ตะโกน้อย ชวนฝอย อร่อยกับ ทอดมันปลากราย ตบท้ายด้วย แกงเขียวหวาน

ตลอดเดือนนี้ ทั้งเดือน ตั้งแต่ต้นน้ำ ผ่านมาจนเกือบจะครบสิ้นน้ำในวันขึ้น15ค่ำเดือน8
ในวันเสาร์ที่27/7 ซึ่งจะตรงกับวัน อาสาฬหบูชา ดวงจันทร์จะเริ่มเต็มดวงอีกครั้งในคืนเดือนหงาย
คงไม่ต้องถามถึงรายได้ที่ผ่านมาในเดือนนี้ ติดลบตัวแดงเต็มหน้าบัญชี
ชาวประมงรายย่อย ที่ต้องกู้หนี้ยืมสิน คงต้องค้างผ่อนส่ง
ผู้ปล่อยกู้ ปล่อยเกี้ยว คงต้องหาทางประนอมหนี้ ยืดเวลาผ่อนชำระต่อไป
หลายคนคงสงสัยว่าทำไม? ชาวประมงเหล่านี้ มีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืม
วันนี้ตะโก มาเคลียร์ข้อสงสัยให้ฟังกันครับ
เริ่มจาก ชาวประมงน้ำตื้น ที่หากินตามแนวชายฝั่ง ส่วนใหญ่หาเช้ากินค่ำเหมือนกับตะโกนี่แหละ
เงินทุนที่ต้องใช้ลงทุน มาจาก นายทุนที่มีอาชีพเป็นคนกลาง หาสินค้าสัตว์น้ำส่ง แพปลา ร้านอาหาร
เรือแต่ละลำ มักจะต้องเปลื่ยนอุปกรณ์หาปลา ตามระยะเวลาที่ธรรมชาติกำหนด
หรือที่เราเรียกว่า”ฤดู” ของสัตว์น้ำต่างๆ
ใน1ปี จะเปลื่ยนฤดูการจับสัตว์น้ำแตกต่างกันไป และอุปกรณ์ที่ใช้จับสัตว์น้ำ ก็ต้องเปลื่ยนแปลงไปด้วย
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมชาวประมง จึงขาดเงินทุนหมุนเวียน
ฤดูปลา ต้องใช้อวนปลา
ฤดูปู ต้องเปลื่ยนเอาอวนปูลงจับ
ฤดูกุ้ง ก็ต้องใช้อวนจับกุ้ง
ส่วนหมึก ก็จะใช้ลอบจับ และเบ็ดตก
การเปลื่ยนเครื่องมือหากิน เพื่อให้จับสัตว์น้ำตามฤดูกาล เป็นเรื่องปกติของชาวประมงที่มีอาขีพทางนี้
แต่สิ่งสำคัญคือ เครื่องมือและอุปกรณ์ ย่อมมีการชำรุด เสื่อมตามสภาพ ฉีกขาดซ่อมแซมไม่ได้
ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินสด เพื่อซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเครื่องยนต์ที่ต้องมีค่าบำรุงรักษาตามสภาพการใช้งาน
นี่ยังไม่นับ การซ่อมบำรุงเรือ ที่ต้องนำขึ้นคาน ในแต่ละปีช่วงมรสุม
เงินจากนายทุนที่ให้เรากู้มา ไม่มีการเสียดอกเบี้ย แต่จะต้องนำผลผลิตที่หามาได้ ขายให้กับนายทุนเท่านั้น
ไม่สามารถนำผลผลิตที่หามาได้ ไปจำหน่ายเอง เว้นเสียแต่นำไปทำกับข้าว ช่วยงาน หรือมีการร้องขอจากเครือญาติ
นายทุน จะเข้ามารับผลิตผลทุกวันที่เรากลับถึงฝั่ง บางรายก็มีที่อยู่อาศัยในละแวกนั้นๆ
ราคาที่รับซื้อ จะแตกต่าง กับราคาในตลาด หรือ ห้างค้าปลีก
ยกตัวอย่างเช่นหมึกสวยไซร์ใหญ่ ขนาด5-6ตัวกก ราคารับซื้อจากชาวประมงอยู่ที่ 150-160บาท
ราคาปลากุเลาขนาดโลขึ้น อยู่ที่160-170บาท
ราคาปูม้าไม่ค่อยแน่นอน แต่ค่าเฉลี่ยอยู่ราว240-260 บาท
เมื่อได้น้ำหนักของสัตว์น้ำ ก็จะคูณราคารับซื้อ แล้วลงสมุดหรือให้บิลขายเพื่อเอาไว้ตัดหนี้ที่กู้ยืม
นายทุนเมื่อรวบรวมผลผลิตจากชาวประมง ก็จะกระจายส่งขาย ให้แม่ค้าไปขายต่อบ้าง ให้ร้านอาหารบ้าง
ส่งขายต่างจังหวัดตามที่มีลูกค้าสนใจสั่งซื้อ ราคาที่ขายก็จะมีค่าดำเนินการและค่าใช้จ่าย
ถ้าชาวประมงรายไหน? ไม่กู้ยืม ก็สามารถขายผลผลิตสัตว์น้ำที่หาได้ ในราคาที่สูงกว่าราคาตั้งราว20-30บาทต่อกิโล
เมื่อชำระเงินกู้หมด ก็ต้องกู้มาใหม่ หมุนเวียนกันไปเป็นวัฐจักร
ตะโกเองก็เหมือนกับชาวประมงน้ำตื้นทั่วๆไป มีกู้บ้าง มียืมบ้าง เพื่อให้ภาระหนี้หมดลง จึงจำเป็นต้องหมั่นออกหาปูปลา
แต่เดือนนี้ คงยากที่จะชำระหนี้ได้ เพราะธรรมชาติไม่เป็นใจ ส่งผลให้ต้อง พักชำระหนี้ หรือยืดเวลาออกไป

เมื่อไม่มีปลาทะเลให้กิน ขณะที่ปากท้องยังหิวโหย ก็ต้องยอมบากหน้า ไปขอปลาน้ำจืดมากินแทน
พิมพ์หาเพื่อนที่ นครปฐม เสียค่าส่ง SMS 3.00บาท เพื่อนก็เห็นใจ ส่งปลามาให้กิน
แบ่งมาปลาถุงนึง ที่เหลือเก็บไว้มื้อต่อไป

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่