ความรักในแง่มุมของพระพุทธศาสนา

ความรักคืออะไร



ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า “รัก” ไว้ว่า “รัก” เป็นคำกริยา หมายถึง มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า ”รัก” มีความหมายซับซ้อนกว่าที่ได้มีการอธิบายในพจนานุกรมมากมายนัก นักปรัชญาหลายๆท่านได้ให้นิยามความรักไว้แตกต่างกันไปดังนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระผู้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นนักปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนา) ได้กล่าวไว้ว่า “ความรัก คือ ความใจกว้างเห็นแก่ผู้อื่นจนไม่มีตัวตนเหลืออยู่” (อันนี้เป็นคำนิยามความรักในเชิงธรรมะ)

พระราชนิพนธ์เรื่อง “มัทนะพาธา” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๖)
กล่าวถึงความรักว่า “ความรักเหมือนโรคา บันดาลให้ตามืดมล ไม่ยินและไม่ยล อุปะสัคคะใดๆ ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ ก็โลดจากคอกไป บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย”

จะเห็นได้ว่า แค่คำว่า “ความรัก” เพียงคำเดียวก็ถูกตีความโดยผู้คนทั่วโลกไปได้มากมายหลายรูปแบบ แสดงให้เห็นว่า ความรักเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ที่รวมความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ ทั้งสุข เศร้า เหงา สดใส เสียสละ โกรธแค้น สงบเย็น ร้อนรุ่น และอื่นๆอีกมากมาย…ดูเหมือนว่า ชีวิตเราทุกคนต่างหมุนไปด้วยความรักในรูปแบบต่างๆนั่นเอง

แม้แต่การเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ยังมีการเปรียบเทียบความรักด้วยดอกกุหลาบสีแดง ซึ่งมีทั้งความสวยงาม เย้ายวนใจให้หลงในเสน่ห์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีหนามแหลมคม ซึ่งอาจทำร้ายให้ผู้ครอบครองต้องเสียเลือดเมื่อพลั้งเผลอได้เช่นกัน เปรียบเหมือนความรัก ที่แม้คนเราจะรู้ว่าความรักมาคู่กับความทุกข์ แต่ก็อดใจในเสน่ห์อันเย้ายวนของความรักไม่ได้ ต้องยอมเสี่ยงกับการบาดเจ็บทางใจ เพื่อให้ได้ความรักมาครอบครอง

นิยามความรักในพระพุทธศาสนา

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

อาจจะมีคนสงสัยว่า ทำไมท่านต้องให้ความหมายกับคำว่าความรักไว้มากมายขนาดนี้ ประเด็นนี้พันเอกปิ่น  มุทุกันต์ ได้ให้ความเห็นว่า “เนื่องจากความรักเป็นอาการของจิต ความรักจึงมีการเปลี่ยนแปลงกลับกลอกยอกย้อนมากมาย ถึงกับพระพุทธเจ้าต้องตั้งชื่อดักเอาไว้เยอะๆ เพื่อใช้เรียกอาการที่ความรักจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ เพราะลำพังสัตว์หลายชื่อ คนหลายชื่อ หรือสิ่งของหลายชื่อก็ยุ่งพอแล้ว ทีนี้ความรักไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งของ แต่เกิดมีหลายชื่อมันก็ยุ่งกว่าพวกนั้นหลายร้อยเท่าพันเท่า”

ประเภทความรักในพระพุทธศาสนา

ด้วยเหตุที่คำว่าความรักมีความซับซ้อน และละเอียดมาก ในทางพระพุทธศาสนาจึงมีการแบ่งความรักเป็นลำดับขั้นดังนี้คือ
ความรักฝ่ายอกุศล หรือ ความรักตนเอง
เป็นอาการหรือธรรมชาติในด้านมืดของความรัก เป็นความรักฝ่ายกิเลส ที่จะทำให้จิตใจผู้ที่รักและคนที่ถูกรักตกต่ำลง เรียกความรักกลุ่มนี้ว่า “ความเสน่หา” (สิเนหะ) หรือ “ตัณหา” อธิบายง่ายๆได้ว่า “ความรักที่จะเอา” คือ เอาความรัก ความสุข และทุกอย่างมาที่ตนเองเป็นสำคัญ (ความเห็นแก่ตัว)
ความรักฝ่ายกลาง (อัพยากตะ)
เป็นความรักที่สูงกว่าความรักฝ่ายอกุศล ความรักฝ่ายนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างความดีและความชั่ว สามารถถูกความชั่วดึงไปก็ได้ ถูกความดีดึงออกไปก็ได้ จึงอยู่ระหว่างความรักแบบเสน่หาและเมตตาหรือคุณธรรม เรียกความรักแบบนี้ว่า “เปม” (เป-มะ) เป็นความรักในครอบครัว ความรักที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในครอบครัว
ความรักฝ่ายกุศล หรือ ความรักผู้อื่น
เป็นความรักในระดับที่สูงกว่าความรักอีกสองระดับแรก ความรักประเภทนี้เป็นความดีงามที่บริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน เรียกว่า “เมตตา”
ความรักฝ่ายกุศลสูงสุด หรือ ความรักผู้อื่นโดยไม่มีประมาณ
เป็นความรักในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ผู้ที่มีความรักประเภทนี้จิตใจจะสะอาดบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นจนสามารถควบคุม อำนาจฝ่ายอกุศลได้ จึงเป็นความรักขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “กุศลฉันทะ” หรือ “ฉันทะ”

สรุปลำดับขั้นความรักในพระพุทธศาสนาได้เป็น 4 ขั้นง่ายๆดังนี้

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สรุปสั้นๆ ความรักในพระพุทธศาสนา

ความรักตัวเอง —–> ต้องมีเบญจศีล เบญจธรรม

ความรักคนรอบข้าง —–> ต้องปฏิบัติตามหลักทิศ 6

ความรักผู้อื่นแบบไม่มีประมาณ —–> ต้องใช้หลักเมตตา และเมตตาอัปปมัญญา

ขอบคุณข้อมูลจาก http://talk.mthai.com/topic/433749
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่