มาย้อนอดีตสมัย 50 ปีก่อน ถนนหนทางบ้านเราไปได้ถึงไหนบ้าง

สวัสดีชาวพันทิปทุกท่าน ขอออกตัวก่อนว่าเป็นคนที่ชอบดูแผนที่มากไม่รู้ว่ามีใครเป็นเหมือนกันหรือเปล่า พอดีนั่งค้นไปมาในอินเทอร์เน็ตก็ไปเจอกระทู้หนึ่งที่รวบรวมแผนที่ทางหลวงเก่าสมัย 50 ปีก่อนทำให้เห็นสภาพถนนหนทางตอนนั้นว่ามีประมาณไหน กับแผนที่ประเทศไทยและกรุงเทพฯ ฉบับเมื่อปี พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นแผนที่เขียนด้วยมืออาจจะดูไม่ตรงตามสัดส่วนจริงสักเท่าไหร่  

          ที่น่าสนใจคือในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้มีถนนหนทางตัดใหม่ขึ้นมามากพอสมควร และไม่คิดว่าเมื่อก่อนเวลาจะเดินทางไปบางจังหวัดจะดูลำบากยากเย็นสำหรับรถยนต์เหลือเกิน ใครเกิดทันตอนนั้นอยากมาแชร์วิธีเดินทางไปจังหวัดนั้นๆตอนที่ถนนไปไม่ถึงทำอย่างไรก็ได้นะครับ โดยส่วนแรกจะมาติดตามในส่วนต่างจังหวัดก่อนครับ

ขอบคุณเจ้าของข้อมูล : คุณ Black Express จากเว็บ Rotfaithai.com

ผมขอเริ่มที่เหนือสุดแดนสยามก่อนนะครับ


       จะเห็นว่าระบบหมายเลขทางหลวงยังใช้แบบเก่าอยู่ ทางหลวงหมายเลข 5 นี่ก็ตั้งแต่เหนือสุดไปจนใต้สุดเลย
       ถนนสายหลักช่วงนี้ ก็คงจะเป็นทางหลวงหมายเลข 5 ถนนพหลโยธิน
       ถนนที่ยังไม่ได้สร้าง ก็คือทางหลวงหมายเลข 11 ปัจจุบัน ช่วงซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-เชียงใหม่ รวมทั้งช่วง เด่นชัย - ลำปาง
การจะเดินทางไปเชียงใหม่โดยรถยนต์ก็จะใช้ทางหลวงเลข 3 แยกจากอำเภอเถิน ลี้ ลำพูน เชียงใหม่ (สายต้นยาง) รู้สึกว่าจะเป็นทางปราบเซียนมาก
      
      จังหวัดที่ดูอาภัพทางรถยนต์มากสุดก็น่าจะเป็น อุตรดิตถ์  แต่ก็สามารถใช้บริการรถไฟแทนกันได้
      ถนนสายหลักของภาคเหนือตอนล่างอีกสายคือ ถนนมิตรภาพ 2 ที่ได้รับความมือกับสหรัฐอเมริการในการสร้าง (หมายเลข 16 ปัจจุบันหมายเลข 12) ทอดตัวยาวจากด่านแม่สอด แต่ตอนนี้สุดแค่อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
  
      ในส่วนภาคกลางตอนบนจังหวัดที่อาภัพทางรถยนต์ที่สุดน่าจะเป็น พิจิตร
      ถนนจากนครสวรรค์ไปพิษณุโลก ก็ยังไม่ได้สร้างเลย เมื่อก่อนต้องขับอ้อมกันขนาดไหน
      การจะเข้าตัวเมืองอุทัยธานีเหมือนถนนจะมาสุดแค่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ไม่เชื่อมต่อกับถนนหลัก

    
    มาถึงภาคกลางก็ยังไม่มีการสร้างถนนสายเอเชีย การจะเดินทางจากกรุงเทพ-นครสวรรค์ ก็จะต้องใช้ถนนพหลโยธินลัดเลาะอ้อมไปตามจังหวัดที่เป็นหัวเมืองหลักๆก่อน
    ส่วนการจะเดินทางไปภาคอีสานนั้น ก็มีการสร้างถนนมิตรภาพแล้วซึ่งเป็นถนนที่เป็นมาตรฐานสายแรก สามารถเดินทางจากกรุงเทพ-หนองคายภายใน 8 ชั่วโมง ในตอนที่ไม่มีถนนมิตรภาพนั้นก็จะใช้ทางหลวงหมายเลข 10 จากลพบุรี อ้อมเขาขึ้นไปทางเฉียดๆชัยภูมิเพื่อไปนครราชสีมา


    มากันถึงภาคตะวันออก ถนนสายหลักในภาคนี้ก็จะเป็น ถนนสุขุมวิทที่ลัดเลาะเรียบชายฝั่งอ่าวไทยจากกรุงเทพ-ตราด ถนนสุวรรณศรจากบ้านหินกอง ถึงด่านอรัญประเทศ  และถนนสุวินทวงศ์จากมีนบุรี มาถึงปราจีนบุรี
    ตอนนั้นถนนสาย 304 ก็ยังสร้างไม่เสร็จทำให้ตอนนี้ภาคอีสานกับภาคตะวันออกยังอยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน




   ถนนหมายเลข 6 กรมทางหลวงต่อหมายเลขตั้งแต่ตะวันตกสุดไปยังตะวันออกสุด  แต่ไปได้แค่เมืองกาญจนบุรีเท่านั้น ยังไม่ถึงด่านเจดีย์สามองค์

  
  
   มากันที่ภาคอีสาน ถนนมิตรภาพ 2 ยังสร้างมาไม่ทะลุถึงขอนแก่น (หมายเลข 16)
   ถนนเลียบแม่น้ำโขงก็มีเป็นส่วนๆ ไม่ได้เชื่อมต่อกันทั้งหมด

  
  

  ผมมีความรู้สึกว่าภาคอีสานจะมีโครงข่ายถนนที่เยอะมากกว่าทุกภาค ทางหลวงสายหลักก็จะเป็นถนนมิตรภาพ



  มาที่อีสานใต้ ยังไม่มีถนนจากนครราชสีมาไปจังหวัดอุบลราชธานี ยังคงใช้การโดยสารรถไฟเป็นหลัก




  มาถึงภาคใต้ตอนบน ถนนสายหลักก็จะเป็นถนนเพชรเกษมแต่เมื่อถึงชุมพร แล้วหากอยากจะเดินทางลงใต้ไปกว่านี้เช่น พัทลุง สงขลา จะต้องอ้อมไปทางระนอง พังงา เลียบไปตามฝั่งอันดามัน ไม่มีถนนทะลุไปถึงสุราษฎร์ธานี การโดยสารรถไฟจึงได้รับความนิยมมาก



  และสุดท้ายที่ใต้สุดแดนสยามครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่