าไม้สมัยรัชกาลที่ ๕ ตีพิมพ์ในวารสารสยามสมาคม (Journal of The Siam Society) มีความใกล้เคียงกันว่า
“As soon as the Burmese gained a footing in the city they set fire to the houses, public building, monasteries, and other religion edifices.”
(ทันที่ที่พม่าเข้าพระนครได้ ก็ได้จุดไฟเผาบ้านเรือน อาคารสาธารณะ วัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาทั้งปวง)
ในวรรณกรรมร่วมสมัยของพม่าอีกชิ้นชื่อ Yodayar Naing Mawgun (บันทึกชัยชนะเหนืออยุทธยา) ผลงานประพันธ์ของลักไวนรธา (Letwe Nawrahta) ขุนนางพม่าซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับสงครามเสียกรุงศรีอยุทธยา และสันนิษฐานด้วยว่าน่าจะได้เข้าร่วมในสงครามนี้เพราะได้บรรยายรายละเอียดถึงสงครามครั้งนี้ในงานประพันธ์ของตนอย่างละเอียด ตั้งแต่การเคลื่อนทัพลงมาถึงรายละเอียดการตั้งค่ายล้อมกรุง ซึ่งก็ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำลายเมืองอยุทธยาไว้ด้วยในตอนที่ ๕ บทที่ ๓๔ ความว่า
“Before the arrival of the Myanmar armies, the Siamese King Ekathat, who was merely of Sawbwa rank, proclaimed loudly that he ruled in the realm of human beings just like Saka ruled in Tavatimsa. When he tried to escape, no one recognized him as king, and he was hit and killed by a bullet. Because Ayutthaya suffered in the same way as everything on earth is scorched by the intense heat of seven suns which are said to rise nearing the extinction of the world, the palace, buildings with tiered roofs, and even brick houses were inflamed by fire and overwhelmed with smoke.
(เมื่อก่อนกองทัพพม่าจะเข้ากรุง พระเจ้าเอกทัศน์พระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นเจ้าฟ้า ทรงอวดอ้างว่าพระองค์ทรงปกครองมนุสสภูมิประดุจท้าวสักกะครองดาวดึงส์ เมื่อพระองค์ทรงพยายามจะหลบหนี ไม่มีผู้ใดสามารถจดจำพระองค์ได้ และพระองค์ทรงต้องกระสุนปืนสวรรคต กรุงศรีอยุทธยาเปรียบเสมือนโลกภูมิที่ถูกเพลิงผลาญจากความร้อนมหาศาลของพระอาทิตย์เจ็ดดวงที่ปรากฏเมื่อจะใกล้จะสิ้นโลก พระราชวัง อาคารที่มุงหลังคากระเบื้อง แม้แต่อาคารก่ออิฐล้วนถูกเผาไหม้เปลวเพลิงและปกคลุมด้วยหมอกควัน)
แม้ว่าเนื้อหาอาจมีการใช้โวหารขยายความตามประสากวี แต่เนื้อความก็ไม่ได้แตกต่างจากหลักฐานพม่าชิ้นอื่นที่ระบุตรงกันว่าเมื่อคราววเสียกรุงมีการเผาทำลายทั้งพระราชวังและอาคารอื่นๆ ในตัวเมืองอย่างหนัก และภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ “ปราสาทบางหลังในวังหลวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ” อย่างที่มีบางคนสันนิษฐาน
นอกจากหลักฐานของไทยและพม่าแล้ว หลักฐานร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสก็ได้กล่าวถึงการเผาทำลายเมืองของพม่าอย่างหนักไว้เช่นเดียวกัน ปรากฏในจดหมายของมองเซนเยอร์บรีโกต์ บิชอปคณะมิสซังต่างประเทศซึ่งอยู่ในกรุงศรีอยุทธยาตั้งแต่ก่อนเสียกรุง ส่งถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศกรุงปารีส (Missions Etrangères de Paris) ระบุเหตุการณ์ในช่วงเสียกรุงว่า
“เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายเข้าของอยู่ ๑๕ วัน และได้ฆ่าผู้ฟันตนไม่เลือกว่าคนมีเงินหรือไม่มีเงินก็ฆ่าเสียสิ้น แต่พวกพม่าก็พยายามฆ่าพวกพระสงฆ์มากกว่า และได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้าเองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ ในตอนเช้าวันเดียวเท่านั้นกว่า ๒๐ องค์ เมื่อพม่าได้เผาบ้านเรือนในพระนครตลอดจนพระราชวังและวัดวาอารามหมดสิ้นแล้ว พวกพม่าจึงเตรียมการที่จะยกทัพกลับไป พวกพม่าได้ยกทัพออกจากกรุงเมื่อวันที่ ๑๕ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) บาดหลวงแบนาดีโนได้ตกน้ำตายใต้บางกอก บาดหลวงเยซวิตได้ตายที่ข้างช้าง บาดหลวงอีซีดอร์ได้หนีไปที่เมืองคันเคา ซาอานา ซิโอกับภรรยาถูกพม่าเก็บทรัพย์สมบัติจนหมดตัว ลงปลายที่สุด ก็อดอาหารตาย ส่วนตัวข้าพเจ้านั้นได้หนีไปบางกอกพร้อมด้วย พวกเข้ารีด ๓๐๐ คน แล้วได้ลงเรือจีนไปยังเมืองคันเคาต่อไป”
นอกจากในพระนคร อาคารนอกกรุงส่วนใหญ่ก็ถูกเผาทำลายตั้งแต่ก่อนเสียกรุงจำนวนมาก ทั้งห้างฮอลันดาที่ถูกเผาจนเหลือแต่กำแพง วัดแซงโดมินิก รวมถึงบ้านเรือนนอกพระนคร
หากข้อความที่ระบุว่า “พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายเข้าของอยู่ ๑๕ วัน” เป็นความจริง (จริงๆ ไม่ควรถึง ๑๕ วันเนื่องจากเสียกรุงในวันที่ ๗ แต่ถอนทัพกลับในวันที่ ๑๕ มีเวลาอยู่ประมาณ ๑ สัปดาห์) ก็น่าจะแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาที่พม่าตั้งทัพอยู่ตั้งแต่ช่วงที่ตีกรุงได้จนถึงถอนทัพกลับ ก็น่าจะมีการเผาทำลายเมืองมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ไม่น่าเผาแค่สถานที่สำคัญเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดขึ้นควรจะมากพอสมควร
จากหลักฐานที่ยกมาน่าจะสื่อให้เห็นว่า เมื่อคราวเสียกรุงนั้น ตัวพระนครกรุงศรีอยุทธยาเองก็ถูกกองทัพของพม่าเผาทำลายอย่างหนักเช่นเดียวกัน ไม่ได้สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยแล้วถูกซ้ำด้วยการทำลายของคนไทยหรือคนจีนในภายหลัง
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1357404740989659
ซึ่งจริงๆ แล้ว เรื่องการทำลายโดยคนไทยหรือจีนอย่างหนักส่งผลให้กรุงศรีอยุทธยากลายเป็นซากอย่างที่เห็นในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนอยู่มาก อย่าง การขุดสมบัติหรือทุบทำลายพระเจดีย์ในสมัยธนบุรีเพื่อหาเงิน รื้อการรื้อกำแพงเมืองทิ้งในสมัยรัชกาลที่ ๑ (น่าจะรวมถึงซากอิฐจากวัดวาอารามที่ไม่เหลือสภาพด้วย) เพื่อเอาอิฐไปสร้างกรุงเทพและเอามาทำทำนบกั้นน้ำที่คลองปากลัดเพื่อไม่ให้น้ำเค็มไหลมา เพื่อให้ประชาชนมีน้ำจืดใช้
แต่นั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง หลักฐานที่ระบุว่ามีความเสียหายจากไฟไหม้ตอนเสียกรุงก็มีอยู่จำนวนมากครับ ถ้าพิจารณาตามตรรกะของคนปกติคงจะประหลาดมากว่าจะมีคนไทยในกำแพงกรุงมาลอบปล้นกันเองในขณะที่พม่ากำลังบุกมาจับหรือมาฆ่าคนในกำแพงกรุงซึ่งมันเสี่ยงต่อการเอาตัวรอดมาก
มีไฟไหม้ใหญ่ในพระนครก่อนช่วงเสียกรุง พงศาวดารระบุว่าเกิดขึ้นในเดือนยี่ ปลาย พ.ศ. ๒๓๐๙ ไฟไหม้กลางพระนครเสียหายมากกว่าหมื่นหลังคาเรือน
"ครั้นถึง ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๑๒๘ ปี เพลาดึกเที่ยงคืน เกิดเพลีงในพระนครไหม้ตั้งแต่ท่าทราย ติจลามมาถึ่งตะพานช้าง คลองประตูเข้าเปลือก แล้วข้ามมาติจป่ามพร้าว แลป่าโทน ป่าถ่าน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบุณะ วัดพระศรีรัตนมหาทาตุ เพลีงไปหยุดเพียงวัดฉัดทัน คิดกุฎิวิหารแลบ้านเรือนที่เพลียงไหม้ครั้งนั้นมากกว่าหมื่นหลัง"
ไฟไหม้ครั้งนั้นค่อนข้างรุนแรงมาก จนพงศาวดารถึงกับระบุว่าพระยาตากซึ่งตีฝ่าออกไปจากกรุงในวันนั้นพอดียังมองเห็นเมื่อยกทัพมาถึงสามบัณฑิตแล้ว
“พอบรรลุถึงสำบัณฑิตเพลาเที่ยงคืน ๒ ยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพฯ ไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวงไปจนวัดฉัททันต์ แสงเพลิงรุ่งโรจ โชตนาการ ครั้งพระองค์ได้ทอดทัศนาเห็นก็สังเวชสลดพระทัย ด้วยอาลัยถึง สมณพราหมณาจารย์ขัติวงศานุวงศ์ แลเสนาพฤฒามาตย์ราษฏร และพระบวรพุทธศาสนา มิใคร่จะไปได้ ดุจมีใจย่อหย่อนจากอุตสาหะ ซึ่งตั้งปฏิธานปรารถนาว่าจะแก้กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบวรพุทธ ศาสนา เทพดาเจ้าจึงบันดาลให้สมฤดีมีกำลังกรุณาอุตสาหะ”
อย่างไรก็ตาม พงศาวดารไม่ได้ระบุว่าสาเหตุของเพลิงไหม้เกิดจากอะไร เนื่องจากในเวลานั้นพม่ายังบุกเข้ากรุงไม่ได้ จึงอาจเกิดจากคนไทยในกรุงเป็นต้นเหตุ แต่จะเกิดจากการตั้งใจเผาหรืออุบัติเหตุก็ไม่พบหลักฐานชัดเจน (แต่สุจิตต์พยายามจะนำเสนอว่าคนไทยตั้งใจเผากันเอง โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน)
ส่วนเรื่องการเผาทำลายเมืองของพม่า พงศาวดารที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงเสียกรุงกล่าวไว้เพียงย่นย่อว่า
“ครั้นณวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุรนพศก เพลาบ่าย ๔ โมง พะม่ายิงปืนป้อมสูงวัดการ้อง วัดแม่นางปลื้ม ระดมเข้ามาในกรุง แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงครั้นเพลาค่ำกำแพงซุดลงหน่อยหนึ่ง พะม่าก็เข้ากรุงได้ เข้าเผา พระราชวังและวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ แล้วกวาดเอากษัตริย์ขัตติยวงศ์ แลท้าวพระยาเสนาบดี อพยพครอบครัวทั้งปวงพาไป”
ในพระราชพงศาวดารที่ชำระครั้งหลังๆ อย่างฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน และฉบับพระราชหัตถเลขามาความละเอียดในเรื่องการเผาทำลายเมืองของพม่ามากขึ้น อย่างพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนว่า
"ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุญ นพศก ถึ่ง ณะ วันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เปนวันเนาสงกรานวันกลาง พม่าจุดเพลีงเผาฟืนเชื้อใต้รากกำแพง ตรงหัวรอริมป้อมมหาไชย แลพม่าค่ายวัดท่าการ้อง วัดนางปลื้ม แลค่ายอื่นๆ ทุกค่าย จุดปืนใหญ่บนป้อมแลหอรบยิงระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน ตั้งแต่เพลาบ่าย ๓ โมงจนพลบค่ำ ภอกำแพงที่จุดเชื้อฟืนเผารากนั้นทรุดลงน่อยหนึ่ง ถึ่งเพลา ๒ ทุ่ม จึ่งให้จุดปืนสัญาขึ้น พลพม่าทุกด้านทุกกองซึ่งเตรียมไว้ก็เอาบันไดพาดที่กำแพงทรุดแลที่อื่นๆ รอบพระนครพร้อมกัน ก็ปีนเข้ากรุงได้ในเพลานั้น แล้วจุดเพลีงขึ้นทุกตำบล เผาเย่าเรือนอาวาด แลพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร แสงเพลีงสว่างดั่งกลางวัน แล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพเงีนทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ"
ถ้าพิจารณาในหลักฐานที่มีอายุร่วมสมัยกับพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) แล้วก็มีการระบุถึงการเผาทำลายเมืองอยุทธยารวมถึงวัดวาอารามจนเสียหายอย่างมาก ปรากฏในเอกสารสังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย งานนิพนธ์ภาษามคธของสมเด็จพระวันรัตน วัดพระเชตุพน แต่งใน พ.ศ. ๒๓๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๑ ความว่า
“พระนครนั้น ก็


หลักฐานพม่าเองก็ยังยืนยันว่าพม่าเองได้เผาทำลายเมืองอย่างหนัก มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า คือพงศาวดารฉบับหอแก้ว (Hmannan Mahayazawin Dawgyi) ของพม่าที่แปลเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่องต่อ แต่ไม่ได้แปลครบถ้วนตามต้นฉบับ ได้กล่าวถึงการกระทำของกองทัพพม่าในช่วงเสียกรุงว่า
“ครั้นถึง ณ วัน ๕ ๑๑ฯ ๕ จุลศักราช ๑๑๒๙ พลทหารแลนายทัพนายกองทั้งปวงก็เข้าในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุทธยาได้ เมื่อเข้าในกำแพงเมืองได้นั้น พลพม่าทั้งปวงก็เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือนของพลเมืองแลวัดวาอารามเสียสิ้น”
เทียบกับ Hmannan Mahayazawin Dawgyi ฉบับแปลภาษาอังกฤษโดยหลวงไพรสณฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน สุพินทุ - U Aung Thein) ข้าราชการชาวพม่าในกรมป่าไม้สมัยรัชกาลที่ ๕ ตีพิมพ์ในวารสารสยามสมาคม (Journal of The Siam Society) มีความใกล้เคียงกันว่า
“As soon as the Burmese gained a footing in the city they set fire to the houses, public building, monasteries, and other religion edifices.”
(ทันที่ที่พม่าเข้าพระนครได้ ก็ได้จุดไฟเผาบ้านเรือน อาคารสาธารณะ วัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาทั้งปวง)
ในวรรณกรรมร่วมสมัยของพม่าอีกชิ้นชื่อ Yodayar Naing Mawgun (บันทึกชัยชนะเหนืออยุทธยา) ผลงานประพันธ์ของลักไวนรธา (Letwe Nawrahta) ขุนนางพม่าซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับสงครามเสียกรุงศรีอยุทธยา และสันนิษฐานด้วยว่าน่าจะได้เข้าร่วมในสงครามนี้เพราะได้บรรยายรายละเอียดถึงสงครามครั้งนี้ในงานประพันธ์ของตนอย่างละเอียด ตั้งแต่การเคลื่อนทัพลงมาถึงรายละเอียดการตั้งค่ายล้อมกรุง ซึ่งก็ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำลายเมืองอยุทธยาไว้ด้วยในตอนที่ ๕ บทที่ ๓๔ ความว่า
“Before the arrival of the Myanmar armies, the Siamese King Ekathat, who was merely of Sawbwa rank, proclaimed loudly that he ruled in the realm of human beings just like Saka ruled in Tavatimsa. When he tried to escape, no one recognized him as king, and he was hit and killed by a bullet. Because Ayutthaya suffered in the same way as everything on earth is scorched by the intense heat of seven suns which are said to rise nearing the extinction of the world, the palace, buildings with tiered roofs, and even brick houses were inflamed by fire and overwhelmed with smoke.
(เมื่อก่อนกองทัพพม่าจะเข้ากรุง พระเจ้าเอกทัศน์พระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นเจ้าฟ้า ทรงอวดอ้างว่าพระองค์ทรงปกครองมนุสสภูมิประดุจท้าวสักกะครองดาวดึงส์ เมื่อพระองค์ทรงพยายามจะหลบหนี ไม่มีผู้ใดสามารถจดจำพระองค์ได้ และพระองค์ทรงต้องกระสุนปืนสวรรคต กรุงศรีอยุทธยาเปรียบเสมือนโลกภูมิที่ถูกเพลิงผลาญจากความร้อนมหาศาลของพระอาทิตย์เจ็ดดวงที่ปรากฏเมื่อจะใกล้จะสิ้นโลก พระราชวัง อาคารที่มุงหลังคากระเบื้อง แม้แต่อาคารก่ออิฐล้วนถูกเผาไหม้เปลวเพลิงและปกคลุมด้วยหมอกควัน)
แม้ว่าเนื้อหาอาจมีการใช้โวหารขยายความตามประสากวี แต่เนื้อความก็ไม่ได้แตกต่างจากหลักฐานพม่าชิ้นอื่นที่ระบุตรงกันว่าเมื่อคราววเสียกรุงมีการเผาทำลายทั้งพระราชวังและอาคารอื่นๆ ในตัวเมืองอย่างหนัก และภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ “ปราสาทบางหลังในวังหลวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ” อย่างที่มีบางคนสันนิษฐาน
นอกจากหลักฐานของไทยและพม่าแล้ว หลักฐานร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสก็ได้กล่าวถึงการเผาทำลายเมืองของพม่าอย่างหนักไว้เช่นเดียวกัน ปรากฏในจดหมายของมองเซนเยอร์บรีโกต์ บิชอปคณะมิสซังต่างประเทศซึ่งอยู่ในกรุงศรีอยุทธยาตั้งแต่ก่อนเสียกรุง ส่งถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศกรุงปารีส (Missions Etrangères de Paris) ระบุเหตุการณ์ในช่วงเสียกรุงว่า
“เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายเข้าของอยู่ ๑๕ วัน และได้ฆ่าผู้ฟันตนไม่เลือกว่าคนมีเงินหรือไม่มีเงินก็ฆ่าเสียสิ้น แต่พวกพม่าก็พยายามฆ่าพวกพระสงฆ์มากกว่า และได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้าเองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ ในตอนเช้าวันเดียวเท่านั้นกว่า ๒๐ องค์ เมื่อพม่าได้เผาบ้านเรือนในพระนครตลอดจนพระราชวังและวัดวาอารามหมดสิ้นแล้ว พวกพม่าจึงเตรียมการที่จะยกทัพกลับไป พวกพม่าได้ยกทัพออกจากกรุงเมื่อวันที่ ๑๕ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) บาดหลวงแบนาดีโนได้ตกน้ำตายใต้บางกอก บาดหลวงเยซวิตได้ตายที่ข้างช้าง บาดหลวงอีซีดอร์ได้หนีไปที่เมืองคันเคา ซาอานา ซิโอกับภรรยาถูกพม่าเก็บทรัพย์สมบัติจนหมดตัว ลงปลายที่สุด ก็อดอาหารตาย ส่วนตัวข้าพเจ้านั้นได้หนีไปบางกอกพร้อมด้วย พวกเข้ารีด ๓๐๐ คน แล้วได้ลงเรือจีนไปยังเมืองคันเคาต่อไป”
นอกจากในพระนคร อาคารนอกกรุงส่วนใหญ่ก็ถูกเผาทำลายตั้งแต่ก่อนเสียกรุงจำนวนมาก ทั้งห้างฮอลันดาที่ถูกเผาจนเหลือแต่กำแพง วัดแซงโดมินิก รวมถึงบ้านเรือนนอกพระนคร
หากข้อความที่ระบุว่า “พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายเข้าของอยู่ ๑๕ วัน” เป็นความจริง (จริงๆ ไม่ควรถึง ๑๕ วันเนื่องจากเสียกรุงในวันที่ ๗ แต่ถอนทัพกลับในวันที่ ๑๕ มีเวลาอยู่ประมาณ ๑ สัปดาห์) ก็น่าจะแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาที่พม่าตั้งทัพอยู่ตั้งแต่ช่วงที่ตีกรุงได้จนถึงถอนทัพกลับ ก็น่าจะมีการเผาทำลายเมืองมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ไม่น่าเผาแค่สถานที่สำคัญเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดขึ้นควรจะมากพอสมควร
จากหลักฐานที่ยกมาน่าจะสื่อให้เห็นว่า เมื่อคราวเสียกรุงนั้น ตัวพระนครกรุงศรีอยุทธยาเองก็ถูกกองทัพของพม่าเผาทำลายอย่างหนักเช่นเดียวกัน ไม่ได้สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยแล้วถูกซ้ำด้วยการทำลายของคนไทยหรือคนจีนในภายหลัง
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1357404740989659
ความคิดเห็นที่ 7
จขกท. ยังมีปัญหาเรื่องการจับประเด็นจากการอ่านและการฟัง รวมถึงปัญหาเรื่องการจัดเรียงชุดข้อมูลอยู่นะครับ
1. ชาตินิยมทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา ; ผมคิดว่าจขกท.ต้องแยกแยะก่อนระหว่าง 'ชาตินิยม' กับ 'คลั่งชาติ' แต่ถ้าจขกท.ยืนกรานว่าหมายถึงชาตินิยมจริงๆ ผมคงได้แต่แนะนำให้จขกท.ลองศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเมจิมาจนถึงช่วงฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วจะเข้าใจว่าทำไมตั้งแต่การปฏิรูปเมจิ ญี่ปุ่นจึงขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแห่งเอเชียอย่างรวดเร็ว แม้จะแพ้สงคราม ปัจจุบันก็ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ 'พัฒนา' ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย
2. เทือกเขาอัลไต ; ประเด็นนี้มาจากขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งไม่ได้เป็นญาติโกโหติกาฝากข้างไหนของหลวงวิจิตรวาทการครับ
3. พม่าไม่ได้เผาไทย ; ผมเข้าใจว่าคุณสุจิตต์ไม่ได้มีเจตนาเสนอแบบนี้ แต่จะมุ่งเสนอว่าอยุธยาที่ต้องกลายเป็นซากปรักหักพัง ไม่ได้เป็นเพราะถูกพม่าเผา 'เพียงอย่างเดียว' และพม่าไม่ได้เผาพระลอกเอาทองคำไปหุ้มเจดีย์
4. เรื่องความคลั่งชาติสยาม ; ประเด็นนี้ผมไม่แน่ใจว่า 'คลั่งชาติสยาม' หมายถึงอะไร แต่หากศึกษางานเขียนของหลวงวิจิตรฯหลายชิ้น จะพบว่าหลวงวิจิตรฯไม่ได้ 'ยกยอ' ชาติสยามอย่างแน่นอน อย่างน้อยในสมัยอยุธยาก็ถูกหลวงวิจิตรฯวิจารณ์ว่าเป็นยุคสมัยอันฟอนเฟะ (ผมจำคำที่หลวงวิจิตรฯใช้จริงๆ ไม่ได้ แต่โดยความหมายแล้ว หลวงวิจิตรฯไม่ชอบยุคอยุธยาแน่นอน)
5. ค่านิยมชาวไทย ; นี่เป็นนโยบายจากรบ.จอมพลป. ซึ่งแม้ว่าหลวงวิจิตรฯจะเป็นกำลังสำคัญของจอมพลป. แต่การจะโทษหลวงวิจิตรฯเสียทีเดียวก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก และอีกประการคือ การสร้างค่านิยมชาวไทย ยังไม่มีงานวิจัยว่าขัดขวางการพัฒนาประเทศนะครับ
ส่วนการจะตอบคำถามว่า ถ้าไม่มีหลวงวิจิตรฯ ประเทศไทยจะเจริญกว่านี้หรือไม่ ผมว่าจขกท.อาจจะกำลังติดกับดักของความคิดแบบ determinism มากจนเกินไป ผมคิดว่ามันประเด็นแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่นักประวัติศาสตร์จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าครับ เพราเอาเข้าจริงแล้วไพ่มันจะออกหน้าไหนก็ได้ ไม่ต่างกับประเด็นที่ว่า ถ้าประเทศจีนไม่มีเติ้งเสี่ยวผิง จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ คือประวัติศาสตร์เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งมันยังมีบริบทแวดล้อมอีกมากเกินกว่าที่การมีหรือไม่มีคนใดคนหนึ่งแล้วจะสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ปล. ผมไม่ได้จะแก้ต่างให้หลวงวิจิตรฯนะครับ อย่างที่บอกว่าเราไม่สามารถพยากรณ์สิ่งใดได้เลย หลวงวิจิตรฯเป็นเพียงนักการเมืองคนหนึ่งที่สามารถปรับตัวได้ตามยุคสมัย ไม่ได้เป็นเทวดาหรือซาตานที่จะดลบันดาลให้ประเทศเป็นไปอย่างใดก็ได้ ผมเพียงแต่อยากชี้ให้ตระหนักว่า การเปิดฟลอร์วิพากษ์ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ดี ตราบใดที่ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในปรัชญาประวัติศาสตร์ มีข้อมูลและ source ที่หนักแน่นเพียงพอ มิฉะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการนั่งวิจารณ์ผู้อื่นโดยไม่รู้หรือไม่สนใจในข้อเท็จจริง ทำเพียงเพื่อให้สบอารมณ์หรือตอบสนองอุดมการณ์บางอย่าง ซึ่งมันไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรทั้งในทางวิชาการหรือในการดำรงชีวิตเลยครับ
1. ชาตินิยมทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา ; ผมคิดว่าจขกท.ต้องแยกแยะก่อนระหว่าง 'ชาตินิยม' กับ 'คลั่งชาติ' แต่ถ้าจขกท.ยืนกรานว่าหมายถึงชาตินิยมจริงๆ ผมคงได้แต่แนะนำให้จขกท.ลองศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเมจิมาจนถึงช่วงฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วจะเข้าใจว่าทำไมตั้งแต่การปฏิรูปเมจิ ญี่ปุ่นจึงขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแห่งเอเชียอย่างรวดเร็ว แม้จะแพ้สงคราม ปัจจุบันก็ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ 'พัฒนา' ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย
2. เทือกเขาอัลไต ; ประเด็นนี้มาจากขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งไม่ได้เป็นญาติโกโหติกาฝากข้างไหนของหลวงวิจิตรวาทการครับ
3. พม่าไม่ได้เผาไทย ; ผมเข้าใจว่าคุณสุจิตต์ไม่ได้มีเจตนาเสนอแบบนี้ แต่จะมุ่งเสนอว่าอยุธยาที่ต้องกลายเป็นซากปรักหักพัง ไม่ได้เป็นเพราะถูกพม่าเผา 'เพียงอย่างเดียว' และพม่าไม่ได้เผาพระลอกเอาทองคำไปหุ้มเจดีย์
4. เรื่องความคลั่งชาติสยาม ; ประเด็นนี้ผมไม่แน่ใจว่า 'คลั่งชาติสยาม' หมายถึงอะไร แต่หากศึกษางานเขียนของหลวงวิจิตรฯหลายชิ้น จะพบว่าหลวงวิจิตรฯไม่ได้ 'ยกยอ' ชาติสยามอย่างแน่นอน อย่างน้อยในสมัยอยุธยาก็ถูกหลวงวิจิตรฯวิจารณ์ว่าเป็นยุคสมัยอันฟอนเฟะ (ผมจำคำที่หลวงวิจิตรฯใช้จริงๆ ไม่ได้ แต่โดยความหมายแล้ว หลวงวิจิตรฯไม่ชอบยุคอยุธยาแน่นอน)
5. ค่านิยมชาวไทย ; นี่เป็นนโยบายจากรบ.จอมพลป. ซึ่งแม้ว่าหลวงวิจิตรฯจะเป็นกำลังสำคัญของจอมพลป. แต่การจะโทษหลวงวิจิตรฯเสียทีเดียวก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก และอีกประการคือ การสร้างค่านิยมชาวไทย ยังไม่มีงานวิจัยว่าขัดขวางการพัฒนาประเทศนะครับ
ส่วนการจะตอบคำถามว่า ถ้าไม่มีหลวงวิจิตรฯ ประเทศไทยจะเจริญกว่านี้หรือไม่ ผมว่าจขกท.อาจจะกำลังติดกับดักของความคิดแบบ determinism มากจนเกินไป ผมคิดว่ามันประเด็นแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่นักประวัติศาสตร์จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าครับ เพราเอาเข้าจริงแล้วไพ่มันจะออกหน้าไหนก็ได้ ไม่ต่างกับประเด็นที่ว่า ถ้าประเทศจีนไม่มีเติ้งเสี่ยวผิง จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ คือประวัติศาสตร์เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งมันยังมีบริบทแวดล้อมอีกมากเกินกว่าที่การมีหรือไม่มีคนใดคนหนึ่งแล้วจะสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ปล. ผมไม่ได้จะแก้ต่างให้หลวงวิจิตรฯนะครับ อย่างที่บอกว่าเราไม่สามารถพยากรณ์สิ่งใดได้เลย หลวงวิจิตรฯเป็นเพียงนักการเมืองคนหนึ่งที่สามารถปรับตัวได้ตามยุคสมัย ไม่ได้เป็นเทวดาหรือซาตานที่จะดลบันดาลให้ประเทศเป็นไปอย่างใดก็ได้ ผมเพียงแต่อยากชี้ให้ตระหนักว่า การเปิดฟลอร์วิพากษ์ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ดี ตราบใดที่ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในปรัชญาประวัติศาสตร์ มีข้อมูลและ source ที่หนักแน่นเพียงพอ มิฉะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการนั่งวิจารณ์ผู้อื่นโดยไม่รู้หรือไม่สนใจในข้อเท็จจริง ทำเพียงเพื่อให้สบอารมณ์หรือตอบสนองอุดมการณ์บางอย่าง ซึ่งมันไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรทั้งในทางวิชาการหรือในการดำรงชีวิตเลยครับ
ความคิดเห็นที่ 12
1 พม่าไม่ได้เผาไทย ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนเชื่ออยู่อีก ทั้งๆที่เขาเอาหลักฐานมายืนยันแล้วซึ่งหลักฐานทุกอย่างทั้งจากไทย ฝรั่ง พม่าบ่งชี้ตรงกันหมดว่าพม่านี่แหละเผาอยุธยาจริง และไม่ใช่เผานิดๆหน่อยๆแต่เผากันเป็นการเป็นงานเก็บสมบัติกันร่วม 2 สัปดาห์เลย ที่สำคัญนี่ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่พม่าเผาเมืองในไทยนะ เพราะปี 2352 พม่าก็เผาเมืองถลางวอดไปอีกเมือง
2 กรุณาแยกให้ออกจากกันเสียก่อนระหว่างคลั่งชาติกับชาตินิยม คำว่าคลั่งชาตินี่ความหมายมันรุนแรงมากจนต้องระดับที่ญี่ปุ่นทำกับชาวจีนรึนาซีทำกับชาวยิวนู่นแหละ ในประเทศไทยนี้ผมไม่เคยเห็นมีช่วงไหนในประวัติศาสตร์เลยที่คนไทยจะเข้าขั้นคลั่งชาติ
3 เทือกเขาอัลไต เรื่องนี้ขุนวิจิตรมาตราเขียนตามที่ Dr.william Clifton Dodd บอกอีกที ขุนวิจิตรมาตราเองก็ไม่ได้รับรองว่าจะถูกด้วยแค่ว่าตามไป
4 ชาตินิยมทำให้ชาติไม่พัฒนา ทุกวันนี้ผมเห็นประเทศพัฒนาแล้วเกือบทั้งหมดนี่คนของเขาชาตินิยมทั้งนั้น
2 กรุณาแยกให้ออกจากกันเสียก่อนระหว่างคลั่งชาติกับชาตินิยม คำว่าคลั่งชาตินี่ความหมายมันรุนแรงมากจนต้องระดับที่ญี่ปุ่นทำกับชาวจีนรึนาซีทำกับชาวยิวนู่นแหละ ในประเทศไทยนี้ผมไม่เคยเห็นมีช่วงไหนในประวัติศาสตร์เลยที่คนไทยจะเข้าขั้นคลั่งชาติ
3 เทือกเขาอัลไต เรื่องนี้ขุนวิจิตรมาตราเขียนตามที่ Dr.william Clifton Dodd บอกอีกที ขุนวิจิตรมาตราเองก็ไม่ได้รับรองว่าจะถูกด้วยแค่ว่าตามไป
4 ชาตินิยมทำให้ชาติไม่พัฒนา ทุกวันนี้ผมเห็นประเทศพัฒนาแล้วเกือบทั้งหมดนี่คนของเขาชาตินิยมทั้งนั้น
แสดงความคิดเห็น
ถ้าไม่มี หลวงวิจิตรวาทการ ประเทศไทยจะพัฒนากว่านี้ไหมครับ
แต่มีคนบอกว่า คนไทยมีแต่คนคลั่งชาติมากไปทำให้ประเทศไม่พัฒนา เพราะการศึกษาแบบชาตินิยมในสมัยก่อน
หลวงวิจิตรวาทการ เป็นนักแต่งประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดชาตินิยม และชาตินิยมทำลายชาติทำให้ไม่พัฒนา
แต่งเรื่องโกหกออกมามากมาย เช่น เทือกเขาอัตไต พม่าเผาไทย(จากที่ฟังจาก สุจิตต์ วงษ์เทศ บอกว่าไม่ใช่) เรื่องความคลั่งชาติสยาม ค่านิยมชาวไทย เป็นต้น
ถ้าประเทศไทยไม่มี หลวงวิจิตรวาทการ ประเทศไทยปัจจุบันจะพัฒนากว่านี้ไหมครับ