RATCH ใครเล่น SSF short กันเยอะๆนะครับ

กระทู้สนทนา
RATCHU18

ปริมาณ: สัญญา, สถานะคงค้าง: สัญญา   

วันที่                       เปิด    สูง                 ต่ำ    ปิด    ราคาที่ใช้ชำระราคา    เปลี่ยนแปลง    %เปลี่ยนแปลง    ปริมาณ    สถานะคงค้าง
25/07/2561    49.86    50.00    49.30    50.00    50.00           -0.44             -0.87%                 254    400
24/07/2561    50.51    50.51    50.44    50.44    50.44    -1.36              -2.63%                            204    410
23/07/2561    51.80    51.80    51.80    51.80    51.80    0.10                +0.19%                            104     209

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9610000074436

RATCH หุ้นเกรดดี / สุนันท์ ศรีจันทรา

โศกนาฏกรรมเขื่อนดิน เซเปียน-เซน้ำน้อยแตก ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน จนมีผู้เสียชีวิตนับสิบ สูญหายนับร้อยคนนั้น ทำให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์พากันประเมินถึงผลกระทบของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ทันที

เพราะบริษัท เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย มูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านดอลลาร์ ผลิตไฟฟ้าประมาณ 410 เมกะวัตต์ และจะเริ่มผลิตกระแสไฟในเชิงพาณิชย์ในปี 2562 มี บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งถือหุ้นในสัดส่วน 25 % ของทุนจดทะเบียน

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ ประเมินในแนวทางเดียวกัน โดย RATCH จะได้รับผลกระทบจากโศกนาฏกรรมเขื่อนแตก แต่ผลกระทบเกิดขึ้นในวงจำกัด

เพราะกระแสไฟฟ้าได้จากโครงการเขื่อนเซเปียน ฯ มีสัดส่วนเพียงประมาณ 1.4 % ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท

และถ้าติดตามความเคลื่อนไหวหุ้น RATCH นับจากเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2561 ที่ผ่านมา ราคาไม่ได้ผันผวนมากนัก มีเพียงวันที่ 24 กรกฎาคม หลังจากมีข่าวถูกตีแผ่เท่านั้น ที่ราคาทรุดลง 0.75 บาท หรือ ลดลง 1.44 % โดยปิดการซื้อขายที่ 51.25 บาท/หุ้น แต่วันรุ่งขึ้นราคาหุ้นกลับสู่ปกติปิดที่ 51.50 บาท กระเตื้องขึ้น 25 สตางค์

เขื่อนดินเซเปียน -เซน้ำน้อยแตก สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประชาชนลาวที่อยู่ใต้เขื่อน ต้องอพยพหนีภัย และต้องระดมความช่วยเหลือกันเร่งด่วน

แต่ความเสียหายของ RATCH ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่โรงไฟฟ้าเขื่อนเซเปียน ฯ มีน้อยมาก

เพราะสัดส่วนรายได้จากเขื่อนแห่งนี้มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัท ฯ ราคาหุ้น RATCH จึงแข็งปึก

หุ้น RATCH ถูกจัดเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่งกองทุนทั้งในและต่างประเทศ มักจะมีหุ้นตัวนี้ไว้ติดพอร์ต

นักลงทุนที่มองผลตอบแทนจากเงินปันผลระยะยาว ก็ไม่พลาดที่จะถือหุ้น RATCH ไว้ โดยมีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน 19,118 ราย ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 45 % ของทุนจดทะเบียน

RATCH เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 หลังนำหุ้นเสนอขายนักลงทุนทั่วไปในราคา 13 บาท จาก พาร์ 10 บาท และเป็นหุ้นที่ไม่เคยทำให้นักลงทุนที่ถือยาวต้องผิดหวัง เพราะจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ในอัตราที่น่าพอใจ โดย 3 ปีย้อนหลัง อัตราเงินปันผลตอบแทนสูงกว่า 4 % ต่อปี และกำไรจากการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง

และตั้งแต่เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 18 ปี ไม่เคยเพิ่มทุน ไม่ต้องแตกพาร์ หรือสปลิทหุ้น เพื่อกระตุ้นราคาหุ้น ไม่ต้องออกวอแรนต์ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ เพื่อปั่นราคาหุ้น ไม่เหมือนกับบริษัทจดทะเบียนนับร้อยแห่ง ที่ปั๊มวอแรนต์มาปั่นราคาหุ้น โดยหลายสิบบริษัทปั๊มวอแรนต์ออกมาถึง 5 -6 รุ่น และแทบไม่มีการแปลงสภาพแม้แต่รุ่นเดียว

ราคาหุ้น RATCH ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เคลื่อนไหวในกรอบที่แคบมาก โดยขึ้นไปสูงสุดที่ 57 บาท/หุ้น ต่ำสุดที่ 51 บาท โดยแกว่งตัวขึ้นลงตลอดทั้งปีเพียง 10 % เศษเท่านั้น และถือเป็นหุ้นที่มีอัตราความผันผวนต่ำมาก หรือต่ำสุดในบรรดาบริษัทจดทะเบียนกว่า 700 บริษัท

ข่าวร้าย ๆ จากหุ้นตัวนี้แทบไม่มี เพราะข่าวที่มี มักเป็นข่าวการขยายการลงทุน แต่ก็ไม่ได้กระตุ้นให้ราคาหุ้นพุ่งทะยานขึ้น โดยรักษาความเป็นหุ้นที่สงบเสงี่ยมอย่างคงเส้นคงวา จนจำไม่ได้ว่า เคยขยับขึ้นอย่างร้อนแรงจนชนเพดาน 30 % บ้างหรือไม่ เคยถูกทุบติดฟลอร์หรือตกต่ำสุด 30 % สักครั้งหรือเปล่า

เขื่อนเซเปียน - เซน้ำน้อยแตก แทบไม่มีผลกระทบทบกับ RATCH เพราะปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง กลายเป็นกันชนอย่างดี

สำหรับหุ้นตัวนี้ และดำรงความเป็นหุ้นเกรดดีที่ผลตอบแทนคุ้มกับการถือยาวต่อไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่