
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยสัก 50 – 60 ปีก่อน จะมีเหตุการณ์ที่สำคัญของโลกที่คนไทยอย่างเราเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั่นก็คือ สงครามเวียดนาม สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นสงครามตัวแทนที่รบกันระหว่างเวียดนามใต้ตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนไม่ว่าจะส่งกำลังทหารร่วมรบหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงไทยเราที่ส่งกำลังพลไปร่วมรบด้วย ส่วนอีกฝ่ายก็คือเวียดนามเหนือที่เป็นตัวแทนฝ่ายคอมมิวนิสต์โดยมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุน ในขณะที่เราได้เคยรับรู้เพียงแค่ว่าสหรัฐเพียงแค่ส่งคนไปรบในช่วงเวลาดังกล่าวแต่แท้ที่จริงสหรัฐเข้าไปเกี่ยวพันกับเวียดนามในเรื่องต่างๆ มานานนับสิบปีก่อนสงครามจะอุบัติขึ้นแต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้ความจริง หนังแนวการเมืองเข้มข้นเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับของพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ดผู้คร่ำหวอดในวงการ สตีเว่น สปีลเบิร์ก และแสดงนำโดยดาราชายคู่บารมี ทอม แฮงค์ ร่วมด้วยดาราเจ้าบทบาท เมอรีล สตรีป แค่สองคนนี้ก็ทำให้เรานึกภาพตามได้ว่าจะจัดใหญ่ขนาดไหน

หนังบอกเล่าเรื่องราวของการรั่วไหลของเอกสารรายงานลับสุดยอดที่มีความสำคัญเพราะเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐต่อเวียดนามของฝ่ายความมั่นคงในปี 1971 ที่รวบรวมโดย โรเบิร์ต แม็คนามาร่า ( บรูซ กรีนวู้ด ) อดีต รมว.กลาโหมหลายสมัย ซึ่งรัฐบาลได้โกหกประชาชนมาตลอด 30 ปีไม่ว่าจะบอกว่าตนไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของเวียดนาม หรือบอกกับประชาชนว่าสหรัฐกำลังจะชนะสงคราม ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นตรงข้ามกับสิ่งที่รัฐบาลบอกโดยสิ้นเชิง ปรากฏว่าเอกสารชิ้นแรกที่รั่วไหลออกมาถูกนำมาตีพิมพ์ในนสพ.นิวยอร์คไทมส์ คู่แข่งคนสำคัญของนสพ.วอชิงตันโพสต์ที่มีเจ้าของคือ แคเทอรีน แกรห์ม ( สตรีป ) หญิงม่ายไฮโซผู้รับช่วงกิจการต่อจากสามี ซึ่งในขณะนั้นแกรห์มกำลังจะนำวอชิงตันโพสท์เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อขายหุ้นให้กับเอกชนรายอื่นๆ เมื่อข่าวสำคัญระดับโลกได้ถูกคู่แข่งแซงหน้า บรรณาธิการบริหารของวอชิงตันโพสท์อย่าง เบน แบรดลี่ย์ ( แฮงค์ ) จึงต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ได้กลับมาแซงหน้าคู่แข่งให้ได้ แล้วโชคก็เข้าข้างวอชิงตันโพสท์ที่จู่ๆ ก็ได้รับสำเนาเอกสารลับชิ้นนั้นมา รวมไปถึงการที่ศาลสูงสุดสหรัฐสั่งห้ามนิวยอร์คไทมส์ตีพิมพ์เรื่องดังกล่าว ทำให้แกรห์มต้องตัดสินใจโดยมีอนาคตของวอชิงตันโพสท์เป็นเดิมพันว่าจะตีพิมพ์เอกสารลับเรื่องนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจรรยาบรรณและเสรีภาพสื่อ หรือจะไม่ตีพิมพ์เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการเสี่ยงต่อการเลิกกิจการทำให้นักลงทุนอาจจะไม่กล้าซื้อหุ้นของนสพ.รวมถึงการที่เธออาจติดคุกจากเรื่องนี้ได้
แม้ว่าหนังอาจจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามเวียดนามแต่ก็มีฉากที่เกี่ยวกับสงครามค่อนข้างน้อย แต่ฉากดังกล่าวก็ถือว่าเป็นฉากที่สำคัญต่อจุดเริ่มต้นของเรื่องที่ถือว่าสปีลเบิร์กนำมาจัดวางไว้ได้อย่างดี ทำให้เราเข้าใจอารมณ์ของตัวละครว่าเหตุใดจึงต้องการตีแผ่เรื่องลับนี้ บอกก่อนว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีความตื่นเต้นเร้าใจสักเท่าไรนักเพราะเนื่องจากเป็นหนังการเมืองซึ่งอารมณ์จะคล้ายๆ เรื่อง Bridge of Spies( 2015 ) ที่เน้นในเรื่องของการเชือดเฉือนคำพูดและบทสนทนาที่ชาญฉลาด แต่ทว่าเรื่องนี้นั้นจะมีความจริงจังและซีเรียสกว่า สิ่งหนึ่งที่ผมชอบในหนังก็คือการที่หนังเสนอกรรมวิธีการผลิตหนังสือพิมพ์ขึ้นมาสักฉบับหนึ่งจะต้องมีหลายขั้นตอนที่ยากเย็นมากผิดกับสื่อออนไลน์ทุกวันนี้ที่หยิบยกประเด็นอะไรมาพิมพ์แล้วก็โพสต์ลงโลกโซเชี่ยลอย่างง่ายดาย ขณะที่หนังสือพิมพ์จะต้องมีการเรียงพิมพ์ มีการทำบล็อก มีการพิมพ์ การนำไปแจกจ่ายตามร้านรวงต่างๆ เพื่อขายทำให้เรามีความรู้สึกเสียดายที่สื่อเหล่านี้กำลังจะหมดและตกยุคไปเพราะตอบสนองไม่ทันความต้องการของผู้บริโภคสื่อ อีกส่วนที่ผมชอบก็คือการที่หนังนำเสนอเรื่องราวที่เป็นลักษณะคู่ขนานกันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเรื่องราวของแกรห์มที่เป็นเจ้าของจะนำเสนอเรื่องราวของการนำหนังสือพิมพ์เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือเสนอเรื่องราวของการใช้ชีวิตเป็นสาวสังคมที่หรูหราอยู่กับกลุ่มเพื่อนฝูงที่มาจากหลายวงการรวมถึงนักการเมืองโดยเธอไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไรกับการที่หนังสือพิมพ์ของเธอถูกคู่แข่งนำหน้า และอีกเรื่องราวที่จะเป็นของบก.บห.อย่างแบรดลี่ย์ที่จะต้องจัดการเกี่ยวกับการทำข่าวที่มีความจริงจังและซีเรียสที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ ซึ่งสุดท้ายทั้งคู่ก็จะมาบรรจบเรื่องราวกันเป็นห้วงๆ ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างชาญฉลาดของพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด ส่วนประเด็นเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม แน่นอนว่าสามารถทำได้สมจริงเสมือนกับเป็นยุคสมัยนั้นเลย รวมไปถึงการแคสติ้งตัวละครที่ทำออกมาได้ค่อนข้างเหมือนตัวจริงมากๆ โดยเฉพาะแมคนามาร่า ผมมองว่าโคตรเหมือนเลย อีกเรื่องหนึ่งที่ผมชอบในหนังก็คือการที่หนังเอาเสียงพูดจริงๆ ของปธน.นิกสันที่สั่งการต่างๆ กับลูกน้องในเรื่องเทาๆ เกี่ยวกับเรื่องราวการรั่วไหลของเอกสารลับเพนตาก้อนและเรื่องอื่นๆ มาใส่กับการถ่ายภาพที่ทำเนียบขาวโดยเอาคนมาทำท่าทางเป็นนิกสันพูดโทรศัพท์แลดูเนียนตามากๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นการต่อยอดไปสู่คดีวอเตอร์เกทอันโด่งดังต่อไป

สำหรับการแสดงของนักแสดง ผมขอเริ่มที่เมอรีล สตรีปในบทของ แคท แกรห์ม เรื่องนี้เราจะไม่ได้เห็นสตรีปในบทของหญิงแกร่งที่มีความมั่นใจ ตรงกันข้ามเราจะเห็นแต่หญิงม่ายสูงวัยที่หลายๆ คนอาจจะดูถูกความสามารถเนื่องจากรับช่วงต่อสามีผู้เก่งกาจที่ได้ล่วงลับไป แถมเธอยังเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจและเด็ดขาดเอาเสียเลย มีคำพูดในหนังที่สื่อถึงความขมขื่นของเธอซึ่งก็เป็นคำพูดของแซมมวล จอห์นสัน ที่ว่าการที่ผู้หญิงสามารถเทศน์ได้ก็เหมือนกับสุนัขที่เดินสองขาที่มันอาจจะทำได้ไม่ดีนัก คุณอาจจะประหลาดใจกับมัน แต่ก็แค่นั้นแหละ ซึ่งเปรียบเปรยกับการที่เธอเป็นผู้หญิงและมาบริหารงานในบริษัทที่บรรดาบอร์ดมีความรู้สึกเหมือนแซมมวล จอห์นสัน อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เธอต้องตัดสินใจเธอก็สามารถทำให้ชายชาตรีหลายคนต้องอึ้งในความเด็ดขาดได้เหมือนกัน รวมไปถึงการที่ต้องแยกแยะระหว่างเรื่องงานกับเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวกับแมคนามาร่าเพื่อนสนิทเก่าแก่ของเธอ เธอก็กล้าที่จะตัดสินใจได้ เรื่องนี้สตรีปเล่นได้ดีครับ สมแล้วที่ได้รับเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์นักแสดงนำหญิง ส่วนการแสดงของทอม แฮงค์ในบทของแบรดลี่ย์ เรื่องนี้ผมมองว่าอาจจะไม่ได้เด่นเท่าไรนักเพราะแกนหลักของเรื่องจะเทไปทางสตรีปไปเสียมากกว่า แต่ก็แสดงได้ดีตามมาตรฐาน เขาจะเล่นเป็นคนที่มุทะลุ จริงจังกับการทำงาน และกล้าได้กล้าเสียเพื่อทำให้ได้ตามอุดมการณ์ของเขา(ตรงนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าเพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อชื่อเสียงส่วนตัวของเขา) แต่เขาเองก็ให้ความเคารพการตัดสินใจของแกรห์มไม่ทำอะไรข้ามหน้าข้ามตาเจ้าของตัวจริงในทางเปิดเผย(ฮา) ส่วนอีกตัวละครนึงที่ผมชอบ ผมชอบการแสดงของเทรซี่ เลทส์ในบทของฟริทซ์ บอร์ดบริหารและที่ปรึกษาของแกรห์ม เล่นได้ดีนะ เขาทำให้เราได้เห็นคนที่เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับแกรห์ม แม้ว่าเขาจะมีธงอยู่ในใจแต่เขาไม่เคยที่จะยัดเยียดชุดความคิดของเขาเพื่อไปครอบงำเจ้าของ ตรงกันข้ามเขายอมรับในการตัดสินใจของเธอและพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ส่วนตัวอื่นๆ ก็เล่นได้ดีตามมาตรฐานเป็นสีสันของเรื่องเช่นกันครับ

หนังเรื่องนี้หากคนที่ไม่ได้ชื่นชอบหนังแนวการเมืองเข้มข้นอาจจะไม่ถูกใจ แต่ถ้าใครชอบแนวนี้ทำนอง State of Play (2009) หรือ Spotlight (2015) ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ผมให้ 9 เต็ม 10 ครับ เพราะเป็นแนวที่โดนใจ หักนิดหน่อยตรงที่บางช่วงมันดำเนินเรื่องไปค่อนข้างยืดเยื้อทำให้น่าเบื่อไปบ้าง อย่างไรก็ตามแค่ชมการแสดงของสองดารานำก็คุ้มค่ากับตั๋วแล้วครับ โดยเฉพาะฝีมือของผู้กำกับสปีลเบิร์กที่ต้องยอมรับว่ามือไม่ตกเลยจริงๆ พอดูจบแล้วผมก็มีความรู้สึกใจหายไปเหมือนกันกับการที่สื่อสิ่งพิมพ์ทุกวันนี้ที่เริ่มล้มหายตายจากไป ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะบ้านเราต่างประเทศก็เป็นเหมือนกัน รู้สึกเห็นใจการทำงานที่ยากลำบากของนักหนังสือพิมพ์ในขณะที่สื่อโซเชี่ยลค่อนข้างมักง่ายหยิบยกข่าวมาโดยไม่กรองก่อนเลย อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เราได้เห็นก็คือ สื่อต่างๆ นั้นควรมีเสรีภาพไม่ควรถูกจำกัดสิทธิห้ามนำเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน และรัฐบาลไม่ควรปิดหูปิดตาของประชาชนเพราะนั่นถือเป็นการกระทำที่ผิดต่อผู้ที่คุณดูแลอย่างร้ายแรง รีบๆ ดูนะครับก่อนจะออกจากโรงเพราะรอบฉายและโรงจำกัดอยู่เหมือนกัน

การดูหนังก็เปรียบเสมือนกับการเก็บผลไม้ที่อยู่เต็มต้น ที่บางครั้งเราก็อาจจะเก็บผลไม้ได้ไม่หมด แต่ก็เลือกเก็บมาเฉพาะที่เราเก็บได้หรือเลือกเก็บในผลที่เราชื่นชอบ เช่นเดียวกันกับข้อคิดในหนังครับ เรื่องเดียวกันคนดูอาจเก็บข้อคิดจากหนังได้ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ใครเก็บอะไรได้บ้างก็สามารถร่วมแชร์ได้ที่เพจผมครับ หรือถ้าสนใจดูรีวิวหนังเรื่องอื่นเพิ่มเติม ให้คำติชมแนะนำ หรือถ้าอยากให้รีวิวหนังเรื่องไหน มาพูดคุยกันได้ที่
https://www.facebook.com/cineman95/ ขอให้สนุกกับการดูหนัง ขอบคุณครับ

จากภาพ - ความเหมือนของกรีนวู้ดกับแมคนามาร่าตัวจริง -
[CR] [Review] The Post (2017) เอกสารลับเพนตากอน
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยสัก 50 – 60 ปีก่อน จะมีเหตุการณ์ที่สำคัญของโลกที่คนไทยอย่างเราเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั่นก็คือ สงครามเวียดนาม สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นสงครามตัวแทนที่รบกันระหว่างเวียดนามใต้ตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนไม่ว่าจะส่งกำลังทหารร่วมรบหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงไทยเราที่ส่งกำลังพลไปร่วมรบด้วย ส่วนอีกฝ่ายก็คือเวียดนามเหนือที่เป็นตัวแทนฝ่ายคอมมิวนิสต์โดยมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุน ในขณะที่เราได้เคยรับรู้เพียงแค่ว่าสหรัฐเพียงแค่ส่งคนไปรบในช่วงเวลาดังกล่าวแต่แท้ที่จริงสหรัฐเข้าไปเกี่ยวพันกับเวียดนามในเรื่องต่างๆ มานานนับสิบปีก่อนสงครามจะอุบัติขึ้นแต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้ความจริง หนังแนวการเมืองเข้มข้นเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับของพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ดผู้คร่ำหวอดในวงการ สตีเว่น สปีลเบิร์ก และแสดงนำโดยดาราชายคู่บารมี ทอม แฮงค์ ร่วมด้วยดาราเจ้าบทบาท เมอรีล สตรีป แค่สองคนนี้ก็ทำให้เรานึกภาพตามได้ว่าจะจัดใหญ่ขนาดไหน
หนังบอกเล่าเรื่องราวของการรั่วไหลของเอกสารรายงานลับสุดยอดที่มีความสำคัญเพราะเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐต่อเวียดนามของฝ่ายความมั่นคงในปี 1971 ที่รวบรวมโดย โรเบิร์ต แม็คนามาร่า ( บรูซ กรีนวู้ด ) อดีต รมว.กลาโหมหลายสมัย ซึ่งรัฐบาลได้โกหกประชาชนมาตลอด 30 ปีไม่ว่าจะบอกว่าตนไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของเวียดนาม หรือบอกกับประชาชนว่าสหรัฐกำลังจะชนะสงคราม ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นตรงข้ามกับสิ่งที่รัฐบาลบอกโดยสิ้นเชิง ปรากฏว่าเอกสารชิ้นแรกที่รั่วไหลออกมาถูกนำมาตีพิมพ์ในนสพ.นิวยอร์คไทมส์ คู่แข่งคนสำคัญของนสพ.วอชิงตันโพสต์ที่มีเจ้าของคือ แคเทอรีน แกรห์ม ( สตรีป ) หญิงม่ายไฮโซผู้รับช่วงกิจการต่อจากสามี ซึ่งในขณะนั้นแกรห์มกำลังจะนำวอชิงตันโพสท์เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อขายหุ้นให้กับเอกชนรายอื่นๆ เมื่อข่าวสำคัญระดับโลกได้ถูกคู่แข่งแซงหน้า บรรณาธิการบริหารของวอชิงตันโพสท์อย่าง เบน แบรดลี่ย์ ( แฮงค์ ) จึงต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ได้กลับมาแซงหน้าคู่แข่งให้ได้ แล้วโชคก็เข้าข้างวอชิงตันโพสท์ที่จู่ๆ ก็ได้รับสำเนาเอกสารลับชิ้นนั้นมา รวมไปถึงการที่ศาลสูงสุดสหรัฐสั่งห้ามนิวยอร์คไทมส์ตีพิมพ์เรื่องดังกล่าว ทำให้แกรห์มต้องตัดสินใจโดยมีอนาคตของวอชิงตันโพสท์เป็นเดิมพันว่าจะตีพิมพ์เอกสารลับเรื่องนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจรรยาบรรณและเสรีภาพสื่อ หรือจะไม่ตีพิมพ์เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการเสี่ยงต่อการเลิกกิจการทำให้นักลงทุนอาจจะไม่กล้าซื้อหุ้นของนสพ.รวมถึงการที่เธออาจติดคุกจากเรื่องนี้ได้
แม้ว่าหนังอาจจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามเวียดนามแต่ก็มีฉากที่เกี่ยวกับสงครามค่อนข้างน้อย แต่ฉากดังกล่าวก็ถือว่าเป็นฉากที่สำคัญต่อจุดเริ่มต้นของเรื่องที่ถือว่าสปีลเบิร์กนำมาจัดวางไว้ได้อย่างดี ทำให้เราเข้าใจอารมณ์ของตัวละครว่าเหตุใดจึงต้องการตีแผ่เรื่องลับนี้ บอกก่อนว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีความตื่นเต้นเร้าใจสักเท่าไรนักเพราะเนื่องจากเป็นหนังการเมืองซึ่งอารมณ์จะคล้ายๆ เรื่อง Bridge of Spies( 2015 ) ที่เน้นในเรื่องของการเชือดเฉือนคำพูดและบทสนทนาที่ชาญฉลาด แต่ทว่าเรื่องนี้นั้นจะมีความจริงจังและซีเรียสกว่า สิ่งหนึ่งที่ผมชอบในหนังก็คือการที่หนังเสนอกรรมวิธีการผลิตหนังสือพิมพ์ขึ้นมาสักฉบับหนึ่งจะต้องมีหลายขั้นตอนที่ยากเย็นมากผิดกับสื่อออนไลน์ทุกวันนี้ที่หยิบยกประเด็นอะไรมาพิมพ์แล้วก็โพสต์ลงโลกโซเชี่ยลอย่างง่ายดาย ขณะที่หนังสือพิมพ์จะต้องมีการเรียงพิมพ์ มีการทำบล็อก มีการพิมพ์ การนำไปแจกจ่ายตามร้านรวงต่างๆ เพื่อขายทำให้เรามีความรู้สึกเสียดายที่สื่อเหล่านี้กำลังจะหมดและตกยุคไปเพราะตอบสนองไม่ทันความต้องการของผู้บริโภคสื่อ อีกส่วนที่ผมชอบก็คือการที่หนังนำเสนอเรื่องราวที่เป็นลักษณะคู่ขนานกันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเรื่องราวของแกรห์มที่เป็นเจ้าของจะนำเสนอเรื่องราวของการนำหนังสือพิมพ์เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือเสนอเรื่องราวของการใช้ชีวิตเป็นสาวสังคมที่หรูหราอยู่กับกลุ่มเพื่อนฝูงที่มาจากหลายวงการรวมถึงนักการเมืองโดยเธอไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไรกับการที่หนังสือพิมพ์ของเธอถูกคู่แข่งนำหน้า และอีกเรื่องราวที่จะเป็นของบก.บห.อย่างแบรดลี่ย์ที่จะต้องจัดการเกี่ยวกับการทำข่าวที่มีความจริงจังและซีเรียสที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ ซึ่งสุดท้ายทั้งคู่ก็จะมาบรรจบเรื่องราวกันเป็นห้วงๆ ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างชาญฉลาดของพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด ส่วนประเด็นเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม แน่นอนว่าสามารถทำได้สมจริงเสมือนกับเป็นยุคสมัยนั้นเลย รวมไปถึงการแคสติ้งตัวละครที่ทำออกมาได้ค่อนข้างเหมือนตัวจริงมากๆ โดยเฉพาะแมคนามาร่า ผมมองว่าโคตรเหมือนเลย อีกเรื่องหนึ่งที่ผมชอบในหนังก็คือการที่หนังเอาเสียงพูดจริงๆ ของปธน.นิกสันที่สั่งการต่างๆ กับลูกน้องในเรื่องเทาๆ เกี่ยวกับเรื่องราวการรั่วไหลของเอกสารลับเพนตาก้อนและเรื่องอื่นๆ มาใส่กับการถ่ายภาพที่ทำเนียบขาวโดยเอาคนมาทำท่าทางเป็นนิกสันพูดโทรศัพท์แลดูเนียนตามากๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นการต่อยอดไปสู่คดีวอเตอร์เกทอันโด่งดังต่อไป
สำหรับการแสดงของนักแสดง ผมขอเริ่มที่เมอรีล สตรีปในบทของ แคท แกรห์ม เรื่องนี้เราจะไม่ได้เห็นสตรีปในบทของหญิงแกร่งที่มีความมั่นใจ ตรงกันข้ามเราจะเห็นแต่หญิงม่ายสูงวัยที่หลายๆ คนอาจจะดูถูกความสามารถเนื่องจากรับช่วงต่อสามีผู้เก่งกาจที่ได้ล่วงลับไป แถมเธอยังเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจและเด็ดขาดเอาเสียเลย มีคำพูดในหนังที่สื่อถึงความขมขื่นของเธอซึ่งก็เป็นคำพูดของแซมมวล จอห์นสัน ที่ว่าการที่ผู้หญิงสามารถเทศน์ได้ก็เหมือนกับสุนัขที่เดินสองขาที่มันอาจจะทำได้ไม่ดีนัก คุณอาจจะประหลาดใจกับมัน แต่ก็แค่นั้นแหละ ซึ่งเปรียบเปรยกับการที่เธอเป็นผู้หญิงและมาบริหารงานในบริษัทที่บรรดาบอร์ดมีความรู้สึกเหมือนแซมมวล จอห์นสัน อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เธอต้องตัดสินใจเธอก็สามารถทำให้ชายชาตรีหลายคนต้องอึ้งในความเด็ดขาดได้เหมือนกัน รวมไปถึงการที่ต้องแยกแยะระหว่างเรื่องงานกับเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวกับแมคนามาร่าเพื่อนสนิทเก่าแก่ของเธอ เธอก็กล้าที่จะตัดสินใจได้ เรื่องนี้สตรีปเล่นได้ดีครับ สมแล้วที่ได้รับเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์นักแสดงนำหญิง ส่วนการแสดงของทอม แฮงค์ในบทของแบรดลี่ย์ เรื่องนี้ผมมองว่าอาจจะไม่ได้เด่นเท่าไรนักเพราะแกนหลักของเรื่องจะเทไปทางสตรีปไปเสียมากกว่า แต่ก็แสดงได้ดีตามมาตรฐาน เขาจะเล่นเป็นคนที่มุทะลุ จริงจังกับการทำงาน และกล้าได้กล้าเสียเพื่อทำให้ได้ตามอุดมการณ์ของเขา(ตรงนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าเพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อชื่อเสียงส่วนตัวของเขา) แต่เขาเองก็ให้ความเคารพการตัดสินใจของแกรห์มไม่ทำอะไรข้ามหน้าข้ามตาเจ้าของตัวจริงในทางเปิดเผย(ฮา) ส่วนอีกตัวละครนึงที่ผมชอบ ผมชอบการแสดงของเทรซี่ เลทส์ในบทของฟริทซ์ บอร์ดบริหารและที่ปรึกษาของแกรห์ม เล่นได้ดีนะ เขาทำให้เราได้เห็นคนที่เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับแกรห์ม แม้ว่าเขาจะมีธงอยู่ในใจแต่เขาไม่เคยที่จะยัดเยียดชุดความคิดของเขาเพื่อไปครอบงำเจ้าของ ตรงกันข้ามเขายอมรับในการตัดสินใจของเธอและพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ส่วนตัวอื่นๆ ก็เล่นได้ดีตามมาตรฐานเป็นสีสันของเรื่องเช่นกันครับ
หนังเรื่องนี้หากคนที่ไม่ได้ชื่นชอบหนังแนวการเมืองเข้มข้นอาจจะไม่ถูกใจ แต่ถ้าใครชอบแนวนี้ทำนอง State of Play (2009) หรือ Spotlight (2015) ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ผมให้ 9 เต็ม 10 ครับ เพราะเป็นแนวที่โดนใจ หักนิดหน่อยตรงที่บางช่วงมันดำเนินเรื่องไปค่อนข้างยืดเยื้อทำให้น่าเบื่อไปบ้าง อย่างไรก็ตามแค่ชมการแสดงของสองดารานำก็คุ้มค่ากับตั๋วแล้วครับ โดยเฉพาะฝีมือของผู้กำกับสปีลเบิร์กที่ต้องยอมรับว่ามือไม่ตกเลยจริงๆ พอดูจบแล้วผมก็มีความรู้สึกใจหายไปเหมือนกันกับการที่สื่อสิ่งพิมพ์ทุกวันนี้ที่เริ่มล้มหายตายจากไป ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะบ้านเราต่างประเทศก็เป็นเหมือนกัน รู้สึกเห็นใจการทำงานที่ยากลำบากของนักหนังสือพิมพ์ในขณะที่สื่อโซเชี่ยลค่อนข้างมักง่ายหยิบยกข่าวมาโดยไม่กรองก่อนเลย อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เราได้เห็นก็คือ สื่อต่างๆ นั้นควรมีเสรีภาพไม่ควรถูกจำกัดสิทธิห้ามนำเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน และรัฐบาลไม่ควรปิดหูปิดตาของประชาชนเพราะนั่นถือเป็นการกระทำที่ผิดต่อผู้ที่คุณดูแลอย่างร้ายแรง รีบๆ ดูนะครับก่อนจะออกจากโรงเพราะรอบฉายและโรงจำกัดอยู่เหมือนกัน
การดูหนังก็เปรียบเสมือนกับการเก็บผลไม้ที่อยู่เต็มต้น ที่บางครั้งเราก็อาจจะเก็บผลไม้ได้ไม่หมด แต่ก็เลือกเก็บมาเฉพาะที่เราเก็บได้หรือเลือกเก็บในผลที่เราชื่นชอบ เช่นเดียวกันกับข้อคิดในหนังครับ เรื่องเดียวกันคนดูอาจเก็บข้อคิดจากหนังได้ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ใครเก็บอะไรได้บ้างก็สามารถร่วมแชร์ได้ที่เพจผมครับ หรือถ้าสนใจดูรีวิวหนังเรื่องอื่นเพิ่มเติม ให้คำติชมแนะนำ หรือถ้าอยากให้รีวิวหนังเรื่องไหน มาพูดคุยกันได้ที่ https://www.facebook.com/cineman95/ ขอให้สนุกกับการดูหนัง ขอบคุณครับ
จากภาพ - ความเหมือนของกรีนวู้ดกับแมคนามาร่าตัวจริง -