ในทันทีที่คลัง “จุดพลุ” ....การยก“ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน นอกกำกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ.....”เพื่อเข้ามาจัดระเบียบบรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้ รับจำนำทะเบียนรถ หรือให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในการกำกับของ ธปท. หรือที่เรียกว่าธุรกิจ“นอนแบงก์” ทั้งหลาย...ทุกฝ่ายต่างออกมาขานรับท่าทีของกระทรวงการคลังครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าบรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ เต็นท์รถที่ผันตัวมารับจำนำทะเบียน หรือธุรกิจปล่อยกู้ห้องแถวเหล่านี้ล้วนอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่มีเอาเปรียบประชาชนด้วยการขูดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมสุดโหด...
จึงไม่แปลกใจบางราย...ปั้นธุรกิจนี้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีพอร์ตเป็นหมื่นล้าน มี “มาร์เก็ตแคป”เป็นแสนล้าน!...ส่วนประเภทธุรกิจห้องแถวเต็นท์รถ ...ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด...แม้แต่สถาบันการเงินในกำกับของคลังและธปท.เอง ยังกระโจนลงไปเล่นด้วยกับธุรกิจนอกลู่เหล่านี้...ทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงได้เฟื่องฟูกันนัก??...!! “กูรู” ที่คลุกคลีอยู่ในวงธุรกิจนี้มานานให้คำตอบว่า เพราะธุรกิจนี้เป็นเสมือน “ที่พึ่งสุดท้าย” ของผู้คนที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้นั่นเอง...แล้วบ้านเราเมืองเราก็มีกลุ่มคนเหล่านี้หลายสิบล้านคนซะด้วย....คนกลุ่มนี้จะขอกู้แบงก์ก็ถูกตรวจสอบสถานะผู้คนราวกับนักโทษ...หันไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อวัน...ก็เลยต้องพึ่ง...ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถ...ไม่ว่าจะเป็น...เงินติดจรวด... เสี่ยสั่งได้... เงินกู้ทันใจเมีย...ฯลฯ มีให้เลือกสารพัด...แค่เอาทะเบียนมาทิ้งไว้รับเงินสดทันใจผ่อนดอกเบี้ยกันไป 12-28% เป็นอันจบ...!!
แต่จะมีใครฉุกคิดหรือไม่ว่า...ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี) และยังมี“พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา”พ.ศ.2475, พศ.2535, พ.ศ.2558 และล่าสุด พ.ศ.2560 บังคับใช้อยู่.... แล้วทำไมธุรกิจประเภทนี้ถึงคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ???....สอบถามคนในวงการจำนำทะเบียนรถจึงถึงบางอ้อว่าเขาใช้วิชา “ศรีธนญชัย”...ปกปิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไว้ โดยหลบเลี่ยงไปพูดว่า “คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม” แทน...บางที่กำหนดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 1.75% ต่อเดือนนั่นคือ 21% ต่อปี (ซึ่งเกิน 15% แน่นอน) ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถบางแบรนด์ที่ชื่อก้องหูโฆษณากรอกหูผู้คนจนคิดว่าถูกกฎหมาย 1,000 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีสาขาอยู่นับ 100 แห่งทั่วประเทศนั้น คิดค่าธรรมเนียมมากกว่าดอกเบี้ยอีก!!...! ส่วนธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อย “นาโน-พิโก้ ไฟแนนซ์” (ปล่อยกู้ลูกหนี้ราละไม่เกิน 100,000 บาท) และสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด “พิโก้ไฟแนนซ์”(ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท)...ที่รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36%...ทั้งที่เป็นสินเชื่อรายย่อยแบบ “ไร้หลักประกัน” หรือ Clean loan หาใช่เงินกู้แบบมีหลักประกัน...แต่ทำไมเห็น “แก๊งชุดดำ”...ไปไล่ยึดรถ ยึดหลักประกันลูกหนี้มาขายทอดตลาดกัน...ก่อนที่จะผ่านกระบวนการทางศาลเพื่อบังคับคดี....ส่วนพวก...เต็นท์รถ...ธุรกิจห้องแถว หรือบริษัทจำนำทะเบียนรถ...ที่เห็นกันเกลื่อน...ไปดูหน่อยมีใบอนุญาตถูกต้องหรือเปล่า...เพราะถ้ามีใบอนุญาตตามกฎหมาย...ก็ต้องจัดทำเป็นสัญญาเงินกู้-สัญญาจำนำทะเบียนรถที่กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องนำเอาสินทรัพย์ นำเอารถ-จักรยานยนต์มาค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันสินเชื่อใดๆ...ซึ่งก็ถือเป็นสัญญาเงินกู้ที่อยู่ใน...ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ทั้งยังต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงสุดไว้ไม่เกินร้อยละ 15...!! คนยิ่งจนยิ่งไร้โอกาส...ถึงเวลาแล้ว..กระทรวงการคลัง...ต้องกำจัด...พวกทำนาบนหลังคน...เสียที
ที่มา :
http://www.naewna.com/business/columnist/34280
ถึงเวลากำจัด ‘พวกทำนาบนหลังคน’
จึงไม่แปลกใจบางราย...ปั้นธุรกิจนี้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีพอร์ตเป็นหมื่นล้าน มี “มาร์เก็ตแคป”เป็นแสนล้าน!...ส่วนประเภทธุรกิจห้องแถวเต็นท์รถ ...ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด...แม้แต่สถาบันการเงินในกำกับของคลังและธปท.เอง ยังกระโจนลงไปเล่นด้วยกับธุรกิจนอกลู่เหล่านี้...ทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงได้เฟื่องฟูกันนัก??...!! “กูรู” ที่คลุกคลีอยู่ในวงธุรกิจนี้มานานให้คำตอบว่า เพราะธุรกิจนี้เป็นเสมือน “ที่พึ่งสุดท้าย” ของผู้คนที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้นั่นเอง...แล้วบ้านเราเมืองเราก็มีกลุ่มคนเหล่านี้หลายสิบล้านคนซะด้วย....คนกลุ่มนี้จะขอกู้แบงก์ก็ถูกตรวจสอบสถานะผู้คนราวกับนักโทษ...หันไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อวัน...ก็เลยต้องพึ่ง...ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถ...ไม่ว่าจะเป็น...เงินติดจรวด... เสี่ยสั่งได้... เงินกู้ทันใจเมีย...ฯลฯ มีให้เลือกสารพัด...แค่เอาทะเบียนมาทิ้งไว้รับเงินสดทันใจผ่อนดอกเบี้ยกันไป 12-28% เป็นอันจบ...!!
แต่จะมีใครฉุกคิดหรือไม่ว่า...ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี) และยังมี“พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา”พ.ศ.2475, พศ.2535, พ.ศ.2558 และล่าสุด พ.ศ.2560 บังคับใช้อยู่.... แล้วทำไมธุรกิจประเภทนี้ถึงคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ???....สอบถามคนในวงการจำนำทะเบียนรถจึงถึงบางอ้อว่าเขาใช้วิชา “ศรีธนญชัย”...ปกปิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไว้ โดยหลบเลี่ยงไปพูดว่า “คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม” แทน...บางที่กำหนดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 1.75% ต่อเดือนนั่นคือ 21% ต่อปี (ซึ่งเกิน 15% แน่นอน) ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถบางแบรนด์ที่ชื่อก้องหูโฆษณากรอกหูผู้คนจนคิดว่าถูกกฎหมาย 1,000 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีสาขาอยู่นับ 100 แห่งทั่วประเทศนั้น คิดค่าธรรมเนียมมากกว่าดอกเบี้ยอีก!!...! ส่วนธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อย “นาโน-พิโก้ ไฟแนนซ์” (ปล่อยกู้ลูกหนี้ราละไม่เกิน 100,000 บาท) และสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด “พิโก้ไฟแนนซ์”(ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท)...ที่รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36%...ทั้งที่เป็นสินเชื่อรายย่อยแบบ “ไร้หลักประกัน” หรือ Clean loan หาใช่เงินกู้แบบมีหลักประกัน...แต่ทำไมเห็น “แก๊งชุดดำ”...ไปไล่ยึดรถ ยึดหลักประกันลูกหนี้มาขายทอดตลาดกัน...ก่อนที่จะผ่านกระบวนการทางศาลเพื่อบังคับคดี....ส่วนพวก...เต็นท์รถ...ธุรกิจห้องแถว หรือบริษัทจำนำทะเบียนรถ...ที่เห็นกันเกลื่อน...ไปดูหน่อยมีใบอนุญาตถูกต้องหรือเปล่า...เพราะถ้ามีใบอนุญาตตามกฎหมาย...ก็ต้องจัดทำเป็นสัญญาเงินกู้-สัญญาจำนำทะเบียนรถที่กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องนำเอาสินทรัพย์ นำเอารถ-จักรยานยนต์มาค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันสินเชื่อใดๆ...ซึ่งก็ถือเป็นสัญญาเงินกู้ที่อยู่ใน...ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ทั้งยังต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงสุดไว้ไม่เกินร้อยละ 15...!! คนยิ่งจนยิ่งไร้โอกาส...ถึงเวลาแล้ว..กระทรวงการคลัง...ต้องกำจัด...พวกทำนาบนหลังคน...เสียที
ที่มา : http://www.naewna.com/business/columnist/34280