สารานุกรมปืนในตอนนี้จะไม่มีประวัติเป็นนะครับเพราะต้องขุดเอาจากหลายที่บนอินเตอร์เน็ตเเละหนังสือเก่าๆหลายเล่ม
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และประมาณ 20 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวคิดเรื่องการเจาะเกราะของรถถังในยุคนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ 1 ใช้ปืนไรเฟิลกระสุนขนาดใหญ่ยิงใส่รถถังเพื่อเจาะเกราะเข้าไปจัดการ เครื่องยนต์ หรือพลประจำรถ 2 พัฒนาปืนใหญ่ใช้สำหรับยิงเจาะทำลายรถถังโดยเฉพาะ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่เน้นการพัฒนาปืนไรเฟิลเจาะเกราะรถถังอย่างจริงจังโดย พัฒนาขึ้นมาหลายรุ่นเพื่อใช้เจาะเกราะทำลายรถถังที่อาจจะบุกรุกเข้ามาในประเทศของตัวเอง ด้วยความได้เปรียบทางภูมิประเทศที่เป็นภูเขาส่วนใหญ่จึงทำให้การติดตั้งปืนไรเฟิลและยิงจากมุมสูงนั้นมีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะจุดอ่อนของรถถังทุกรุ่นจะอยู่ทางด้านบนซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกราะบางที่สุด ต่อไปนี้คือปืนไรเฟิลเจาะเกราะรถถังที่ถูกสร้างโดยสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมดเป็นเเบบ semi-auto
1. Oerlikon SSG 32 / SSG 36

ขนาดกระสุน 20x72RB เเละ 20x110RB
บรรจุกระสุนได้ 5-10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 19-27 มม.
2. Solothurn S-18/100

ขนาดกระสุน 20×105 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 16-35 มม.
3. Solothurn S-18/1000

ขนาดกระสุน 20×138 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27 มม.
4. Solothurn S18-1100

ขนาดกระสุน 20×138 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-40 มม.
กระสุนขนาด 20×138 mmB Solothurn Long 3 นัดเทียบกระสุนปืนใหญ่ 37 มม.
5. 24 mm Tankbüchse 41

ขนาดกระสุน 24×139 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-55 มม.
6. 24 mm Panzerabwehr-Befestigungskanone 38

ขนาดกระสุน 24×139 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 6 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-45 มม.
รุ่นนี้พิเศษตรงที่ว่าออกแบบมาเพื่อติดตั้งในป้อมปราการและป้อมปืนที่มีอยู่เต็มภูเขาของสวิตเซอร์แลนด์ เผื่อเอาไว้ในกรณีที่เยอรมันบุกโจมตีเพื่อหวังจะยึดครองสวิตเซอร์แลนด์ในอนาคตนั่นเอง ถ้าผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนไปเข้าทางฝ่ายเยอรมันไม่แน่ปืนพวกนี้อาจได้ใช้งานจริง
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 56 ปืนไรเฟิลต่อต้านรถถังสวิสยุค WW2
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และประมาณ 20 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวคิดเรื่องการเจาะเกราะของรถถังในยุคนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ 1 ใช้ปืนไรเฟิลกระสุนขนาดใหญ่ยิงใส่รถถังเพื่อเจาะเกราะเข้าไปจัดการ เครื่องยนต์ หรือพลประจำรถ 2 พัฒนาปืนใหญ่ใช้สำหรับยิงเจาะทำลายรถถังโดยเฉพาะ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่เน้นการพัฒนาปืนไรเฟิลเจาะเกราะรถถังอย่างจริงจังโดย พัฒนาขึ้นมาหลายรุ่นเพื่อใช้เจาะเกราะทำลายรถถังที่อาจจะบุกรุกเข้ามาในประเทศของตัวเอง ด้วยความได้เปรียบทางภูมิประเทศที่เป็นภูเขาส่วนใหญ่จึงทำให้การติดตั้งปืนไรเฟิลและยิงจากมุมสูงนั้นมีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะจุดอ่อนของรถถังทุกรุ่นจะอยู่ทางด้านบนซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกราะบางที่สุด ต่อไปนี้คือปืนไรเฟิลเจาะเกราะรถถังที่ถูกสร้างโดยสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมดเป็นเเบบ semi-auto
1. Oerlikon SSG 32 / SSG 36
ขนาดกระสุน 20x72RB เเละ 20x110RB
บรรจุกระสุนได้ 5-10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 19-27 มม.
2. Solothurn S-18/100
ขนาดกระสุน 20×105 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 16-35 มม.
3. Solothurn S-18/1000
ขนาดกระสุน 20×138 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27 มม.
4. Solothurn S18-1100
ขนาดกระสุน 20×138 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-40 มม.
กระสุนขนาด 20×138 mmB Solothurn Long 3 นัดเทียบกระสุนปืนใหญ่ 37 มม.
5. 24 mm Tankbüchse 41
ขนาดกระสุน 24×139 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 10 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-55 มม.
6. 24 mm Panzerabwehr-Befestigungskanone 38
ขนาดกระสุน 24×139 mmB Solothurn Long
บรรจุกระสุนได้ 6 นัด
อัตราการเจาะเกราะ 27-45 มม.
รุ่นนี้พิเศษตรงที่ว่าออกแบบมาเพื่อติดตั้งในป้อมปราการและป้อมปืนที่มีอยู่เต็มภูเขาของสวิตเซอร์แลนด์ เผื่อเอาไว้ในกรณีที่เยอรมันบุกโจมตีเพื่อหวังจะยึดครองสวิตเซอร์แลนด์ในอนาคตนั่นเอง ถ้าผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนไปเข้าทางฝ่ายเยอรมันไม่แน่ปืนพวกนี้อาจได้ใช้งานจริง