" การ เห็น ใน ความ เป็น อัส สา ทะ และ อา ทีน วะ ของ สัญ โญช นิย ธรรม กับ การ หยั่ง ลง แห่ง นาม รูป "

นามรูปหยั่งลง เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็น อัสสาทะ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี)
ในธรรมทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (สัญโญชนิยธรรม) อยู่, การหยั่งลงแห่ง นามรูป ย่อมมี,

เพราะมี นามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ-
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน:
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่
มีรากดิ่งลงไปเบื้องล่างด้วย มีรากแผ่ไปรอบ ๆ ด้วย
รากทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ดูดสิ่งโอชะขึ้นไปเบื้องบน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีอาการอย่างนั้น มีเครื่องหล่อเลี้ยงอย่างนั้น
พึงตั้งอยู่ได้ ตลอดกาลยาวนาน,
ข้อนี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น: เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี)
ในธรรมทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ อยู่ การหยั่งลงแห่ง นามรูป ย่อมมี.
เพราะมี นามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ-
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน:
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๘/๒๑๖, .


การหยั่งลงแห่งวิญญาณ (และนามรูป) ไม่มี เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม)
ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่, การหยั่งลงแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี.

เพราะความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป;
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ,
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ,
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา;
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา;
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน,
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ,
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่ง ชาติ;
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ-
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีอยู่. ลำดับนั้น
บุรุษพึงถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุดเซาะ;
ครั้นขุดเซาะแล้ว พึงรื้อขึ้นซึ่งรากทั้งหลายแม้ที่สุดเพียงเท่าก้านแฝก.


บุรุษนั้น ตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า,
ครั้นผ่าแล้ว พึงกระทำให้เป็นซีก ๆ , ครั้นกระทำให้เป็นซีก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด,
ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว ย่อมเผาดวยไฟ; ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็นขี้เถ้า;
ครั้นกระทำให้เป็นขี้เถ้าแล้ว ย่อมโปรยไปตามลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสน้ำอันไหลเชี่ยว.


ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยการกระทำอย่างนี้แล ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็จะพึงเป็นต้นไม้มีรากอันขาดแล้ว
เหมือนต้นตาลที่ถูกทำลายแล้วที่ขั้วแห่งยอดถึงแล้วซึ่งความไม่มีไม่เป็น มีความไม่งอกอีกต่อไปเป็นธรรมดา
, ข้อนี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม)
ในธรรมทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ อยู่, การหยั่งลงแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี.
เพราะความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป;
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ :
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ,
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา,
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา;
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน;
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ;
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่ง ชาติ;
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ-
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ , ดังนี้ แล.

-  นิทาน.สํ.๑๖/๑๑๐/๒๒๒


________________________________________________________________________________________________

ธรรมอันเป็นที่ตั้งสังโยชน์ ( สัญโญชนิยธรรม ) นั้นได้แก่
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ,
ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธัมมารมณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่