
คลิกชมVDO
https://www.facebook.com/YaAndYou.net/videos/10156787077975312/
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทย การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะต้นนั้นไม่ยาก ปัญหาคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักปล่อยให้มีอาการมากแล้วจึงค่อยมาพบแพทย์
หลังจากมีวัคซีนป้องมะเร็งปากมดลูก ทำให้คนตื่นตัวเป็นจำนวนมาก และก็มีคนเข้าใจผิดเรื่องวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นมาทำความรู้จักกับมะเร็งปากมดลูกกันดีกว่า
มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในร่างกายของมนุษย์ มีเซลล์ผิดปกติที่เรียกว่า "เซลล์มะเร็ง" อยู่แล้ว แต่หากมีจำนวนไม่มาก ร่างกายจะยังทำงานตามปกติ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูกมีการกลายพันธุ์อย่างช้าๆ ใช้เวลานานหลายปีจนเกิดเป็นก้อนมะเร็ง
มะเร็งปากมดลูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ squamous cell carcinoma และ adenocarcinoma ส่วนใหญ่จะพบมะเร็งประเภทแรกมากกว่า ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งประเภทนี้คือ ติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) มีประมาณ 15 สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ HPV16 และ HPV18 เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึงร้อยละ 70 ส่วนมะเร็งประเภทที่สอง (adenocarcinoma) จะพบได้น้อย และสามารถเกิดขึ้นได้ในหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
ในประเทศไทยยังสามารถพบเชื้อไวรัสเอชพีวี 2 สายพันธุ์ คือ HPV6 และ HPV11 ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ แต่ไวรัสชนิดนี้ไม่นำไปสู่โรคมะเร็ง
เชื้อ HPV ติดต่อได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากเพศสัมพันธ์ โดยการสัมผัสแล้วผิวหนังหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศ หรือปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลที่ทำให้เชื้อเข้าไปได้ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน แต่งงานหลายครั้ง จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง ส่วนผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียวก็สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้เช่นกัน ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาจากผู้ชายที่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เป็นวัคซีนที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนในหญิงที่เคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์ ข้อสำคัญ คือ วัคซีนไม่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 100% เช่น การเกิดมะเร็งจาก HPV สายพันธุ์อื่นนอกเหนือจากสายพันธุ์ข้างต้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองยังคงมีความสำคัญ
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ควรเลือกตัวใดและฉีดเมื่อไร ?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ 1) ชนิดป้องกัน HPV 2 สายพันธุ์ คือ 16 และ 18 และ2) ชนิดที่ป้องกัน 4 สายพันธุ์ 16 และ 18 ร่วมกับสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนทั้งสองชนิด มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกันในการป้องกันสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบได้บ่อยคือ 16 และ 18 โดยผู้ที่รับวัคซีนไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อน สามารถรับวัคซีนได้เลย
ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดได้ในผู้หญิงกลุ่มอายุ 9-26 ปี เนื่องจากสตรีที่อายุมากกว่า 26 ปียังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และจะมีประสิทธิภาพที่สุดในหญิงที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์
ปัจจุบันทางรัฐบาลจัดให้มีการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ให้กับเด็กหญิงในระดับประถมปีที่ 5 โดยฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน แต่ในผู้หญิงที่อายุ 15-26 ปี แนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
ในกรณีที่ ฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ไม่ควรทำพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน (ไม่ได้หมายถึงมีครั้งละหลายคนนะคะ แต่หมายถึง เปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ) เพราะอาจจะมีโอกาสติดเชื้อในสายพันธุ์ที่วัคซีนไม่คลอบคลุมได้เช่นกัน และแม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอคะ
อาการข้างเคียงที่พบได้หลังฉีดวัคซีน ?
สามารถพบได้ในบางราย เช่น บริเวณที่ฉีดวัคซีนมีอาการ ปวด บวม แดง คัน แต่ไม่รุนแรง เป็นชั่วคราว หรือบางรายอาจจะพบอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ผื่นตามตัว สามารถหายไปเองได้ ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน หากสงสัยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับวัคซีน เพื่อให้พิจารณาการป้องกันดูแลและเลือกวัคซีนที่เหมาะสม ?
• วางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
• โปรดแจ้งแพทย์ประวัติการแพ้ยา อาหาร ยาง ลาเท็กซ์ หรือ แพ้ยีสต์ ขนมปัง
• ประวัติการรับประทานยา ต่างๆ
• ประวัติโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรค HIV หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆ
• ใบนัดการฉีดวัคซีน ในเอกสารนี้จะมีการฉีด ชนิดวัคซีน ซึ่งมีความสำคัญของการเลือกชนิดให้เหมาะสม
หากลืมฉีดตามนัดทำอย่างไร
วัคซีนควรฉีดตามนัด แต่หากเลยวันนัดที่กำหนดแล้ว สามารถไปฉีดได้ต่อ โดยไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ แนะนำควรฉีดให้ครบเพื่อให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดก่อนกำหนดวันนัด
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรฉีดวัคซีนนี้ได้ไหม ?
ขึ้นกับแพทย์พิจารณา อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก หากท่านวางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดแจ้งแพทย์
การตรวจมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
แพทย์จะขูดเอาเซลล์เยื่อบุปากมดลูกไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า แป็บ สเมียร์ (Pap smear) หากพบความผิดปกติ จะมีการตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ ถ้าพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หรือมีการใช้ชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นต่างๆหลายชนิดที่มีความไวในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติได้มากขึ้น
ควรเริ่มไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่ออายุเท่าไหร่ ?
ปัจจุบัน สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ทั้งที่เคยหรือไม่เคยได้รับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเชื้อ HPV มีหลายสายพันธุ์ วัคซีนอาจจะไม่คลอบคลุม โดยผู้ที่มีประวัติการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตามมีเกณฑ์แนะนำการตรวจคัดกรองที่เหมือนกัน รายละเอียดดังนี้
ผู้ที่อายุ 21-29 ปี แนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปีในกรณีที่ไม่พบเชื้อ HPV
ผู้หญิงอายุ 30-65 ปี แนะนำให้ตรวจทุก 3-5 ปีขึ้นกับชนิดการตรวจ แต่หากมีการตรวจพบแพทย์อาจจะให้ตรวจถี่ขึ้นทุก 12 เดือนเป็นต้น ตามดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก
สำหรับหญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจหากประวัติที่ผ่านมาไม่พบปัญหาใดๆ
หากมีข้อสงสัย สามารถสืบค้นข้อมูลยาได้ที่
http://www.yaandyou.net ,
http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=437
ไม่เวอร์จิ้น ฉีดได้ไหม?...วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทย การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะต้นนั้นไม่ยาก ปัญหาคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักปล่อยให้มีอาการมากแล้วจึงค่อยมาพบแพทย์
หลังจากมีวัคซีนป้องมะเร็งปากมดลูก ทำให้คนตื่นตัวเป็นจำนวนมาก และก็มีคนเข้าใจผิดเรื่องวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นมาทำความรู้จักกับมะเร็งปากมดลูกกันดีกว่า
มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในร่างกายของมนุษย์ มีเซลล์ผิดปกติที่เรียกว่า "เซลล์มะเร็ง" อยู่แล้ว แต่หากมีจำนวนไม่มาก ร่างกายจะยังทำงานตามปกติ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูกมีการกลายพันธุ์อย่างช้าๆ ใช้เวลานานหลายปีจนเกิดเป็นก้อนมะเร็ง
มะเร็งปากมดลูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ squamous cell carcinoma และ adenocarcinoma ส่วนใหญ่จะพบมะเร็งประเภทแรกมากกว่า ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งประเภทนี้คือ ติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) มีประมาณ 15 สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ HPV16 และ HPV18 เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึงร้อยละ 70 ส่วนมะเร็งประเภทที่สอง (adenocarcinoma) จะพบได้น้อย และสามารถเกิดขึ้นได้ในหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
ในประเทศไทยยังสามารถพบเชื้อไวรัสเอชพีวี 2 สายพันธุ์ คือ HPV6 และ HPV11 ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ แต่ไวรัสชนิดนี้ไม่นำไปสู่โรคมะเร็ง
เชื้อ HPV ติดต่อได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากเพศสัมพันธ์ โดยการสัมผัสแล้วผิวหนังหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศ หรือปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลที่ทำให้เชื้อเข้าไปได้ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน แต่งงานหลายครั้ง จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง ส่วนผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียวก็สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้เช่นกัน ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาจากผู้ชายที่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เป็นวัคซีนที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนในหญิงที่เคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์ ข้อสำคัญ คือ วัคซีนไม่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 100% เช่น การเกิดมะเร็งจาก HPV สายพันธุ์อื่นนอกเหนือจากสายพันธุ์ข้างต้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองยังคงมีความสำคัญ
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ควรเลือกตัวใดและฉีดเมื่อไร ?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ 1) ชนิดป้องกัน HPV 2 สายพันธุ์ คือ 16 และ 18 และ2) ชนิดที่ป้องกัน 4 สายพันธุ์ 16 และ 18 ร่วมกับสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนทั้งสองชนิด มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกันในการป้องกันสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบได้บ่อยคือ 16 และ 18 โดยผู้ที่รับวัคซีนไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อน สามารถรับวัคซีนได้เลย
ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดได้ในผู้หญิงกลุ่มอายุ 9-26 ปี เนื่องจากสตรีที่อายุมากกว่า 26 ปียังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และจะมีประสิทธิภาพที่สุดในหญิงที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์
ปัจจุบันทางรัฐบาลจัดให้มีการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ให้กับเด็กหญิงในระดับประถมปีที่ 5 โดยฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน แต่ในผู้หญิงที่อายุ 15-26 ปี แนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
ในกรณีที่ ฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ไม่ควรทำพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน (ไม่ได้หมายถึงมีครั้งละหลายคนนะคะ แต่หมายถึง เปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ) เพราะอาจจะมีโอกาสติดเชื้อในสายพันธุ์ที่วัคซีนไม่คลอบคลุมได้เช่นกัน และแม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอคะ
อาการข้างเคียงที่พบได้หลังฉีดวัคซีน ?
สามารถพบได้ในบางราย เช่น บริเวณที่ฉีดวัคซีนมีอาการ ปวด บวม แดง คัน แต่ไม่รุนแรง เป็นชั่วคราว หรือบางรายอาจจะพบอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ผื่นตามตัว สามารถหายไปเองได้ ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน หากสงสัยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับวัคซีน เพื่อให้พิจารณาการป้องกันดูแลและเลือกวัคซีนที่เหมาะสม ?
• วางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
• โปรดแจ้งแพทย์ประวัติการแพ้ยา อาหาร ยาง ลาเท็กซ์ หรือ แพ้ยีสต์ ขนมปัง
• ประวัติการรับประทานยา ต่างๆ
• ประวัติโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรค HIV หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆ
• ใบนัดการฉีดวัคซีน ในเอกสารนี้จะมีการฉีด ชนิดวัคซีน ซึ่งมีความสำคัญของการเลือกชนิดให้เหมาะสม
หากลืมฉีดตามนัดทำอย่างไร
วัคซีนควรฉีดตามนัด แต่หากเลยวันนัดที่กำหนดแล้ว สามารถไปฉีดได้ต่อ โดยไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ แนะนำควรฉีดให้ครบเพื่อให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดก่อนกำหนดวันนัด
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรฉีดวัคซีนนี้ได้ไหม ?
ขึ้นกับแพทย์พิจารณา อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก หากท่านวางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดแจ้งแพทย์
การตรวจมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
แพทย์จะขูดเอาเซลล์เยื่อบุปากมดลูกไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า แป็บ สเมียร์ (Pap smear) หากพบความผิดปกติ จะมีการตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ ถ้าพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หรือมีการใช้ชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นต่างๆหลายชนิดที่มีความไวในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติได้มากขึ้น
ควรเริ่มไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่ออายุเท่าไหร่ ?
ปัจจุบัน สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ทั้งที่เคยหรือไม่เคยได้รับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเชื้อ HPV มีหลายสายพันธุ์ วัคซีนอาจจะไม่คลอบคลุม โดยผู้ที่มีประวัติการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตามมีเกณฑ์แนะนำการตรวจคัดกรองที่เหมือนกัน รายละเอียดดังนี้
ผู้ที่อายุ 21-29 ปี แนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปีในกรณีที่ไม่พบเชื้อ HPV
ผู้หญิงอายุ 30-65 ปี แนะนำให้ตรวจทุก 3-5 ปีขึ้นกับชนิดการตรวจ แต่หากมีการตรวจพบแพทย์อาจจะให้ตรวจถี่ขึ้นทุก 12 เดือนเป็นต้น ตามดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก
สำหรับหญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจหากประวัติที่ผ่านมาไม่พบปัญหาใดๆ
หากมีข้อสงสัย สามารถสืบค้นข้อมูลยาได้ที่ http://www.yaandyou.net ,
http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=437