บัณฑิตน้อยกับปัญหาสังคมไทยในยุคความเจริญทางวัตถุ ดีหรือไม่ดี?

(บทความชิ้นนี้มาจากความรู้สึก ไม่อ้างอิงเหตุผลทางวิชาการ ใช้ตรรกะส่วนตัวในการวิเคราะห์เท่านั้นเอง)

ในปัจจุบันโรงเรียนต่างๆ ได้มีกระแสการจัดงานบัณฑิตน้อยเกิดขึ้นมากมาย กับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นอนุบาล -ประถม(บางแห่ง) ซึ่งผมเองได้เห็นตามในโลก social ต่างๆ มากมาย มีคนวิเคราะห์ถึงปัญหาและความไม่จำเป็นมากมาย แก่งานแบบนี้ วันนี้ผมจะมาวิเคราะห์ว่าทำไมจึงมีงานลักษณะนี้เกิดขึ้นมาเยอะมากๆตามโรงเรียนจนเป็นกระแสสังคม
    
    "ทำไมจึงตัองมีบัณฑิตน้อย" ในสังคมไทยสมัยนี้มีความแตกต่างจากสมัยก่อนมาก ครอบครัวจากเดิมที่เคยใหญ่กลายเป็นครอบครัวเล็กๆ มีกันแค่ 3-4 คน และพ่อแม่แต่ละคนก็ต้องทำงานหากิน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ถ้าจัดงานบัณฑิตน้อย จะมีผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในแง่ทางจิตวิทยา ความต้องการของมนุษย์ มนุษย์นอกจากจะต้องการ ปัจจัย 4 แล้ว ยังมีความต้องการความรัก การยอมรับในตัวตนกันและกัน ซึ่งความจริงที่สะท้อนออกมานั้น เด็กส่วนใหญ่ในวัยไม่เกิน 12 ยังขาดการยอมรับในตัวตน พ่อแม่ไม่มีเวลาที่จะตอบสนองการยอมรับในตัวตนของเด็ก เหตุผลที่จัดงานบัณฑิต แท้จริงแล้วอาจจะไม่มีใครรู้เหตุผลลึกๆของมัน แต่เหตุผลจริงๆที่ผมนึกขึ้นได้ อาจจะแค่ ตอบสนองว่าเด็กยังมีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้ หลายสิ่งที่สังคมรู้สึกเมื่อจัดงานแบบนี้ มันสิ้นเปลี้อง สร้างวัตถุนิยม สร้างความเย่อหยิ่ง และกิเลสต่างๆ ผมก็เห็นว่ามันเป็นแบบนี้จริงๆ แต่คนที่ทำให้เกิดงานแบบนี้ อาจจะไม่ใช่โรงเรียน แต่เป็นความต้องการของตัวเด็กเอง

    "ความต้องการตัวเด็กที่อยากมีงานบัณฑิตน้อยหรอ " ไม่ใช่ เด็กไม่ได้ต้องการมีงานแบบนี้ สิ่งที่เด็กต้องการจริงๆ คือ "ให้คุณพ่อ คุณแม่เห็นตัวตนของเค้า" ชีวิตสังคมปัจจุบัน พ่อแม่เอาแต่ทำงานทุกๆวัน หาเงินเพื่อทำให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด ให้ลูกมีการศึกษาดีๆ ให้ลูกเก่งๆ เรียนสูงๆจะได้ไม่ลำบาก พ่อแม่นั้นได้ตอบสนองพื้นฐานต่างๆของลูกน้อย เช่น ไปกินข้าวกัน อะไปเที่ยวกัน แม้กระทั้งซื้ออุปกรณ์สร้างสุนทรียภาพให้ลูก เด็กเค้าบอกไม่ได้หรอก ว่าจริงๆแล้ว เค้าต้องการให้ พ่อแม่รู้สึก เห็นสิ่งที่เค้ากำลังพยายามอยู่ ว่ามันสำเร็จได้แล้ว และหันมาใส่ใจกับความสำเร็จของเค้าบ้าง เพื่อเค้าบ้างก็เท่านั้น งานแบบนี้มันก็เป็นแค่กลวิธี ดึงพ่อแม่ออกจากสังคมวัตถุนิยม และหันมาสนใจลูกตนเอง เห็นว่าลูกตนเองยังมีค่าต่อการใสใจ ซึ่งถ้าให้รอจนถึงมหาลัย มันอาจจะสายไปเสียแล้วก็เป็นไป

    ลูกต้องการความรักและยอมรับตัวตน พ่อแม่หลายคนมองว่า ฉันก็ให้ความรักกับลูกตนเองทุกอย่าง ทำไมละ ไม่เห็นเด็กจะขาดรักเลย จริงๆมันน่าเศร้านะ ที่พ่อแม่ยุคนี้มองไม่เห็นจริงๆ ว่าลูกของท่านต้องการอะไร หลายเหตุการณ์ที่คิดว่าฉันทำเพื่อลูก "ไป กินข้าวนอกบ้านกันนะ" "ลูกชอบอันนี้ ไม่ใช่หรอ กินสิ" "ที่นี่สวยจัง หนูชอบไหม" "เรียนตรงนี้เพิ่ม หนูจะได้เก่งๆไง" "พ่อแม่ทำเพื่อหนูนะ พ่อแม่ซื้อของมาให้" "ลูกเก่งจัง พยายามต่อไปนะ" "หนูอยากเรียนอะไร เดี๋ยวแม่ให้เรียนนะ" มันเป็นคำพูดที่ดูดีมากๆ เลยละ แต่ทำไมเด็กหลายคนกับรู้สึกเฉยๆ กับคำพูดเหล่านี้ คำตอบนั้น พ่อแม่เค้ารู้ดีแก่ใจว่า จริงๆแล้วมันไม่ได้รู้สึกดีเลย มันเป็นแค่ ความรับผิดชอบที่ต้องให้ความรักแก่เค้าทุกวันเพียงเท่านั้น แน่นอนความรู้สึกของเด็กก็คงคิดว่า มันดีแล้ว สนุกแล้ว แต่จริงๆในใจลึกๆของเด็ก เค้าอยากให้พ่อแม่เห็นว่า ตัวเค้าพยายามด้วยตนเองแต่พ่อแม่มีความรู้สึกมั่นใจกับตัวเค้าว่า มันต้องสำเร็จเท่านั้นเอง

     งานบัณฑิตน้อยมันอาจจะไม่เกิดขึ้น ถ้าทุกคนเห็นความสำคัญของเด็ก มันไม่ใช่แค่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำ แต่มันคืออะไรที่ต้องใช้จิตใจ ความรู้สึกทุกอย่างที่มีส่งไปถึงตัวเค้า ให้เค้ารู้สึกว่าเราคาดหวังตัวเค้า เห็นความสำคัญกับสิ่งที่เค้ากำลังพยายามทำอยู่ จนประสบความสำเร็จตามเป้าของตัวเค้า นั่นแหละคือ การยอมรับตัวตนของเด็ก นั่นเอง

     ผมเขียนถึงตรงนี้ ทุกคนคงได้อะไรมากขึ้นจากสิ่งที่ผมเขียน บางครั้งมันไม่ผิดหรอกที่พ่อแม่ จะละเลยต่อสิ่งนี้ มันอาจจะเป็นสภาพสังคมที่ต้องทำให้เป็นแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่แค่ช่วยมองเค้า รับรู้เค้า เห็นเค้าว่า กำลังพยายามอะไรอยู่ และให้เค้ารับรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังพยายามอะไรอยู่ แบ่งปันความรู้สึกซึ่งกันและกัน ไม่ต้องมองว่ามันเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ สิ่งที่ดีที่สุดอาจจะคือ "ความสุขในจิตใจของครอบครัวของเรา"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่