คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 40
คุ้นเคยกับหมอลำมาตั้งแต่เด็ก เหมือนเด็กภาคกลางคุ้นเคยลิเก หรือลำตัดประมาณนั้น
มีเพื่อนที่เป็นนักร้องหมอลำคือต้อย หมวกแดง เคยไล่เตะตูดกันมาตั้งแต่เด็ก เขาฉายแววตั้งแต่เด็ก ตีกลอง เป่าแคน เล่นพิณ คีย์บอร์ด เขาเก่งมาตั้งแต่เด็ก เกี่ยวกับหมอลำและการเมืองที่ผมเคยเขียนเอาไว้
"......ไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไรกับการแสดงและดนตรีจากภาคอีสานชนิดนี้ก็ตาม แต่ก็คงยากที่จะปฏิเสธว่าดนตรีประเภทนี้ได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัย การพยายามปรับตัวเข้ากับสังคมยุคใหม่ของหมอลำเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง ทั้งๆ ที่การเริ่มต้นมีเพียงแคนกับหมอลำโดยใช้พื้นหรือลานบ้านเป็นเวทีหรือที่เรียกในยุคนั้นว่าหมอลำพื้น หรือจะย้อนลงไปให้ลึกกว่านั้น หมอลำพื้นถือกำเนิดง่ายๆ คือมาจากการ “นั่งล้อมวง” เล่านิทานสู่กันฟัง ต่อมาก็เพิ่มแคนเป็นเสียงประกอบ พอสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว “นักเล่านิทาน” กับ “หมอแคน” ก็ออกตระเวณเล่านิทานตามหมู่บ้านนั้นหมู่บ้านนี้จนได้รับความนิยมและยึดถือเป็นอาชีพตราบปัจจุบัน
เสน่ห์ของหมอลำมีหลายอย่าง เช่นว่าท่วงทำนองและจังหวะของดนตรี ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “เนื้อหา” เนื้อหาของหมอลำสมัยก่อนส่วนใหญ่จะเป็นการบอกเล่าเก้าสิบ โดยนำตำนานพื้นบ้าน(เช่นสังข์สินไชย ขูลูนางอั๊ว ท้าวกำกาดำ เรื่องราวพญานาค) พุทธประวัติ และสอดแทรกธรรมะลงไป ในทางอ้อมถือว่าเป็นการสืบทอดเรื่องราวตำนาน พุทธประวัติในเชิง “มุขะปาฐะ” จากรุ่นสู่รุ่น สมัยผมเป็นเด็กก็เคยไปฝึกร้องหมอลำบ้างนิดๆ หน่อยๆ และยังจำเนื้อที่ร้องได้บางส่วนทุกวันนี้(แต่แววไม่ให้ เลยอดที่จะได้เป็นพระเอกหมอลำกับเขาอิ อิ) ทำนองการร้องหมอลำมีหลายซึ่งเขาเรียกว่า”ทาง” ลำภูไท ลำเต้ย ลำขอนแก่น ลำอุบลฯ
การร้องรำสมัยก่อนต้องเรียกว่าใช้ “ฝีมือ” ล้วนๆ คนที่เป็นหมอลำต้องมีไหวพริบดี รู้รอบ ทั้งทางธรรมและทางโลก คนที่เป็นหมอลำส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานด้านการบวชเรียนมาก่อน เวลาเจ้าภาพจ้างไปแสดง บางทีก็ต้อง “ร้อง” และ “ลำ” ตามคำขอ สมัยนี้ก็เรียกว่า “แร็พ” กันสดๆ โดยไม่ได้ตระเตรียมล่วงหน้า ยิ่งถ้าทางเจ้าภาพจ้างไปแสดงคู่กับหมอลำฝ่ายหญิงซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเขาเรียกว่า “ลำแก้กัน” ฝ่ายหนึ่งถามฝ่ายหนึ่งตอบ....ผลัดเวียนกันไปตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง!! บางทีแก้ไม่ได้ก็กระโดดเวทีหนีเอาหน้าด้านๆ ก็มี ทางอีสานเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “หมอลำโตนฮ้าน” คนฟังเองก็มีส่วนร่วมโดยการตะโกนแซวกันไปมาจากข้างล่างเวทีซึ่งรู้จักดีในหมู่คนอีสานคือ “สอย” ตรงนี้ถือว่าเป็น “ประชาธิปไตย” ทีเดียว ใครจะ “สอย” แซวใครก็ได้ เด็กสอยแซวผู้ใหญ่ แซวผู้ใหญ่บ้านเจ็บๆ คันๆ สอยแซวครู เช่น สอยๆ สาวนักเรียน see ครูประจำชั้น...คั่นบ่เฮ็ดจั่งสั่นก่ะบ่อได้คะแนนเด้อ...(ฟังทางนี้ๆ...สาวนักเรียนนอนกับครูประจำชั้น ถ้าไม่ทำเช่นนั้นครูก็จะไม่ให้คะแนน) เรียกได้ว่าการแสดงหมอลำสมัยก่อนและปัจจุบัน เหมือนการเปิดเวทีให้สอยกันเจ็บๆ คันๆ ....แสดงเสร็จก็กลับบ้านใครบ้านมัน
ต่อมาเมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งกระทบต่อวิถีชีวิตคนชนบท เวทีหมอลำเริ่มกลายเป็นกระบอกเสียงของชาวบ้านได้ดี ทั้งรับฟังเรื่องราวทุกข์ยากแร่นแค้นแล้วมาแต่งเป็นกลอนลำบอกเล่าสู่กันฟังจากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน ตำบลสู่ตำบล อำเภอ แล้วขยับขยายขึ้นไปเรื่อยๆ ในช่วงนี้เนื้อหาของกลอนลำเริ่มมี “การเมือง” เข้ามาสอดแทรกขึ้นเรื่อยๆ ....สุดท้ายหมอลำก็ตั้งตัวเป็นผู้นำด้านการเมือง กลายเป็น “กบฏผีบุญ” ที่ต้องการจะปลดแอกจากสยาม
กบฏผีบุญ มีจากภาคอีสานมากที่สุดตามประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยพระเพทราชาอยุธยานู่นเลยทีเดียว เรื่อยลงมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน และที่น่าทึ่งก็คือเคยมีหัวหน้ากบฏเป็น “หมอลำ” และใช้เวทีหมอลำในการปลุกระดมคนเกือบทั่วอีสานมาแล้วหลายท่านคือ กบฏผีบุญหมอลำน้อยชาดา(ทำการกบฏปี 2479) กบฏผีบุญหมอลำโสภา พลตรี (2483) กบฏผีบุญหมอลำศิลา วงศ์สิน (2502) นอกนั้นก็มีกบฏที่เรียกว่า “กบฏชาวนา” อีกเป็นจำนวนมาก
ผู้นำกบฏชาวนาที่เลื่องลือและประสบผลสำเร็จในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ชาติในสายตาผมเห็นไม่มีใครเกิน จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (พระนามเดิม จู่หยวนจาง) ผู้สถาปนาราชวงศ์หมิง จากพื้นเพชาวและผ่านการบวชเรียนมาสุดท้ายเป็นจักรพรรดิจีน ตรงนี้ต้องคุณพระรองมาร่ายให้ฟัง ประวัติจีนผมแค่ไส้เดือนท่านคุณพระรองท่านเสมือนพญาอินทรีย์ พูดถึงเรื่องหมอลำที่อีสานแล้วขอจบเอาดื้อๆ ที่แดนมังกรตรงนี้นะขอรับ งานยุ่งด้วยตอนนี้..."
https://pantip.com/topic/33682604
มีเพื่อนที่เป็นนักร้องหมอลำคือต้อย หมวกแดง เคยไล่เตะตูดกันมาตั้งแต่เด็ก เขาฉายแววตั้งแต่เด็ก ตีกลอง เป่าแคน เล่นพิณ คีย์บอร์ด เขาเก่งมาตั้งแต่เด็ก เกี่ยวกับหมอลำและการเมืองที่ผมเคยเขียนเอาไว้
"......ไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไรกับการแสดงและดนตรีจากภาคอีสานชนิดนี้ก็ตาม แต่ก็คงยากที่จะปฏิเสธว่าดนตรีประเภทนี้ได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัย การพยายามปรับตัวเข้ากับสังคมยุคใหม่ของหมอลำเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง ทั้งๆ ที่การเริ่มต้นมีเพียงแคนกับหมอลำโดยใช้พื้นหรือลานบ้านเป็นเวทีหรือที่เรียกในยุคนั้นว่าหมอลำพื้น หรือจะย้อนลงไปให้ลึกกว่านั้น หมอลำพื้นถือกำเนิดง่ายๆ คือมาจากการ “นั่งล้อมวง” เล่านิทานสู่กันฟัง ต่อมาก็เพิ่มแคนเป็นเสียงประกอบ พอสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว “นักเล่านิทาน” กับ “หมอแคน” ก็ออกตระเวณเล่านิทานตามหมู่บ้านนั้นหมู่บ้านนี้จนได้รับความนิยมและยึดถือเป็นอาชีพตราบปัจจุบัน
เสน่ห์ของหมอลำมีหลายอย่าง เช่นว่าท่วงทำนองและจังหวะของดนตรี ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “เนื้อหา” เนื้อหาของหมอลำสมัยก่อนส่วนใหญ่จะเป็นการบอกเล่าเก้าสิบ โดยนำตำนานพื้นบ้าน(เช่นสังข์สินไชย ขูลูนางอั๊ว ท้าวกำกาดำ เรื่องราวพญานาค) พุทธประวัติ และสอดแทรกธรรมะลงไป ในทางอ้อมถือว่าเป็นการสืบทอดเรื่องราวตำนาน พุทธประวัติในเชิง “มุขะปาฐะ” จากรุ่นสู่รุ่น สมัยผมเป็นเด็กก็เคยไปฝึกร้องหมอลำบ้างนิดๆ หน่อยๆ และยังจำเนื้อที่ร้องได้บางส่วนทุกวันนี้(แต่แววไม่ให้ เลยอดที่จะได้เป็นพระเอกหมอลำกับเขาอิ อิ) ทำนองการร้องหมอลำมีหลายซึ่งเขาเรียกว่า”ทาง” ลำภูไท ลำเต้ย ลำขอนแก่น ลำอุบลฯ
การร้องรำสมัยก่อนต้องเรียกว่าใช้ “ฝีมือ” ล้วนๆ คนที่เป็นหมอลำต้องมีไหวพริบดี รู้รอบ ทั้งทางธรรมและทางโลก คนที่เป็นหมอลำส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานด้านการบวชเรียนมาก่อน เวลาเจ้าภาพจ้างไปแสดง บางทีก็ต้อง “ร้อง” และ “ลำ” ตามคำขอ สมัยนี้ก็เรียกว่า “แร็พ” กันสดๆ โดยไม่ได้ตระเตรียมล่วงหน้า ยิ่งถ้าทางเจ้าภาพจ้างไปแสดงคู่กับหมอลำฝ่ายหญิงซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเขาเรียกว่า “ลำแก้กัน” ฝ่ายหนึ่งถามฝ่ายหนึ่งตอบ....ผลัดเวียนกันไปตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง!! บางทีแก้ไม่ได้ก็กระโดดเวทีหนีเอาหน้าด้านๆ ก็มี ทางอีสานเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “หมอลำโตนฮ้าน” คนฟังเองก็มีส่วนร่วมโดยการตะโกนแซวกันไปมาจากข้างล่างเวทีซึ่งรู้จักดีในหมู่คนอีสานคือ “สอย” ตรงนี้ถือว่าเป็น “ประชาธิปไตย” ทีเดียว ใครจะ “สอย” แซวใครก็ได้ เด็กสอยแซวผู้ใหญ่ แซวผู้ใหญ่บ้านเจ็บๆ คันๆ สอยแซวครู เช่น สอยๆ สาวนักเรียน see ครูประจำชั้น...คั่นบ่เฮ็ดจั่งสั่นก่ะบ่อได้คะแนนเด้อ...(ฟังทางนี้ๆ...สาวนักเรียนนอนกับครูประจำชั้น ถ้าไม่ทำเช่นนั้นครูก็จะไม่ให้คะแนน) เรียกได้ว่าการแสดงหมอลำสมัยก่อนและปัจจุบัน เหมือนการเปิดเวทีให้สอยกันเจ็บๆ คันๆ ....แสดงเสร็จก็กลับบ้านใครบ้านมัน
ต่อมาเมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งกระทบต่อวิถีชีวิตคนชนบท เวทีหมอลำเริ่มกลายเป็นกระบอกเสียงของชาวบ้านได้ดี ทั้งรับฟังเรื่องราวทุกข์ยากแร่นแค้นแล้วมาแต่งเป็นกลอนลำบอกเล่าสู่กันฟังจากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน ตำบลสู่ตำบล อำเภอ แล้วขยับขยายขึ้นไปเรื่อยๆ ในช่วงนี้เนื้อหาของกลอนลำเริ่มมี “การเมือง” เข้ามาสอดแทรกขึ้นเรื่อยๆ ....สุดท้ายหมอลำก็ตั้งตัวเป็นผู้นำด้านการเมือง กลายเป็น “กบฏผีบุญ” ที่ต้องการจะปลดแอกจากสยาม
กบฏผีบุญ มีจากภาคอีสานมากที่สุดตามประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยพระเพทราชาอยุธยานู่นเลยทีเดียว เรื่อยลงมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน และที่น่าทึ่งก็คือเคยมีหัวหน้ากบฏเป็น “หมอลำ” และใช้เวทีหมอลำในการปลุกระดมคนเกือบทั่วอีสานมาแล้วหลายท่านคือ กบฏผีบุญหมอลำน้อยชาดา(ทำการกบฏปี 2479) กบฏผีบุญหมอลำโสภา พลตรี (2483) กบฏผีบุญหมอลำศิลา วงศ์สิน (2502) นอกนั้นก็มีกบฏที่เรียกว่า “กบฏชาวนา” อีกเป็นจำนวนมาก
ผู้นำกบฏชาวนาที่เลื่องลือและประสบผลสำเร็จในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ชาติในสายตาผมเห็นไม่มีใครเกิน จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (พระนามเดิม จู่หยวนจาง) ผู้สถาปนาราชวงศ์หมิง จากพื้นเพชาวและผ่านการบวชเรียนมาสุดท้ายเป็นจักรพรรดิจีน ตรงนี้ต้องคุณพระรองมาร่ายให้ฟัง ประวัติจีนผมแค่ไส้เดือนท่านคุณพระรองท่านเสมือนพญาอินทรีย์ พูดถึงเรื่องหมอลำที่อีสานแล้วขอจบเอาดื้อๆ ที่แดนมังกรตรงนี้นะขอรับ งานยุ่งด้วยตอนนี้..."
https://pantip.com/topic/33682604
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง ***คนรากหญ้า*** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง "หมอลำ ศิลปะเพลงพื้นบ้านของไทย"
ประวัติและความเป็นมาของหมอลำ
ความเป็นมาของหมอลำ
หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง
คำว่า “หมอลำ” มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ “หมอ” หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ “ลำ” หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง
คำว่า “ลำ” มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่าลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำ เรียกว่ากลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ”
วิวัฒนาการของหมอลำ
ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดยเรียก ลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้
ลำโบราณ เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
ลำคู่หรือลำกลอน เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
ลำหมู่ เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า “หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน”
กลอนลำแบบต่างๆ
กลอนที่นำมาร้องมาลำมีมากมาย แต่เมื่อย่อรวมลงแล้วจะมีอยู่สองประเภท คือ กลอนสั้นและกลอนยาว
กลอนสั้น คือ คำกลอนที่สั้นๆ ใช้สำหรับลำเวลามีงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานทำบุญบ้าน หรืองานประจำปี เช่น งานบุญเดือนหก เป็นต้น กลอนสั้น มีดังต่อไปนี้
1. กลอนขึ้นลำ 2. กลอนลงลำ 3. กลอนลำเหมิดคืน
4. กลอนโต้น 5. กลอนติ่ง 6. กลอนต่ง
7. กลอนอัศจรรย์ 8. กลอนสอย 9. กลอนหนังสือเจียง
10. กลอนเต้ยหรือผญา 11. ลำสีพันดอน 12. ลำสั้น เรื่อง ติดเสน่ห์
กลอนยาว คือ กลอนสำหรับใช้ลำในงานการกุศล งานมหรสพต่างๆ กลอนยาวนี้ใช้เวลาลำ เป็นชั่วโมงบ้าง ครึ่งชั่วโมงบ้าง หรือแล้วแต่กรณี ถ้าลำคนเดียวเช่น ลำพื้น หรือ ลำเรื่อง ต้องใช้เวลาลำเป็นวันๆ คืนๆ ทั้งนี้แล้วแต่เรื่องที่จะลำสั้นหรือยาวแค่ไหน แบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้
1. กลอนประวัติศาสตร์ 2. กลอนลำพื้นหรือลำเรื่อง 3. กลอนเซิ้ง
4. กลอนส้อง 5. กลอนเพอะ 6. กลอนล่องของ
7. กลอนเว้าสาว 8. กลอนฟ้อนแบบต่างๆ
หมอลำอีสาน
หมอลำ แบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทคือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และ หมอลำหมู่
หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ถ้าคนป่วยอาการหนักอาจจะไม่ลุกก็ได้ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความ.บันเทิงให้แก่คนป่วยเป็นสำคัญ
กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น “กลอนผญา” เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า “ลำทางยาว” คือลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคน ในทางปฏิบัติจะเป็น “ลาย”
หมอลำพื้น หมายถึง “หมอลำนิทาน” คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอๆ กันกับ “ลำพื้น” ก็คือ “เว้าพื้น” ซึ่งตรงกับว่า “เล่าเรื่อง” หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วย
หมอลำกลอน คือหมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น “หมอลำโต้กลอน” มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน (ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้
หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน
หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย-ชาย หรือชาย-หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย-หญิงเท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรมความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน
ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาว ปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อน มีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองลำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือเป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศก ส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็มมีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่าง
ทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้นๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมี ทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล
หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คนเป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง สมมติฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนาง
หมอลำหมู่ คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นเมืองมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (ขูลู) -นางอั้ว ผาแดง – นางไอ่ ท้าวการะเกด และท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลินลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยม มีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญแต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้นอวดรูปทรง
ขอบพระคุณ
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น....
รวมสุดยอดหมอลำอีสาน โดย. ศิลปินระดับชั้นครู