ทัศนคติทางการเมืองในช่วงวัยผู้ใหญ่อาจได้รับอิทธิพลมาจากรากฐานทางความคิดในช่วงวัยเด็ก สอดคล้องกับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Psychological Science โดยมีการวิเคราะห์จากผู้เข้าร่วมมากกว่า 16000 ชิ้นโดยมีการศึกษาในสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างเด็ก 5 ถึง 7 ขวบกับภาวะเศรษฐกิจกับการเมืองในช่วง 25 ปีต่อมา
“จากการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่แสดงพฤติกรรมต่างๆจนกลายเป็นปัญหานั้น มักจะเป็นกลุ่มที่มีความก้าวร้าว ชอบชกต่อย ขี้ขโมย ซึ่งก็มีความเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจและความไม่เชื่อมั่นต่อระบบการเมืองของผู้ใหญ่” กล่าวโดย Gary J.Lewis “แต่ก็ไม่เสมอไป ยังมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการศึกษาและสถานะทางเศรษฐกิจสังคมในช่วงวัยผู้ใหญ่ด้วย”
การค้นพบต่างๆได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่วนบุคคลกับความคิดทางการเมือง โดยมีการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
Lewis ได้วิเคราะห์ความเชื่อมโยงนี้จากฐานข้อมูลจากงานวิจัยของเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษกับงานวิจัยพัฒนาเด็กระดับชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่สหราชอาณาจักรเป็นหลัก
ผู้เข้าร่วมได้รับการประเมินพฤติกรรมวัยเด็กในช่วง 5 หรือ 7 ขวบ โดยมีรายงานพฤติกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล มีปัญหาทางด้านความประพฤติและมีความก้าวร้าว
ในช่วงวัย 30 หรือ 33 ปีผู้เข้าร่วมก็ได้ทำการประเมินวัดค่าเกี่ยวกับความเป็นอนุรักษ์นิยมทางด้านเศรษฐกิจ การเยาะเย้ยถากถางทางการเมือง การเหยียดสีผิว ความเป็นอำนาจนิยมและทัศนคติเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน การประเมินนี้มีความเชื่อมโยงกับปัจจัย 2 อย่างด้วยกันก็คือ ภาวะเศรษฐกิจกับการเมืองและความเป็นอนุรักษ์นิยมทางสังคม
เช่นกันงานวิจัยก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมกับความคิดสติปัญญาในช่วงวัยเด็ก การศึกษาและชนชั้นทางสังคมในวัยผู้ใหญ่
รูปแบบความสัมพันธ์ต่างๆนั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ทางด้าน Lewis ได้พบว่า ปัญหาวัยเด็กมีความเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงที่เป็นวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าหลังจากที่ได้ทำการประเมินชนชั้นทางสังคมของพ่อแม่กับความคิดสติปัญญาของเด็ก Lewis บันทึกว่ามีความเป็นไปได้ที่ปัญหาต่างๆในวัยเด็กอาจสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการควบคุมตัวเองกับแบบแผนการใช้ชีวิตในระยะยาวหรือการไม่ยอมรับผู้มีอำนาจ จนนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมา
เช่นกันรูปแบบต่างๆนี้ก็ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มเพื่อนๆที่คบหากันโดยอ้อมด้วย โดยพฤติกรรมที่เป็นปัญหาก็ชี้ให้เห็นถึงการศึกษาในระดับที่ต่ำกับชนชั้นทางสังคมในวัยผู้ใหญ่และสุดท้ายก็นำไปสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจกับการเมือง
Lewis กล่าวว่า ยังมีความเชื่อมโยงต่างๆมากมายหลายอย่าง แต่ก็จะต้องใช้เวลาทำการค้นหาอีก 25 ปี งานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติทางการเมืองของผู้คนในอนาคต โดยงานวิจัยในอนาคตก็จะมีรายละเอียดเข้ามามากขึ้นและทำการประเมินถี่มากขึ้นเพื่อช่วยให้เข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่มีความเชื่อมโยงกันโดยธรรมชาติ
“พวกเราทุกคนสงสัยว่าทำไมจะต้องมานั่งพูดคุยโต้เถียงในมุมมองความเห็นที่แตกต่างกันด้วย” Lewis กล่าว “การค้นพบนี้ก็ช่วยให้พวกเราเข้าใจได้ถึงคำถามนี้ได้เป็นอย่างดี”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
ทัศนคติทางการเมืองของผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมส่วนบุคคล
ทัศนคติทางการเมืองในช่วงวัยผู้ใหญ่อาจได้รับอิทธิพลมาจากรากฐานทางความคิดในช่วงวัยเด็ก สอดคล้องกับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Psychological Science โดยมีการวิเคราะห์จากผู้เข้าร่วมมากกว่า 16000 ชิ้นโดยมีการศึกษาในสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างเด็ก 5 ถึง 7 ขวบกับภาวะเศรษฐกิจกับการเมืองในช่วง 25 ปีต่อมา
“จากการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่แสดงพฤติกรรมต่างๆจนกลายเป็นปัญหานั้น มักจะเป็นกลุ่มที่มีความก้าวร้าว ชอบชกต่อย ขี้ขโมย ซึ่งก็มีความเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจและความไม่เชื่อมั่นต่อระบบการเมืองของผู้ใหญ่” กล่าวโดย Gary J.Lewis “แต่ก็ไม่เสมอไป ยังมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการศึกษาและสถานะทางเศรษฐกิจสังคมในช่วงวัยผู้ใหญ่ด้วย”
การค้นพบต่างๆได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่วนบุคคลกับความคิดทางการเมือง โดยมีการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
Lewis ได้วิเคราะห์ความเชื่อมโยงนี้จากฐานข้อมูลจากงานวิจัยของเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษกับงานวิจัยพัฒนาเด็กระดับชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่สหราชอาณาจักรเป็นหลัก
ผู้เข้าร่วมได้รับการประเมินพฤติกรรมวัยเด็กในช่วง 5 หรือ 7 ขวบ โดยมีรายงานพฤติกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล มีปัญหาทางด้านความประพฤติและมีความก้าวร้าว
ในช่วงวัย 30 หรือ 33 ปีผู้เข้าร่วมก็ได้ทำการประเมินวัดค่าเกี่ยวกับความเป็นอนุรักษ์นิยมทางด้านเศรษฐกิจ การเยาะเย้ยถากถางทางการเมือง การเหยียดสีผิว ความเป็นอำนาจนิยมและทัศนคติเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน การประเมินนี้มีความเชื่อมโยงกับปัจจัย 2 อย่างด้วยกันก็คือ ภาวะเศรษฐกิจกับการเมืองและความเป็นอนุรักษ์นิยมทางสังคม
เช่นกันงานวิจัยก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมกับความคิดสติปัญญาในช่วงวัยเด็ก การศึกษาและชนชั้นทางสังคมในวัยผู้ใหญ่
รูปแบบความสัมพันธ์ต่างๆนั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ทางด้าน Lewis ได้พบว่า ปัญหาวัยเด็กมีความเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงที่เป็นวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าหลังจากที่ได้ทำการประเมินชนชั้นทางสังคมของพ่อแม่กับความคิดสติปัญญาของเด็ก Lewis บันทึกว่ามีความเป็นไปได้ที่ปัญหาต่างๆในวัยเด็กอาจสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการควบคุมตัวเองกับแบบแผนการใช้ชีวิตในระยะยาวหรือการไม่ยอมรับผู้มีอำนาจ จนนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมา
เช่นกันรูปแบบต่างๆนี้ก็ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มเพื่อนๆที่คบหากันโดยอ้อมด้วย โดยพฤติกรรมที่เป็นปัญหาก็ชี้ให้เห็นถึงการศึกษาในระดับที่ต่ำกับชนชั้นทางสังคมในวัยผู้ใหญ่และสุดท้ายก็นำไปสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจกับการเมือง
Lewis กล่าวว่า ยังมีความเชื่อมโยงต่างๆมากมายหลายอย่าง แต่ก็จะต้องใช้เวลาทำการค้นหาอีก 25 ปี งานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติทางการเมืองของผู้คนในอนาคต โดยงานวิจัยในอนาคตก็จะมีรายละเอียดเข้ามามากขึ้นและทำการประเมินถี่มากขึ้นเพื่อช่วยให้เข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่มีความเชื่อมโยงกันโดยธรรมชาติ
“พวกเราทุกคนสงสัยว่าทำไมจะต้องมานั่งพูดคุยโต้เถียงในมุมมองความเห็นที่แตกต่างกันด้วย” Lewis กล่าว “การค้นพบนี้ก็ช่วยให้พวกเราเข้าใจได้ถึงคำถามนี้ได้เป็นอย่างดี”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com