Pincer movement หรือ Double envelopment ถ้าเรียกเป็นภาษาชาวบ้าน อาจจะเรียกว่า การโอบเป็นรูปคีม ก้ามปู ปีกอินทรีย์ หรืออะไรก็ช่าง เป็นการเคลื่อนทัพที่มีจุดประสงค์คือ โจมตีหรือโอบล้อมข้าศึกด้วยปีกทั้ง 2 ข้าง การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement สามารถใช้ได้ทั้งในแผนการณ์ระดับยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
ปีกทั้ง 2 ข้างที่เราส่งเข้าโจมตีด้านข้างของข้าศึกจะต้องเคลื่อนที่สัมพันธ์กัน หากกองกำลังที่เราส่งเข้าโจมตีสามารถเชื่อมต่อกันได้ข้าศึกจะถูกโอบล้อมทันที และหากการใช้ Pincer movement ประสบผลสำเร็จ ข้าศึกที่โดนการโจมตีในรูปแบบนี้อาจถึงขั้นละลายทั้งกองทัพหรือ ยอมจำนนทั้งกองทัพเลยทีเดียว
ตัวอย่างการเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement
แต่การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกันเพราะ ปีกทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและมีการติดต่อสื่อสารกันเพื่อประสานการรุกอย่างมีประสิทธิภาพ การรุกที่ช้าไปก็อาจทำให้ข้าศึกถอยทัพออกมาทันและหลุดรอดออกจากวงล้อมของฝ่ายที่ริเริ่มบุก หรือหากข้าศึกเคลื่อนทัพเข้าโจมตีปีกใดปีกหนึ่งหรือเข้าโจมตีศูนย์กลางของฝ่ายริเริ่มที่อ่อนแอการโจมตีแบบ Pincer movement ก็ล้มเหลวได้เช่นกัน และที่เลวร้ายกว่าคือหากฝ่ายริเริ่มสามารถทำการล้อมและโจมตีข้าศึกจากทั้ง 2 ด้านได้ก็จริง แต่ถ้าข้าศึกยังมีกองกำลังที่เข้มแข็งอยู่ด้านนอกวงล้อม กองกำลังดังกล่าวก็ยกมาแหวกวงล้อมให้กับฝั่งตนที่โดนล้อมอยู่ และจะเลวร้ายยิ่งกว่าถ้าพวกเขาโจมตีจากในและนอกวงล้อมพร้อมกัน คราวนี้กลายเป็นว่า ฝ่ายที่ริเริ่มใช้ Pincer Movement จะโดนล้อมซะเอง
สิ่งที่จะช่วยให้ Pincer movement มีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการใช้ชัยภูมิและสภาพแวดล้อมช่วยในการเคลื่อนทัพ ทั้ง ภูเขา ป่า หมอก หรืออื่นๆ เพื่อปกปิดและอำพรางจุดประสงค์ที่แท้จริงของผู้ริเริ่มใช้..... หรืออีกวิธีหนึ่งคือการ หลอกล่อให้ข้าศึกเข้าโจมตีศูนย์กลางที่คิดว่าอ่อนแอ แต่แท้จริงกลับเสริมกำลังให้ปีกซ้ายและขวาให้เข้มแข็ง พอข้าศึกเทกำลังหมดหน้าตักเข้าตีศูนย์กลางก็จะพบว่าถูกรายล้อมโดยปีกที่เข้มแข็งกว่าของข้าศึก
สำหรับการเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement นั้นมีได้มีการบันทึกถึงการใช้ยุทธวิธีนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตะวันตกเมื่อ ปีก่อน ค.ศ.480 ในการยุทธที่ทุ่ง มาราธอน เป็นการยุทธระหว่าง นครรัฐเอเธนส์ และ จักรวรรดิ เปอร์เซีย เมื่อกองทัพเอเธนส์ใช้ชัยภูมิที่เป็นที่แคบของ หาดมาราธอน ให้เป็นประโยชน์ พวกเขาจัดขบวนเป็นรูปตัว U โดยศูนย์กลางมีทหารเบาบางแต่ที่ปีกซ้ายและขวากลับวางกำลังไว้หนาแน่น สุดท้ายทหารเปอร์เซียถลำลึกเข้ามาตรงศูนย์กลางของเอเธนส์ในขณะที่ปีกซ้ายและขวาของ เอเธนส์เข้าปิดล้อมทหารเปอร์เซียจากด้านข้าง ผลสุดท้ายคือเปอร์เซียเสียทหารไป 6,400 นายจาก 20,000 นาย ในขณะที่ฝั่ง เอเธนส์เสียทหารไปไม่กี่ร้อยนายเท่านั้น
สำหรับการใช้ Pincer movement ที่สมบูรณ์แบบที่สุดดูจะเป็นการยุทธที่เมือง Cannae เมื่อปีก่อนค.ศ. 216 เมื่อ ฮันนิบาล แม่ทัพชาวคาร์เธจสั่งจัดขบวนทัพเป็นรูปตัว U โค้งเว้าเข้าหาแนวของ กองทัพโรมัน และเขาก็ใช้หลักการทำทีถอยแสดงความอ่อนแอของศูนย์กลางให้โรมันถลำลึกเข้ามาตรงกลาง เมื่อทหารโรมันเห็นดังนั้นจึงผลักดันทหารตัวเองเข้าสู่ศูนย์กลางของคาร์เธจ แต่เมื่อศูนย์กลางของคาร์เธจถอยลึกลงเรื่อยๆบริเวณปีกซ้ายและขวาของคาร์เธจกลับยกเข้าตีปีกซ้ายขวาของโรมันทันที.... แต่ที่พิเศษกว่าคือ ฮันนิบาลได้ส่งทหารม้าเข้าโจมตีจากด้านหลังด้วย เรียกว่า กองทัพโรมันโดนล้อมอย่างสมบูรณ์แบบและถูกปิดประตูตีแมวตายคาสนามรบ ในการยุทธครั้งนี้ทหารโรมันเสียทหารไปกว่า 60,000 จาก 85,000 นาย .... สถิติตายในการยุทธ 60,000 นายในวันเดียวนั้นเป็นสถิติที่สูงสุดในโลกจนกระทั่งมาถูกล้มในยุคสงครามนโปเลียน และการยุทธครั้งนี้ถือเป็น 1 ในหายนะทางการทหารครั้งใหญ่ของโรมัน

รูป 2 - การยุทธที่ Cannae จะเห็นว่า กองทัพโรมันโดนล้อมกรอบเป็นรูปตัว U โดย กองทัพ คาร์เธจ
ตัวอย่างของการใช้ Pincer movement โดยใช้ความรวดเร็วในการเคลื่อนทัพอย่างสายฟ้าแลบ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1706 ช่วง มหาสงครามเหนือในการยุทธที่ Fraustadt จอมพล Carl Gustaf Rehnskiöld แห่งจักรวรรดิสวีเดน ได้ใช้ข้อได้เปรียบตรงที่ตัวเองมีทหารม้ามากกว่า เขาแบ่งทหารม้าเป็น 2 ปีก และเข้าชาร์จปีกทั้ง 2 ข้างของกองทัพ แซกซัน - รัสเซีย อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันทหารราบก็เคลื่อนทัพเข้าโจมตีศูนย์กลางของข้าศึก โดยการโจมตีอย่างรวดเร็วและฉับพลันของทหารม้าทั้งซ้ายและขวาและศูนย์กลางทหารราบทำให้ กองทัพ แซกซัน - รัสเซีย แตกพ่ายอย่างง่ายดาย และเสียทหารไปถึง 15,000 นาย จาก 20,000 นาย ถือเป็นอีกครั้งที่การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ได้แสดงประสิทธิภาพของมัน
การใช้ Pincer Movement ในสงครามยุคใหม่นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมามักจะเป็นการใช้ Pincer movement มักจะเป็นการใช้กับกาารเคลื่อนทัพระดับยุทธศาสตร์มากขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 การยุทธ Stalingrad ในปลายปี ค.ศ. 1942 เมื่อสหภาพโซเวียตเปิด ปฎิบัติการณ์ ยูเรนัส ใช้กองทัพถึง 3 กองทัพ และ กองทัพน้อยอื่นๆบุกเป็นรูปคีมล้อม กองทัพที่ 6 ของเยอรมันกว่า 300,000 นาย ที่อยู่ใน Stalingrad... แต่ เยอรมันยังไม่ยอมแพ้เมื่อ พวกเขาได้เปิดปฎิบัติการณ์ พายุหิมะกะจะเข้าไปช่วย กองทัพที่ 6 ที่อยู่ในวงล้อม เข้าหลักการการตอบโต้การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากหากกองทัพที่ 6 ของเยอรมันทำการรุกตอบโต้อีกทาง แต่ด้วยสภาพอากาศอันเลวร้ายและยุทธปัจจัยทีร่อยเหรอทำให้กองทัพที่ 6 ไม่มีเรี่ยวแรงจะตอบโต้การปิดล้อมนี้ ส่วนกองทัพเยอรมันที่จะยกมาช่วยก็พบการต้านทานอย่างหนาแน่นและขาดการส่งกำลังบำรุงที่ทีสุดท้ายก็ถอยกลับ ท้ายสุด กองทัพที่ 6 ของเยอรมันจึงยอมจำนนทั้งหมดที่ Stalingrad... ถือเป็นหายนะทางการทหารที่เกิดขึ้นอีกครั้งสำหรับการใช้ Pincer movement

ในการยุทธที่ Stalingrad กองทัพโซเวียตใช้การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement เล่นงานทหารเยอรมันในเมือง ถือเป็นการใช้ Pincer movement ระดับยุทธศาสตร์
Pincer movement เคลื่อนโอบและโจมตี
ปีกทั้ง 2 ข้างที่เราส่งเข้าโจมตีด้านข้างของข้าศึกจะต้องเคลื่อนที่สัมพันธ์กัน หากกองกำลังที่เราส่งเข้าโจมตีสามารถเชื่อมต่อกันได้ข้าศึกจะถูกโอบล้อมทันที และหากการใช้ Pincer movement ประสบผลสำเร็จ ข้าศึกที่โดนการโจมตีในรูปแบบนี้อาจถึงขั้นละลายทั้งกองทัพหรือ ยอมจำนนทั้งกองทัพเลยทีเดียว
ตัวอย่างการเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement
แต่การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกันเพราะ ปีกทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและมีการติดต่อสื่อสารกันเพื่อประสานการรุกอย่างมีประสิทธิภาพ การรุกที่ช้าไปก็อาจทำให้ข้าศึกถอยทัพออกมาทันและหลุดรอดออกจากวงล้อมของฝ่ายที่ริเริ่มบุก หรือหากข้าศึกเคลื่อนทัพเข้าโจมตีปีกใดปีกหนึ่งหรือเข้าโจมตีศูนย์กลางของฝ่ายริเริ่มที่อ่อนแอการโจมตีแบบ Pincer movement ก็ล้มเหลวได้เช่นกัน และที่เลวร้ายกว่าคือหากฝ่ายริเริ่มสามารถทำการล้อมและโจมตีข้าศึกจากทั้ง 2 ด้านได้ก็จริง แต่ถ้าข้าศึกยังมีกองกำลังที่เข้มแข็งอยู่ด้านนอกวงล้อม กองกำลังดังกล่าวก็ยกมาแหวกวงล้อมให้กับฝั่งตนที่โดนล้อมอยู่ และจะเลวร้ายยิ่งกว่าถ้าพวกเขาโจมตีจากในและนอกวงล้อมพร้อมกัน คราวนี้กลายเป็นว่า ฝ่ายที่ริเริ่มใช้ Pincer Movement จะโดนล้อมซะเอง
สิ่งที่จะช่วยให้ Pincer movement มีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการใช้ชัยภูมิและสภาพแวดล้อมช่วยในการเคลื่อนทัพ ทั้ง ภูเขา ป่า หมอก หรืออื่นๆ เพื่อปกปิดและอำพรางจุดประสงค์ที่แท้จริงของผู้ริเริ่มใช้..... หรืออีกวิธีหนึ่งคือการ หลอกล่อให้ข้าศึกเข้าโจมตีศูนย์กลางที่คิดว่าอ่อนแอ แต่แท้จริงกลับเสริมกำลังให้ปีกซ้ายและขวาให้เข้มแข็ง พอข้าศึกเทกำลังหมดหน้าตักเข้าตีศูนย์กลางก็จะพบว่าถูกรายล้อมโดยปีกที่เข้มแข็งกว่าของข้าศึก
สำหรับการเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement นั้นมีได้มีการบันทึกถึงการใช้ยุทธวิธีนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตะวันตกเมื่อ ปีก่อน ค.ศ.480 ในการยุทธที่ทุ่ง มาราธอน เป็นการยุทธระหว่าง นครรัฐเอเธนส์ และ จักรวรรดิ เปอร์เซีย เมื่อกองทัพเอเธนส์ใช้ชัยภูมิที่เป็นที่แคบของ หาดมาราธอน ให้เป็นประโยชน์ พวกเขาจัดขบวนเป็นรูปตัว U โดยศูนย์กลางมีทหารเบาบางแต่ที่ปีกซ้ายและขวากลับวางกำลังไว้หนาแน่น สุดท้ายทหารเปอร์เซียถลำลึกเข้ามาตรงศูนย์กลางของเอเธนส์ในขณะที่ปีกซ้ายและขวาของ เอเธนส์เข้าปิดล้อมทหารเปอร์เซียจากด้านข้าง ผลสุดท้ายคือเปอร์เซียเสียทหารไป 6,400 นายจาก 20,000 นาย ในขณะที่ฝั่ง เอเธนส์เสียทหารไปไม่กี่ร้อยนายเท่านั้น
สำหรับการใช้ Pincer movement ที่สมบูรณ์แบบที่สุดดูจะเป็นการยุทธที่เมือง Cannae เมื่อปีก่อนค.ศ. 216 เมื่อ ฮันนิบาล แม่ทัพชาวคาร์เธจสั่งจัดขบวนทัพเป็นรูปตัว U โค้งเว้าเข้าหาแนวของ กองทัพโรมัน และเขาก็ใช้หลักการทำทีถอยแสดงความอ่อนแอของศูนย์กลางให้โรมันถลำลึกเข้ามาตรงกลาง เมื่อทหารโรมันเห็นดังนั้นจึงผลักดันทหารตัวเองเข้าสู่ศูนย์กลางของคาร์เธจ แต่เมื่อศูนย์กลางของคาร์เธจถอยลึกลงเรื่อยๆบริเวณปีกซ้ายและขวาของคาร์เธจกลับยกเข้าตีปีกซ้ายขวาของโรมันทันที.... แต่ที่พิเศษกว่าคือ ฮันนิบาลได้ส่งทหารม้าเข้าโจมตีจากด้านหลังด้วย เรียกว่า กองทัพโรมันโดนล้อมอย่างสมบูรณ์แบบและถูกปิดประตูตีแมวตายคาสนามรบ ในการยุทธครั้งนี้ทหารโรมันเสียทหารไปกว่า 60,000 จาก 85,000 นาย .... สถิติตายในการยุทธ 60,000 นายในวันเดียวนั้นเป็นสถิติที่สูงสุดในโลกจนกระทั่งมาถูกล้มในยุคสงครามนโปเลียน และการยุทธครั้งนี้ถือเป็น 1 ในหายนะทางการทหารครั้งใหญ่ของโรมัน
รูป 2 - การยุทธที่ Cannae จะเห็นว่า กองทัพโรมันโดนล้อมกรอบเป็นรูปตัว U โดย กองทัพ คาร์เธจ
ตัวอย่างของการใช้ Pincer movement โดยใช้ความรวดเร็วในการเคลื่อนทัพอย่างสายฟ้าแลบ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1706 ช่วง มหาสงครามเหนือในการยุทธที่ Fraustadt จอมพล Carl Gustaf Rehnskiöld แห่งจักรวรรดิสวีเดน ได้ใช้ข้อได้เปรียบตรงที่ตัวเองมีทหารม้ามากกว่า เขาแบ่งทหารม้าเป็น 2 ปีก และเข้าชาร์จปีกทั้ง 2 ข้างของกองทัพ แซกซัน - รัสเซีย อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันทหารราบก็เคลื่อนทัพเข้าโจมตีศูนย์กลางของข้าศึก โดยการโจมตีอย่างรวดเร็วและฉับพลันของทหารม้าทั้งซ้ายและขวาและศูนย์กลางทหารราบทำให้ กองทัพ แซกซัน - รัสเซีย แตกพ่ายอย่างง่ายดาย และเสียทหารไปถึง 15,000 นาย จาก 20,000 นาย ถือเป็นอีกครั้งที่การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ได้แสดงประสิทธิภาพของมัน
การใช้ Pincer Movement ในสงครามยุคใหม่นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมามักจะเป็นการใช้ Pincer movement มักจะเป็นการใช้กับกาารเคลื่อนทัพระดับยุทธศาสตร์มากขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 การยุทธ Stalingrad ในปลายปี ค.ศ. 1942 เมื่อสหภาพโซเวียตเปิด ปฎิบัติการณ์ ยูเรนัส ใช้กองทัพถึง 3 กองทัพ และ กองทัพน้อยอื่นๆบุกเป็นรูปคีมล้อม กองทัพที่ 6 ของเยอรมันกว่า 300,000 นาย ที่อยู่ใน Stalingrad... แต่ เยอรมันยังไม่ยอมแพ้เมื่อ พวกเขาได้เปิดปฎิบัติการณ์ พายุหิมะกะจะเข้าไปช่วย กองทัพที่ 6 ที่อยู่ในวงล้อม เข้าหลักการการตอบโต้การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากหากกองทัพที่ 6 ของเยอรมันทำการรุกตอบโต้อีกทาง แต่ด้วยสภาพอากาศอันเลวร้ายและยุทธปัจจัยทีร่อยเหรอทำให้กองทัพที่ 6 ไม่มีเรี่ยวแรงจะตอบโต้การปิดล้อมนี้ ส่วนกองทัพเยอรมันที่จะยกมาช่วยก็พบการต้านทานอย่างหนาแน่นและขาดการส่งกำลังบำรุงที่ทีสุดท้ายก็ถอยกลับ ท้ายสุด กองทัพที่ 6 ของเยอรมันจึงยอมจำนนทั้งหมดที่ Stalingrad... ถือเป็นหายนะทางการทหารที่เกิดขึ้นอีกครั้งสำหรับการใช้ Pincer movement
ในการยุทธที่ Stalingrad กองทัพโซเวียตใช้การเคลื่อนทัพแบบ Pincer movement เล่นงานทหารเยอรมันในเมือง ถือเป็นการใช้ Pincer movement ระดับยุทธศาสตร์