๙ แล้ว ๖ ๖ แล้ว ๙ ตอบแบบเดิมๆ แต่น่าจะมีประโยชน์ ? + การเดินทางแสวงหาเงินแบบ life long investor

มีเพื่อนสมาชิกถามมาทางหลังไมค์  ได้ตอบไป พร้อมกับบอกว่า
ขอเอามาตั้งกระทู้หน้าไมค์  เผื่อจะมีคนอ่านแล้วได้ประโยชน์ ?




ขอตัดประโยคที่ถาม  แบ่งตอบเป็นข้อๆดังนี้

จากกล่องข้อความแรก  

+++++++++++++++++++++++++

๑ เฮียครับ ตอนนี้เฮียยังซื้อหุ้นที่ราคาไม่กี่บาทอยู่บ้างรึเปล่าครับ

คำตอบ



หุ้นส่วนใหญ่ตอนนี้  ถ้าเทียบกับ"ราคาพาร์"ของหุ้น  

ผมถือว่าไม่ถูกแล้วครับ

หุ้นต่ำบาท ไม่ได้หมายความว่ามันถูก    ถ้าพาร์มันแค่สิบสตางค์
ในขณะที่หุ้น ห้าหกบาท ก็ไม่ได้หมายความว่ามันแพง  ถ้าพาร์มันหนึ่งบาท

ลองนึกถึง การบินไทย  นกแอร์ แอร์เอเซียเปรียบเทียบกับราคาพาร์ดู
แล้วจะรู้ว่า  จริงๆแล้วตัวไหน ราคาแพง ตัวไหนราคาถูก

เนื่องจากเชื่อว่า ราคาหุ้นส่วนใหญ่มันแพงแล้ว
เลยทำได้แค่ซื้อตัวที่เชื่อว่าจะได้ยีลด์ซัก ๖ เปอร์เซนต์ของราคาหุ้นตอนนี้เท่านั้น

ซื้อไปแล้วบางส่วน  แต่ไม่กล้าซื้อเพิ่มอีก  

เพราะไม่แน่ใจผลประกอบการจะดีหรือไม่

ถ้าดี มีโอกาสได้ยีลด์ถึง ๖ เปอร์เซนต์  ก็จะซื้อเพิ่มหลังงบออก
ถ้าออกมาไม่ดี  อาจจะต้องพิจารณาขายทิ้งเท่าทุน หรือไม่ก็ขาดตัดขาดทุน


๒  ซื้อตอนราคามันต่ำแล้วคิดว่ามันจะโตได้ไกล หรือ ซื้อเพราะมันต่ำแล้ววัดเอา

คำตอบ


  ผมซื้อตอนพีอีต่ำ พีบีวีต่ำ ยีลด์ปันผลดีเป็นหลัก  ไม่ได้คิดว่ามันจะไปได้ไกลขนาดไหน
แต่ถ้ามันไปได้ไกล  ก็แค่ถือเอาไว้รอขาย ตอนมันขึ้นจนหาเหตุผลไม่ได้ เช่นพีอีสูงลิ่ว จากที่เคยต่ำ

การถือหุ้นที่คิดว่ายังดี ไว้ได้นานๆ   คือความสามารถที่ผมทำได้ดีที่สุด และเป็นประโยชน์กับตัวเอง
ไม่ใช่ความสามารถในการหาอนาคตของหุ้นครับ



กล่องข้อความหลัง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

๑ เฮียศึกษาอ่านงบการเงินหนักไหมครับ กว่าจะใช้วิธีลงทุนในแบบของเฮียเอง

คำตอบ


เคยบอกหลายครั้งแล้ว  ผมไม่เคยอ่านหนังสือหุ้นเล่มไหนจบทั้งเล่ม  
ไม่เคยอ่านงบการเงินอย่างละเอียดทุกบรรทัด
ได้แต่อ่านผ่านๆ  แล้วพยายามคัดเอาที่คิดว่าสำคัญเอาไว้เท่านั้น

วิธีการลงทุนของผม    มาจากการสะสมประสบการณ์เอาเองครับ
เลยไม่ค่อยจะมีหลักวิชาการ    
แต่ก็เชื่อว่า ตัวเองมีประสบการณ์แนวตั้ง
คือสามารถใช้ประสบการณ์เดิมๆ  ต่อยอดให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ผลตอบแทนใหม่ๆขึ้นมา

แต่พอถึงจุดหนึ่ง  เราก็จะไปต่อไม่ได้  เพราะความรู้ ความสามารถของเรามีแค่นั้นเอง
ถ้าไปต่อได้  นักลงทุนทุกคนในโลกนี้ก็คงเป็นวอเรน บุฟเฟต์
นักลงทุนไทยทุกคน ก็คงเป็น อาจารย์ไพบูลย์  ดร.นิเวศน์  เสี่ยปู่ เสี่ยยักษ์ เสี่ยนเรศ หมอพงษ์ศักดิ์ ฯลฯ กันหมดแล้ว

ผมต้องพยายามบอกตัวเองว่า  

ในเมื่อไอคิวเราไม่ดี  ไม่ค่อยมีความรู้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  มีบ่อยครั้งที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ
โดยเฉพาะอะไรที่มีตัวเลขประกอบเยอะๆ   ผมอ่านไม่ได้เลย และถ้าฝืนอ่านก็จะเวียนหัวได้
อมยิ้ม06อมยิ้ม06อมยิ้ม06อมยิ้ม06

เราก็ต้องพยายามเสริมอีคิวเข้าไปให้มากๆ
ด้วยการต่อยอด  ออกแบบวิธีการให้เหมาะกับตัวเราเอง
โดยไม่เล็งผลเลิศว่า จะต้องทำได้ดีเท่ากับคนที่  ดีทั้งไอคิว และอีคิว (คุณลูกอิสาน ฯลฯ น่าจะเข้าข่ายดีทั้งไอคิวและอีคิว)

อีคิวส่วนหนึงก็คือ  การฝึกยอมรับความรู้ ความสามารถของตัวเอง
ฝึกความสามารถที่เราทำได้ดีที่สุดให้ใช้ได้ผลดี มากกว่าผลเสีย  
อย่าไปเปรียบเทียบกับของคนอื่น แล้วทำให้ต้วเองเครียด

ฯลฯ

๒  แล้วเฮียเริ่มศึกษายังไงครับ
ผมสงสัยในเรื่องงบ เราควรดูตรงไหนเป็นพิเศษ
เหมือนว่าเป็นขั้นตอนหน่ะครับ ไล่จาก1ไป2ไป3 ในรูปแบบเดิมในแต่ละครั้งที่มาดูงบครับ

คำตอบ  


เหมือนที่ตอบในข้อหนึ่ง คือผมมาจากสายประสบการณ์  
จึงค่อนข้างเสียเวลามากกว่าพวกสายวิชาการที่มีอีคิวดีๆ   และผลตอบแทนก็สู้ไม่ได้ด้วย

เรื่องงบ  ควรจะดูตรงไหนเป็นพิเศษ ?

ถ้าเอาแบบคร่าวๆ  
ผมดูกำไรต่อหุ้นก่อน
แล้วค่อยตามไปดู  

รายได้เพิ่มหรือลด  ผลประกอบการเพิ่มหรือลด เมื่อเทียบกับราคาหุ้นและผลประกอบการในอดีต

ซึ่งต้องตามไปดูจากรายละเอียดงบการเงินอีกที  ใน zip ไฟล์ที่บริษัทจดทะเบียนส่งให้ตลาดหลักทรัพย์


ประเภทดูผลประกอบการสี่บรรทัดแล้วซื้อหุ้น  ผมเชื่อว่าไปไม่รอดครับ
แต่ตัวเลขนั้น  มันจะช่วยให้เราสะดุดตา  
แล้วตามดูรายละเอียดที่jมากกว่านั้น

อีกข้อความทีจะพยายามอ่านเสมอ  สำหรับตัวที่สนใจคือ

คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ตัวอย่างเช่น จะตามเข้าไปอ่านข้อความเสมอ  สำหรับหุ้นตัวที่เรามีอยู่ และสนใจอยากจะซื้อ


http://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=14877167220761&language=th&country=TH




ความเป็นจริงที่เราต้องยอมรับก็คือ
ผลประกอบการของหุ้นทุกตัวที่เราได้ดูจากเวบตลาดหลักทรัพย์  
เราคือพวกสุดท้ายในตลาด ที่รุ้ข้อมุลนั้น

เลยไม่แปลกใจ  ที่ผลประกอบการออกมาดีหรือออกมาแย่  
ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน
เพราะพวกรู้ข่าววงใน  เขาลงมือซื้อขายก่อนเราไปแล้ว


ไม่แน่ใจว่า  จะตอบตรงประเด็นหรือเปล่า
แต่ผมชอบภาพนี้  คือเราไม่ต้องรู้ไปหมดทุกอย่าง
เลือกรู้เฉพาะที่คิดว่าเราใช้ประโยชน์ได้ก็พอ
แล้วก็เสริมอีคิว เข้าไปให้กับวิธีการนั้น  ไม่ให้แกว่งไปตามกระแสตลาด กระแสสื่อ และจิตวิทยามวลชน



ตัวอย่างสุดคลาสิกของกระแสตลาด กระแสสื่อและจิตวิทยามวลชนก็คือ  หุ้น ifec
ทำให้รายย่อย แห่เข้าไปถือหุ้นได้ตั้ง  สองหมื่นเจ็ดพันคน


+++++++++++++++++++++++++++++++++++


ขอตัดส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบ life long investor  ไว้ในกล่องข้อความที่ ๑๐ แทนครับ
คนที่ต้องการคำตอบหลังไมค์ล้วนๆ  จะได้อ่านข้ามไปได้

https://pantip.com/topic/36156624/comment10
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่