ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา vs. การป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย by Old Law Boy

กระทู้คำถาม
การฆ่าคนโดยไม่เจตนา โดยหลักแล้ว มีอยุู่ 2 กรณี คือ

1. เจตนาแค่ทำร้ายบุคคลอื่น แต่มิได้มีเจตนาฆ่า แต่บุคคลนั้น(ดันทะลึ่ง) ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290
    เช่น ตวัดคัตเตอร์ ไปโดนข้อมือ โดยเจตนาแค่ทำร้ายให้บาดเจ็บ แต่ผู้รับบาดเจ็บ มีโรคประจำตัวเป็น โรคโลหิตไหลไม่หยุด และถึงแก่ความ  
    ตาย (แต่ถ้ารู้มาก่อนว่าผู้ตายมีโรคประจำตัว คือเป็นโรคโลหิตไหลไม่หยุด อย่างนี้ถือว่ามีเจตนาฆ่า โดยเล็งเห็นผลจ้า)
    หรือ กรณีหล่อขวัญไม่รู้ว่า ทวนเพิ่งผ่าตัดเปลี่ยนไตมาไม่กี่วัน ระหว่างวิวาทะ ได้เตะเข้าซอกเอวทวน 1 ที ปรากฏว่า ทวนลงไปชักแหงกๆ
    และตายไปในบัดดลประดุจปลาซิว เช่นนี้ คือการทำร้ายร่างกาย ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มิได้แปลว่าหล่อขวัญฆ่าทวนตายโดยเจตนาคร้าบบบ

2. กระทำโดยประมาททำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 เช่นการขับรถชนคนตาย โดยประมาท
    หรือการใช้เครื่องจักรกล เครนยกของ โดยไม่ระมัดระวัง ทำให้ของตกลงมาทับคนตาย ฯลฯ อะไรเทือกนี้ครัช

    โทษของการทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยไม่เจตนา ถือว่าเบา เมื่อเทียบกับเจตนาฆ่าผู้อื่น แม้ผู้อื่นอาจจะไม่ตายก็ตาม
อาทิ เจตนาเล็งปืนและยิงไปที่หัวใจของผู้อื่น แต่บุคคลนั้นไม่ตาย เพราะดันเป็นคนมีหัวใจอยู่ข้างขวามาแต่กำเนิดขอรับ
หรือ การยิงปืนโดนร่างกายหลายนัด แต่คนถูกยิงห้อยพระดี อาทิหลวงพ่อกรวย วัดหน้าตั้ง ก็เลยไม่ตาย (แต่ก็สาหัส)
อย่างนี้โทษจะหนัก กว่าทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนาคร้าบบบบ

แต่สาวๆ ที่ทำให้ผู้ชายตายคาอก อย่างนี้ไม่ต้องรับโทษใดๆ นะครับ เพราะไม่ได้เจตนาฆ่า ทั้งไม่ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
และทั้งไม่ทำร้าย ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายครัช เว้นแต่ญาติผู้ตายจะพิสูจน์ได้ว่า สาวคนนั้นขึ้นควบม้าอย่างไม่ยอมหยุด
มิใยว่าผู้ตายจะร้องขอให้หยุดว่า ไม่ไหวแล้ว ลุงจะตายแล้วๆๆๆ แต่สาวนั้นก็ไม่ยอมหยุด เช่นนี้อาจเป็นเจตนาทำให้ลุงสยึมกึ๋ย จนทำให้ลุงถึงแก่ความตายได้ขอรับ

การป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญาวางหลักไว้ว่า

มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใด เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็น “การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย” ผู้นั้นไม่มีความผิด

มาตรา 69 ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ถ้าผู้กระทำได้กระทำไป เกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้

หลักเกณฑ์

- มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย > ถูกชกก่อนแล้ว และไม่อาจคาดได้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีอาวุธอื่นอีกหรือไม่
- ภยันตรายนั้น “ใกล้จะถึง”
- ผู้กระทำ “จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือผู้อื่น” ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
- การกระทำนั้น “ไม่เกินขอบเขต”

"สมัครใจวิวาทอ้างป้องกันไม่ได้" > การบอกคู่กรณีว่า เรื่องเดิมมันจบแล้ว อย่าๆ นี่แม่ผม ผมมากับแม่กับลูก แสดงว่าไม่มีเจตนาวิวาท

การป้องกันตน จะสมควรแก่เหตุ หรือ สมควรต่อความจำเป็น ใช้หลักทฤษฎีสัดส่วน ตัวอย่างเช่น

- ฝ่ายตรงข้าม มีร่างกายสูงใหญ่ ฝ่ายป้องกันมีรูปร่างเล็กกว่ามาก อย่างนี้อ้างป้องกันตนได้
- ฝ่ายตรงข้าม มีอาวุธร้ายแรง เช่นมี ปืน ฝ่ายป้องกันมีมีด หรือไม้กระบอง
   หรือฝ่ายตรงข้ามมีมีด และฝ่ายป้องกันมีไม้หน้าสาม อย่างนี้อ้างป้องกันตนได้
- ฝ่ายตรงข้ามเป็นชาย ฝ่ายป้องกันเป็นหญิง อย่างนี้อ้างป้องกันตนได้ แต่ถ้าเป็นกระเทยหุ่นสูงใหญ่ อย่างนี้อ้างป้องกันไม่ได้ครับ
- ฝ่ายตรงข้ามมีจำนวนหลายคน ฝ่ายป้องกันมีอาม่าแก่ๆ และเด็กเล็กๆ อย่างนี้อ้างป้องกันตนได้

สำหรับชายตัวเล็กๆ ที่มีภรรยาหลวงหุ่นสูงใหญ่ ชนิดบังกันมิด หากคิดจะป้องกันตนเองโดยชอบแล้ว
ลุงโอลด์ขอแนะนำให้ป้องกันตนเอง โดยลงไปซ่อนในตุ่มคร้าบบบ

คดีลุงวิศวะ คงจะทำให้คนหันมาติดกล้องหน้ารถกันมากขึ้น
คำพูดระหว่างภรรยาของลุงวิศวะ กับลุง ที่ว่า "พี่ยิงเขาหรือ" > "ใช่พี่ยิง มันชกพี่"
ต่อไปๆ คงฝึกให้คนพูดให้ขึ้นใจว่า "พี่ยิงเขาหรือ" > "เปล่า..พี่ไม่ได้ตั้งใจ ปืนมันลั่นอ่ะ"

เข้ามาแก้ไข โดยเพิ่มคำว่า "มันชกพี่" ในประโยค "พี่ยิงเขาหรือ" > "ใช่พี่ยิง" ให้ comment ที่ 3 สบายใจครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่